ผู้จัดการรายวัน360- เอกชนประเมินแรงซื้อคนไทยส่อซึมยาวถึงกลางปี หลังภัยแล้งหนักกว่าที่คิด กระทบพืชเศรษฐกิจหลักเดี้ยงทุกตัว หวังมาตรการเศรษฐกิจรัฐบาลเห็นผล ขับเคลื่อนได้ในครึ่งปีหลัง หากไม่ได้เศรษฐกิจระส่ำแน่ หนุนรัฐเร่งเบิกจ่าย ลงทุนให้เร็ว พร้อมคลอดแผนบริหารน้ำ และเร่งกักเก็บช่วงฤดูฝนรับมือปีหน้า
นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังซื้อของคนไทยยังไม่ดีนักเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเจอภาวะทั้งการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่อง ประกอบกับรายได้ของคนไทยภาพรวมลดต่ำลงจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลักที่พึ่งพิงตลาดส่งออกสูง ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และยังประสบภาวะภัยแล้ง ทำให้พืชหลายชนิดมีปริมาณลดลง ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่ผ่านมา ยังเบิกจ่ายไม่เต็มที่และเม็ดเงินยังไปถึงประชาชนระดับฐานรากไม่ทั่วถึงนัก ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐน่าจะทยอยเห็นผลในครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ดังนั้น หากกลางปีนี้ไปแล้วเม็ดเงินต่างๆ ของรัฐยังไม่สามารถกระจายได้เต็มประสิทธิภาพจะกระทบต่อแรงซื้อครึ่งปีหลังได้ จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งขับเคลื่อน
แหล่งข่าวจาก ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนต่างก็ยังคงมีความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะแรงซื้อภายในประเทศที่พบว่าหนี้สาธารณะที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น เนื่องจากปัญหาภาวะภัยแล้ง จะเห็นว่าประชาชนผู้บริโภคยังมีการใช้จ่ายที่ต่ำมาก คาดว่าแรงซื้อคนไทยน่าจะซึมยาวถึงกลางปีนี้ และหากครึ่งปีหลังเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐไม่สามารถขับเคลื่อนแรงซื้อให้ดีกว่าครึ่งปีแรกได้ เศรษฐกิจไทยอาจจะชะงักงันกว่าที่คิด ซึ่งเอกชนกำลังจับตาเพื่อที่จะประเมินธุรกิจอย่างใกล้ขิดต่อไป ดังนั้น รัฐบาลควรจะต้องเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากกว่าปัจจุบัน
นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งปี 2559 นับว่าส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งในแง่ปริมาณและราคาที่ตกต่ำ โดยราคาพืชผลเหล่านี้ลดลงเฉลี่ย 25-30% เมื่อทั้งราคาและปริมาณรวมกัน คาดว่าจะทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืช 4 ชนิดนี้ประมาณ 4 ล้านครอบครัว มีรายได้ลดลง40-50% จากปีก่อน ซึ่งจะส่งกระทบต่อแรงซื้อในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวม
"ผมทำงานและอยู่ในแวดวงการเกษตรตั้งแต่ปี 2520 ยังไม่เคยเห็นปีไหนเกษตรกรจะลำบากเท่าปีนี้ และไม่เพียงแต่จะทำให้ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรตกต่ำแล้ว ราคาของ 4 พืชเกษตรเหล่านี้ ทั้งภายในและส่งออก ก็ยังคงตกต่ำเช่นกัน ขณะที่เกษตรกรกลุ่มนี้ มีพื้นที่ปลูกรวมกัน 100 ล้านไร่ มีเกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 80% ของเกษตรกรทั้งประเทศ ดังนั้น จะเห็นว่าสิ่งสำคัญ คือ การบริหารจัดการน้ำที่ควรมองเป็นระยะยาวและทำให้ต่อเนื่อง"นายอนันต์กล่าว
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า ผลผลิตอ้อยฤดูการผลิตปี 2558/59 ปิดหีบเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2559 ได้ผลผลิตอ้อยที่ 94.05 ล้านตัน ถือว่าเป็นผลผลิตต่ำสุดรอบ 6 ปี เนื่องจากเจอภาวะภัยแล้ง และผลกระทบนี้อาจจะรุนแรงต่อไปยังฤดูการผลิตปี 2559/60 เพิ่มขึ้น หากฝนช่วงหลังสงกรานต์ไม่มา ซึ่งปัญหาภาวะภัยแล้งเป็นเรื่องที่ว่าจะกี่รัฐบาลก็ไม่มีแผนบริการจัดการที่ปฏิบัติได้จริงแม้แต่รัฐบาลเดียว มักจะมาแก้ไขเอาช่วงฤดูแล้ง เมื่อแล้งแล้วจะนำน้ำมาจากไหน ต่อให้ขุดบ่อบาดาล ก็ไม่ได้ การแก้ไขปัญหาตลอดเวลา มักจะแก้เฉพาะหน้า
"เกษตรกรบ้านเรา พึ่งพิงน้ำฝนเป็นหลักถึง 90% เรามีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่นอกระบบชลประทานเกือบทั้งสิ้น การเพิ่มระบบชลประทาน การบริหารจัดการน้ำมันต้องมองระยะไกล และก็ต้องทำอย่างกรณีรู้ว่าแล้งจะเกิดขึ้น เราก็ต้องกักน้ำช่วงฤดูฝน ดังนั้น รัฐต้องเร่งโครงการกักเก็บน้ำในเร็ววันนี้ เพราะฤดูฝนจะมาแล้ว"นายธีระชัยกล่าว
นายธีระชัยกล่าวว่า ขณะนี้ชาวไร่อ้อยต่างรอคอยเงินช่วยเหลือจากรัฐ ซึ่งเบื้องต้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่าวันที่ 19 เม.ย.นี้ จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเห็นชอบแนวางการเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต 2558/59 อีกตันละ 160 บาท จากราคาประกาศอ้อยขั้นต้นที่กำหนดไว้เป็นรายเขต 2 ราคา คือ 773 และ 808 บาทต่อตัน โดยให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) กู้เงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท
"เราก็รออยู่ เพราะจะมาช่วยเสริมสภาพคล่องชาวไร่ได้มากเดิม จะเป็นของขวัญก่อนสงกรานต์ แต่หลังสงกรานต์ ก็ไม่เป็นไร ซึ่งการเสนอคงจะเป็นเรื่องของราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2557/58 ที่ต่ำกว่าขั้นต้นที่กองทุนฯ จะต้องคืนเงินราวกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับการกู้เงิน ธ.ก.ส. ก้อนใหม่ จึงต้องเสนอรวมกันไปเลย รวมถึงแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในหลักการ"นายธีระชัยกล่าว
นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังซื้อของคนไทยยังไม่ดีนักเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเจอภาวะทั้งการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่อง ประกอบกับรายได้ของคนไทยภาพรวมลดต่ำลงจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลักที่พึ่งพิงตลาดส่งออกสูง ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และยังประสบภาวะภัยแล้ง ทำให้พืชหลายชนิดมีปริมาณลดลง ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่ผ่านมา ยังเบิกจ่ายไม่เต็มที่และเม็ดเงินยังไปถึงประชาชนระดับฐานรากไม่ทั่วถึงนัก ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐน่าจะทยอยเห็นผลในครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ดังนั้น หากกลางปีนี้ไปแล้วเม็ดเงินต่างๆ ของรัฐยังไม่สามารถกระจายได้เต็มประสิทธิภาพจะกระทบต่อแรงซื้อครึ่งปีหลังได้ จึงต้องการให้รัฐบาลเร่งขับเคลื่อน
แหล่งข่าวจาก ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนต่างก็ยังคงมีความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะแรงซื้อภายในประเทศที่พบว่าหนี้สาธารณะที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น เนื่องจากปัญหาภาวะภัยแล้ง จะเห็นว่าประชาชนผู้บริโภคยังมีการใช้จ่ายที่ต่ำมาก คาดว่าแรงซื้อคนไทยน่าจะซึมยาวถึงกลางปีนี้ และหากครึ่งปีหลังเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐไม่สามารถขับเคลื่อนแรงซื้อให้ดีกว่าครึ่งปีแรกได้ เศรษฐกิจไทยอาจจะชะงักงันกว่าที่คิด ซึ่งเอกชนกำลังจับตาเพื่อที่จะประเมินธุรกิจอย่างใกล้ขิดต่อไป ดังนั้น รัฐบาลควรจะต้องเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากกว่าปัจจุบัน
นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งปี 2559 นับว่าส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งในแง่ปริมาณและราคาที่ตกต่ำ โดยราคาพืชผลเหล่านี้ลดลงเฉลี่ย 25-30% เมื่อทั้งราคาและปริมาณรวมกัน คาดว่าจะทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืช 4 ชนิดนี้ประมาณ 4 ล้านครอบครัว มีรายได้ลดลง40-50% จากปีก่อน ซึ่งจะส่งกระทบต่อแรงซื้อในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวม
"ผมทำงานและอยู่ในแวดวงการเกษตรตั้งแต่ปี 2520 ยังไม่เคยเห็นปีไหนเกษตรกรจะลำบากเท่าปีนี้ และไม่เพียงแต่จะทำให้ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรตกต่ำแล้ว ราคาของ 4 พืชเกษตรเหล่านี้ ทั้งภายในและส่งออก ก็ยังคงตกต่ำเช่นกัน ขณะที่เกษตรกรกลุ่มนี้ มีพื้นที่ปลูกรวมกัน 100 ล้านไร่ มีเกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 80% ของเกษตรกรทั้งประเทศ ดังนั้น จะเห็นว่าสิ่งสำคัญ คือ การบริหารจัดการน้ำที่ควรมองเป็นระยะยาวและทำให้ต่อเนื่อง"นายอนันต์กล่าว
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า ผลผลิตอ้อยฤดูการผลิตปี 2558/59 ปิดหีบเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2559 ได้ผลผลิตอ้อยที่ 94.05 ล้านตัน ถือว่าเป็นผลผลิตต่ำสุดรอบ 6 ปี เนื่องจากเจอภาวะภัยแล้ง และผลกระทบนี้อาจจะรุนแรงต่อไปยังฤดูการผลิตปี 2559/60 เพิ่มขึ้น หากฝนช่วงหลังสงกรานต์ไม่มา ซึ่งปัญหาภาวะภัยแล้งเป็นเรื่องที่ว่าจะกี่รัฐบาลก็ไม่มีแผนบริการจัดการที่ปฏิบัติได้จริงแม้แต่รัฐบาลเดียว มักจะมาแก้ไขเอาช่วงฤดูแล้ง เมื่อแล้งแล้วจะนำน้ำมาจากไหน ต่อให้ขุดบ่อบาดาล ก็ไม่ได้ การแก้ไขปัญหาตลอดเวลา มักจะแก้เฉพาะหน้า
"เกษตรกรบ้านเรา พึ่งพิงน้ำฝนเป็นหลักถึง 90% เรามีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่นอกระบบชลประทานเกือบทั้งสิ้น การเพิ่มระบบชลประทาน การบริหารจัดการน้ำมันต้องมองระยะไกล และก็ต้องทำอย่างกรณีรู้ว่าแล้งจะเกิดขึ้น เราก็ต้องกักน้ำช่วงฤดูฝน ดังนั้น รัฐต้องเร่งโครงการกักเก็บน้ำในเร็ววันนี้ เพราะฤดูฝนจะมาแล้ว"นายธีระชัยกล่าว
นายธีระชัยกล่าวว่า ขณะนี้ชาวไร่อ้อยต่างรอคอยเงินช่วยเหลือจากรัฐ ซึ่งเบื้องต้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่าวันที่ 19 เม.ย.นี้ จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเห็นชอบแนวางการเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต 2558/59 อีกตันละ 160 บาท จากราคาประกาศอ้อยขั้นต้นที่กำหนดไว้เป็นรายเขต 2 ราคา คือ 773 และ 808 บาทต่อตัน โดยให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) กู้เงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท
"เราก็รออยู่ เพราะจะมาช่วยเสริมสภาพคล่องชาวไร่ได้มากเดิม จะเป็นของขวัญก่อนสงกรานต์ แต่หลังสงกรานต์ ก็ไม่เป็นไร ซึ่งการเสนอคงจะเป็นเรื่องของราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2557/58 ที่ต่ำกว่าขั้นต้นที่กองทุนฯ จะต้องคืนเงินราวกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับการกู้เงิน ธ.ก.ส. ก้อนใหม่ จึงต้องเสนอรวมกันไปเลย รวมถึงแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในหลักการ"นายธีระชัยกล่าว