วานนี้ (12เม.ย.) ที่สนามบินดอนเมือง พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมคณะ ร่วมกับนายเพ็ชร ชั้นเจริญ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นายสุชาติ สินรัตน์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน และ น.ส.ทรงศิริ จุมพล ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก ร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาราคาอาหาร และเครื่องดื่ม ในพื้นที่สนามบินดอนเมือง ที่แพงเกินจริง
นายเพ็ชร กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากหลายปัจจัย ไม่ใช่เกิดจากการท่าเก็บค่าเช่าพื้นที่แพง เพราะผู้ประกอบการมาจากการประมูล หากการท่าเข้าไปสั่ง หรือให้มีการลดราคา อาจกระทบกับสัญญาการประมูล
อย่างไรก็ตาม การท่าก็ได้แก้ปัญหาไม่ให้ผู้ประกอบการขายแพงกว่าห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และควบคุมไม่ให้จำหน่ายในราคาสูงกว่า
ต่อมาคณะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้สำรวจร้านค้าภายในอาคารผู้โดยสาร พบว่า ผู้ประกอบการหลายร้านหลีกเลี่ยงไม่จำหน่ายน้ำดื่ม ซึ่งเป็นสินค้าควบคุม แต่เลี่ยงไปจำหน่ายน้ำแร่ ในราคาขวดละ 20-40 บาท เรื่องดื่มชูกำลัง และน้ำเกลือแร่ ซึ่งก็มีราคาสูงกว่าราคาภายนอกเป็นเท่าตัว แต่ก็มีบางร้าน ขายในราคา 10 บาท แต่ร้านค้าของโครงการหลวง ซึ่งได้รับการยกเว้นค่าเช่า จึงขายสินค้าในราคาปกติ น้ำดื่มราคา 10 บาท สลัดผัก 45 บาท ทำให้มีผู้โดยสารมาเลือกซื้อน้ำดื่มจนหมดสต๊อก ทำให้ไม่เพียงพอ
จากการตรวจสอบราคาอาหารในฟูดคอร์ต ตามที่การท่าอากาศยาน ระบุว่าในสัญญาประมูล ควบคุมราคาขายไม่ให้เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของราคาในห้างสรพสินค้าชั้นนำ ปรากฏว่า ราคาอาหารแพงก็ยังแพงอยู่ เช่น ข้าวราดแกง เริ่มต้นที่ 80-120 บาท ข้าวมันไก่ 90 บาท แซนวิช 180 บาท ชุดมาม่าผัดทะเล พร้อมเครื่องดื่ม 165 บาท สเต็ก 195 บาท บะหมี่เป็ดย่าง 80 บาท ข้าวหน้าไก่ 80 บาท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางรายระบุว่า ที่ต้องขายแพงเพราะพนักงานต้องสามารถพูดภาษาอังกฤษ และจีนได้ ทำให้มีต้นทุนสูงกว่าภายนอก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าน้ำดื่มที่มีราคาแพง และข้าวที่มีราคาสูงกว่า 200 บาทต่อจาน แต่ภายในสนามบินมีร้านค้าหลากหลายให้เลือก บางร้านมีราคาสูงกว่าภายนอกแค่ 5บาท ผู้ซื้อสามารถเลือกร้านได้
พล.อ.วิทวัส กล่าวว่า หลังจากได้กระชุมร่วมกัน และขอให้การท่าควบคุมราคาอาหารให้เหลือจานละ 50 บาท และน้ำดื่ม 10 บาท ทำให้ร้านค้า งดจำหน่ายเครื่องดื่ม และยังพบว่ามีราคาแพง จึงได้ขอสรุปร่วมกันโดยให้การท่าฯ ไปศึกษาแนวทางที่จะแก้ปัญหา ขณะที่การท่าฯ ระบุว่า การแก้ปัญหาอาจจะกระทบต่อสัญญาประมูล แต่ผู้ตรวจการฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าการท่าฯ มีรายได้หลักจากกิจการการบิน ส่วนค่าเช่าร้านอาหารไม่เกี่ยวข้องกับกิจการการบิน จึงสมควรปรับราคาจำหน่ายให้เท่ากับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ จึงมอบหมายให้การท่าฯ สำรวจราคาภายในห้างสรรพสินค้า รวมกับกรมการค้าภายใน เพื่อให้มีมาตราฐานราคากลาง ภายใน 30 วัน เพื่อนำมาดำเนินการกับร้านค้าไม่ให้ขายอาหารสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของราคาในห้าง พร้อมยกตัวอย่าง เช่น Burger king ในห้างราคา 209 บาท ถ้าขายในปั๊มน้ำมันราคา 199 บาท แต่ในสนามบินขายราคา 285 บาท น้ำอัดลมกระป๋อง ขายราคา 50 บาท ซึ่งน่าจะสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
สำหรับข้ออ้างของการท่าฯ ที่ระบุว่าต้องดำเนินการตามตัวชี้วัด เพื่อสร้างผลกำไร ส่งให้กระทรวงการคลังนั้น ผู้ตรวจฯจะรับเรื่องนี้ไปตรวจสอบ และขอดูรายละเอียดทั้งหมด โดยพบว่าขณะนี้ ราคาอาหารและเครื่องดื่ม สูงกว่าห้างสรรพสินค้า 40-200 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้มีความสมดุลระหว่างตัวชี้วัดเรื่องกำไร กับความเดือดร้อนของประชาชน
นายเพ็ชร กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากหลายปัจจัย ไม่ใช่เกิดจากการท่าเก็บค่าเช่าพื้นที่แพง เพราะผู้ประกอบการมาจากการประมูล หากการท่าเข้าไปสั่ง หรือให้มีการลดราคา อาจกระทบกับสัญญาการประมูล
อย่างไรก็ตาม การท่าก็ได้แก้ปัญหาไม่ให้ผู้ประกอบการขายแพงกว่าห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และควบคุมไม่ให้จำหน่ายในราคาสูงกว่า
ต่อมาคณะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้สำรวจร้านค้าภายในอาคารผู้โดยสาร พบว่า ผู้ประกอบการหลายร้านหลีกเลี่ยงไม่จำหน่ายน้ำดื่ม ซึ่งเป็นสินค้าควบคุม แต่เลี่ยงไปจำหน่ายน้ำแร่ ในราคาขวดละ 20-40 บาท เรื่องดื่มชูกำลัง และน้ำเกลือแร่ ซึ่งก็มีราคาสูงกว่าราคาภายนอกเป็นเท่าตัว แต่ก็มีบางร้าน ขายในราคา 10 บาท แต่ร้านค้าของโครงการหลวง ซึ่งได้รับการยกเว้นค่าเช่า จึงขายสินค้าในราคาปกติ น้ำดื่มราคา 10 บาท สลัดผัก 45 บาท ทำให้มีผู้โดยสารมาเลือกซื้อน้ำดื่มจนหมดสต๊อก ทำให้ไม่เพียงพอ
จากการตรวจสอบราคาอาหารในฟูดคอร์ต ตามที่การท่าอากาศยาน ระบุว่าในสัญญาประมูล ควบคุมราคาขายไม่ให้เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของราคาในห้างสรพสินค้าชั้นนำ ปรากฏว่า ราคาอาหารแพงก็ยังแพงอยู่ เช่น ข้าวราดแกง เริ่มต้นที่ 80-120 บาท ข้าวมันไก่ 90 บาท แซนวิช 180 บาท ชุดมาม่าผัดทะเล พร้อมเครื่องดื่ม 165 บาท สเต็ก 195 บาท บะหมี่เป็ดย่าง 80 บาท ข้าวหน้าไก่ 80 บาท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางรายระบุว่า ที่ต้องขายแพงเพราะพนักงานต้องสามารถพูดภาษาอังกฤษ และจีนได้ ทำให้มีต้นทุนสูงกว่าภายนอก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าน้ำดื่มที่มีราคาแพง และข้าวที่มีราคาสูงกว่า 200 บาทต่อจาน แต่ภายในสนามบินมีร้านค้าหลากหลายให้เลือก บางร้านมีราคาสูงกว่าภายนอกแค่ 5บาท ผู้ซื้อสามารถเลือกร้านได้
พล.อ.วิทวัส กล่าวว่า หลังจากได้กระชุมร่วมกัน และขอให้การท่าควบคุมราคาอาหารให้เหลือจานละ 50 บาท และน้ำดื่ม 10 บาท ทำให้ร้านค้า งดจำหน่ายเครื่องดื่ม และยังพบว่ามีราคาแพง จึงได้ขอสรุปร่วมกันโดยให้การท่าฯ ไปศึกษาแนวทางที่จะแก้ปัญหา ขณะที่การท่าฯ ระบุว่า การแก้ปัญหาอาจจะกระทบต่อสัญญาประมูล แต่ผู้ตรวจการฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าการท่าฯ มีรายได้หลักจากกิจการการบิน ส่วนค่าเช่าร้านอาหารไม่เกี่ยวข้องกับกิจการการบิน จึงสมควรปรับราคาจำหน่ายให้เท่ากับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ จึงมอบหมายให้การท่าฯ สำรวจราคาภายในห้างสรรพสินค้า รวมกับกรมการค้าภายใน เพื่อให้มีมาตราฐานราคากลาง ภายใน 30 วัน เพื่อนำมาดำเนินการกับร้านค้าไม่ให้ขายอาหารสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของราคาในห้าง พร้อมยกตัวอย่าง เช่น Burger king ในห้างราคา 209 บาท ถ้าขายในปั๊มน้ำมันราคา 199 บาท แต่ในสนามบินขายราคา 285 บาท น้ำอัดลมกระป๋อง ขายราคา 50 บาท ซึ่งน่าจะสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
สำหรับข้ออ้างของการท่าฯ ที่ระบุว่าต้องดำเนินการตามตัวชี้วัด เพื่อสร้างผลกำไร ส่งให้กระทรวงการคลังนั้น ผู้ตรวจฯจะรับเรื่องนี้ไปตรวจสอบ และขอดูรายละเอียดทั้งหมด โดยพบว่าขณะนี้ ราคาอาหารและเครื่องดื่ม สูงกว่าห้างสรรพสินค้า 40-200 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้มีความสมดุลระหว่างตัวชี้วัดเรื่องกำไร กับความเดือดร้อนของประชาชน