"มาร์ค" ประกาศ ปชป.ไม่รับคำถามพ่วงให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ อ้างคำ "ประยุทธ์" ทวงถามจุดยืนต้าน ส.ว.เลือกประมุขบริหาร ลั่นไม่เห็นด้วยร่าง รธน. เหตุทำประชาธิปไตยถดถอย ลดอำนาจประชาชนใช้ ส.ว. กุมอำนาจเหนือตัวแทนประชาชน ลากยาวสองวาระ
เมื่อวานนี้ (10 เม.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับแกนนำพรรค แถลงจุดยืนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงที่ระบุให้ ส.ว.สรรหา ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การทำประชามติ ว่า พรรคมีจุดยืนกรณี กระบวนการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีการตรากฎหมายขึ้นโดยผ่านความเห็นชอบของ สนช.สัปดาห์ที่แล้ว ตนเป็นคนที่เรียกร้องให้มีการทำประชามติ เนื่องจากอยากเห็นรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ประชาชนเจ้าของประเทศมีส่วนร่วม และมีผลพลอยได้ให้รัฐธรรมนูญมีภูมิคุ้มกัน เช่นรัฐธรรมนูญปี 50 เมื่อมีความพยายามรื้อศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่า หากจะรื้อต้องกลับไปสอบถามความเห็นของประชาชนก่อน ดังนั้น การจัดทำประชามติ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการที่เสรี และเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำประชามติ แต่การทำกฎหมายประชามติ มีความสับสนในการกำหนดบทบาทของฝ่ายต่างๆ จากการห้ามไม่ให้ประชาชนทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ ข้อห้ามในกระบวนการประชามติ ต้องเขียนอย่างชัดแจ้ง ซึ่งมีเพียงมาตราเดียวคือ มาตรา 62 ที่ห้ามไม่ให้มีการสื่อสารผิดข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะก้าวร้าว ข่มขู่ ดังนั้นการเผยแพร่ความเห็นอย่างสุจริต ต้องทำได้ กกต.ในฐานะผู้พิพากษากฎหมาย ต้องออกมายืนยันว่าประชาชน มีสิทธิดำเนินการได้ มิเช่นนั้นกระบวนการนี้จะทำให้งบประมาณสูญเปล่า
ส่วนคำถามพ่วงของ สนช.นั้น นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหากผ่านจะต้องปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามนั้น การถามว่า สมควรให้วุฒิสภาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีในระยะเวลา 5 ปี หรือไม่ ซึ่งพรรคไม่เห็นด้วย และไม่รับคำถามนี้ เนื่องจากวุฒิสภาที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เป็นวุฒิสภาที่มาจากกระบวนการสรรหา และคสช.เป็นผู้แต่งตั้งในขั้นตอนสุดท้าย การให้วุฒิสภาลงคะแนนเสียงร่วมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่ากับสามารถลบล้างเจตจำนงประชาชนที่แสดงออกในการเลือกตั้งได้ ผิดจากหลักการของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และคณะ การทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ มีแต่จะทำให้ความขัดแย้ง หรือปัญหาทางการเมืองรุนแรงขึ้น คือ.สมมติว่า วุฒิสภาใช้สิทธิตรงนี้จับมือกับพรรค หรือ ส.ส. ที่เป็นเสียงข้างน้อย ตั้งนายกฯ เพื่อให้เกิดรัฐบาลก็จะทำงานยาก เพราะเป็นเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎร
ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในขณะที่ คสช.ย้ำเสมอว่า ไม่ต้องการให้บ้านเมืองขัดแย้ง แต่การเริ่มต้นให้คนจำนวนหนึ่งมาลบล้างเจตจำนงประชาชนเป็นสูตรสำเร็จให้เกิดความขัดแย้งในวงกว้างทันที แต่ถ้าวุฒิสภาไปจับมือกับพรรคอันดับหนึ่ง ก็ไม่ช่วยเรื่องเสถียรภาพก็จะเป็นการลดอำนาจเสียงข้างน้อยในการคานอำนาจเสียงข้างมาก ดังนั้นจึงมีแต่ผลเสีย ถ้าสภาไม่ยอมให้ส.ว.ชี้ขาดในการเลือกนายกฯ มีวิธีเดียวคือ พรรคใหญ่ต้องจับมือกันก็จะเกิดเผด็จการในสภา พรรคจึงยืนยันว่า เป็นคำถามที่ประชาชนไม่สมควรรับในการลงประชามติ เพราะสร้างความขัดแย้ง ผิดหลักการ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้วุฒิสภาเลือกนายกฯ หวังว่าจะยืนยันความเห็นนี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกมองว่า สนช. ทำทั้งที่หัวหน้าคสช. ประกาศแล้วว่า ไม่เห็นด้วย
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคยังไม่สามารถประชุมเป็นทางการได้ แต่นายจุรินทร์ และผู้บริหารพรรค ประมวลความเห็นของสมาชิก ซึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เห็นว่า มีข้อเสียมากกว่าข้อดี และไม่เห็นด้วยที่รัฐธรรมนูญนี้จะเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดสรรอำนาจ บทบาทองค์กรของรัฐกับประชาชน
ข้อดีที่สนับสนุนคือ มีมาตรการบางเรื่องเข้มข้นมากขึ้น ในการปราบปรามการทุจริตในเรื่องลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และการลงโทษคนทุจริตเลือกตั้ง รวมถึงเรื่องที่นักการเมืองแทรกแซงกระบวนการจัดทำงบประมาณใช้เองในขั้นตอนการทำประชามติ แต่ในประเด็นปราบคอร์รัปชัน ก็ไม่ได้ดีขึ้นทั้งหมด มีจุดอ่อน เช่น 1. ยกเลิกกระบวนการถอดถอน ทำให้ความผิดที่จะไปจบที่ศาล ต้องใช้มาตรฐานเหมือนคดีอาญา ยากที่จะเอาผิด 2. โทษลดลง เช่น ในอดีตคนที่เคยถูกถอดถอนจะเล่นการเมืองไม่ได้ตลอดชีวิต กลับลดลงมาเหลือห้าปี 3. สถานะของป.ป.ช. หากปฏิบัติหน้าที่มิชอบ จะเข้าสู่กระบวนการถอดถอน หรือฟ้องต่อศาล แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องผ่านประธานรัฐสภา คือ ส.ส.ที่สังกัดรัฐบาล หากประธานรัฐสภาเห็นว่า เรื่องที่ร้องเรียนไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ก็สามารถยุติเรื่องได้ จึงทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่ ป.ป.ช. จะต่อรองกับรัฐบาล ทำให้กระบวนการปราบปรามทุจริตอ่อนแอทันที
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง ข้อเสียของรัฐธรรมนูญ ว่า มีการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ และลดอำนาจประชาชน เมื่อเทียบอำนาจรัฐ ที่ผ่านมาสิทธิประชาชน มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่รัฐธรรมนูญที่มีการร่างใหม่ ถดถอยจากรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งสิ้น เชื่อว่าจะมีความขัดแย้งในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ จนเกิดความรุนแรงขึ้น การลดสิทธิเสรีภาพประชาชน โดยเพิ่มอำนาจราชการมากเกินไป จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจอ่อนแอลง ในแง่การตอบสนองความต้องการของประชาชน และทำให้รัฐบาลที่มาจากประชาชน มีปัญหามากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ในประเด็นที่เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งก็เป็นปัญหา โดยประชาชนไม่มีโอกาสเลือก ส.ว. ขณะเดียวกัน อำนาจของ ส.ว.ซึ่งมีที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชน ก็ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในเรื่องการเลือกนายกฯ นอกบัญชีได้ ตามที่กำหนดในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ การกำหนดให้ใช้บัตรเดียวในการเลือกตั้ง ก็เป็นการบังคับทำให้ประชาชนไม่สามารถเลือกตั้งอย่างเสรีได้อีกต่อไป
จากประเด็นเหล่านี้ ทำให้ประชาชนที่ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของประเทศ ถูกจำกัดสิทธิอย่างมาก นอกจากนี้ยังเห็นว่าปัญหาสำคัญของรัฐธรรมนูญอีกประเด็นหนึ่งคือ แก้ไขเพิ่มเติมยากมาก โดยเฉพาะประเด็นวุฒิสภา หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบุให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และต้องมีวุฒิสภาสนับสนุนถึง หนึ่งในสาม ในขณะที่ทั้งหมดมีที่มาเดียวกันหมด การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงอยู่ในมือของ ส.ว. และยังมีวาระ 5 ปี เท่ากับเกี่ยวข้องกับรัฐบาลสองชุด คล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญปี 21 ซึ่งในขณะนั้น มีความพยายามต่ออายุ บทเฉพาะกาล ดังนั้น หากจะแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยแทบทำไม่ได้เลย แต่ถ้าวุฒิสภา และรัฐบาลสมประโยชน์ ก็จะแก้ไปในทิศทางที่ตนเองต้องการได้ ทั้งหมดนี้ จึงทำให้สมาชิกของพรรคเห็นว่า ข้อเสียมากกว่าข้อดี และเราไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประเทศไทยต้องการรัฐธรรมนูญปราบโกง และเป็นประชาธิปไตย ถ้าการโต้แย้งรุนแรงขึ้น ที่อ้างว่าจะหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร ก็จะไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนใช้คำว่า ไม่เห็นด้วย แต่ยังไม่พูดว่ารับ หรือไม่รับ เพราะมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อแรก ถ้าประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ มีหลักประกันอะไรว่า รัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้ต่อไป จะดีกว่านี้ หรือจะไม่เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ อย่าลืมว่าความเห็น คสช.นั้น หนักหนาสาหัสกว่าฉบับที่ออกมา และคำถามพ่วง เพราะมีมากกว่านี้เยอะ จึงเรียกร้องว่า การใช้สิทธิของประชาชนเจ้าของประเทศ มีสิทธิรู้ว่าถ้าไม่รับ แล้วจะมีกระบวนการอย่างไรต่อไป เราต้องการคำตอบจาก คสช. ในเรื่องนี้ และสมาชิกพรรคมีความเป็นห่วงว่า มีคนกลุ่มหนึ่งเอาประเด็น รับหรือไม่รับ การทำประชามติ ไปเล่นการเมือง เช่น ถ้าไม่รับ จะมีการเรียกร้องให้ คสช.นายกฯ ลาออก ซึ่งอาจนำไปสู่ความวุ่นวายของบ้านเมือง พรรคจึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดเอาเรื่องรัฐธรรมนูญมาเล่นการเมือง แต่ให้ประชาชนตัดสิน และมีกระบวนการหลังตัดสินที่ชัดว่า ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญที่ดีได้อย่างไร
ดังนั้น พรรคจึงต้องรอดูว่า กระบวนการตรงนี้จะแก้ไขอย่างไร โดยหวังว่า กกต. จะสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำประชามติที่เสรีและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดบรรทัดฐาน ซึ่งจะนำไปใช้ในการเลือกตั้งได้ด้วย จากนั้นคำตอบที่จะรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะง่ายขึ้น และพรรคพร้อมที่จะให้ข้อมูลกับประชาชน เนื่องจากมีหลายเรื่องที่ประชาชนยังไม่ทราบ เนื่องจากมีการชี้นำเกินไป เช่น ขนานนามว่า รัฐธรรมนูญปราบโกง ก็เป็นการชี้นำเหมือนกัน เมื่อเห็นจุดอ่อนก็ไม่แน่ใจว่า จะปราบโกงได้จริงหรือเปล่า
"ไม่ยากที่จะบอกว่ารับ หรือไม่รับ หรือร่างเสร็จก็กดปุ่มเลยว่า จะรับหรือไม่รับ บางคนยังไม่อ่านก็บอกแล้ว ประเทศเดินอย่างนี้ไม่ได้ จึงเรียกร้องให้กำหนดกติกาว่า ประเทศจะมีทางเดินที่ไม่วุ่นวาย ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คสช.ควรให้เกียรติประชาชน แต่ถ้าไม่บอก เมื่อถึงจุดหนึ่งพวกผมก็ต้องตัดสินใจในเวลาทีสมควร ที่นายกฯ พูดทุกวันว่า กลัวเหมือนในอดีตต้องดูว่า อดีตเกิดเพราะไม่ยอมรับกติกา ไม่ใช่เกิดจากการเลือกตั้ง หรือผลเลือกตั้ง มามีปัญหาจากความไม่ชอบธรรมในการใช้อำนาจ"
ส่วนการให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกฯ จะเกี่ยวกับการให้ผู้มีอำนาจกลับมามีอำนาจอีกครั้งหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ต่างก็ออกมาให้สัมภาษณ์แล้ว ก็ต้องเชื่อว่าจะรักษาคำพูด แต่ถ้าไม่รักษาคำพูด ก็เห็นจากประวัติศาสตร์อยู่แล้ว ส่วนคนอื่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะขณะนี้ก็พอเห็นหน้าตาของ ส.ว. 250 คนแล้ว
***บิ๊กตู่ถามนักการเมืองกลัวอะไร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.กล่าวถึง กรณีฝ่ายการเมืองกังวลกับ คำถามพ่วงประชามติ ที่ให้ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ทำประชาชนสับสน ว่า อยากถามแล้วมันทำให้ประเทศเลวร้ายลงกว่าเดิมมั้ย ประชาชนมีความทุกข์มากขึ้น หรือเปล่า หรือนักการเมืองที่ไม่ดี จะเป็น จะตาย เกรงว่าจะทำอะไรที่เลวร้ายเหมือนที่เคยทำมาไม่ได้อีก อยากถามว่าที่ผ่านมา แก้ปัญหาอะไรสำเร็จบ้าง โดยไม่มีปัญหาตามมา ทั้งนโยบายประชานิยม ที่ได้สร้างความเสียหาย ประชาชนแตกแยก ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ค้ามนุษย์ ปัญหาการบิน คอร์รัปชัน ธุรกิจมืด บ้านเมืองไร้ระเบียบ กดดันจนข้าราชการและตำรวจทำงานไม่ได้ ระบบการทำงานขาดวิสัยทัศน์ ขาดยุทธศาสตร์ทุกมิติ ส่งผลเศรษฐกิจประเทศไม่เข้มแข็ง ประเภทมือใครยาวก็เข้าถึงระบบราชการ มีพรรคพวกตัวเองก็ได้ไป ภาคการเกษตร เกิดปัญหาราคาข้าว ยางพารา ไม่มีความเข้มแข็ง และเกิดปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง การแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้แต่ใช้การจ่ายเงินอุดหนุน อุดปากแต่ละปีไป โดยไม่สามารถหาเงินและจัดเก็บภาษีเพิ่มได้ ขณะนวัตกรรม งานวิจัย การศึกษา ดำเนินการล่าช้า เพราะติดขัดข้อกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา การแต่งตั้งบุคลากร การใช้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สหรณ์ครู ล้วนแต่หวังผลสนับสนุนคะแนนเสียงทางการเมืองทั้งสิ้น
"นักการเมืองกลัวว่าหากปล่อยให้ คสช.ทำไป แล้วสำเร็จ ประชาชนจะไม่เลือกนักการเมืองอีก สิ่งที่ถาม คสช.มาทุกเรื่อง สื่อลองถามกลับไปแล้วให้เขาตอบว่า หลายสิบปีของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำไมเรื่องเหล่านี้จึงไม่เกิด และหากได้มาเป็นรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร วันนี้ ที่ออกมาโวยวายรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ทำเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์ ที่ผ่านทำไม่ออกมา ไม่สนใจ”
เมื่อวานนี้ (10 เม.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับแกนนำพรรค แถลงจุดยืนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงที่ระบุให้ ส.ว.สรรหา ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การทำประชามติ ว่า พรรคมีจุดยืนกรณี กระบวนการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีการตรากฎหมายขึ้นโดยผ่านความเห็นชอบของ สนช.สัปดาห์ที่แล้ว ตนเป็นคนที่เรียกร้องให้มีการทำประชามติ เนื่องจากอยากเห็นรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ประชาชนเจ้าของประเทศมีส่วนร่วม และมีผลพลอยได้ให้รัฐธรรมนูญมีภูมิคุ้มกัน เช่นรัฐธรรมนูญปี 50 เมื่อมีความพยายามรื้อศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่า หากจะรื้อต้องกลับไปสอบถามความเห็นของประชาชนก่อน ดังนั้น การจัดทำประชามติ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการที่เสรี และเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำประชามติ แต่การทำกฎหมายประชามติ มีความสับสนในการกำหนดบทบาทของฝ่ายต่างๆ จากการห้ามไม่ให้ประชาชนทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ ข้อห้ามในกระบวนการประชามติ ต้องเขียนอย่างชัดแจ้ง ซึ่งมีเพียงมาตราเดียวคือ มาตรา 62 ที่ห้ามไม่ให้มีการสื่อสารผิดข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะก้าวร้าว ข่มขู่ ดังนั้นการเผยแพร่ความเห็นอย่างสุจริต ต้องทำได้ กกต.ในฐานะผู้พิพากษากฎหมาย ต้องออกมายืนยันว่าประชาชน มีสิทธิดำเนินการได้ มิเช่นนั้นกระบวนการนี้จะทำให้งบประมาณสูญเปล่า
ส่วนคำถามพ่วงของ สนช.นั้น นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหากผ่านจะต้องปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามนั้น การถามว่า สมควรให้วุฒิสภาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีในระยะเวลา 5 ปี หรือไม่ ซึ่งพรรคไม่เห็นด้วย และไม่รับคำถามนี้ เนื่องจากวุฒิสภาที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เป็นวุฒิสภาที่มาจากกระบวนการสรรหา และคสช.เป็นผู้แต่งตั้งในขั้นตอนสุดท้าย การให้วุฒิสภาลงคะแนนเสียงร่วมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่ากับสามารถลบล้างเจตจำนงประชาชนที่แสดงออกในการเลือกตั้งได้ ผิดจากหลักการของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และคณะ การทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ มีแต่จะทำให้ความขัดแย้ง หรือปัญหาทางการเมืองรุนแรงขึ้น คือ.สมมติว่า วุฒิสภาใช้สิทธิตรงนี้จับมือกับพรรค หรือ ส.ส. ที่เป็นเสียงข้างน้อย ตั้งนายกฯ เพื่อให้เกิดรัฐบาลก็จะทำงานยาก เพราะเป็นเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎร
ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในขณะที่ คสช.ย้ำเสมอว่า ไม่ต้องการให้บ้านเมืองขัดแย้ง แต่การเริ่มต้นให้คนจำนวนหนึ่งมาลบล้างเจตจำนงประชาชนเป็นสูตรสำเร็จให้เกิดความขัดแย้งในวงกว้างทันที แต่ถ้าวุฒิสภาไปจับมือกับพรรคอันดับหนึ่ง ก็ไม่ช่วยเรื่องเสถียรภาพก็จะเป็นการลดอำนาจเสียงข้างน้อยในการคานอำนาจเสียงข้างมาก ดังนั้นจึงมีแต่ผลเสีย ถ้าสภาไม่ยอมให้ส.ว.ชี้ขาดในการเลือกนายกฯ มีวิธีเดียวคือ พรรคใหญ่ต้องจับมือกันก็จะเกิดเผด็จการในสภา พรรคจึงยืนยันว่า เป็นคำถามที่ประชาชนไม่สมควรรับในการลงประชามติ เพราะสร้างความขัดแย้ง ผิดหลักการ เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้วุฒิสภาเลือกนายกฯ หวังว่าจะยืนยันความเห็นนี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกมองว่า สนช. ทำทั้งที่หัวหน้าคสช. ประกาศแล้วว่า ไม่เห็นด้วย
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคยังไม่สามารถประชุมเป็นทางการได้ แต่นายจุรินทร์ และผู้บริหารพรรค ประมวลความเห็นของสมาชิก ซึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เห็นว่า มีข้อเสียมากกว่าข้อดี และไม่เห็นด้วยที่รัฐธรรมนูญนี้จะเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดสรรอำนาจ บทบาทองค์กรของรัฐกับประชาชน
ข้อดีที่สนับสนุนคือ มีมาตรการบางเรื่องเข้มข้นมากขึ้น ในการปราบปรามการทุจริตในเรื่องลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และการลงโทษคนทุจริตเลือกตั้ง รวมถึงเรื่องที่นักการเมืองแทรกแซงกระบวนการจัดทำงบประมาณใช้เองในขั้นตอนการทำประชามติ แต่ในประเด็นปราบคอร์รัปชัน ก็ไม่ได้ดีขึ้นทั้งหมด มีจุดอ่อน เช่น 1. ยกเลิกกระบวนการถอดถอน ทำให้ความผิดที่จะไปจบที่ศาล ต้องใช้มาตรฐานเหมือนคดีอาญา ยากที่จะเอาผิด 2. โทษลดลง เช่น ในอดีตคนที่เคยถูกถอดถอนจะเล่นการเมืองไม่ได้ตลอดชีวิต กลับลดลงมาเหลือห้าปี 3. สถานะของป.ป.ช. หากปฏิบัติหน้าที่มิชอบ จะเข้าสู่กระบวนการถอดถอน หรือฟ้องต่อศาล แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องผ่านประธานรัฐสภา คือ ส.ส.ที่สังกัดรัฐบาล หากประธานรัฐสภาเห็นว่า เรื่องที่ร้องเรียนไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ก็สามารถยุติเรื่องได้ จึงทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่ ป.ป.ช. จะต่อรองกับรัฐบาล ทำให้กระบวนการปราบปรามทุจริตอ่อนแอทันที
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง ข้อเสียของรัฐธรรมนูญ ว่า มีการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ และลดอำนาจประชาชน เมื่อเทียบอำนาจรัฐ ที่ผ่านมาสิทธิประชาชน มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่รัฐธรรมนูญที่มีการร่างใหม่ ถดถอยจากรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งสิ้น เชื่อว่าจะมีความขัดแย้งในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ จนเกิดความรุนแรงขึ้น การลดสิทธิเสรีภาพประชาชน โดยเพิ่มอำนาจราชการมากเกินไป จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจอ่อนแอลง ในแง่การตอบสนองความต้องการของประชาชน และทำให้รัฐบาลที่มาจากประชาชน มีปัญหามากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ในประเด็นที่เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งก็เป็นปัญหา โดยประชาชนไม่มีโอกาสเลือก ส.ว. ขณะเดียวกัน อำนาจของ ส.ว.ซึ่งมีที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชน ก็ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในเรื่องการเลือกนายกฯ นอกบัญชีได้ ตามที่กำหนดในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ การกำหนดให้ใช้บัตรเดียวในการเลือกตั้ง ก็เป็นการบังคับทำให้ประชาชนไม่สามารถเลือกตั้งอย่างเสรีได้อีกต่อไป
จากประเด็นเหล่านี้ ทำให้ประชาชนที่ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของประเทศ ถูกจำกัดสิทธิอย่างมาก นอกจากนี้ยังเห็นว่าปัญหาสำคัญของรัฐธรรมนูญอีกประเด็นหนึ่งคือ แก้ไขเพิ่มเติมยากมาก โดยเฉพาะประเด็นวุฒิสภา หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบุให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และต้องมีวุฒิสภาสนับสนุนถึง หนึ่งในสาม ในขณะที่ทั้งหมดมีที่มาเดียวกันหมด การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงอยู่ในมือของ ส.ว. และยังมีวาระ 5 ปี เท่ากับเกี่ยวข้องกับรัฐบาลสองชุด คล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญปี 21 ซึ่งในขณะนั้น มีความพยายามต่ออายุ บทเฉพาะกาล ดังนั้น หากจะแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยแทบทำไม่ได้เลย แต่ถ้าวุฒิสภา และรัฐบาลสมประโยชน์ ก็จะแก้ไปในทิศทางที่ตนเองต้องการได้ ทั้งหมดนี้ จึงทำให้สมาชิกของพรรคเห็นว่า ข้อเสียมากกว่าข้อดี และเราไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประเทศไทยต้องการรัฐธรรมนูญปราบโกง และเป็นประชาธิปไตย ถ้าการโต้แย้งรุนแรงขึ้น ที่อ้างว่าจะหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร ก็จะไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนใช้คำว่า ไม่เห็นด้วย แต่ยังไม่พูดว่ารับ หรือไม่รับ เพราะมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อแรก ถ้าประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ มีหลักประกันอะไรว่า รัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้ต่อไป จะดีกว่านี้ หรือจะไม่เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ อย่าลืมว่าความเห็น คสช.นั้น หนักหนาสาหัสกว่าฉบับที่ออกมา และคำถามพ่วง เพราะมีมากกว่านี้เยอะ จึงเรียกร้องว่า การใช้สิทธิของประชาชนเจ้าของประเทศ มีสิทธิรู้ว่าถ้าไม่รับ แล้วจะมีกระบวนการอย่างไรต่อไป เราต้องการคำตอบจาก คสช. ในเรื่องนี้ และสมาชิกพรรคมีความเป็นห่วงว่า มีคนกลุ่มหนึ่งเอาประเด็น รับหรือไม่รับ การทำประชามติ ไปเล่นการเมือง เช่น ถ้าไม่รับ จะมีการเรียกร้องให้ คสช.นายกฯ ลาออก ซึ่งอาจนำไปสู่ความวุ่นวายของบ้านเมือง พรรคจึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดเอาเรื่องรัฐธรรมนูญมาเล่นการเมือง แต่ให้ประชาชนตัดสิน และมีกระบวนการหลังตัดสินที่ชัดว่า ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญที่ดีได้อย่างไร
ดังนั้น พรรคจึงต้องรอดูว่า กระบวนการตรงนี้จะแก้ไขอย่างไร โดยหวังว่า กกต. จะสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำประชามติที่เสรีและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดบรรทัดฐาน ซึ่งจะนำไปใช้ในการเลือกตั้งได้ด้วย จากนั้นคำตอบที่จะรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะง่ายขึ้น และพรรคพร้อมที่จะให้ข้อมูลกับประชาชน เนื่องจากมีหลายเรื่องที่ประชาชนยังไม่ทราบ เนื่องจากมีการชี้นำเกินไป เช่น ขนานนามว่า รัฐธรรมนูญปราบโกง ก็เป็นการชี้นำเหมือนกัน เมื่อเห็นจุดอ่อนก็ไม่แน่ใจว่า จะปราบโกงได้จริงหรือเปล่า
"ไม่ยากที่จะบอกว่ารับ หรือไม่รับ หรือร่างเสร็จก็กดปุ่มเลยว่า จะรับหรือไม่รับ บางคนยังไม่อ่านก็บอกแล้ว ประเทศเดินอย่างนี้ไม่ได้ จึงเรียกร้องให้กำหนดกติกาว่า ประเทศจะมีทางเดินที่ไม่วุ่นวาย ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คสช.ควรให้เกียรติประชาชน แต่ถ้าไม่บอก เมื่อถึงจุดหนึ่งพวกผมก็ต้องตัดสินใจในเวลาทีสมควร ที่นายกฯ พูดทุกวันว่า กลัวเหมือนในอดีตต้องดูว่า อดีตเกิดเพราะไม่ยอมรับกติกา ไม่ใช่เกิดจากการเลือกตั้ง หรือผลเลือกตั้ง มามีปัญหาจากความไม่ชอบธรรมในการใช้อำนาจ"
ส่วนการให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกฯ จะเกี่ยวกับการให้ผู้มีอำนาจกลับมามีอำนาจอีกครั้งหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ต่างก็ออกมาให้สัมภาษณ์แล้ว ก็ต้องเชื่อว่าจะรักษาคำพูด แต่ถ้าไม่รักษาคำพูด ก็เห็นจากประวัติศาสตร์อยู่แล้ว ส่วนคนอื่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะขณะนี้ก็พอเห็นหน้าตาของ ส.ว. 250 คนแล้ว
***บิ๊กตู่ถามนักการเมืองกลัวอะไร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.กล่าวถึง กรณีฝ่ายการเมืองกังวลกับ คำถามพ่วงประชามติ ที่ให้ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ทำประชาชนสับสน ว่า อยากถามแล้วมันทำให้ประเทศเลวร้ายลงกว่าเดิมมั้ย ประชาชนมีความทุกข์มากขึ้น หรือเปล่า หรือนักการเมืองที่ไม่ดี จะเป็น จะตาย เกรงว่าจะทำอะไรที่เลวร้ายเหมือนที่เคยทำมาไม่ได้อีก อยากถามว่าที่ผ่านมา แก้ปัญหาอะไรสำเร็จบ้าง โดยไม่มีปัญหาตามมา ทั้งนโยบายประชานิยม ที่ได้สร้างความเสียหาย ประชาชนแตกแยก ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ค้ามนุษย์ ปัญหาการบิน คอร์รัปชัน ธุรกิจมืด บ้านเมืองไร้ระเบียบ กดดันจนข้าราชการและตำรวจทำงานไม่ได้ ระบบการทำงานขาดวิสัยทัศน์ ขาดยุทธศาสตร์ทุกมิติ ส่งผลเศรษฐกิจประเทศไม่เข้มแข็ง ประเภทมือใครยาวก็เข้าถึงระบบราชการ มีพรรคพวกตัวเองก็ได้ไป ภาคการเกษตร เกิดปัญหาราคาข้าว ยางพารา ไม่มีความเข้มแข็ง และเกิดปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง การแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้แต่ใช้การจ่ายเงินอุดหนุน อุดปากแต่ละปีไป โดยไม่สามารถหาเงินและจัดเก็บภาษีเพิ่มได้ ขณะนวัตกรรม งานวิจัย การศึกษา ดำเนินการล่าช้า เพราะติดขัดข้อกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา การแต่งตั้งบุคลากร การใช้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สหรณ์ครู ล้วนแต่หวังผลสนับสนุนคะแนนเสียงทางการเมืองทั้งสิ้น
"นักการเมืองกลัวว่าหากปล่อยให้ คสช.ทำไป แล้วสำเร็จ ประชาชนจะไม่เลือกนักการเมืองอีก สิ่งที่ถาม คสช.มาทุกเรื่อง สื่อลองถามกลับไปแล้วให้เขาตอบว่า หลายสิบปีของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำไมเรื่องเหล่านี้จึงไม่เกิด และหากได้มาเป็นรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร วันนี้ ที่ออกมาโวยวายรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ทำเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์ ที่ผ่านทำไม่ออกมา ไม่สนใจ”