ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ปัญหาของเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อทุกรัฐบาลในการครองใจประชาชนให้ได้ ดังนั้น หากประชาชนอยู่ดีกินดี ก็ย่อมทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีความมั่นคง และทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสุข
รัฐบาลในยุคไหน ก็สนใจแต่ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญ แต่ความสำคัญที่ยิ่งกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็คือการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้นทำให้ "ความเหลื่อมล้ำ"ระหว่างคนยากจนกับคนรวยห่างกันมากขึ้นหรือแคบลง
ดังนั้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี แม้จะมีความสำคัญ แต่มันคงไม่ได้สำคัญไปกว่าประเด็นที่ว่าผลประโยชน์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นตกอยู่กับใคร และเป็นธรรมหรือไม่?
แต่ภายหลังจากการลอยค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ค่าเงินบาทได้อ่อนค่าลงอย่างมาก สินค้าของประเทศไทยมีราคาถูกลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศ จึงเกิดการสั่งซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นผลทำให้ประเทศไทยจากเดินที่ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ได้กลับกลายเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจนเกินดุลการค้า มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างมากมายจนเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลทำให้เงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ประเทศ เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ ส่วนคนไทยก็ได้เงินบาทเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศที่ตัวเองได้รับ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา
แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่านั้นก็ไม่ได้จะมีข้อดีแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีข้อเสียที่ต้องพึงระวังก็ด้วยคือ "อัตราเงินเฟ้อ" ที่ราคาข้าวของสินค้าอาจมีราคาแพงขึ้น เพราะวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้นมีราคาสูงขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยเลือกใช้วิธีกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป แต่คำถามนี้ก็ได้ถูกท้าทายมาอยู่เสมอๆ เพราะการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ถูกละเลยในเรื่องค่าเงินบาทจนส่งผลทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันราคากับประเทศต่างๆได้
และคำถามที่ตามมาคล้ายๆกับ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ก็คือความคิดเรื่องการควบคุมเรื่องอัตราเงินเฟ้อนั้นจะถูกต้องเสมอไปหรือไม่? เช่น ถ้าเงินเฟ้อต่ำแต่เกิดจากราคาสินค้าเกษตรกรตกต่ำ หรือ ถ้าเงินเฟ้อสูงแต่เกิดจากราคาปิโตรเลียมสูงเกินไป จะวัดได้อย่างไรว่าการควบคุมเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีจริงเสมอไป? การวัดความเหลื่อมล้ำที่ลดลงน่าจะเป็นเป้าหมายที่ถูกต้องมากกว่าจริงหรือไม่?
ท่ามกลางการทำสงครามทางเศรษฐกิจในโลก ประเทศไทยได้เลือกวิธีการลอยค่าเงินบาทตลอดระยะเวลาเกือบ 18 ปีที่ผ่านมา แต่หลายประเทศกลับใช้วิธีบริหารจัดการค่าเงินของประเทศตัวเองให้อ่อนค่าลง เพื่อความได้เปรียบในด้านปัจจัยราคาของสินค้า เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว และดึงเงินจากต่างประเทศให้มาลงทุนประเทศตัวเองให้มากขึ้น
นั่นหมายถึงว่า "ค่าเงิน" ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจและรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆอีกด้วย ดังนั้นถ้าประเทศใดเชื่อเรื่องการปล่อยลอยตัวแบบยถากรรม หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ (เพราะเชื่อกลไกลตลาดเสรี) ในภาวะที่หลายประเทศบงการค่าเงินของตัวเองที่ไม่ได้เสรีจริงแล้ว ประเทศที่ตามไม่ทันเหล่านั้นก็อาจจะกลายเป็นเหยื่อสงครามการต่อสู้เศรษฐกิจระหว่างประเทศได้โดยไม่รู้ตัว
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศออกขายพันธบัตรก่อหนี้สินมหาศาล พิมพ์เงินออกมาเป็นสกุลเงินของโลกให้ใช้กันโดยไม่ต้องสนใจทุนสำรองระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเงินดอลลาร์แข็งก็กลับทำให้สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์เพราะสามารถใช้เงินดอลลาร์เข้าไปซื้อสินค้าในราคาถูกลง ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งกำหนดให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าเพื่อความได้เปรียบการจ้างงานสร้างรายได้นั้น ก็ผ่องถ่ายดอลลาร์ที่มีอยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนเป็นทองคำ เหมืองแร่ อสังหาริมทรัพย์ ปิโตรเลียมในประเทศต่างๆ เพื่อแปลงเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน (ที่ไม่รู้ว่าจะด้อยค่าเมื่อไหร่) ให้มาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องได้ในประเทศอื่นๆ แทน
ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องตระหนักให้ดีถึงเรื่องค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศที่ต้องแข่งขันได้จริง ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่หลงดีใจส่งเสริมการขายทรัพย์สินในประเทศให้เป็นที่รับกระดาษดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในสัดส่วนของทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินไป จริงหรือไม่?
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดทำ "ดัชนีค่าเงินบาท" เพื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งและคู่ค้า 25 สกุลเงิน หรือ 25 ประเทศ เพื่อดูว่าค่าเงินบาทที่เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น เมื่อเทียบกับ 25 ประเทศที่มีการถ่วงน้ำหนักกันแล้ว ค่าเงินบาทของไทยนั้นสูงหรือต่ำเกินไป เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบในสถานการณ์ค่าเงินทั่วโลกไม่ปกติเช่นนี้
ในขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่าค่าเงินแต่เพียงอย่างเดียวไม่พอ เพราะจะต้องเทียบกับดัชนีราคาในแต่ละประเทศเข้ามาพิจารณาด้วย เช่น ราคาสินค้าในประเทศ ราคาค่าแรง เพราะบางกรณีค่าเงินอ่อนลง (ที่ทำให้สินค้าไทยราคาถูกลง) อาจไม่พอเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อหรือต้นทุนดัชนีราคาในประเทศแพงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นการมีค่าเงินที่อ่อนลงก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงก็ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้นำปัจจัยดัชนีราคามาคำนวณกับดัชนีค่าเงินบาทเพื่อหา "ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง" เทียบกับ 25 ประเทศ
ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เลือกปี 2555 เป็นปีฐานว่าเท่ากับ 100 ทั้ง "ดัชนีค่าเงินบาท" และ "ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง" เพื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งว่าเรามีค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่าเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศ
เมื่อนำข้อมูลดัชนีราคาเราจึงพบว่าตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับการถ่วงน้ำหนักค่าเงินของประเทศคู่แข่งและคู่ค้า 25 ประเทศ และจะมีแนวโน้มจะทยอยแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศ ถ้าไม่มีใครทำอะไรสักอย่าง!!!!
ถ้านับเฉพาะ "ดัชนีค่าเงินบาท" ในรอบ 15 ปีมานี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศที่เป็นคู่แข่งและคู่ค้า ประมาณ 19.72 %
แต่ "ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง" นั้นหนักกว่าเพราะประเทศไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศถึง 22% แล้วจะประเทศไทยไปสู้ปัจจัยราคากับประเทศอื่นๆได้อย่างไร?
ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยว่าทำไมการส่งออกของประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากกับเรื่องปัจจัยราคา ซึ่งก็ส่งผลต่อกลับมายังสินค้าภายในประเทศรวมถึงเกษตรจะขายสินค้าให้ได้ราคายากขึ้นไปด้วย
ในขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนไม่ทันตามคู่แข่งและคู่ค้า แต่สินค้าในประเทศด้านพลังงานก็กลับไม่ควบคุมให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมันฝืนตลาดเพราะอุ้มเอทานอลและไบโอดีเซลที่แพงเกินไป และแพงกว่าตลาดโลก (หรือไม่ก็เป็นเพราะผลผลิตต่อไร่ต่ำเกินไป) ในขณะที่ราคาก๊าซหุงต้ม LPG จากโรงแยกแก๊สในประเทศแท้ๆยังแพงกว่า LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นต้นทุนพลังงานในประเทศที่สูงเช่นนี้จึงคอยผลักดันทำให้ดัชนีราคาต้นทุนในประเทศสูงขึ้น บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปด้วย
ยังไม่นับว่ารัฐบาลจะมีการแก้ไข พรบ.กองทุนน้ำมัน เพื่อเอาเงินกองทุนน้ำมันไปสร้างคลังก๊าซสำรองหรือท่อก๊าซ โดยไม่ได้ใช้กลไกงบประมาณและการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ และจัดทำโดยไม่จัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติให้ทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบแล้ว ก็อาจมีความเสี่ยงทำให้กองทุนน้ำมันกลายเป็นปัญหาที่ทำให้ประเทศไทยจะมีต้นทุนพลังงานสูงต่อไปอย่างไร้ขีดจำกัด ยิ่งหากส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากนักเลือกตั้งที่คิดจะโกงชาติแล้ว กองทุนนน้ำมันก็อาจจะกลายเป็นแหล่งทำมาหากินที่ทำให้คนไทยต้องมีราคาพลังงานแพงไปมากกว่านี้ ก็จะยิ่งส่งผลทำให้ความสามารถในการแข่งขันราคาของประเทศไทยลดลงไปอีกในระยะยาวอีกด้วย
แม้จะมีอีกหลายมิติในด้านความสามารถในการแข่งขัน เช่น คุณภาพสินค้า โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่ง ฯลฯ แต่ "ค่าเงินบาท โครงสร้างภาษี โครงสร้างราคาพลังงาน" เป็นสิ่งที่ปฏิรูปแล้วจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเร็วและกระทบเป็นวงกว้างที่สุดในระยะสั้นนี้
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ปัญหาของเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อทุกรัฐบาลในการครองใจประชาชนให้ได้ ดังนั้น หากประชาชนอยู่ดีกินดี ก็ย่อมทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีความมั่นคง และทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสุข
รัฐบาลในยุคไหน ก็สนใจแต่ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญ แต่ความสำคัญที่ยิ่งกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็คือการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้นทำให้ "ความเหลื่อมล้ำ"ระหว่างคนยากจนกับคนรวยห่างกันมากขึ้นหรือแคบลง
ดังนั้นตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี แม้จะมีความสำคัญ แต่มันคงไม่ได้สำคัญไปกว่าประเด็นที่ว่าผลประโยชน์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นตกอยู่กับใคร และเป็นธรรมหรือไม่?
แต่ภายหลังจากการลอยค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ค่าเงินบาทได้อ่อนค่าลงอย่างมาก สินค้าของประเทศไทยมีราคาถูกลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศ จึงเกิดการสั่งซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นผลทำให้ประเทศไทยจากเดินที่ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ได้กลับกลายเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจนเกินดุลการค้า มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างมากมายจนเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลทำให้เงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ประเทศ เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ ส่วนคนไทยก็ได้เงินบาทเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศที่ตัวเองได้รับ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา
แต่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่านั้นก็ไม่ได้จะมีข้อดีแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีข้อเสียที่ต้องพึงระวังก็ด้วยคือ "อัตราเงินเฟ้อ" ที่ราคาข้าวของสินค้าอาจมีราคาแพงขึ้น เพราะวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้นมีราคาสูงขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยเลือกใช้วิธีกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป แต่คำถามนี้ก็ได้ถูกท้าทายมาอยู่เสมอๆ เพราะการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ถูกละเลยในเรื่องค่าเงินบาทจนส่งผลทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันราคากับประเทศต่างๆได้
และคำถามที่ตามมาคล้ายๆกับ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ก็คือความคิดเรื่องการควบคุมเรื่องอัตราเงินเฟ้อนั้นจะถูกต้องเสมอไปหรือไม่? เช่น ถ้าเงินเฟ้อต่ำแต่เกิดจากราคาสินค้าเกษตรกรตกต่ำ หรือ ถ้าเงินเฟ้อสูงแต่เกิดจากราคาปิโตรเลียมสูงเกินไป จะวัดได้อย่างไรว่าการควบคุมเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีจริงเสมอไป? การวัดความเหลื่อมล้ำที่ลดลงน่าจะเป็นเป้าหมายที่ถูกต้องมากกว่าจริงหรือไม่?
ท่ามกลางการทำสงครามทางเศรษฐกิจในโลก ประเทศไทยได้เลือกวิธีการลอยค่าเงินบาทตลอดระยะเวลาเกือบ 18 ปีที่ผ่านมา แต่หลายประเทศกลับใช้วิธีบริหารจัดการค่าเงินของประเทศตัวเองให้อ่อนค่าลง เพื่อความได้เปรียบในด้านปัจจัยราคาของสินค้า เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว และดึงเงินจากต่างประเทศให้มาลงทุนประเทศตัวเองให้มากขึ้น
นั่นหมายถึงว่า "ค่าเงิน" ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจและรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆอีกด้วย ดังนั้นถ้าประเทศใดเชื่อเรื่องการปล่อยลอยตัวแบบยถากรรม หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ (เพราะเชื่อกลไกลตลาดเสรี) ในภาวะที่หลายประเทศบงการค่าเงินของตัวเองที่ไม่ได้เสรีจริงแล้ว ประเทศที่ตามไม่ทันเหล่านั้นก็อาจจะกลายเป็นเหยื่อสงครามการต่อสู้เศรษฐกิจระหว่างประเทศได้โดยไม่รู้ตัว
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศออกขายพันธบัตรก่อหนี้สินมหาศาล พิมพ์เงินออกมาเป็นสกุลเงินของโลกให้ใช้กันโดยไม่ต้องสนใจทุนสำรองระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเงินดอลลาร์แข็งก็กลับทำให้สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์เพราะสามารถใช้เงินดอลลาร์เข้าไปซื้อสินค้าในราคาถูกลง ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งกำหนดให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าเพื่อความได้เปรียบการจ้างงานสร้างรายได้นั้น ก็ผ่องถ่ายดอลลาร์ที่มีอยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนเป็นทองคำ เหมืองแร่ อสังหาริมทรัพย์ ปิโตรเลียมในประเทศต่างๆ เพื่อแปลงเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน (ที่ไม่รู้ว่าจะด้อยค่าเมื่อไหร่) ให้มาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องได้ในประเทศอื่นๆ แทน
ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องตระหนักให้ดีถึงเรื่องค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศที่ต้องแข่งขันได้จริง ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่หลงดีใจส่งเสริมการขายทรัพย์สินในประเทศให้เป็นที่รับกระดาษดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในสัดส่วนของทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินไป จริงหรือไม่?
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดทำ "ดัชนีค่าเงินบาท" เพื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งและคู่ค้า 25 สกุลเงิน หรือ 25 ประเทศ เพื่อดูว่าค่าเงินบาทที่เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น เมื่อเทียบกับ 25 ประเทศที่มีการถ่วงน้ำหนักกันแล้ว ค่าเงินบาทของไทยนั้นสูงหรือต่ำเกินไป เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบในสถานการณ์ค่าเงินทั่วโลกไม่ปกติเช่นนี้
ในขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่าค่าเงินแต่เพียงอย่างเดียวไม่พอ เพราะจะต้องเทียบกับดัชนีราคาในแต่ละประเทศเข้ามาพิจารณาด้วย เช่น ราคาสินค้าในประเทศ ราคาค่าแรง เพราะบางกรณีค่าเงินอ่อนลง (ที่ทำให้สินค้าไทยราคาถูกลง) อาจไม่พอเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อหรือต้นทุนดัชนีราคาในประเทศแพงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นการมีค่าเงินที่อ่อนลงก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงก็ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้นำปัจจัยดัชนีราคามาคำนวณกับดัชนีค่าเงินบาทเพื่อหา "ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง" เทียบกับ 25 ประเทศ
ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เลือกปี 2555 เป็นปีฐานว่าเท่ากับ 100 ทั้ง "ดัชนีค่าเงินบาท" และ "ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง" เพื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งว่าเรามีค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่าเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศ
เมื่อนำข้อมูลดัชนีราคาเราจึงพบว่าตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับการถ่วงน้ำหนักค่าเงินของประเทศคู่แข่งและคู่ค้า 25 ประเทศ และจะมีแนวโน้มจะทยอยแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศ ถ้าไม่มีใครทำอะไรสักอย่าง!!!!
ถ้านับเฉพาะ "ดัชนีค่าเงินบาท" ในรอบ 15 ปีมานี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศที่เป็นคู่แข่งและคู่ค้า ประมาณ 19.72 %
แต่ "ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง" นั้นหนักกว่าเพราะประเทศไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ 25 ประเทศถึง 22% แล้วจะประเทศไทยไปสู้ปัจจัยราคากับประเทศอื่นๆได้อย่างไร?
ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยว่าทำไมการส่งออกของประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากกับเรื่องปัจจัยราคา ซึ่งก็ส่งผลต่อกลับมายังสินค้าภายในประเทศรวมถึงเกษตรจะขายสินค้าให้ได้ราคายากขึ้นไปด้วย
ในขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนไม่ทันตามคู่แข่งและคู่ค้า แต่สินค้าในประเทศด้านพลังงานก็กลับไม่ควบคุมให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมันฝืนตลาดเพราะอุ้มเอทานอลและไบโอดีเซลที่แพงเกินไป และแพงกว่าตลาดโลก (หรือไม่ก็เป็นเพราะผลผลิตต่อไร่ต่ำเกินไป) ในขณะที่ราคาก๊าซหุงต้ม LPG จากโรงแยกแก๊สในประเทศแท้ๆยังแพงกว่า LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นต้นทุนพลังงานในประเทศที่สูงเช่นนี้จึงคอยผลักดันทำให้ดัชนีราคาต้นทุนในประเทศสูงขึ้น บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไปด้วย
ยังไม่นับว่ารัฐบาลจะมีการแก้ไข พรบ.กองทุนน้ำมัน เพื่อเอาเงินกองทุนน้ำมันไปสร้างคลังก๊าซสำรองหรือท่อก๊าซ โดยไม่ได้ใช้กลไกงบประมาณและการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ และจัดทำโดยไม่จัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติให้ทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบแล้ว ก็อาจมีความเสี่ยงทำให้กองทุนน้ำมันกลายเป็นปัญหาที่ทำให้ประเทศไทยจะมีต้นทุนพลังงานสูงต่อไปอย่างไร้ขีดจำกัด ยิ่งหากส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากนักเลือกตั้งที่คิดจะโกงชาติแล้ว กองทุนนน้ำมันก็อาจจะกลายเป็นแหล่งทำมาหากินที่ทำให้คนไทยต้องมีราคาพลังงานแพงไปมากกว่านี้ ก็จะยิ่งส่งผลทำให้ความสามารถในการแข่งขันราคาของประเทศไทยลดลงไปอีกในระยะยาวอีกด้วย
แม้จะมีอีกหลายมิติในด้านความสามารถในการแข่งขัน เช่น คุณภาพสินค้า โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่ง ฯลฯ แต่ "ค่าเงินบาท โครงสร้างภาษี โครงสร้างราคาพลังงาน" เป็นสิ่งที่ปฏิรูปแล้วจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเร็วและกระทบเป็นวงกว้างที่สุดในระยะสั้นนี้