รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุถึง ความคืบหน้ากรณีที่พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานป.ป.ช. ได้มอบนโยบายแก่หน่วยงานภายในร่วมกันปรับปรุงการทำงานของป.ป.ช.ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายทำคดีสำคัญให้แล้วเสร็จ อย่างน้อย 500 คดี ภายในปีงบประมาณ 59 นี้
แหล่งข่าวในป.ป.ช. เปิดเผยว่า หลังจากที่หน่วยงานภายในป.ป.ช.ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับปรุงวิธีการทำงานหลายประเด็น รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ล่าสุดเมื่อเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.ต.อ.วัชรพลได้สั่งการผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานป.ป.ช. ให้เร่งสรุปในประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขระเบียบป.ป.ช.ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน โดยมีแนวคิดที่จะปรับให้ป.ป.ช.รับผิดชอบการเสนอฟ้องเฉพาะคดีอาญา อันเกิดจากความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน โดยไม่รวมคดีอาญาที่เกิดความผิดทางวินัย ที่ต้องการให้เป็นอำนาจของส่วนราชการนั้นๆ โดย ป.ป.ช. มีหน้าที่เพียงชี้มูลความผิดเท่านั้น ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ต้องมีการแก้ไข พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 ทำให้มีข้อกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการที่ยุ่งยาก เพราะต้องผ่านการอนุมัติ ทั้งที่ประชุม ครม. ก่อนส่งไปให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่ง
แหล่งข่าว ระบุด้วยว่า มีการเสนอว่า หากต้องการตัดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ป.ป.ช.ต้องทำข้อสรุปประเด็นต่างๆ ให้เสร็จเรียบร้อย เพื่อที่จะนำเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้ใช้อำนาจมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ 2557 สั่งแก้ไข พ.ร.ป. ป.ป.ช. โดยเน้นไปในประเด็นความรับผิดชอบเสนอฟ้องเฉพาะคดีอาญา อันเกิดจากความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันเท่านั้น
"ท่านประธาน ป.ป.ช.เชื่อว่า หากทำข้อสรุปพร้อมแนบเหตุผลว่า การแก้ไขประเด็นนี้ จะช่วยให้การไต่สวนคดีทุจริตเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นรวมทั้งส่งร่างแก้ไข พ.ร.ป. ป.ป.ช.ไปด้วย เชื่อว่า หัวหน้าคสช.คงให้การสนับสนุน" แหล่งข่าว ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากความพยายามของ พล.ต.อ.วัชรพล ดังกล่าว ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ภายในสำนักงานป.ป.ช.ว่า มีนัยซ่อนเร้น เพื่อปกป้องข้าราชการที่มีความผิดเฉพาะการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งหากมีการใช้อำนาจ มาตรา 44 แก้ไข พ.ร.บ.ป.ป.ช. ในส่วนนี้จริง อาจมีผลทำให้การตรวจสอบคดีความผิดทางวินัย ที่อยู่ในกระบวนการของ ป.ป.ช. ต้องหยุดชะงักทั้งหมด รวมไปถึงคดีอาญาที่เกี่ยวกับความผิดทางวินัย ก็อาจมีการเสนอให้มีการถอนฟ้องอีกด้วย ซึ่งรวมไปถึงคดีที่ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. (ทั้งหมดเป็นตำแหน่งเมื่อปี 2551) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำ อม.2/2558 ไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ การขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน ป.ป.ช. ของพล.ต.อ.วัชรพล ถูกมองว่าได้รับการสนับสนุนจากพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ซึ่งเป็นพี่ชายของพล.ต.อ.พัชรวาท อีกทั้งยังเคยทำงานใกล้ชิดกับทั้ง พล.อ.ประวิตร และ พล.ต.อ.พัชรวาท ทั้งในสมัยที่ยังอยู่ในราชการ จนเกษียณอายุราชการ โดยดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พล.อ.ประวิตร) ก่อนได้รับเลือกเป็น ป.ป.ช. เมื่อช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวในป.ป.ช. เปิดเผยว่า หลังจากที่หน่วยงานภายในป.ป.ช.ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับปรุงวิธีการทำงานหลายประเด็น รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ล่าสุดเมื่อเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.ต.อ.วัชรพลได้สั่งการผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานป.ป.ช. ให้เร่งสรุปในประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขระเบียบป.ป.ช.ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน โดยมีแนวคิดที่จะปรับให้ป.ป.ช.รับผิดชอบการเสนอฟ้องเฉพาะคดีอาญา อันเกิดจากความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน โดยไม่รวมคดีอาญาที่เกิดความผิดทางวินัย ที่ต้องการให้เป็นอำนาจของส่วนราชการนั้นๆ โดย ป.ป.ช. มีหน้าที่เพียงชี้มูลความผิดเท่านั้น ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ต้องมีการแก้ไข พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 ทำให้มีข้อกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการที่ยุ่งยาก เพราะต้องผ่านการอนุมัติ ทั้งที่ประชุม ครม. ก่อนส่งไปให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่ง
แหล่งข่าว ระบุด้วยว่า มีการเสนอว่า หากต้องการตัดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ป.ป.ช.ต้องทำข้อสรุปประเด็นต่างๆ ให้เสร็จเรียบร้อย เพื่อที่จะนำเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้ใช้อำนาจมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ 2557 สั่งแก้ไข พ.ร.ป. ป.ป.ช. โดยเน้นไปในประเด็นความรับผิดชอบเสนอฟ้องเฉพาะคดีอาญา อันเกิดจากความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันเท่านั้น
"ท่านประธาน ป.ป.ช.เชื่อว่า หากทำข้อสรุปพร้อมแนบเหตุผลว่า การแก้ไขประเด็นนี้ จะช่วยให้การไต่สวนคดีทุจริตเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นรวมทั้งส่งร่างแก้ไข พ.ร.ป. ป.ป.ช.ไปด้วย เชื่อว่า หัวหน้าคสช.คงให้การสนับสนุน" แหล่งข่าว ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากความพยายามของ พล.ต.อ.วัชรพล ดังกล่าว ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ภายในสำนักงานป.ป.ช.ว่า มีนัยซ่อนเร้น เพื่อปกป้องข้าราชการที่มีความผิดเฉพาะการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งหากมีการใช้อำนาจ มาตรา 44 แก้ไข พ.ร.บ.ป.ป.ช. ในส่วนนี้จริง อาจมีผลทำให้การตรวจสอบคดีความผิดทางวินัย ที่อยู่ในกระบวนการของ ป.ป.ช. ต้องหยุดชะงักทั้งหมด รวมไปถึงคดีอาญาที่เกี่ยวกับความผิดทางวินัย ก็อาจมีการเสนอให้มีการถอนฟ้องอีกด้วย ซึ่งรวมไปถึงคดีที่ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. (ทั้งหมดเป็นตำแหน่งเมื่อปี 2551) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำ อม.2/2558 ไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ การขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน ป.ป.ช. ของพล.ต.อ.วัชรพล ถูกมองว่าได้รับการสนับสนุนจากพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ซึ่งเป็นพี่ชายของพล.ต.อ.พัชรวาท อีกทั้งยังเคยทำงานใกล้ชิดกับทั้ง พล.อ.ประวิตร และ พล.ต.อ.พัชรวาท ทั้งในสมัยที่ยังอยู่ในราชการ จนเกษียณอายุราชการ โดยดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พล.อ.ประวิตร) ก่อนได้รับเลือกเป็น ป.ป.ช. เมื่อช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา