ผู้จัดการรายวัน360- วิทยุการบินฯ ปรับระบบบริหารจราจรทางอากาศใหม่ วันแรกทำ เที่ยวบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ดีเลย์ เพียบ รวม 82 เที่ยวบิน หนักสุดดีเลย์ 1.45 ชม. บวท.แจง ใช้ระบบจัดจราจรใหม่บริการ 2 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง) แก้ปัญหาแออัด ประกอบกับสภาพอากาศวันแรกที่เริ่มใช้ไม่เอื้ออำนวย เลยต้องปรับระยะห่างเที่ยวบินจาก 2 นาที/ลำเป็น 4 นาที/ลำ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
รายงานข่าว แจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (31 มี.ค.) การให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เกิดปัญหาส่งผลให้มีเที่ยวบินล่าช้าจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ระบุว่า ระบบให้บริการของสนามบินทั้งบริการภาคพื้นดินและการบริหารจัดการผู้โดยสารไม่มีปัญหา
โดยสาเหตุของเที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนดในตารางบินนั้น เนื่องจากทางบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารการจราจรทางอากาศใหม่เป็นวันแรก และเมื่อเที่ยวบินขาออกล่าช้าทำให้เที่ยวบินขาเข้า ต้องล่าช้าไปด้วย
โดยนายทินกร ชูวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บวท.ชี้แจงว่า วานนี้ (31 มี.ค.) เป็นวันแรกที่ บวท. มีการปรับการบริหารการจราจรทางอากาศ สำหรับเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิใหม่ ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดความล่าช้าขอเที่ยวบินขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจาก ปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน บวท.จึง ได้ดำเนินการโครงการศึกษา ทบทวน วิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเส้นทางบินมาตรฐานขาเข้า- ขาออก (RNAV SID/STAR) สำหรับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศในเขตสนามบินกรุงเทพ สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง โดยได้ดำเนินการในขั้นตอนสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย ขั้นตอนศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนการออกแบบและจัดทำเส้นทางบินมาตรฐาน ขั้นตอนการวิเคราะห์และประเมินความปลอดภัย ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล ขั้นตอนการบินทดสอบ โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และประกาศให้ผู้ปฏิบัติงานทางอากาศ (NOTAM) รับทราบโดยทั่วกันโดยมีผลบังคับใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มี.ค. 2559 ในเวลา 0700 น.
ซึ่งเมื่อเริ่มเปิดใช้งานตามแผนและขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้ โดยเที่ยวบินแรกที่เข้ามา ลงด้วยระบบ RNAV STAR ใหม่ โดย เที่ยวบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ BKP100 แบบ A319 เดินทางมาจากท่าอากาศยานสมุย ลงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 06.59น. และ เที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ AIQ3036 แบบ A320 เดินทางมาจากท่าอากาศยานภูเก็ตลงท่าอากาศยานดอนเมือง เวลา 07.04 น.
ประกอบกับช่วงเวลา 0705 น. มีสภาพอากาศรองท่าอาศยานสุวรรณภูมิ มีการปรับ procedure ใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และให้ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศและนักบินเกิดความคุ้นชิน จึงต้องมีการจัดระยะห่างของอากาศในการเข้า/ออก จาก 2 นาที/ลำ เป็น 4 นาที/ลำ จึงมีผลกระทบทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบินขึ้น
โดยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงเวลา 08.00-09.45 น. เที่ยวบินขาออกล่าช้า 48 เที่ยวบิน เฉลี่ยเที่ยวบินละ 1 ชั่วโมง ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองช่วงเวลา 08.00-09.45 น. เที่ยวบินขาออก ล่าช้า 34 เที่ยวบิน เฉลี่ยเที่ยวบินละ 1 ชั่วโมง โดยปัญหาเครื่องบินที่คั่งค้างได้ทำการบินออกครบถ้วนในช่วงเวลาประมาณ 11.00 น.
และสถานการณ์จะเริ่มเข้าสูสภาวะปกติช่วงเวลา12.00 น.
อย่างไรก็ตาม บวท. เชื่อมั่นว่าการปรับปรุงแก้ไขเส้นทางบินมาตรฐานขาเข้า- ขาออก (RNAV SID/STAR) และมีการสร้างความคุ้นชินในการปฏิบัติการบินทั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศและนักบินแล้ว จะส่งผลให้ขีดความสามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินในการให้บริการแบบ 2 สนามบิน (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) ได้เต็มศักยภาพ โดยสุวรรณภูมิรองรัวได้ 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง และดอนเมือง รองรับได้ 40 เที่ยว
รายงานข่าว แจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (31 มี.ค.) การให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เกิดปัญหาส่งผลให้มีเที่ยวบินล่าช้าจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ระบุว่า ระบบให้บริการของสนามบินทั้งบริการภาคพื้นดินและการบริหารจัดการผู้โดยสารไม่มีปัญหา
โดยสาเหตุของเที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนดในตารางบินนั้น เนื่องจากทางบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารการจราจรทางอากาศใหม่เป็นวันแรก และเมื่อเที่ยวบินขาออกล่าช้าทำให้เที่ยวบินขาเข้า ต้องล่าช้าไปด้วย
โดยนายทินกร ชูวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บวท.ชี้แจงว่า วานนี้ (31 มี.ค.) เป็นวันแรกที่ บวท. มีการปรับการบริหารการจราจรทางอากาศ สำหรับเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิใหม่ ประกอบกับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดความล่าช้าขอเที่ยวบินขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจาก ปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน บวท.จึง ได้ดำเนินการโครงการศึกษา ทบทวน วิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเส้นทางบินมาตรฐานขาเข้า- ขาออก (RNAV SID/STAR) สำหรับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศในเขตสนามบินกรุงเทพ สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง โดยได้ดำเนินการในขั้นตอนสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย ขั้นตอนศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนการออกแบบและจัดทำเส้นทางบินมาตรฐาน ขั้นตอนการวิเคราะห์และประเมินความปลอดภัย ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล ขั้นตอนการบินทดสอบ โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และประกาศให้ผู้ปฏิบัติงานทางอากาศ (NOTAM) รับทราบโดยทั่วกันโดยมีผลบังคับใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มี.ค. 2559 ในเวลา 0700 น.
ซึ่งเมื่อเริ่มเปิดใช้งานตามแผนและขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้ โดยเที่ยวบินแรกที่เข้ามา ลงด้วยระบบ RNAV STAR ใหม่ โดย เที่ยวบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ BKP100 แบบ A319 เดินทางมาจากท่าอากาศยานสมุย ลงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 06.59น. และ เที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ AIQ3036 แบบ A320 เดินทางมาจากท่าอากาศยานภูเก็ตลงท่าอากาศยานดอนเมือง เวลา 07.04 น.
ประกอบกับช่วงเวลา 0705 น. มีสภาพอากาศรองท่าอาศยานสุวรรณภูมิ มีการปรับ procedure ใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และให้ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศและนักบินเกิดความคุ้นชิน จึงต้องมีการจัดระยะห่างของอากาศในการเข้า/ออก จาก 2 นาที/ลำ เป็น 4 นาที/ลำ จึงมีผลกระทบทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบินขึ้น
โดยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงเวลา 08.00-09.45 น. เที่ยวบินขาออกล่าช้า 48 เที่ยวบิน เฉลี่ยเที่ยวบินละ 1 ชั่วโมง ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองช่วงเวลา 08.00-09.45 น. เที่ยวบินขาออก ล่าช้า 34 เที่ยวบิน เฉลี่ยเที่ยวบินละ 1 ชั่วโมง โดยปัญหาเครื่องบินที่คั่งค้างได้ทำการบินออกครบถ้วนในช่วงเวลาประมาณ 11.00 น.
และสถานการณ์จะเริ่มเข้าสูสภาวะปกติช่วงเวลา12.00 น.
อย่างไรก็ตาม บวท. เชื่อมั่นว่าการปรับปรุงแก้ไขเส้นทางบินมาตรฐานขาเข้า- ขาออก (RNAV SID/STAR) และมีการสร้างความคุ้นชินในการปฏิบัติการบินทั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศและนักบินแล้ว จะส่งผลให้ขีดความสามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินในการให้บริการแบบ 2 สนามบิน (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) ได้เต็มศักยภาพ โดยสุวรรณภูมิรองรัวได้ 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง และดอนเมือง รองรับได้ 40 เที่ยว