ยุคนี้มีสิ่งดีๆ มากมายรวมทั้งสังคมออนไลน์ด้วย ผู้เข้าถึงอาจใช้สังคมออนไลน์ทำอะไรต่อมิอะไรเพื่อเป้าหมายหลากหลายอย่าง หนึ่งในนั้นได้แก่การรำพึงความรู้สึกลึกๆ ออกมาเมื่อไม่แน่ใจว่าจะมีผู้รับฟังหรือไม่ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีผู้ส่งรายงานใน “โพสต์ทูเดย์” เรื่อง “ธปท.แจงนำทุนสำรองลงหุ้นไม่แตะเงินบริจาคหลวงตาบัว” ผมรู้สึกอึดอัดใจ แต่ไม่รู้จะพูดกับใครจึงนำไปรำพึงไว้ในสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กพร้อมกับคำถามสั้นๆ ว่า “ยโส โง่ หรือระยำ?” หลังจากนั้นไม่นาน ปรากฏว่ามีผู้เข้าไปตอบคำถามว่า “ระยำ” บ้าง “ทั้งสามอย่าง” บ้าง จำนวนมากไม่ตอบ แต่ออกความเห็นไปในทางแย้งแนวคิดที่จะนำทุนสำรองของชาติไปซื้อหุ้น
ความอึดอัดใจของผมมีที่มาที่ไปหลากหลายและยาวนาน เกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ความเชื่อมั่นอันยาวนานของผมตั้งแต่ครั้งที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฯ สั่นคลอนเมื่อตอนก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ในช่วงนั้นผมไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร ธปท.จึงมองไม่เห็นว่าอาจเกิดอะไรร้ายแรงเมื่อเปิดเสรีทางการเงินผ่านองค์กรที่ตั้งขึ้นใหม่ชื่อ “กรุงเทพวิเทศธนกิจ” และเพราะอะไรจึงปล่อยให้คนไทยกู้เงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาลมาเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์และสมาชิกสนามกอล์ฟกันอย่างกว้างขวางจนเกิดภาวะฟองสบู่
การกู้เงินชาวบ้านมาเก็งกำไรเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตเมื่อฟองสบู่แตก ผู้เก็งกำไรมีอยู่ทั่วไปในทุกวงการ รวมทั้งข้าราชการและนักเศรษฐศาสตร์ที่มีปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิต ยิ่งกว่านั้น ธปท.ยังมีบทบาทสำคัญในการดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาดอย่างมหันต์ นั่นคือ การทุ่มทุนสำรองกว่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ที่มีอยู่ต่อสู้กับนักโจมตีค่าเงินบาท กลยุทธ์จะเกิดจากความยโส หรือความโง่ยากที่จะฟันธง ส่วนผลลัพธ์ย่อมเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วหลังเมืองไทยสูญทุนสำรองของประเทศจนเกือบหมดสิ้นและเดินเข้าสู่ภาวะกึ่งล้มละลายจนแทบจะต้องนำดอกไม้ใส่พานไปขอยืมเงินจากต่างชาติ รวมทั้งจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มาเป็นทุนสำรองชั่วคราวเมื่อปี 2540 การไปยืมเงินครั้งนั้นทำให้ไทยต้องขายทรัพย์สินสารพัดซึ่งยังมีผลยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีผลทำให้นักการเมืองสามานย์นำไปอ้างเอาหน้าว่าใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดเวลาอีกด้วย
รายละเอียดของกระบวนการที่นำไปสู่การสูญทุนสำรองและวิกฤตครั้งนั้นมีอยู่ในหนังสือที่คนไทยทุกคนควรอ่านอย่างยิ่งชื่อ “รายงาน ศปร.” หากผู้ใดไปเปิดอ่านในตอนนี้ ขอเสนอให้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมลับสุดยอดเรื่องค่าเงินบาทที่หน้า 140-141 ด้วยความพินิจพิจารณาเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ควรดูด้วยว่า ธปท.ดัดหลังชาวต่างชาติที่โจมตีค่าเงินบาทอย่างไรผ่านการใช้มาตรการรุนแรงที่หน้า 126-127 ข้อมูลเหล่านั้นบ่งชี้ว่า ผู้ที่ทำกำไรได้มหาศาลจากการโจมตีค่าเงินบาทน่าจะเป็นนักเก็งกำไรชาวไทย มิใช่นักเก็งกำไรชาวต่างชาติซึ่งอาจเป็นแพะรับบาปมากกว่า อย่างไรก็ตาม การดัดหลังชาวต่างชาติสำเร็จครั้งนั้นเป็นเสมือนการรบชนะในสมรภูมิขนาดเล็กที่ไม่น่าภูมิใจเพราะเมืองไทยแพ้สงครามในตอนจบเมื่อทุนสำรองหมด ต้องลดค่าเงินบาทและเดินเข้าสู่ภาวะกึ่งล้มละลายและวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรง
หลังจากเศรษฐกิจฟื้นคืนชีพจากวิกฤต เมืองไทยเริ่มสะสมทุนสำรองรวมทั้งทองและเงินตราต่างประเทศที่หลวงตามหาบัวได้นำทำผ้าป่ามามอบให้ ทุนสำรองกองใหม่นี้ใหญ่กว่ากองที่สูญไปตอนก่อนวิกฤตมาก เพียงไม่นานจึงมีการเสนอให้ดึงส่วนหนึ่งของทุนสำรองกองใหม่ออกมาตั้ง “กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ” ในแนวเดียวกันกับที่ชาวต่างประเทศทำ ผมคัดค้านแนวคิดนั้นแบบหัวชนฝามาตลอดผ่านการพูดและการเขียนบทความลงตามสื่อหลายแห่ง เหตุผลที่ผมคัดค้านมีอยู่ 3 ประการหลักๆ ด้วยกัน
ประการแรก ผมไม่เห็นด้วยกับการนำทุนสำรองของชาติไปซื้อสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงกว่าตราสารจำพวกพันธบัตรรัฐบาลประเทศใหญ่ๆ แทบที่ไม่มีความเสี่ยงเพราะโอกาสที่ประเทศเหล่านั้นจะไม่ใช้หนี้มีเพียงใกล้ศูนย์
ประการที่สองผมไม่มั่นใจในความสามารถของผู้บริหารและคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาดูแลกองทุนดังกล่าว จริงอยู่ ธปท.มีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถสูงซึ่งจำนวนหนึ่งธนาคารให้ทุนสนับสนุนไปเรียนจนสำเร็จจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ แต่ความสามารถของนักเศรษฐศาสตร์เหล่านั้นมาจากตำรามากกว่ามาจากประสบการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีความสลับซับซ้อนสูงมากและเต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง แรดในด้านการลงทุน ปั่นหุ้นและเก็งกำไร ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปในการต่อสู้กับนักโจมตีค่าเงินเมื่อปี 2540 เป็นตัวชี้วัดอย่างดี นอกจากนั้น ยังมีตัวอย่างที่ข้าราชการบำนาญคงไม่ลืมเกี่ยวกับความสูญเสียในกองทุนบำเหน็จบำนาญซึ่งครั้งหนึ่งผู้บริหารคุยนักคุยหนาว่ามีความสามารถเหนือชั้น แต่ก่อนจะรู้ว่านั่นเป็นเพียงความยโสอันน่าอับอายก็สายเกินไปแล้ว
จริงอยู่ ธปท.อาจจ้างผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญสูงจากต่างประเทศได้ แต่นั่นไม่ใช่ประกันที่พึ่งได้เสมอไป สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ติดตามกิจการบริหารกองทุนในต่างประเทศ ขอเรียนว่าจำนวนมากมิได้ทำกำไรได้ดังคำเล่าลือ แม้แต่ผู้ที่มีสมญานามว่าพ่อมดการเงิน เช่น จอร์จ โซรอส ยังขาดทุนครั้งละเป็นพันล้านดอลลาร์ได้ ตัวอย่างที่ร้ายกว่านั้นคือ กองทุนขนาดใหญ่ที่มีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลถึงสองคนเป็นแกนนำยังล้มไม่เป็นท่า ผู้สนใจอาจไปอ่านรายละเอียดในหนังสือชื่อ “When Genius Failed”
ประการที่สาม ผมไม่มั่นใจในความซื่อตรงของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเหล่าต้นคิดที่ผลักดันให้ตั้งกองทุนมาเป็นเวลานาน ผมมองว่าคนเหล่านั้นมีวาระซ่อนเร้น หรือจิตใจระยำพร้อมที่จะนำสมบัติของชาติไปใส่กระเป๋าตนเองด้วยวิธีแยบยลที่คนไทยโดยทั่วไปไม่มีทางตามทัน ในปัจจุบัน คนเหล่านั้นจึงมักมีบัญชีมากมายอยู่ในแหล่งฟอกเงินต่างๆ ทางหมู่เกาะบาฮามาส และเคย์แมน
ความพยายามที่จะตั้งกองทุนมั่งคั่งดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะการคัดค้านจากเสียงนกเสียงกาของประชาชาชนเช่นผม หากเป็นการคัดค้านของผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายของประเทศ เช่น อดีตผู้ว่าการ ธปท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลสามารถใช้อำนาจเผด็จการได้ การเปลี่ยนกฎหมายให้นำทุนสำรองไปซื้อหุ้นจึงเกิดขึ้นแบบแทบจะเป็นสายฟ้าแลบหลังเปลี่ยนผู้ว่าการฯ เมื่อเกิดเสียงคัดค้านหนาหูในสังคมออนไลน์ ผู้ว่าการฯ คนใหม่ออกมาแถลงว่าจะไม่แตะต้องทองและเงินที่หลวงตาหามาบริจาคให้ คำอธิบายจะพูดอย่างไรก็ได้ แต่หลังเปลี่ยนกฎหมายแล้วสูญเงินสำรองกองใหญ่ใครรับกรรม?
การเสนอให้นำทุนสำรองของชาติไปซื้อหุ้นเป็นเสมือนการลงทุนจำพวก “หมาเห็นเงา” ที่เมืองไทยเรามักใช้ในนามของการพัฒนา การปล่อยของที่มีอยู่ในมือไปไม่ว่าจะเป็นการเกษตรแบบโบราณ ซึ่งผสมผสานหลายสิ่งหลายอย่างเข้าด้วยกันอันเป็นการลดความเสี่ยงและไม่ต้องใช้สารเคมี หรือการใช้สมุนไพรป้องกันโรค เพื่อหวังจะได้สิ่งที่มองว่าใหญ่หรือดีกว่าเป็นเสมือนหมาเห็นเงาโดยแท้ แม้การนำทุนสำรองของชาติออกไปซื้อหุ้นจะไม่มีความยโส ความโง่ หรือความระยำเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ค่าตอบแทนที่หวังจะได้กลับมาในอัตราสูงกว่าเป็นเพียงเงาในจินตนาการเท่านั้น
ความอึดอัดใจของผมมีที่มาที่ไปหลากหลายและยาวนาน เกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ความเชื่อมั่นอันยาวนานของผมตั้งแต่ครั้งที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการฯ สั่นคลอนเมื่อตอนก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ในช่วงนั้นผมไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร ธปท.จึงมองไม่เห็นว่าอาจเกิดอะไรร้ายแรงเมื่อเปิดเสรีทางการเงินผ่านองค์กรที่ตั้งขึ้นใหม่ชื่อ “กรุงเทพวิเทศธนกิจ” และเพราะอะไรจึงปล่อยให้คนไทยกู้เงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาลมาเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์และสมาชิกสนามกอล์ฟกันอย่างกว้างขวางจนเกิดภาวะฟองสบู่
การกู้เงินชาวบ้านมาเก็งกำไรเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตเมื่อฟองสบู่แตก ผู้เก็งกำไรมีอยู่ทั่วไปในทุกวงการ รวมทั้งข้าราชการและนักเศรษฐศาสตร์ที่มีปริญญาระดับดุษฎีบัณฑิต ยิ่งกว่านั้น ธปท.ยังมีบทบาทสำคัญในการดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาดอย่างมหันต์ นั่นคือ การทุ่มทุนสำรองกว่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ที่มีอยู่ต่อสู้กับนักโจมตีค่าเงินบาท กลยุทธ์จะเกิดจากความยโส หรือความโง่ยากที่จะฟันธง ส่วนผลลัพธ์ย่อมเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วหลังเมืองไทยสูญทุนสำรองของประเทศจนเกือบหมดสิ้นและเดินเข้าสู่ภาวะกึ่งล้มละลายจนแทบจะต้องนำดอกไม้ใส่พานไปขอยืมเงินจากต่างชาติ รวมทั้งจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มาเป็นทุนสำรองชั่วคราวเมื่อปี 2540 การไปยืมเงินครั้งนั้นทำให้ไทยต้องขายทรัพย์สินสารพัดซึ่งยังมีผลยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีผลทำให้นักการเมืองสามานย์นำไปอ้างเอาหน้าว่าใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดเวลาอีกด้วย
รายละเอียดของกระบวนการที่นำไปสู่การสูญทุนสำรองและวิกฤตครั้งนั้นมีอยู่ในหนังสือที่คนไทยทุกคนควรอ่านอย่างยิ่งชื่อ “รายงาน ศปร.” หากผู้ใดไปเปิดอ่านในตอนนี้ ขอเสนอให้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมลับสุดยอดเรื่องค่าเงินบาทที่หน้า 140-141 ด้วยความพินิจพิจารณาเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ควรดูด้วยว่า ธปท.ดัดหลังชาวต่างชาติที่โจมตีค่าเงินบาทอย่างไรผ่านการใช้มาตรการรุนแรงที่หน้า 126-127 ข้อมูลเหล่านั้นบ่งชี้ว่า ผู้ที่ทำกำไรได้มหาศาลจากการโจมตีค่าเงินบาทน่าจะเป็นนักเก็งกำไรชาวไทย มิใช่นักเก็งกำไรชาวต่างชาติซึ่งอาจเป็นแพะรับบาปมากกว่า อย่างไรก็ตาม การดัดหลังชาวต่างชาติสำเร็จครั้งนั้นเป็นเสมือนการรบชนะในสมรภูมิขนาดเล็กที่ไม่น่าภูมิใจเพราะเมืองไทยแพ้สงครามในตอนจบเมื่อทุนสำรองหมด ต้องลดค่าเงินบาทและเดินเข้าสู่ภาวะกึ่งล้มละลายและวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรง
หลังจากเศรษฐกิจฟื้นคืนชีพจากวิกฤต เมืองไทยเริ่มสะสมทุนสำรองรวมทั้งทองและเงินตราต่างประเทศที่หลวงตามหาบัวได้นำทำผ้าป่ามามอบให้ ทุนสำรองกองใหม่นี้ใหญ่กว่ากองที่สูญไปตอนก่อนวิกฤตมาก เพียงไม่นานจึงมีการเสนอให้ดึงส่วนหนึ่งของทุนสำรองกองใหม่ออกมาตั้ง “กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ” ในแนวเดียวกันกับที่ชาวต่างประเทศทำ ผมคัดค้านแนวคิดนั้นแบบหัวชนฝามาตลอดผ่านการพูดและการเขียนบทความลงตามสื่อหลายแห่ง เหตุผลที่ผมคัดค้านมีอยู่ 3 ประการหลักๆ ด้วยกัน
ประการแรก ผมไม่เห็นด้วยกับการนำทุนสำรองของชาติไปซื้อสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงกว่าตราสารจำพวกพันธบัตรรัฐบาลประเทศใหญ่ๆ แทบที่ไม่มีความเสี่ยงเพราะโอกาสที่ประเทศเหล่านั้นจะไม่ใช้หนี้มีเพียงใกล้ศูนย์
ประการที่สองผมไม่มั่นใจในความสามารถของผู้บริหารและคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาดูแลกองทุนดังกล่าว จริงอยู่ ธปท.มีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถสูงซึ่งจำนวนหนึ่งธนาคารให้ทุนสนับสนุนไปเรียนจนสำเร็จจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศ แต่ความสามารถของนักเศรษฐศาสตร์เหล่านั้นมาจากตำรามากกว่ามาจากประสบการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีความสลับซับซ้อนสูงมากและเต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง แรดในด้านการลงทุน ปั่นหุ้นและเก็งกำไร ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปในการต่อสู้กับนักโจมตีค่าเงินเมื่อปี 2540 เป็นตัวชี้วัดอย่างดี นอกจากนั้น ยังมีตัวอย่างที่ข้าราชการบำนาญคงไม่ลืมเกี่ยวกับความสูญเสียในกองทุนบำเหน็จบำนาญซึ่งครั้งหนึ่งผู้บริหารคุยนักคุยหนาว่ามีความสามารถเหนือชั้น แต่ก่อนจะรู้ว่านั่นเป็นเพียงความยโสอันน่าอับอายก็สายเกินไปแล้ว
จริงอยู่ ธปท.อาจจ้างผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญสูงจากต่างประเทศได้ แต่นั่นไม่ใช่ประกันที่พึ่งได้เสมอไป สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ติดตามกิจการบริหารกองทุนในต่างประเทศ ขอเรียนว่าจำนวนมากมิได้ทำกำไรได้ดังคำเล่าลือ แม้แต่ผู้ที่มีสมญานามว่าพ่อมดการเงิน เช่น จอร์จ โซรอส ยังขาดทุนครั้งละเป็นพันล้านดอลลาร์ได้ ตัวอย่างที่ร้ายกว่านั้นคือ กองทุนขนาดใหญ่ที่มีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลถึงสองคนเป็นแกนนำยังล้มไม่เป็นท่า ผู้สนใจอาจไปอ่านรายละเอียดในหนังสือชื่อ “When Genius Failed”
ประการที่สาม ผมไม่มั่นใจในความซื่อตรงของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเหล่าต้นคิดที่ผลักดันให้ตั้งกองทุนมาเป็นเวลานาน ผมมองว่าคนเหล่านั้นมีวาระซ่อนเร้น หรือจิตใจระยำพร้อมที่จะนำสมบัติของชาติไปใส่กระเป๋าตนเองด้วยวิธีแยบยลที่คนไทยโดยทั่วไปไม่มีทางตามทัน ในปัจจุบัน คนเหล่านั้นจึงมักมีบัญชีมากมายอยู่ในแหล่งฟอกเงินต่างๆ ทางหมู่เกาะบาฮามาส และเคย์แมน
ความพยายามที่จะตั้งกองทุนมั่งคั่งดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะการคัดค้านจากเสียงนกเสียงกาของประชาชาชนเช่นผม หากเป็นการคัดค้านของผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายของประเทศ เช่น อดีตผู้ว่าการ ธปท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลสามารถใช้อำนาจเผด็จการได้ การเปลี่ยนกฎหมายให้นำทุนสำรองไปซื้อหุ้นจึงเกิดขึ้นแบบแทบจะเป็นสายฟ้าแลบหลังเปลี่ยนผู้ว่าการฯ เมื่อเกิดเสียงคัดค้านหนาหูในสังคมออนไลน์ ผู้ว่าการฯ คนใหม่ออกมาแถลงว่าจะไม่แตะต้องทองและเงินที่หลวงตาหามาบริจาคให้ คำอธิบายจะพูดอย่างไรก็ได้ แต่หลังเปลี่ยนกฎหมายแล้วสูญเงินสำรองกองใหญ่ใครรับกรรม?
การเสนอให้นำทุนสำรองของชาติไปซื้อหุ้นเป็นเสมือนการลงทุนจำพวก “หมาเห็นเงา” ที่เมืองไทยเรามักใช้ในนามของการพัฒนา การปล่อยของที่มีอยู่ในมือไปไม่ว่าจะเป็นการเกษตรแบบโบราณ ซึ่งผสมผสานหลายสิ่งหลายอย่างเข้าด้วยกันอันเป็นการลดความเสี่ยงและไม่ต้องใช้สารเคมี หรือการใช้สมุนไพรป้องกันโรค เพื่อหวังจะได้สิ่งที่มองว่าใหญ่หรือดีกว่าเป็นเสมือนหมาเห็นเงาโดยแท้ แม้การนำทุนสำรองของชาติออกไปซื้อหุ้นจะไม่มีความยโส ความโง่ หรือความระยำเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ค่าตอบแทนที่หวังจะได้กลับมาในอัตราสูงกว่าเป็นเพียงเงาในจินตนาการเท่านั้น