เมื่อวานนี้ (23มี.ค.) นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนพร้อมองค์คณะรวม 9 คน ทำการไต่สวนพยานโจทก์ ครั้งที่ 5ใน คดีโครงการรับจำนำข้าว ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ศาลได้ไต่สวนพยานของอัยการ ที่นำมาเบิกความเพียง 1 ปาก คือ น.ส.ศิรสา กันต์พิทยา อดีตรอง ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ( สบน.) ระบุว่า พยานปฏิบัติหน้าที่เรื่องบริหารหนี้จนถึงวันที่ 20 ก.พ.57 แล้วจึงถูกย้ายไปเป็นเลขาฯ กรมดูแลเรื่องพิธีการสำนักงาน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน สำหรับโครงการจำนำข้าว จนถึงวันที่ 22 พ.ค.57 มีหนี้คงค้าง จำนวน 401,756 ล้านบาท โดยในปี 54-55 มีหนี้โครงการจำนำอยู่ที่ 409,152 ล้านบาท ซึ่งยอดหนี้ดังกล่าว ไม่รวมกับยอดหนี้เงินกู้ของ ธกส. จำนวน 90,000 ล้านบาท
สำหรับการชำระหนี้ ครม. มีมติให้นำเงินจากการระบายข้าวมาชำระ แต่พยานไม่ทราบว่า มีกฎหมายใดที่จะรองรับสถานะเงินจากการระบายข้าว ว่าเป็นรายรับที่นำมาให้ใช้ได้หรือไม่ ในส่วนของกระทรวงการคลังเสนอว่า เมื่อได้เงินจากการระบายข้าวให้ส่ง ธกส. เพื่อนำไปชำระเงินกู้ต่อไป เพราะหากไม่ชำระ ก็จะเป็นภาระเงินงบประมาณ ขณะที่การดำเนินตามแผนโครงการจำนำข้าว เป็นไปตามมติ ครม. และได้บรรจุในแผนก่อหนี้สาธารณะที่ไม่ได้ชัดเจนว่า เป็นการจำนำข้าว แต่ระบุในแผนว่าเป็นโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร
ส่วนการกู้หนี้สาธารณะจะเป็นไปกรอบกฎหมาย และประกาศนโยบายว่าด้วยหนี้สาธารณะ ซึ่งจะมีอายุของการชำระหนี้อยู่ที่ 2-4 ปี โดยการกำหนดกรอบเพื่อให้มีเวลาชัดเจน และไม่ให้มีหนี้คงค้าง ส่วนที่กระทรวงการคลัง ทำหนังสือถึง 6 ครั้ง เรื่องข้อเสนอในการกู้ และชำระหนี้ถึง ครม.นั้น ยอมรับว่า มีบางเรื่องที่ ครม.ดำเนินการตาม แต่อีกหลายเรื่อง เช่นหลักการชำระหนี้ ไม่ทราบว่าได้ปฏิบัติหรือไม่
ขณะที่ช่วงท้าย อัยการโจทก์ ได้ซักถามถึงกรณีที่พยาน ถูกย้ายเนื่องจากไม่กู้เงินเพิ่มในโครงการ ใช่หรือไม่ และการที่หนี้คงค้างในโครงการไม่ลดลงมาก แสดงว่ารัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ตามกรอบอายุเงินกู้หรือไม่ น.ส.ศิรสา ระบุว่า เนื่องจากมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการยุบสภาในปี 2556 ตามหลักกฎหมายแล้ว รัฐบาลไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันรัฐบาลอื่นได้อีก ดังนั้นจึงไม่ได้ดำเนินการกู้เพิ่ม ส่วนการชำระหนี้จะมีเงิน 2 ส่วน คือ เงินงบประมาณ และเงินระบายที่มาจากการระบายข้าว การที่หนี้คงค้างไม่ลดลง เพราะรัฐบาลนำเงินระบายข้าวมาใช้ต่อ ในการจำนำข้าวปี 55-56 ซึ่งทางปฏิบัติ ก็เป็นไปได้ยากหากจะมีการปรับโครงสร้างกว่า 400,000 ล้านบาทภายในครั้งเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าฟังการไต่สวนพยาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ยังมีกำลังใจที่ดีอยู่ ทั้งนี้ มีผู้มาให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หนาแน่นเหมือนเช่นเคย ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีสีหน้ายิ้มแย้ม สดใส เดินเข้าฟังการไต่สวนพร้อมทีมทนายความ โดยมีแกนนำพรรคเพื่อไทย และ อดีต ส.ส. รวมทั้งกลุ่ม นปช. มานั่งให้กำลังใจ ในห้องพิจารณาคดีด้วย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้า กรณีกรมบัญชีกลางเตรียมสรุปผลการพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำผิดในโครงการรับจำนำข้าว ภายในเดือนมี.ค.นี้ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนกรมบัญชีกลาง ตนจึงยังไม่ทราบรายละเอียด ซึ่งหากกรมบัญชีกลางสรุปผลเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ต้องส่งผลสรุปมาให้ตน เพราะกรรมการชุดนี้เป็นกรรมการของกระทรวงการคลัง หากเป็นกรณีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ ก็จะต้องส่งข้อสรุปไปยังกระทรวงพาณิชย์พิจารณา แต่ถ้าหากเป็นกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะส่งไปยังกระทรวงการคลัง พิจารณา ไม่จำเป็นต้องส่งข้อสรุปใดมาให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว
"ก่อนจะส่งข้อสรุป ทางกรมบัญชีกลาง ต้องออกคำสั่ง และส่งหนังสือแจ้งมาไปยังเจ้าตัว หากเจ้าตัวจะอุทธรณ์ต่อ ก็ต้องแจ้งให้ทราบว่าจะอุทธรณ์กี่วัน หากไม่อุทธรณ์ ก็ไปฟ้องศาลเท่านั้นเอง แต่หากเจ้าตัวไม่ไปฟ้องศาล หรือไม่อุทธรณ์ ก็เป็นอันว่ายอมรับกับข้อสรุปนั้น และยึดทรัพย์เท่านั้นเอง" นายวิษณุ กล่าว
ทั้งนี้ ศาลได้ไต่สวนพยานของอัยการ ที่นำมาเบิกความเพียง 1 ปาก คือ น.ส.ศิรสา กันต์พิทยา อดีตรอง ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ( สบน.) ระบุว่า พยานปฏิบัติหน้าที่เรื่องบริหารหนี้จนถึงวันที่ 20 ก.พ.57 แล้วจึงถูกย้ายไปเป็นเลขาฯ กรมดูแลเรื่องพิธีการสำนักงาน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน สำหรับโครงการจำนำข้าว จนถึงวันที่ 22 พ.ค.57 มีหนี้คงค้าง จำนวน 401,756 ล้านบาท โดยในปี 54-55 มีหนี้โครงการจำนำอยู่ที่ 409,152 ล้านบาท ซึ่งยอดหนี้ดังกล่าว ไม่รวมกับยอดหนี้เงินกู้ของ ธกส. จำนวน 90,000 ล้านบาท
สำหรับการชำระหนี้ ครม. มีมติให้นำเงินจากการระบายข้าวมาชำระ แต่พยานไม่ทราบว่า มีกฎหมายใดที่จะรองรับสถานะเงินจากการระบายข้าว ว่าเป็นรายรับที่นำมาให้ใช้ได้หรือไม่ ในส่วนของกระทรวงการคลังเสนอว่า เมื่อได้เงินจากการระบายข้าวให้ส่ง ธกส. เพื่อนำไปชำระเงินกู้ต่อไป เพราะหากไม่ชำระ ก็จะเป็นภาระเงินงบประมาณ ขณะที่การดำเนินตามแผนโครงการจำนำข้าว เป็นไปตามมติ ครม. และได้บรรจุในแผนก่อหนี้สาธารณะที่ไม่ได้ชัดเจนว่า เป็นการจำนำข้าว แต่ระบุในแผนว่าเป็นโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร
ส่วนการกู้หนี้สาธารณะจะเป็นไปกรอบกฎหมาย และประกาศนโยบายว่าด้วยหนี้สาธารณะ ซึ่งจะมีอายุของการชำระหนี้อยู่ที่ 2-4 ปี โดยการกำหนดกรอบเพื่อให้มีเวลาชัดเจน และไม่ให้มีหนี้คงค้าง ส่วนที่กระทรวงการคลัง ทำหนังสือถึง 6 ครั้ง เรื่องข้อเสนอในการกู้ และชำระหนี้ถึง ครม.นั้น ยอมรับว่า มีบางเรื่องที่ ครม.ดำเนินการตาม แต่อีกหลายเรื่อง เช่นหลักการชำระหนี้ ไม่ทราบว่าได้ปฏิบัติหรือไม่
ขณะที่ช่วงท้าย อัยการโจทก์ ได้ซักถามถึงกรณีที่พยาน ถูกย้ายเนื่องจากไม่กู้เงินเพิ่มในโครงการ ใช่หรือไม่ และการที่หนี้คงค้างในโครงการไม่ลดลงมาก แสดงว่ารัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ตามกรอบอายุเงินกู้หรือไม่ น.ส.ศิรสา ระบุว่า เนื่องจากมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการยุบสภาในปี 2556 ตามหลักกฎหมายแล้ว รัฐบาลไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันรัฐบาลอื่นได้อีก ดังนั้นจึงไม่ได้ดำเนินการกู้เพิ่ม ส่วนการชำระหนี้จะมีเงิน 2 ส่วน คือ เงินงบประมาณ และเงินระบายที่มาจากการระบายข้าว การที่หนี้คงค้างไม่ลดลง เพราะรัฐบาลนำเงินระบายข้าวมาใช้ต่อ ในการจำนำข้าวปี 55-56 ซึ่งทางปฏิบัติ ก็เป็นไปได้ยากหากจะมีการปรับโครงสร้างกว่า 400,000 ล้านบาทภายในครั้งเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าฟังการไต่สวนพยาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ยังมีกำลังใจที่ดีอยู่ ทั้งนี้ มีผู้มาให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หนาแน่นเหมือนเช่นเคย ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีสีหน้ายิ้มแย้ม สดใส เดินเข้าฟังการไต่สวนพร้อมทีมทนายความ โดยมีแกนนำพรรคเพื่อไทย และ อดีต ส.ส. รวมทั้งกลุ่ม นปช. มานั่งให้กำลังใจ ในห้องพิจารณาคดีด้วย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้า กรณีกรมบัญชีกลางเตรียมสรุปผลการพิจารณาเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำผิดในโครงการรับจำนำข้าว ภายในเดือนมี.ค.นี้ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนกรมบัญชีกลาง ตนจึงยังไม่ทราบรายละเอียด ซึ่งหากกรมบัญชีกลางสรุปผลเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ต้องส่งผลสรุปมาให้ตน เพราะกรรมการชุดนี้เป็นกรรมการของกระทรวงการคลัง หากเป็นกรณีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ ก็จะต้องส่งข้อสรุปไปยังกระทรวงพาณิชย์พิจารณา แต่ถ้าหากเป็นกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะส่งไปยังกระทรวงการคลัง พิจารณา ไม่จำเป็นต้องส่งข้อสรุปใดมาให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว
"ก่อนจะส่งข้อสรุป ทางกรมบัญชีกลาง ต้องออกคำสั่ง และส่งหนังสือแจ้งมาไปยังเจ้าตัว หากเจ้าตัวจะอุทธรณ์ต่อ ก็ต้องแจ้งให้ทราบว่าจะอุทธรณ์กี่วัน หากไม่อุทธรณ์ ก็ไปฟ้องศาลเท่านั้นเอง แต่หากเจ้าตัวไม่ไปฟ้องศาล หรือไม่อุทธรณ์ ก็เป็นอันว่ายอมรับกับข้อสรุปนั้น และยึดทรัพย์เท่านั้นเอง" นายวิษณุ กล่าว