ผู้จัดการรายวัน360- กรธ.ยอมพบกันครึ่งทางกับข้อเสนอคสช. มอบสิทธิ์ให้ตั้งกก.สรรหา 250 ส.ว. ล็อก 6 ที่นั่งให้ขรก.ประจำ แต่ไม่ให้ซักฟอก คงบัตรใบเดียว เลือกตั้งส.ส ส่วนเรื่องงดเว้นเสนอบัญชีนายกฯ ต้องขอมติ 2 ใน 3 สมาชิกรัฐสภา ถ้าจะเลือกคนนอกบัญชี
เมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ (22มี.ค.) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปจากข้อเสนอของคสช.แล้ว เริ่มจากประเด็นเลือกตั้งส.ส. ที่คสช.ต้องการให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เขตเลือกตั้งเขตใหญ่ ที่ประชุมไม่กำหนดเนื้อหาส่วนนี้ไว้ในบทเฉพาะกาล ให้ใช้การเลือกตั้งใบเดียว และรูปแบบวิธีนับคะแนนตามแบบเดิมของกรธ.
ส่วนที่มาส.ว. ที่ประชุมเห็นว่าจะให้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล ช่วงเปลี่ยนผ่านระยะแรก 5 ปี ให้ส.ว. มาจากการสรรหา จำนวน 250 คน จากการคัดเลือก โดยคณะกรรมการสรรหาจำนวน 8 -10 คน ที่คัดสรรจากคสช. แต่ว่า 50 คน ให้มาจากการเลือกไขว้จาก 20 กลุ่มอาชีพ ที่สมัครและเลือกไขว้กันมาตั้งแต่ระดับอำเภอถึงจังหวัด เมื่อได้ ตัวแทน 231 คน จาก 77 จังหวัด แล้ว ให้คณะกรรมการสรรหา คัดเลือกเหลือ 50 คน ทั้งนี้ถือว่าเป็นการพบกันครึ่งทาง เพื่อให้เรามีประสบการณ์สำหรับการเลือกตั้งทางอ้อม ส.ว. ที่กำหนดไว้ในบทหลัก ขณะที่อีก 200 คน ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา โดยยกเว้นให้ ส.ว. 6 คน สามารถเป็นข้าราชการประจำได้ โดยไม่ได้ระบุว่า ต้องเป็นผู้นำเหล่าทัพ ขึ้นอยู่กับ คสช.จะเลือกใคร
สำหรับอำนาจ หน้าที่ ส.ว. เป็นไปตามบทปกติ ให้มีอำนาจผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปร่วมกับส.ส. สำหรับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในบทการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ให้สมาชิกทั้ง 2 สภา มีส่วนร่วมอยู่แล้ว แต่คำขอให้ส.ว.กำกับดูแลฝ่ายบริหาร ขอเปิดอภิปราย และลงมติไม่ไว้วางใจด้วยนั้น กรธ.เห็นว่าหน้าที่ดังกล่าว ควรเป็นอำนาจของส.ส. จึงไม่กำหนดส่วนนี้ไว้
ส่วนคำขอให้งดเว้นการเสนอ 3 รายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้งนั้น กรธ.มองว่า การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นเรื่องของส.ส. จึงกำหนดในส่วนนี้ให้ต้องทำตามกระบวนการปกติก่อน คือ พรรคการเมืองต้องเสนอ 3 รายชื่อนายกฯ ก่อนการเลือกตั้ง เมื่อเปิดประชุมสภา พรรคการเมืองก็ต้องเลือกนายกฯ ตามบัญชีรายชื่อที่เสนอ
แต่หากพรรคการเมืองไม่สามารถเลือกนายกฯได้ ก็กำหนดให้ส.ส.เกินกึ่งหนึ่ง ยื่นขอเปิดประชุมร่วมกับวุฒิสภา เพื่อขอมติ 2 ใน 3 ของที่ประชุมรัฐสภา ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกฯ นอกบัญชีรายชื่อได้ ทั้งนี้หากไม่สามารถเลือกนายกฯได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็ต้องยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในร่างแรก
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าเราพิจารณาคำขอแก้ไขจากแม่น้ำ 4 สาย ไปตามเหตุผล รอบคอบ และขอบคุณแม่น้ำ 4 สาย ที่ส่งมาให้เราพิจารณา และยืนยันว่า การไม่ออกมาแถลงข่าวของกรธ. เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา ไม่ได้เกิดจากการแตกแยก แต่เป็นเพราะเราต้องการความรอบคอบ
----------------
เมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ (22มี.ค.) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปจากข้อเสนอของคสช.แล้ว เริ่มจากประเด็นเลือกตั้งส.ส. ที่คสช.ต้องการให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เขตเลือกตั้งเขตใหญ่ ที่ประชุมไม่กำหนดเนื้อหาส่วนนี้ไว้ในบทเฉพาะกาล ให้ใช้การเลือกตั้งใบเดียว และรูปแบบวิธีนับคะแนนตามแบบเดิมของกรธ.
ส่วนที่มาส.ว. ที่ประชุมเห็นว่าจะให้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล ช่วงเปลี่ยนผ่านระยะแรก 5 ปี ให้ส.ว. มาจากการสรรหา จำนวน 250 คน จากการคัดเลือก โดยคณะกรรมการสรรหาจำนวน 8 -10 คน ที่คัดสรรจากคสช. แต่ว่า 50 คน ให้มาจากการเลือกไขว้จาก 20 กลุ่มอาชีพ ที่สมัครและเลือกไขว้กันมาตั้งแต่ระดับอำเภอถึงจังหวัด เมื่อได้ ตัวแทน 231 คน จาก 77 จังหวัด แล้ว ให้คณะกรรมการสรรหา คัดเลือกเหลือ 50 คน ทั้งนี้ถือว่าเป็นการพบกันครึ่งทาง เพื่อให้เรามีประสบการณ์สำหรับการเลือกตั้งทางอ้อม ส.ว. ที่กำหนดไว้ในบทหลัก ขณะที่อีก 200 คน ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา โดยยกเว้นให้ ส.ว. 6 คน สามารถเป็นข้าราชการประจำได้ โดยไม่ได้ระบุว่า ต้องเป็นผู้นำเหล่าทัพ ขึ้นอยู่กับ คสช.จะเลือกใคร
สำหรับอำนาจ หน้าที่ ส.ว. เป็นไปตามบทปกติ ให้มีอำนาจผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปร่วมกับส.ส. สำหรับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในบทการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ให้สมาชิกทั้ง 2 สภา มีส่วนร่วมอยู่แล้ว แต่คำขอให้ส.ว.กำกับดูแลฝ่ายบริหาร ขอเปิดอภิปราย และลงมติไม่ไว้วางใจด้วยนั้น กรธ.เห็นว่าหน้าที่ดังกล่าว ควรเป็นอำนาจของส.ส. จึงไม่กำหนดส่วนนี้ไว้
ส่วนคำขอให้งดเว้นการเสนอ 3 รายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้งนั้น กรธ.มองว่า การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นเรื่องของส.ส. จึงกำหนดในส่วนนี้ให้ต้องทำตามกระบวนการปกติก่อน คือ พรรคการเมืองต้องเสนอ 3 รายชื่อนายกฯ ก่อนการเลือกตั้ง เมื่อเปิดประชุมสภา พรรคการเมืองก็ต้องเลือกนายกฯ ตามบัญชีรายชื่อที่เสนอ
แต่หากพรรคการเมืองไม่สามารถเลือกนายกฯได้ ก็กำหนดให้ส.ส.เกินกึ่งหนึ่ง ยื่นขอเปิดประชุมร่วมกับวุฒิสภา เพื่อขอมติ 2 ใน 3 ของที่ประชุมรัฐสภา ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกฯ นอกบัญชีรายชื่อได้ ทั้งนี้หากไม่สามารถเลือกนายกฯได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็ต้องยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในร่างแรก
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าเราพิจารณาคำขอแก้ไขจากแม่น้ำ 4 สาย ไปตามเหตุผล รอบคอบ และขอบคุณแม่น้ำ 4 สาย ที่ส่งมาให้เราพิจารณา และยืนยันว่า การไม่ออกมาแถลงข่าวของกรธ. เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา ไม่ได้เกิดจากการแตกแยก แต่เป็นเพราะเราต้องการความรอบคอบ
----------------