นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Watana Muangsook ระบุว่า ผมเห็นหน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญที่จะออกมาตามข้อเสนอล่าสุดของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว เดาได้ไม่ยากว่า ผู้มีอำนาจบางคนคงไม่อยากให้บางพรรคได้เป็นรัฐบาล หรือบางคนอาจอยากกลับมามีอำนาจอีกโดยไม่ต้องลงเลือกตั้ง จึงได้กำหนดสูตรเลือกตั้งที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการในระบอบประชาธิปไตย เช่น ข้อเสนอที่ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต 350 คน ให้ใหญ่ขึ้นมี ส.ส. เขตละไม่เกิน 3 คน จะทำให้ทั้งประเทศจะมีเขตเลือกตั้งประมาณ 120 เขต แต่การให้ประชาชนมีสิทธิเลือก ส.ส. ได้เพียงคนเดียว จะทำให้แต่ละเขตมีจำนวน ส.ส. จากหลายพรรคคละเคล้ากันไป ไม่มีพรรคใดได้รับคะแนนเสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
นายวัฒนา ยังระบุว่า ข้อเสนอให้มี ส.ว. จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งหรือสรรหาแต่มีอำนาจมหาศาล ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ควบคุมจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลและที่สำคัญสามารถออกเสียงในการลงมติไม่ไว้วางใจได้ด้วย ก็เพื่อสกัดไม่ให้พรรคที่ท่านผู้มีอำนาจไม่พึงปรารถนาสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาบริหารประเทศได้ จึงบอกล่วงหน้าได้เลยว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลผสม โดยมีพรรคที่ประชาชนเลือกมาเป็นอันดับ 1 เป็นฝ่ายค้าน มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกแต่หน้าตาคุ้น ๆ โดยพรรคลำดับรองเป็นผู้เสนอ คนไทยกำลังจะมีรัฐบาลหน้าตาแบบนี้ไปอีก 2 สมัยการเลือกตั้งหรือ 8 ปีเต็ม และข้อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น อ้างว่าไม่ได้เป็นการสืบทอดอำนาจแต่มีไว้เพื่อป้องกันการเกิดสูญญากาศหรือกรณีเกิดวิกฤตทางการเมืองเท่านั้น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์จึงกำหนดให้บุคคลภายนอกต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ต่อ 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด แต่หลักการนี้ก็ถูกเปลี่ยนแปลงจนกลายมาเป็นใครก็ได้และไม่ต้องระบุรายชื่อล่วงหน้า นอกจากนี้ กรธ. ได้กำหนดว่าวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันสุดท้ายที่สามารถส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อ กรธ. แต่ข้อเสนอของ คสช. ถูกยื่นมาล่วงเลยกรอบที่กำหนดไว้เกือบหนึ่งเดือน จึงเป็นความท้าทายต่อจริยธรรมของนายมีชัยและคณะ ที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอที่ถูกยื่นมาผิดกฏกติกาที่ตัวเองวางไว้หรือไม่ หาก คสช. และ กรธ. ไม่รักษากฏกติกาเสียเองแล้วจะไปคาดหวังให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างไร
นายวัฒนา ยังระบุว่า ข้อเสนอให้มี ส.ว. จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งหรือสรรหาแต่มีอำนาจมหาศาล ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ควบคุมจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลและที่สำคัญสามารถออกเสียงในการลงมติไม่ไว้วางใจได้ด้วย ก็เพื่อสกัดไม่ให้พรรคที่ท่านผู้มีอำนาจไม่พึงปรารถนาสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาบริหารประเทศได้ จึงบอกล่วงหน้าได้เลยว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลผสม โดยมีพรรคที่ประชาชนเลือกมาเป็นอันดับ 1 เป็นฝ่ายค้าน มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกแต่หน้าตาคุ้น ๆ โดยพรรคลำดับรองเป็นผู้เสนอ คนไทยกำลังจะมีรัฐบาลหน้าตาแบบนี้ไปอีก 2 สมัยการเลือกตั้งหรือ 8 ปีเต็ม และข้อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น อ้างว่าไม่ได้เป็นการสืบทอดอำนาจแต่มีไว้เพื่อป้องกันการเกิดสูญญากาศหรือกรณีเกิดวิกฤตทางการเมืองเท่านั้น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์จึงกำหนดให้บุคคลภายนอกต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ต่อ 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด แต่หลักการนี้ก็ถูกเปลี่ยนแปลงจนกลายมาเป็นใครก็ได้และไม่ต้องระบุรายชื่อล่วงหน้า นอกจากนี้ กรธ. ได้กำหนดว่าวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันสุดท้ายที่สามารถส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อ กรธ. แต่ข้อเสนอของ คสช. ถูกยื่นมาล่วงเลยกรอบที่กำหนดไว้เกือบหนึ่งเดือน จึงเป็นความท้าทายต่อจริยธรรมของนายมีชัยและคณะ ที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอที่ถูกยื่นมาผิดกฏกติกาที่ตัวเองวางไว้หรือไม่ หาก คสช. และ กรธ. ไม่รักษากฏกติกาเสียเองแล้วจะไปคาดหวังให้ประชาชนปฏิบัติตามได้อย่างไร