**หากนับจากวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อรัฐประหารเข้าควบคุมอำนาจบริหารราชการแผ่นดินเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ แม้ว่าจะยังไม่ครบ 2 ปี แต่ก็ถือว่ามาไกลพอสมควรแล้ว ไกลพอที่จะได้เห็นหนทางข้างหน้าได้แล้ว เพราะเมื่อพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมา มันก็ย่อมที่จะมองเห็นถึง "แนวโน้ม"ได้ดีว่าจะเป็นจริงตามที่เคยรับปากเอาไว้ได้หรือไม่
ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมเอาไว้ว่า จะ"ปฏิรูปทุกด้าน" และหากพิจารณาจากที่เคยมีการกำหนดออกมาจากคณะกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่แต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสิ้นสภาพไปแล้วเคยมีการกำหนดเอาไว้ 11 ด้าน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้มีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนก็น่าจะมีอยู่ใม่กี่อย่างเท่านั้น เช่น การปฏิรูปตำรวจ กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ การปราบปรามคอร์รัปชั่น การปฏิรูปพลังงาน ปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น
ในตอนแรกๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศด้วยท่าทางขึงขังว่าต้องทำให้ได้ ต้องทำทันที ชาวบ้านก็ไชโยโห่ร้องต้อนรับสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ แม้ว่าต้องแลกกับการที่ต้อง "เสียสิทธิ์บางอย่าง" ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เต็มใจ เพราะเข้าใจดีว่าเป็นภารกิจที่หนักหนา ต้องใช้ "กฎหมายพิเศษ" เข้าจัดการผลักดัน เพื่อความรวดเร็วให้เห็นผลก่อนที่เข้าสู่ภาวะปกติ
แต่เกือบสองปีที่ผ่านมา และเวลาที่เหลืออีกประมาณอีกปีกว่าจนกว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 2560 (ที่ประกาศไว้ตามโรดแมป) หากให้พิจารณากันแบบตรงไปตรงมา ก็ต้องบอกว่า "ยังน่าผิดหวัง" เพราะการปฏิรูปในเรื่องสำคัญเร่งด่วนตามที่ชาวบ้านต้องการ กลับไม่มีการขยับเขยื้อนใดๆให้เห็นเป็นรูปธรรม มีแต่คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อ้างว่า ทำยาก มีอุปสรรคจากความขัดแย้ง ต้องใช้เวลา หรืออย่างบางเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญ อย่างการ "ปฏิรูปตำรวจ" เขาก็ "โยนผ้า" บอกว่าทำไม่ทันแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลถัดไปว่ากันเอง หรือการปฏิรูปพลังงาน ก็ไม่มีการขยับใดๆ ที่พอเป็นความหวังได้เลย รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ แม้ว่าจะมีการตั้งเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งก็มีแต่ชื่อเรียกเท่านั้นว่า "สภาปฏิรูป" แต่คำถามก็คือ แทบจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ให้เป็นเนื้อเป็นหนังออกมาเลย
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากผลงานการ"ปฏิรูป" ในเรื่องสำคัญดังกล่าวไม่มีความคืบหน้า หรือมีแนวโน้มให้เห็นความสำเร็จ แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่ "ระดับบิ๊ก" ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำลังหยิบยกมาเน้นย้ำในเวลานี้ก็คือ "จะผลักดันการปฏิรูป" ต่อในอีก 5 ปีข้างหน้า นั่นคือ กำหนดให้มี "ส.ว.แต่งตั้ง" จำนวน 250 คน ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และในจำนวนนั้น ล็อกตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพเอาไว้ 6 ตำแหน่งด้วย โดยมี "ข้อเสนอ" สำคัญอีกบางอย่าง ดังเอกสารที่ส่งไปถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา
เมื่อ ส.ว.แต่งตั้ง หรือ สว.สรรหา ในแบบที่ว่า คาดการณ์ได้ล่วงหน้าเลยว่า นอกเหนือจากบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพ ทั้งทหารและตำรวจแล้ว ยังต้องมีบรรดานายทหารคนอื่น ข้าราชการอื่นๆ จะได้รับแต่งตั้งเข้ามาเป็น ส.ว.ประเภทนี้อีกจำนวนมาก เข้ามาทำหน้าที่สำคัญนอกเหนือจากภารกิจการปฏิรูปประเทศตามที่อ้างแล้วยังทำหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เนื่องจากสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้อีกด้วย
ที่ผ่านมาวาระเรื่องการปฏิรูปแทบจะเงียบหาย หรือหมดหวังในเรื่องการปฏิรูปไปแล้ว รวมไปถึงถูกกำหนดให้รอลุ้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปิดออกมา รวมไปถึงให้รอชี้ขาดเอาเองว่า จะยอมรับหรือไม่ในวันที่มีการลงประชามติ ที่กำหนดออกมาแล้วว่า ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ที่สำคัญในช่วงเวลาสำคัญดังกล่าวห้ามป่วนเด็ดขาด แต่บังเอิญว่าในช่วงประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับเกิดเหตุการณ์บางอย่างทำให้เรื่องการปฏิรูปถูกนำมาพูดถึงอย่างเข้มข้นขึ้นมาอีก
**นั่นคือ กรณี "ลูกเศรษฐี" คนหนึ่งซิ่งรถเบนซ์ชนรถยนต์ของนิสิตปริญญาโทจนไฟลุกใหม้คลอกในรถเสียชีวิตทั้งสองราย
จากเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดมีกระแสให้"ปฏิรูปตำรวจ" ดังขึ้นมาอีกครั้ง เสียงกล่าวหาโจมตีตำรวจดังกระหึ่มจากสังคมรอบทิศ สะท้อนให้เห็นถึง "ความไม่เชื่อมั่น" ในการทำหน้าที่ตามโครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่สำคัญก็คือ ชาวบ้านยังรู้สึกว่า"ตำรวจไม่ได้เปลี่ยนไป" ที่เปลี่ยนไปก็คือเปลี่ยนไปจากตำรวจในระบอบทักษิณ มาเป็น "ตำรวจในยุคคสช." ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่เป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเป็นคนเดียวที่รับว่าเป็นคนเสนอให้มี ส.ว.แต่งตั้ง จำนวน 250 คน เพื่อมาทำหน้าที่ "สานต่อปฏิรูปประเทศ" อีก 5 ปีข้างหน้า
**แต่คำถามที่ต้องพิจารณากันก็คือ "มันจริงหรือ" เพราะเมื่อพิจารณาจากผลงานสองปีภายใต้อำนาจ"พิเศษ" เต็มมือที่ผ่านมา มันมีการปฏิรูปเรื่องใดให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง เมื่อไม่ทำ หรือไม่ยอมทำ จะด้วยเหตุผลหรือเบื้องหลังอะไรก็ตาม การที่จะมาออกปากว่าขอต่ออายุแบบ "ซ่อนรูป" อีก 5 ปี มันก็น่าจับตาเหมือนกันว่า ผลจะออกมาตามความต้องการได้หรือไม่ !!
ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมเอาไว้ว่า จะ"ปฏิรูปทุกด้าน" และหากพิจารณาจากที่เคยมีการกำหนดออกมาจากคณะกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่แต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสิ้นสภาพไปแล้วเคยมีการกำหนดเอาไว้ 11 ด้าน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้มีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนก็น่าจะมีอยู่ใม่กี่อย่างเท่านั้น เช่น การปฏิรูปตำรวจ กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ การปราบปรามคอร์รัปชั่น การปฏิรูปพลังงาน ปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น
ในตอนแรกๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศด้วยท่าทางขึงขังว่าต้องทำให้ได้ ต้องทำทันที ชาวบ้านก็ไชโยโห่ร้องต้อนรับสนับสนุนกันอย่างเต็มที่ แม้ว่าต้องแลกกับการที่ต้อง "เสียสิทธิ์บางอย่าง" ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เต็มใจ เพราะเข้าใจดีว่าเป็นภารกิจที่หนักหนา ต้องใช้ "กฎหมายพิเศษ" เข้าจัดการผลักดัน เพื่อความรวดเร็วให้เห็นผลก่อนที่เข้าสู่ภาวะปกติ
แต่เกือบสองปีที่ผ่านมา และเวลาที่เหลืออีกประมาณอีกปีกว่าจนกว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 2560 (ที่ประกาศไว้ตามโรดแมป) หากให้พิจารณากันแบบตรงไปตรงมา ก็ต้องบอกว่า "ยังน่าผิดหวัง" เพราะการปฏิรูปในเรื่องสำคัญเร่งด่วนตามที่ชาวบ้านต้องการ กลับไม่มีการขยับเขยื้อนใดๆให้เห็นเป็นรูปธรรม มีแต่คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อ้างว่า ทำยาก มีอุปสรรคจากความขัดแย้ง ต้องใช้เวลา หรืออย่างบางเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญ อย่างการ "ปฏิรูปตำรวจ" เขาก็ "โยนผ้า" บอกว่าทำไม่ทันแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลถัดไปว่ากันเอง หรือการปฏิรูปพลังงาน ก็ไม่มีการขยับใดๆ ที่พอเป็นความหวังได้เลย รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ แม้ว่าจะมีการตั้งเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งก็มีแต่ชื่อเรียกเท่านั้นว่า "สภาปฏิรูป" แต่คำถามก็คือ แทบจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ให้เป็นเนื้อเป็นหนังออกมาเลย
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากผลงานการ"ปฏิรูป" ในเรื่องสำคัญดังกล่าวไม่มีความคืบหน้า หรือมีแนวโน้มให้เห็นความสำเร็จ แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่ "ระดับบิ๊ก" ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำลังหยิบยกมาเน้นย้ำในเวลานี้ก็คือ "จะผลักดันการปฏิรูป" ต่อในอีก 5 ปีข้างหน้า นั่นคือ กำหนดให้มี "ส.ว.แต่งตั้ง" จำนวน 250 คน ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และในจำนวนนั้น ล็อกตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพเอาไว้ 6 ตำแหน่งด้วย โดยมี "ข้อเสนอ" สำคัญอีกบางอย่าง ดังเอกสารที่ส่งไปถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา
เมื่อ ส.ว.แต่งตั้ง หรือ สว.สรรหา ในแบบที่ว่า คาดการณ์ได้ล่วงหน้าเลยว่า นอกเหนือจากบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพ ทั้งทหารและตำรวจแล้ว ยังต้องมีบรรดานายทหารคนอื่น ข้าราชการอื่นๆ จะได้รับแต่งตั้งเข้ามาเป็น ส.ว.ประเภทนี้อีกจำนวนมาก เข้ามาทำหน้าที่สำคัญนอกเหนือจากภารกิจการปฏิรูปประเทศตามที่อ้างแล้วยังทำหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เนื่องจากสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้อีกด้วย
ที่ผ่านมาวาระเรื่องการปฏิรูปแทบจะเงียบหาย หรือหมดหวังในเรื่องการปฏิรูปไปแล้ว รวมไปถึงถูกกำหนดให้รอลุ้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปิดออกมา รวมไปถึงให้รอชี้ขาดเอาเองว่า จะยอมรับหรือไม่ในวันที่มีการลงประชามติ ที่กำหนดออกมาแล้วว่า ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ที่สำคัญในช่วงเวลาสำคัญดังกล่าวห้ามป่วนเด็ดขาด แต่บังเอิญว่าในช่วงประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับเกิดเหตุการณ์บางอย่างทำให้เรื่องการปฏิรูปถูกนำมาพูดถึงอย่างเข้มข้นขึ้นมาอีก
**นั่นคือ กรณี "ลูกเศรษฐี" คนหนึ่งซิ่งรถเบนซ์ชนรถยนต์ของนิสิตปริญญาโทจนไฟลุกใหม้คลอกในรถเสียชีวิตทั้งสองราย
จากเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดมีกระแสให้"ปฏิรูปตำรวจ" ดังขึ้นมาอีกครั้ง เสียงกล่าวหาโจมตีตำรวจดังกระหึ่มจากสังคมรอบทิศ สะท้อนให้เห็นถึง "ความไม่เชื่อมั่น" ในการทำหน้าที่ตามโครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่สำคัญก็คือ ชาวบ้านยังรู้สึกว่า"ตำรวจไม่ได้เปลี่ยนไป" ที่เปลี่ยนไปก็คือเปลี่ยนไปจากตำรวจในระบอบทักษิณ มาเป็น "ตำรวจในยุคคสช." ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่เป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเป็นคนเดียวที่รับว่าเป็นคนเสนอให้มี ส.ว.แต่งตั้ง จำนวน 250 คน เพื่อมาทำหน้าที่ "สานต่อปฏิรูปประเทศ" อีก 5 ปีข้างหน้า
**แต่คำถามที่ต้องพิจารณากันก็คือ "มันจริงหรือ" เพราะเมื่อพิจารณาจากผลงานสองปีภายใต้อำนาจ"พิเศษ" เต็มมือที่ผ่านมา มันมีการปฏิรูปเรื่องใดให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง เมื่อไม่ทำ หรือไม่ยอมทำ จะด้วยเหตุผลหรือเบื้องหลังอะไรก็ตาม การที่จะมาออกปากว่าขอต่ออายุแบบ "ซ่อนรูป" อีก 5 ปี มันก็น่าจับตาเหมือนกันว่า ผลจะออกมาตามความต้องการได้หรือไม่ !!