ผู้จัดการรายวัน360- BMN จัดทัพ ดึงทายาท ช.การช่าง นั่งเอ็มดีคู่ ลุยโครงการเส้นทางใหม่ๆรับบริษัทแม่ ปีนี้ทุ่ม 300 ล้านบาท อัพเกรดอุปกรณ์สื่อโฆษณาใหม่ๆ จับมือแม็กซ์แวลู ร้านค้าแบรนด์เนมให้บริการสถานีลาดพร้าว เชื่อทั้งปีโต 15%
นางทิพย์สุดา ยิ้มวิไล ประธานคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาคณะกรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN เปิดเผยว่า จากการควบรวมระหว่าง BMCL ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ได้ควบรวมกับ BECL มาเป็น BEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ทำให้ BMN พัฒนาธุรกิจใหม่ๆเพิ่มขึ้น ล่าสุดเพิ่มทีมผู้บริหาร คือ นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ มาดำรงตำแหน่ง กรรมการ BMN ส่งผลให้มีเอ็มดี2คน เพื่อรองรับงานใหญ่ เน้นบริหารงานเชิงพานิชย์ทั้งจาก BEM และช.การช่าง ที่เป็นบริษัทแม่ ปี2559 จะลงทุน 300 ล้านบาท ด้านธุรกิจสื่อโฆษณาบนMRT ส่วนโครงการใหม่อยู่ในช่วงศึกษาซึ่งน่าจะเริ่มได้ในปีหน้า
นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ BMN ผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที กล่าวว่า ปีนี้บริษัทจะรีแบรนด์ธุรกิจ สร้าการเติบโตเชิงรุก รองรับการขยายตัวจากการจัดตั้ง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ที่จะมีโครงการเส้นทางคมนาคมเพิ่มขึ้นในปีนี้ คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง และโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เริ่มจากใช้ “ติช่า-กันติชา ชุมมะ” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของBMN ขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ทั้งสื่อโฆษณาที่หลากหลาย
ปัจจุบันบริษัททำธุรกิจ 3 ส่วน คือ 1.สื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีและโครงการทางพิเศษ(ทางด่วน) ปีนี้จะมีบริการใหม่ เช่น 1.เพิ่มบริการแพกเกจการขายพ่วงกิจกรรมออนกราวด์ 2.เพิ่ม SMEsแพกเกจ เจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางเข้ามา 3.เพิ่มพันธมิตรใหม่ๆ เช่น กันตนา และนิตยสารต่างๆ
2.บริหารพื้นที่ค้าปลีกสถานีรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที จากทั้งหมด 11 สถานี ปัจจุบันเปิดให้บริการ 5 สถานี และไตรมาสสี่จะเปิดอีก 1สถานี คือ ลาดพร้าว ใต้อาคารจอดรถ โดยการจับมือกับ แม็กซ์แวลู เช่าพื้นที่ 1,700 ตร.ม. เปิดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต และพันธมิตรอื่นเช่น ลอว์สัน108 และคาเฟ่ อเมซอน ส่วนสถานีอื่นๆกำลังศึกษาอยู่ เช่น ศูนย์วัฒธรรม เป็น พื้นที่กิจกรรม หรือ คลองเตย เป็น การทำพาสปอร์ต เป็นต้น
3.ธุรกิจให้บริการระบบสัญญาณโทรคมนาคม จะมีการลงทุนระบบสื่อสารโทรคมนาคมในสถานีเอ็มอาร์ทั้ง 18 สถานีให้รองรับสัญญาณ 4G LTE ได้ทั้งหมดภายในปี 2559
ปีที่ผ่านมาสื่อทรานซิทมีมูลค่า 4,400 ล้านบาท BMN มีส่วนแบ่ง 10% ปีที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับราคาโฆษณาเพิ่ม 5% ปัจจุบันมี 3.5 แสนคน/วัน สื่อโฆษณาสร้างรายได้หลักให้บริษัท 277 ล้านบาท, โทรคมนาคม 157 ล้านบาท และพื้นที่ค้าปลีก 32 ล้านบาท จากปีก่อนรายได้ 470 ล้านบาท โต 10-15%
ในปีนี้บริษัทเพิ่มบริการใหม่จากโครงการต่างๆที่บริษัทแม่จะได้มา เช่น 1.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.7กม. รวม 10 ด่าน เริ่มเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส-สี่ ซึ่งบริษัทดูแลพื้นที่โฆษณา ป้ายบิลบอร์ดต่างๆ เป็นต้น 2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง รวม 16สถานี ระยะทาง 26 กม. ที่จะเปิดให้บริการในปี 60 3.ส่วนต่อขยายMRT สายสีน้ำเงิน ที่จะเปิดให้บริการปี61
นางทิพย์สุดา ยิ้มวิไล ประธานคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาคณะกรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN เปิดเผยว่า จากการควบรวมระหว่าง BMCL ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ได้ควบรวมกับ BECL มาเป็น BEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ทำให้ BMN พัฒนาธุรกิจใหม่ๆเพิ่มขึ้น ล่าสุดเพิ่มทีมผู้บริหาร คือ นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ มาดำรงตำแหน่ง กรรมการ BMN ส่งผลให้มีเอ็มดี2คน เพื่อรองรับงานใหญ่ เน้นบริหารงานเชิงพานิชย์ทั้งจาก BEM และช.การช่าง ที่เป็นบริษัทแม่ ปี2559 จะลงทุน 300 ล้านบาท ด้านธุรกิจสื่อโฆษณาบนMRT ส่วนโครงการใหม่อยู่ในช่วงศึกษาซึ่งน่าจะเริ่มได้ในปีหน้า
นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ BMN ผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที กล่าวว่า ปีนี้บริษัทจะรีแบรนด์ธุรกิจ สร้าการเติบโตเชิงรุก รองรับการขยายตัวจากการจัดตั้ง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ที่จะมีโครงการเส้นทางคมนาคมเพิ่มขึ้นในปีนี้ คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง และโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เริ่มจากใช้ “ติช่า-กันติชา ชุมมะ” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของBMN ขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ทั้งสื่อโฆษณาที่หลากหลาย
ปัจจุบันบริษัททำธุรกิจ 3 ส่วน คือ 1.สื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีและโครงการทางพิเศษ(ทางด่วน) ปีนี้จะมีบริการใหม่ เช่น 1.เพิ่มบริการแพกเกจการขายพ่วงกิจกรรมออนกราวด์ 2.เพิ่ม SMEsแพกเกจ เจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางเข้ามา 3.เพิ่มพันธมิตรใหม่ๆ เช่น กันตนา และนิตยสารต่างๆ
2.บริหารพื้นที่ค้าปลีกสถานีรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที จากทั้งหมด 11 สถานี ปัจจุบันเปิดให้บริการ 5 สถานี และไตรมาสสี่จะเปิดอีก 1สถานี คือ ลาดพร้าว ใต้อาคารจอดรถ โดยการจับมือกับ แม็กซ์แวลู เช่าพื้นที่ 1,700 ตร.ม. เปิดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต และพันธมิตรอื่นเช่น ลอว์สัน108 และคาเฟ่ อเมซอน ส่วนสถานีอื่นๆกำลังศึกษาอยู่ เช่น ศูนย์วัฒธรรม เป็น พื้นที่กิจกรรม หรือ คลองเตย เป็น การทำพาสปอร์ต เป็นต้น
3.ธุรกิจให้บริการระบบสัญญาณโทรคมนาคม จะมีการลงทุนระบบสื่อสารโทรคมนาคมในสถานีเอ็มอาร์ทั้ง 18 สถานีให้รองรับสัญญาณ 4G LTE ได้ทั้งหมดภายในปี 2559
ปีที่ผ่านมาสื่อทรานซิทมีมูลค่า 4,400 ล้านบาท BMN มีส่วนแบ่ง 10% ปีที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับราคาโฆษณาเพิ่ม 5% ปัจจุบันมี 3.5 แสนคน/วัน สื่อโฆษณาสร้างรายได้หลักให้บริษัท 277 ล้านบาท, โทรคมนาคม 157 ล้านบาท และพื้นที่ค้าปลีก 32 ล้านบาท จากปีก่อนรายได้ 470 ล้านบาท โต 10-15%
ในปีนี้บริษัทเพิ่มบริการใหม่จากโครงการต่างๆที่บริษัทแม่จะได้มา เช่น 1.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.7กม. รวม 10 ด่าน เริ่มเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส-สี่ ซึ่งบริษัทดูแลพื้นที่โฆษณา ป้ายบิลบอร์ดต่างๆ เป็นต้น 2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง รวม 16สถานี ระยะทาง 26 กม. ที่จะเปิดให้บริการในปี 60 3.ส่วนต่อขยายMRT สายสีน้ำเงิน ที่จะเปิดให้บริการปี61