ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ปิดเทรดวันแรก 5.15 บาท มูลค่าซื้อขาย 5,498.07 ล้านบาท โบรกฯ ให้ราคาเป้าหมาย consensus ช่วง 5.70-6.50 บาท ด้วยวิธี SOTP เชื่อการควบรวมกิจการจะเสริมแกร่งธุรกิจเพิ่มขึ้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ยิ่งดีขึ้น รวมทั้งแนวโน้มอัตราการเติบโตกำไรที่สูงขึ้น โดยเฉพาะหลังเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่จะเริ่มให้บริการได้ปี 2561 เตรียมดัน “แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 60
วานนี้ (4 ธ.ค.) ราคาหุ้นบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เข้าเทรดวันแรก โดยเปิดเทรดวันแรกที่ราคา 5.50 บาท และปิดตลาดที่ 5.15 บาท ระหว่างวันราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 5.55 บาท ต่ำสุดที่ 4.90 บาท มูลค่าซื้อขาย 5,498.07 ล้านบาท
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะ “ซื้อ” BEM ราคาพื้นฐานประเมินได้ที่ 5.70 บาท ด้วยวิธี SOTP เชื่อการควบรวมกิจการจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งแนวโน้มอัตราการเติบโตกำไรที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่จะเริ่มให้บริการได้ปี 2561 เพิ่มขึ้นมาอีกจากสายสีม่วงที่จะเริ่มได้ปลายปี 59 นี้
ทั้งนี้ BEM เริ่มซื้อขายวันนี้ (5 ธ.ค.) เป็นวันแรก โดยตลาดกำหนดว่าไม่มีราคาซื้อขายสูงสุด และต่ำสุด พร้อมแต่งตั้ง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ เป็นรองประธานกรรมการ
โดย BEM มีปัจจัยบวกหลังรวมกิจการ คือ แหล่งรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 59 มาจากการเริ่มให้บริการส่วนขยายทางด่วนศรีรัช-วงแหวน (SOE) และการบริหารเดินรถ MRT สายสีม่วง สำหรับจำนวนผู้ใช้ทางด่วนศรีรัชฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 เที่ยวต่อวันในงวดปี 59 หรือคิดเป็น 3.7% เทียบกับปี 58 ที่ 1,067.7 พันเที่ยวต่อวัน ค่าบริการต่อเที่ยวเป็น 50 บาท จึงช่วยดึงให้ค่าบริการต่อเที่ยวทั้งระบบเพิ่มเป็น 23.47 บาท จากเดิมที่ 22.43 บาท ส่วนค่าบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง คาดปี 59 จะมีรายได้เพิ่ม 468 ล้านบาท อีกทั้งจะเพิ่มผู้โดยสารให้แก่สายสีน้ำเงินในปัจจุบันอีก 23,000 เที่ยวต่อวันทำการ หรือ 7.9% จากจำนวนผู้โดยสารปี 58 ที่ระดับ 289.9 พันเที่ยวต่อวันทำการ
โดยคาดการณ์กำไรปี 59 โตก้าวกระโดดเป็น 52% จากปีก่อน อีกทั้งต้นทุนทางการเงินจะลดลง นั่นคือ หุ้นกู้ปี 58 และ 59 ได้จ่ายคืนเป็น 3 และ 4.5 พันล้านบาทตามลำดับ มีการเจรจาขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเป็น 6% จากเดิมที่ 7-7.5% และเพิ่มประโยชน์ที่ได้รับจากการเกิด economies of scale ในเรื่องการให้บริการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมนั่นคือ อัตรากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 35% ในงวดปี 59 เทียบกับเดิมที่ 31.9% ดังนั้น แม้คาดว่ารายได้ในงวดปี 59 เพิ่มขึ้นเพียง 18% แต่กำไรสุทธิกลับเพิ่มขึ้นถึง 52% เนื่องจากอัตรากำไรที่กว้างขึ้น
นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ BMN คาดว่า การนำบริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด บริษัทลูกซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ร้านค้าในรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วงปี 60 หาก BEM ได้รับสิทธิสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้ BMN มีสิทธิเข้าไปบริหารพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และส่งผลให้รายได้ของ BMN เติบโตอย่างมากในอนาคต
“เราไม่รีบร้อนเข้าตลาดนัก เพราะต้องดูปัจจัยต่างๆ ก่อน รวมทั้งดูภาวะตลาดที่มีความเหมาะสมประกอบด้วย แต่มองว่าอย่างเร็วจะเข้าตลาดได้ภายในปี 60” นายณัฐวุฒิ กล่าว
วานนี้ (4 ธ.ค.) ราคาหุ้นบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เข้าเทรดวันแรก โดยเปิดเทรดวันแรกที่ราคา 5.50 บาท และปิดตลาดที่ 5.15 บาท ระหว่างวันราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 5.55 บาท ต่ำสุดที่ 4.90 บาท มูลค่าซื้อขาย 5,498.07 ล้านบาท
บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะ “ซื้อ” BEM ราคาพื้นฐานประเมินได้ที่ 5.70 บาท ด้วยวิธี SOTP เชื่อการควบรวมกิจการจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งแนวโน้มอัตราการเติบโตกำไรที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่จะเริ่มให้บริการได้ปี 2561 เพิ่มขึ้นมาอีกจากสายสีม่วงที่จะเริ่มได้ปลายปี 59 นี้
ทั้งนี้ BEM เริ่มซื้อขายวันนี้ (5 ธ.ค.) เป็นวันแรก โดยตลาดกำหนดว่าไม่มีราคาซื้อขายสูงสุด และต่ำสุด พร้อมแต่งตั้ง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ เป็นรองประธานกรรมการ
โดย BEM มีปัจจัยบวกหลังรวมกิจการ คือ แหล่งรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 59 มาจากการเริ่มให้บริการส่วนขยายทางด่วนศรีรัช-วงแหวน (SOE) และการบริหารเดินรถ MRT สายสีม่วง สำหรับจำนวนผู้ใช้ทางด่วนศรีรัชฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 เที่ยวต่อวันในงวดปี 59 หรือคิดเป็น 3.7% เทียบกับปี 58 ที่ 1,067.7 พันเที่ยวต่อวัน ค่าบริการต่อเที่ยวเป็น 50 บาท จึงช่วยดึงให้ค่าบริการต่อเที่ยวทั้งระบบเพิ่มเป็น 23.47 บาท จากเดิมที่ 22.43 บาท ส่วนค่าบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง คาดปี 59 จะมีรายได้เพิ่ม 468 ล้านบาท อีกทั้งจะเพิ่มผู้โดยสารให้แก่สายสีน้ำเงินในปัจจุบันอีก 23,000 เที่ยวต่อวันทำการ หรือ 7.9% จากจำนวนผู้โดยสารปี 58 ที่ระดับ 289.9 พันเที่ยวต่อวันทำการ
โดยคาดการณ์กำไรปี 59 โตก้าวกระโดดเป็น 52% จากปีก่อน อีกทั้งต้นทุนทางการเงินจะลดลง นั่นคือ หุ้นกู้ปี 58 และ 59 ได้จ่ายคืนเป็น 3 และ 4.5 พันล้านบาทตามลำดับ มีการเจรจาขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเป็น 6% จากเดิมที่ 7-7.5% และเพิ่มประโยชน์ที่ได้รับจากการเกิด economies of scale ในเรื่องการให้บริการใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมนั่นคือ อัตรากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 35% ในงวดปี 59 เทียบกับเดิมที่ 31.9% ดังนั้น แม้คาดว่ารายได้ในงวดปี 59 เพิ่มขึ้นเพียง 18% แต่กำไรสุทธิกลับเพิ่มขึ้นถึง 52% เนื่องจากอัตรากำไรที่กว้างขึ้น
นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ BMN คาดว่า การนำบริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด บริษัทลูกซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ร้านค้าในรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วงปี 60 หาก BEM ได้รับสิทธิสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้ BMN มีสิทธิเข้าไปบริหารพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และส่งผลให้รายได้ของ BMN เติบโตอย่างมากในอนาคต
“เราไม่รีบร้อนเข้าตลาดนัก เพราะต้องดูปัจจัยต่างๆ ก่อน รวมทั้งดูภาวะตลาดที่มีความเหมาะสมประกอบด้วย แต่มองว่าอย่างเร็วจะเข้าตลาดได้ภายในปี 60” นายณัฐวุฒิ กล่าว