วานนี้ (14 มี.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เป็นประธานการประชุม วาระ พิจารณาปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญหมวดการปกครองส่วนท้องถิ่น และหมวดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
นายมีชัย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า ตนได้รับหนังสือความเห็นการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ จาก คสช.แล้ว ลงนามโดยพล.อ.ธีระชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการคสช. มีจำนวน 4-5 หน้า แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด โดยเป็นข้อเสนอที่มาจากการประชุมร่วมกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ คสช. ครม. สปท. และ สนช. หลังจากนี้จะต้องอ่านรายละเอียดของข้อเสนอทั้งหมด ก่อนนำเข้าที่ประชุมกรธ.
เมื่อถามว่าที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายละเอียดที่ขอแก้ไขร่าง รธน.ให้ประชาชนได้รับทราบจะทำได้หรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับ กรธ.พร้อมที่จะเปิดเผย จะมอบหมายให้ทางโฆษก กรธ. ดำเนินการ
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอที่ส่งมานอกเหนือจากประเด็นที่มา ส.ว. แล้วยังมีอีกหลายเรื่อง คงต้องรอดูตอนโฆษกกรธ.แถลงน่าจะชัดเจนกว่า ตอนนี้ขอให้ใจเย็นๆ ขอดูรายละเอียดและขอคุยกับกรธ. ก่อน เมื่อถามว่า ข้อเสนอนี้ไม่มีสภาพบังคับเป็นเหมือนข้อเสนอทั่วๆไป ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า มันก็มีน้ำหนักอยู่ เพราะว่ามันเป็นหนังสือมาจากคนที่รับผิดชอบบ้านเมือง เราก็ต้องให้น้ำหนัก เพราะขนาดชาวบ้านมีจดหมายมาเพียงฉบับเดียว กรธ. ก็ให้น้ำหนักได้ ดังนั้นก็ต้องให้น้ำหนัก เมื่อถามว่าที่ คสช. ส่งข้อเสนอมาอีกครั้ง แสดงว่า กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกใจ ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า จะพูดแบบนั้นก็คงไม่ได้
ต่อมา นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรธ. กล่าวหลังการประชุม กรธ. ว่า ขอยกเลิกการเปิดเผยรายละเอียดของข้อหารือดังกล่าว เนื่องจากได้หารือกับทาง ครม. แล้ว ทางครม. ระบุว่าจะมีการนำเรื่องนี้เข้าแจ้งต่อที่ประชุมครม.ในวันนี้(15 มี.ค.)ก่อน เพราะที่ผ่านมามีเพียงตัวแทนของแม่น้ำแต่ละสายไปหารือกัน
"ทางรัฐบาลประสานมาว่า จะขอแถลงต่อผู้สื่อข่าวโดยตรง พร้อมข้อสังเกตจากครม. ในหนังสือดังกล่าว จึงแจ้งเหตุผลที่ทำไมกรธ. ไม่เป็นฝ่ายเปิดเผยเรื่องนี้ เพราะถ้าเราพูดไปก่อนโดยที่ทางรัฐบาลหรือคสช. ยังไม่พร้อมในการอธิบาย ก็จะกลายเป็นความสับสน" นายอุดมกล่าว
นายอุดม กล่าวต่อว่า หนังสือที่ส่งมานั้นไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร เพียงแต่ยังมีขั้นตอนที่กรธ. จะต้องเอาไปคิดต่อเพื่อจะแสดงความเห็นหรือเอาไปยกร่างอย่างไร เพราะเป็นข้อเสนอที่ต้องการให้ไปทำส่วนบทเฉพาะกาล ซึ่งจำเป็นที่กรธ.เองยังต้องนำไปพิจารณา และบอกได้ว่า ทุกข้อเสนอต้องถูกสื่อวิพากษ์วิจารณ์แน่นอน
"ผมยืนยันว่า กรธ.ไม่มีใครมาสั่งได้ ถามว่าทำไมผมต้องไม่กล้าขัด ถ้าขัดแล้วผมทำผิดกฎหมายหรือเปล่า แล้วจะต้องจับผมไปปรับทัศนะคติมั้ย" โฆษก กรธ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ คสช.และ ครม. ได้ทำความเห็นปรับแก้ร่าง รธน. มา 16 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 16 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการมีมาตรการพิเศษช่วงเปลี่ยนผ่าน จนต่อมาก็มีความเห็นเพิ่มเติมจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ว่าอยากให้ ส.ว. มาจากการสรรหา เพื่อประคับประคองการปฏิรูป และยุทธศาสตรชาติ จนถูกวิจารณ์ว่าสืบทอดอำนาจ ซึ่งตลอดมา นายมีชัย และกรธ.ยังสงวนท่าทีไม่แสดงออกว่าจะมีแนวคิดอย่างไรในข้อเสนอดังกล่าว
ทั้งนี้ การที่ กรธ.เลือกที่จะให้ครม. แถลงเองนั้น นายอุดมได้ยอมรับกับสื่อตรงๆ ว่า สังคมควรจะมีความชัดเจนว่า เป็นข้อเสนอมาจากฝ่ายไหน และเมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ จะได้ไปถามฝ่ายที่เสนอความคิดนั้นเอง
"เราอยากให้ทุกฝ่ายตั้งสติก่อนว่า ตอนนี้ทำไมคิดอย่างนี้ แล้วฝ่ายที่รับความคิดไป จะไปคิดอะไร ยังไง ให้เขามีโอกาสฟังเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายก่อน" นายอุดม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเห็นการปรับแก้ไขร่างรธน. จากคสช. ที่ลงนามโดยพล.อ.ธีระชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ในฐานะเลขาธิการคสช. มีประเด็นที่สำคัญคือการขอให้มีการงดเว้นการบังคับใช้รธน.บางมาตรา ที่เกี่ยวกับการให้พรรคการเมือง ต้องเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน ต่อกกต.ในระหว่างการรับสมัครรับเลือกตั้ง
นายมีชัย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า ตนได้รับหนังสือความเห็นการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ จาก คสช.แล้ว ลงนามโดยพล.อ.ธีระชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการคสช. มีจำนวน 4-5 หน้า แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด โดยเป็นข้อเสนอที่มาจากการประชุมร่วมกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ คสช. ครม. สปท. และ สนช. หลังจากนี้จะต้องอ่านรายละเอียดของข้อเสนอทั้งหมด ก่อนนำเข้าที่ประชุมกรธ.
เมื่อถามว่าที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายละเอียดที่ขอแก้ไขร่าง รธน.ให้ประชาชนได้รับทราบจะทำได้หรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับ กรธ.พร้อมที่จะเปิดเผย จะมอบหมายให้ทางโฆษก กรธ. ดำเนินการ
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอที่ส่งมานอกเหนือจากประเด็นที่มา ส.ว. แล้วยังมีอีกหลายเรื่อง คงต้องรอดูตอนโฆษกกรธ.แถลงน่าจะชัดเจนกว่า ตอนนี้ขอให้ใจเย็นๆ ขอดูรายละเอียดและขอคุยกับกรธ. ก่อน เมื่อถามว่า ข้อเสนอนี้ไม่มีสภาพบังคับเป็นเหมือนข้อเสนอทั่วๆไป ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า มันก็มีน้ำหนักอยู่ เพราะว่ามันเป็นหนังสือมาจากคนที่รับผิดชอบบ้านเมือง เราก็ต้องให้น้ำหนัก เพราะขนาดชาวบ้านมีจดหมายมาเพียงฉบับเดียว กรธ. ก็ให้น้ำหนักได้ ดังนั้นก็ต้องให้น้ำหนัก เมื่อถามว่าที่ คสช. ส่งข้อเสนอมาอีกครั้ง แสดงว่า กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญไม่ถูกใจ ใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า จะพูดแบบนั้นก็คงไม่ได้
ต่อมา นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรธ. กล่าวหลังการประชุม กรธ. ว่า ขอยกเลิกการเปิดเผยรายละเอียดของข้อหารือดังกล่าว เนื่องจากได้หารือกับทาง ครม. แล้ว ทางครม. ระบุว่าจะมีการนำเรื่องนี้เข้าแจ้งต่อที่ประชุมครม.ในวันนี้(15 มี.ค.)ก่อน เพราะที่ผ่านมามีเพียงตัวแทนของแม่น้ำแต่ละสายไปหารือกัน
"ทางรัฐบาลประสานมาว่า จะขอแถลงต่อผู้สื่อข่าวโดยตรง พร้อมข้อสังเกตจากครม. ในหนังสือดังกล่าว จึงแจ้งเหตุผลที่ทำไมกรธ. ไม่เป็นฝ่ายเปิดเผยเรื่องนี้ เพราะถ้าเราพูดไปก่อนโดยที่ทางรัฐบาลหรือคสช. ยังไม่พร้อมในการอธิบาย ก็จะกลายเป็นความสับสน" นายอุดมกล่าว
นายอุดม กล่าวต่อว่า หนังสือที่ส่งมานั้นไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร เพียงแต่ยังมีขั้นตอนที่กรธ. จะต้องเอาไปคิดต่อเพื่อจะแสดงความเห็นหรือเอาไปยกร่างอย่างไร เพราะเป็นข้อเสนอที่ต้องการให้ไปทำส่วนบทเฉพาะกาล ซึ่งจำเป็นที่กรธ.เองยังต้องนำไปพิจารณา และบอกได้ว่า ทุกข้อเสนอต้องถูกสื่อวิพากษ์วิจารณ์แน่นอน
"ผมยืนยันว่า กรธ.ไม่มีใครมาสั่งได้ ถามว่าทำไมผมต้องไม่กล้าขัด ถ้าขัดแล้วผมทำผิดกฎหมายหรือเปล่า แล้วจะต้องจับผมไปปรับทัศนะคติมั้ย" โฆษก กรธ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ คสช.และ ครม. ได้ทำความเห็นปรับแก้ร่าง รธน. มา 16 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 16 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการมีมาตรการพิเศษช่วงเปลี่ยนผ่าน จนต่อมาก็มีความเห็นเพิ่มเติมจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ว่าอยากให้ ส.ว. มาจากการสรรหา เพื่อประคับประคองการปฏิรูป และยุทธศาสตรชาติ จนถูกวิจารณ์ว่าสืบทอดอำนาจ ซึ่งตลอดมา นายมีชัย และกรธ.ยังสงวนท่าทีไม่แสดงออกว่าจะมีแนวคิดอย่างไรในข้อเสนอดังกล่าว
ทั้งนี้ การที่ กรธ.เลือกที่จะให้ครม. แถลงเองนั้น นายอุดมได้ยอมรับกับสื่อตรงๆ ว่า สังคมควรจะมีความชัดเจนว่า เป็นข้อเสนอมาจากฝ่ายไหน และเมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ จะได้ไปถามฝ่ายที่เสนอความคิดนั้นเอง
"เราอยากให้ทุกฝ่ายตั้งสติก่อนว่า ตอนนี้ทำไมคิดอย่างนี้ แล้วฝ่ายที่รับความคิดไป จะไปคิดอะไร ยังไง ให้เขามีโอกาสฟังเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายก่อน" นายอุดม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเห็นการปรับแก้ไขร่างรธน. จากคสช. ที่ลงนามโดยพล.อ.ธีระชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ในฐานะเลขาธิการคสช. มีประเด็นที่สำคัญคือการขอให้มีการงดเว้นการบังคับใช้รธน.บางมาตรา ที่เกี่ยวกับการให้พรรคการเมือง ต้องเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน ต่อกกต.ในระหว่างการรับสมัครรับเลือกตั้ง