ผู้จัดการรายวัน360-ศาลฎีกาฯ นักการเมืองอนุญาตรวมคดี "บุญทรง-เอกชน" รวมหัวกันโกงขายข้าวจีทูจีเป็นคดีเดียวกัน พร้อมไฟเขียวอัยการโจทย์เพิ่มพยานเอกสาร และพยานบุคคลอีก 2 ปาก นำสืบเส้นทางการซื้อขายข้าวจีทูจี และเส้นทางการเงิน ส่วนฝ่ายจำเลยยอมให้นำสืบพยานคนจีนผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ล่าสุดให้ประกันจำเลยฝ่ายเอกชน ตีราคาค่าประกัน 5 ล้าน และห้ามไปนอก ด้านโฆษกคลังเผยหนี้แบงก์รัฐเฉียด 8 แสนล้าน ส่วนใหญ่เกิดก่อน คสช.มา เป็นหนี้จำนำข้าวถึง 5 แสนล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (2 มี.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ นายธนฤกษ์ นิติเศรณี รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีทุจริตโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และองค์คณะรวม 9 คน นัดพร้อมคดีหมายเลขดำ อม.25/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายภูมิ สาระผล อดีตรมช.พาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว จำเลยที่ 1 , นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว จำเลยที่ 2 และพวก ซึ่งเป็นอดีตนักการเมือง 3 คน ข้าราชการการเมือง 3 คน และนิติบุคคลกับกรรมการผู้มีอำนาจในนิติบุคคล รวม 21 ราย เป็นจำเลยที่ 1-21 ในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 9, 10,12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่รัฐ , ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต สร้างความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 123 และ 123/1 ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งอัยการสูงสุด โจทก์ ยังขอให้ศาลสั่งปรับจำเลยทั้งหมด เป็นเงิน 35,274,611,007 บาท ที่คิดคำนวณจากมูลค่าครึ่งหนึ่งตามสัญญาระบายข้าว 50,000 ตัน ที่พบว่ามีการกระทำผิดสัญญา 4 ใน 8 ฉบับด้วย ที่อัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 มี.ค.2558
ทั้งนี้ ศาลฯ ได้นัดพิจารณาครั้งแรก เพื่อสอบคำให้การจำเลย คดีหมายเลขดำ อม.1/2559 ที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีกิจทวียโสธร , นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการ , บริษัท กิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด ที่มีนายทวี อาจสมรรถ เป็นกรรมการ , บริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด , นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการ , บริษัท เจียเม้ง จำกัด และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการ เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานร่วมกันกระทำการสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157, 83, 86 และ 91 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 และมาตรา 123/1 กรณีเมื่อวันที่ 8 ก.ย.2554-22 ก.พ.2556 ร่วมสนับสนุนจำเลยที่ 1-6 คดีนายบุญทรง กับพวกที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ในการสั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คซื้อขาย แต่ไม่ได้มีการซื้อจริง โดยอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2559
โดยศาลอ่านและอธิบายฟ้องโดยสรุปให้ นายทวี , นายปกรณ์ และนางประพิศ ฟังแล้ว จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคล และฐานะส่วนตัวที่เป็นกรรมการบริษัท และอนุญาตให้นายทวี และ บจก.กิจทวียโสธรไรซ์ ยื่นคำให้การเพิ่มเติมเข้ามาภายใน 14 วัน
ส่วนที่อัยการ โจทก์ ขอรวมสำนวนทั้ง 2 สำนวนพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เนื่องจากคดีเกี่ยวพันกัน พยานหลักฐานชุดเดียวกันนั้น องค์คณะฯ ได้สอบถามจำเลยทั้งหมดแล้วไม่คัดค้าน ประกอบกับเพื่อความสะดวกในการพิจารณา จึงอนุญาตให้รวมสำนวน โดยให้คดีหมายเลขดำ อม.25/2558 เป็นคดีหลัก ส่วนจำเลยที่ 1-7 คดีหมายเลขดำ อม.1/2559 ให้นับเป็นจำเลยที่ 22-28 ต่อจากคดีดังกล่าว
ขณะเดียวกัน องค์คณะฯ ได้อนุญาต ตามที่อัยการโจทก์ ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 15 ก.พ.2559 ขอเพิ่มพยานเอกสาร 10 ฉบับ และพยานบุคคลอีก 2 ปาก คือ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นำสืบประเด็นการซื้อขายข้าวแบบจีทูจี และพยานอดีตพนักงานธนาคารกรุงไทย นำสืบเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินและบัญชีที่เกี่ยวข้องกับคดี และอนุญาตตามคำร้องจำเลยที่ 10-23 ขอให้สืบพยานชาวจีน ที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนและสิงคโปร์ รวม 5 ปาก ผ่านจอภาพทางไกล (วีดีโอคอนเฟอเรนซ์) เพื่อนำสืบสถานะความมีอยู่ของ บริษัท กวางตุ้ง จำกัด และบริษัท ไห่หนาน เกรน แอนด์ ออยล์ อินดัสเทรียล เทรดดิ้ง และการซื้อขายข้าว โดยให้จำเลยเป็นผู้ประสานสถานทูตหรือกงสุลประเทศนั้น พร้อมให้ประสานระบบโทรคมนาคมกับ กสท. ด้วย โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดำเนินการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รวมสำนวนพิจารณาเป็นคดีเดียวกันแล้ว จึงให้ยกเลิกนัดไต่สวนพยานเดิม วันที่ 16 มี.ค. , 20 เม.ย. และ 27 ก.ค.2559 แล้วให้เพิ่มนัดไต่สวนพยานอีก 4 นัด คือ วันที่ 18 ม.ค , 25 ม.ค. , 1 ก.พ. และ 15 ก.พ.2560 โดยให้นัดตรวจพยานหลักฐานในส่วนของจำเลยที่ 22-28 ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
ภายหลังนายบุญทรง ได้กล่าวถึงการสืบพยานทางไกลจากจอภาพว่า ตนไม่ได้ร้องขอ แต่เป็นกลุ่มจำเลยร่วม ซึ่งเชื่อว่าน่าจะดีในแง่ข้อเท็จจริงที่จะชัดเจนขึ้น เพราะพยานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการซื้อขายข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ส่วนจำเลยที่อัยการยื่นฟ้องเพิ่มเติม ทั้งนายทวี , นายปกรณ์ และนางประพิศ ได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยศาลตีราคาประกันคนละ 5 ล้านบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขกับจำเลยอื่นโดยห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
วันเดียวกันนี้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่ดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐที่มีการแยกบัญชี (PSA) ว่า มียอดสินเชื่อสูงถึง 789,000 ล้านบาท โดยเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศประมาณกว่า 620,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จำนำข้าวประมาณกว่า 500,000 ล้านบาท และเป็นหนี้ที่เพิ่มขึ้นหลัง คสช. เข้ามาบริหารประเทศประมาณ 160,000 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (2 มี.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ นายธนฤกษ์ นิติเศรณี รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีทุจริตโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และองค์คณะรวม 9 คน นัดพร้อมคดีหมายเลขดำ อม.25/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายภูมิ สาระผล อดีตรมช.พาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว จำเลยที่ 1 , นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว จำเลยที่ 2 และพวก ซึ่งเป็นอดีตนักการเมือง 3 คน ข้าราชการการเมือง 3 คน และนิติบุคคลกับกรรมการผู้มีอำนาจในนิติบุคคล รวม 21 ราย เป็นจำเลยที่ 1-21 ในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 9, 10,12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่รัฐ , ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต สร้างความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 123 และ 123/1 ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งอัยการสูงสุด โจทก์ ยังขอให้ศาลสั่งปรับจำเลยทั้งหมด เป็นเงิน 35,274,611,007 บาท ที่คิดคำนวณจากมูลค่าครึ่งหนึ่งตามสัญญาระบายข้าว 50,000 ตัน ที่พบว่ามีการกระทำผิดสัญญา 4 ใน 8 ฉบับด้วย ที่อัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 มี.ค.2558
ทั้งนี้ ศาลฯ ได้นัดพิจารณาครั้งแรก เพื่อสอบคำให้การจำเลย คดีหมายเลขดำ อม.1/2559 ที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีกิจทวียโสธร , นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการ , บริษัท กิจทวียโสธรไรซ์ จำกัด ที่มีนายทวี อาจสมรรถ เป็นกรรมการ , บริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด , นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการ , บริษัท เจียเม้ง จำกัด และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการ เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐานร่วมกันกระทำการสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157, 83, 86 และ 91 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 และมาตรา 123/1 กรณีเมื่อวันที่ 8 ก.ย.2554-22 ก.พ.2556 ร่วมสนับสนุนจำเลยที่ 1-6 คดีนายบุญทรง กับพวกที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ในการสั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คซื้อขาย แต่ไม่ได้มีการซื้อจริง โดยอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2559
โดยศาลอ่านและอธิบายฟ้องโดยสรุปให้ นายทวี , นายปกรณ์ และนางประพิศ ฟังแล้ว จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคล และฐานะส่วนตัวที่เป็นกรรมการบริษัท และอนุญาตให้นายทวี และ บจก.กิจทวียโสธรไรซ์ ยื่นคำให้การเพิ่มเติมเข้ามาภายใน 14 วัน
ส่วนที่อัยการ โจทก์ ขอรวมสำนวนทั้ง 2 สำนวนพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เนื่องจากคดีเกี่ยวพันกัน พยานหลักฐานชุดเดียวกันนั้น องค์คณะฯ ได้สอบถามจำเลยทั้งหมดแล้วไม่คัดค้าน ประกอบกับเพื่อความสะดวกในการพิจารณา จึงอนุญาตให้รวมสำนวน โดยให้คดีหมายเลขดำ อม.25/2558 เป็นคดีหลัก ส่วนจำเลยที่ 1-7 คดีหมายเลขดำ อม.1/2559 ให้นับเป็นจำเลยที่ 22-28 ต่อจากคดีดังกล่าว
ขณะเดียวกัน องค์คณะฯ ได้อนุญาต ตามที่อัยการโจทก์ ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 15 ก.พ.2559 ขอเพิ่มพยานเอกสาร 10 ฉบับ และพยานบุคคลอีก 2 ปาก คือ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นำสืบประเด็นการซื้อขายข้าวแบบจีทูจี และพยานอดีตพนักงานธนาคารกรุงไทย นำสืบเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินและบัญชีที่เกี่ยวข้องกับคดี และอนุญาตตามคำร้องจำเลยที่ 10-23 ขอให้สืบพยานชาวจีน ที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนและสิงคโปร์ รวม 5 ปาก ผ่านจอภาพทางไกล (วีดีโอคอนเฟอเรนซ์) เพื่อนำสืบสถานะความมีอยู่ของ บริษัท กวางตุ้ง จำกัด และบริษัท ไห่หนาน เกรน แอนด์ ออยล์ อินดัสเทรียล เทรดดิ้ง และการซื้อขายข้าว โดยให้จำเลยเป็นผู้ประสานสถานทูตหรือกงสุลประเทศนั้น พร้อมให้ประสานระบบโทรคมนาคมกับ กสท. ด้วย โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดำเนินการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รวมสำนวนพิจารณาเป็นคดีเดียวกันแล้ว จึงให้ยกเลิกนัดไต่สวนพยานเดิม วันที่ 16 มี.ค. , 20 เม.ย. และ 27 ก.ค.2559 แล้วให้เพิ่มนัดไต่สวนพยานอีก 4 นัด คือ วันที่ 18 ม.ค , 25 ม.ค. , 1 ก.พ. และ 15 ก.พ.2560 โดยให้นัดตรวจพยานหลักฐานในส่วนของจำเลยที่ 22-28 ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
ภายหลังนายบุญทรง ได้กล่าวถึงการสืบพยานทางไกลจากจอภาพว่า ตนไม่ได้ร้องขอ แต่เป็นกลุ่มจำเลยร่วม ซึ่งเชื่อว่าน่าจะดีในแง่ข้อเท็จจริงที่จะชัดเจนขึ้น เพราะพยานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการซื้อขายข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการสืบพยานทางไกลผ่านจอภาพดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ส่วนจำเลยที่อัยการยื่นฟ้องเพิ่มเติม ทั้งนายทวี , นายปกรณ์ และนางประพิศ ได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยศาลตีราคาประกันคนละ 5 ล้านบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขกับจำเลยอื่นโดยห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
วันเดียวกันนี้ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่ดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐที่มีการแยกบัญชี (PSA) ว่า มียอดสินเชื่อสูงถึง 789,000 ล้านบาท โดยเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศประมาณกว่า 620,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จำนำข้าวประมาณกว่า 500,000 ล้านบาท และเป็นหนี้ที่เพิ่มขึ้นหลัง คสช. เข้ามาบริหารประเทศประมาณ 160,000 ล้านบาท