ผู้จัดการรายวัน360 -“อาคม”ยืดเวลาตรวจสอบชั่วโมงทำงานนักบิน นกแอร์อีก 1 เดือนหลังกพท.รายงาน นกแอร์เก็บข้อมูลเป็นรายเดือน,รายปี ไม่มีแบบรายวัน ชี้ข้อมูลยังคลาดเคลื่อน ยังสรุปผลไม่ได้ ด้านอดีตผู้บริหาร-ผู้ถือหุ้นการบินไทย ร้อง ป.ป.ช. สอบ “รักษาการดีดี-บอร์ดการบินไทย ปี 56-57 เหตุจัดตั้งสายการบินราคาประหยัด “นกสกู๊ด” โดยไม่ยับยั้ง เข้าข่ายมีผลประโยชน์ขัดกันกับการบินไทยอย่างชัดแจ้ง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าการปัญหาสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ยกเลิกเที่ยวบินกะทันหันเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ต่อที่ประชุม ครม. วานนี้ (1 มี.ค.) ซึ่งได้เรียกผู้บริหารนกแอร์มาตักเตือน พร้อมเชิญ 14 สายการบินภายในประเทศมาร่วมประชุมแจ้งมาตรการให้รับทราบแล้ว และเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ตรวจสอบชั่วโมงบินและชั่วโมงการทำงานนักบินนกแอร์ และระบบการบริหาร แผนแก้ปัญหาฉุกเฉิน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการคุ้มครองผู้โดยสารตามสิทธิที่กรมการบินพลเรือนกำหนด
ซึ่งเมื่อวันที่ 1 มี.ค. กทพ.ได้รายงานว่า นกแอร์มีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกเวลาบิน และช่วงปฏิบัติหน้าที่บิน (Flight Time and Flight Duty Period) ของนักบินและลูกเรือ (Pilot and Cabin Crew) ในรูปแบบรายเดือน และรายปีปฏิทิน ไม่มีแบบรายวัน ซึ่งยังไม่ตรงกับประกาศที่ให้เก็บข้อมูลแบบ 7 วันต่อเนื่องซึ่งต้องไม่เกิน 34 ชม. , 28 วันต่อเนื่อง ต้องไม่เกิน110 ชม. และ 365 วันต่อเนื่อง ไม่เกิน 1,000 ชม.เมื่อฐานข้อมูลและวิธีการเก็บข้อมูลยังไม่ตรงกัน ข้อมูลยังคลาดเคลื่อนจึงยังสรุปผลได้ จึงให้เวลานกแอร์ทำข้อมูลใหม่ให้ตรงกับประกาศ และให้กพท.ตรวจสอบอีกครั้ง และสรุปใน 1 เดือน ทั้งนี้หากตรวจสอบเฉพาะข้อมูลรายเดือนและรายปีย้อนหลัง 12 เดือนขณะนี้พบว่ามีชั่วโมงบินเกินกำหนดเล็กน้อย แต่เชื่อว่าเมื่อจัดการข้อมูลให้ตรงกันเป็นราย 7 วันต่อเนื่องแล้ว ตรวจสอบใหม่อาจจะไม่เกิน
**ร้องป.ป.ช.ปมอดีตผู้บริหารตั้ง “นกสกู๊ด”
วานนี้ (1 มี.ค.) มีรายงานว่า อดีตผู้บริหารการบินไทย นำโดย นายโยธิน ภมรมนตรี อดีตกัปตันการบินไทย และนายสุเทพ สืบสันติวงศ์ ผู้ถือหุ้นการบินไทย พร้อมด้วย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช.โดยมีนายสุทธิ บุญมี ผู้อำนวยการสำนักการข่าวและกิจการพิเศษเป็นผู้รับหนังสือ
ทั้งนี้กลุ่มอดีตผู้บริหารการบินไทย ได้ขอให้ตรวจสอบ อดีตพนักงานระดับตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเข้าไปเป็นกรรมการ ในบริษัท สายกาบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) กับพวก กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในช่วงประมาณปลายปี 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557 กระทำการอันถือได้ว่าร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันโดยมิชอบ โดยเฉพาะการอนุมัติความตกลงแบบไม่มีเงื่อนไขผูกพันจัดตั้งสายการบินราคาประหยัด ชื่อบริษัท นกสกู๊ด จำกัด และยังอนุมัติให้สายการบินนกแอร์ เข้าทำสัญญา Joint Venture Agreement ซึ่งทำขึ้นระหว่าง NOK SPA คือ บริษัท มั่งคั่ง จำกัด กับ บริษัทลูกของบริษัทสายการบินของสิงคโปร์ มีบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 245,000,000 หุ้น หรือร้อยละ 39.2 เป็นหุ้นที่มีส่วนได้เสียเช่นเดียวกับผู้บริหารนกแอร์ ที่ถือหุ้น 25,000,000หุ้น หรือร้อยละ 4 จึงไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน แต่ผู้บริหารตัวแทนการบินไทยที่ถือหุ้นนกแอร์ กลับอนุมัติและใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนอนุมัติจัดตั้งสายการบินราคาประหยัด ชื่อ นกสกู๊ด แทนที่จะทำการระงับยับยั้งการจัดตั้งสายการบินที่ประกอบกิจการแข่งขันและขัดกับผลประโยชน์ บริษัทการบินไทย อย่างชัดเจน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าการปัญหาสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ยกเลิกเที่ยวบินกะทันหันเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ต่อที่ประชุม ครม. วานนี้ (1 มี.ค.) ซึ่งได้เรียกผู้บริหารนกแอร์มาตักเตือน พร้อมเชิญ 14 สายการบินภายในประเทศมาร่วมประชุมแจ้งมาตรการให้รับทราบแล้ว และเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ตรวจสอบชั่วโมงบินและชั่วโมงการทำงานนักบินนกแอร์ และระบบการบริหาร แผนแก้ปัญหาฉุกเฉิน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการคุ้มครองผู้โดยสารตามสิทธิที่กรมการบินพลเรือนกำหนด
ซึ่งเมื่อวันที่ 1 มี.ค. กทพ.ได้รายงานว่า นกแอร์มีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกเวลาบิน และช่วงปฏิบัติหน้าที่บิน (Flight Time and Flight Duty Period) ของนักบินและลูกเรือ (Pilot and Cabin Crew) ในรูปแบบรายเดือน และรายปีปฏิทิน ไม่มีแบบรายวัน ซึ่งยังไม่ตรงกับประกาศที่ให้เก็บข้อมูลแบบ 7 วันต่อเนื่องซึ่งต้องไม่เกิน 34 ชม. , 28 วันต่อเนื่อง ต้องไม่เกิน110 ชม. และ 365 วันต่อเนื่อง ไม่เกิน 1,000 ชม.เมื่อฐานข้อมูลและวิธีการเก็บข้อมูลยังไม่ตรงกัน ข้อมูลยังคลาดเคลื่อนจึงยังสรุปผลได้ จึงให้เวลานกแอร์ทำข้อมูลใหม่ให้ตรงกับประกาศ และให้กพท.ตรวจสอบอีกครั้ง และสรุปใน 1 เดือน ทั้งนี้หากตรวจสอบเฉพาะข้อมูลรายเดือนและรายปีย้อนหลัง 12 เดือนขณะนี้พบว่ามีชั่วโมงบินเกินกำหนดเล็กน้อย แต่เชื่อว่าเมื่อจัดการข้อมูลให้ตรงกันเป็นราย 7 วันต่อเนื่องแล้ว ตรวจสอบใหม่อาจจะไม่เกิน
**ร้องป.ป.ช.ปมอดีตผู้บริหารตั้ง “นกสกู๊ด”
วานนี้ (1 มี.ค.) มีรายงานว่า อดีตผู้บริหารการบินไทย นำโดย นายโยธิน ภมรมนตรี อดีตกัปตันการบินไทย และนายสุเทพ สืบสันติวงศ์ ผู้ถือหุ้นการบินไทย พร้อมด้วย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช.โดยมีนายสุทธิ บุญมี ผู้อำนวยการสำนักการข่าวและกิจการพิเศษเป็นผู้รับหนังสือ
ทั้งนี้กลุ่มอดีตผู้บริหารการบินไทย ได้ขอให้ตรวจสอบ อดีตพนักงานระดับตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเข้าไปเป็นกรรมการ ในบริษัท สายกาบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) กับพวก กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในช่วงประมาณปลายปี 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557 กระทำการอันถือได้ว่าร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันโดยมิชอบ โดยเฉพาะการอนุมัติความตกลงแบบไม่มีเงื่อนไขผูกพันจัดตั้งสายการบินราคาประหยัด ชื่อบริษัท นกสกู๊ด จำกัด และยังอนุมัติให้สายการบินนกแอร์ เข้าทำสัญญา Joint Venture Agreement ซึ่งทำขึ้นระหว่าง NOK SPA คือ บริษัท มั่งคั่ง จำกัด กับ บริษัทลูกของบริษัทสายการบินของสิงคโปร์ มีบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 245,000,000 หุ้น หรือร้อยละ 39.2 เป็นหุ้นที่มีส่วนได้เสียเช่นเดียวกับผู้บริหารนกแอร์ ที่ถือหุ้น 25,000,000หุ้น หรือร้อยละ 4 จึงไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน แต่ผู้บริหารตัวแทนการบินไทยที่ถือหุ้นนกแอร์ กลับอนุมัติและใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนอนุมัติจัดตั้งสายการบินราคาประหยัด ชื่อ นกสกู๊ด แทนที่จะทำการระงับยับยั้งการจัดตั้งสายการบินที่ประกอบกิจการแข่งขันและขัดกับผลประโยชน์ บริษัทการบินไทย อย่างชัดเจน