นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระบุ ต้องการให้มี ส.ว.จากการสรรหาทั้งหมด ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน 5 ปีว่า กรธ.ยังไม่ได้มีการหารือถึงเรื่องนี้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ระบุให้มีการสรรหา ส.ว. เฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่จะเอาส.ว.จากการสรรหาทั้งหมด
เมื่อถามว่าเหตุผลที่เสนอฟังขึ้นหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าในส่วนของกรธ. ที่พิจารณาที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการคัดเลือกกันเองก็เห็นว่าดีแล้ว เหมือนกับประเด็นอื่นๆ ที่ กรธ.พิจารณาดีแล้ว ซึ่งทางกรธ.จะต้องไปหารือกันก่อน คาดว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็จะมีความชัดเจน เมื่อถามว่า หากเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของที่มา ส.ว.ทั้ง 2แบบ แตกต่างกันอย่างไร นายมีชัย กล่าวว่า คนที่เสนอมาคงเปรียบเทียบแล้ว และเราก็ไม่ได้เสนอ
"ยังไม่ได้คุยกัน คงตอบอะไรก่อนไม่ได้ เดี๋ยวเขาโกธรเอา คนที่เสนอมาเขาคงคิดว่า เสนอมาแล้วดี ทางกรธ.ก็จะได้ไปหารือกัน" เมื่อถามย้ำว่า ถ้าแก้เรื่องที่มา ส.ว.ตามข้อเสนอ จะต้องไปแก้เรื่องอำนาจหน้าที่ด้วยหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า "ยังตอบอะไรไม่ได้ ยังไม่ได้มีหารือกัน" นายมีชัย กล่าว
ส่วนการเก็บตัว เพื่อทำการ ร่างรัฐธรรมนูญในร่างสุดท้ายของ กรธ. ระหว่างวันที่ 23 -26 มี.ค.นี้ ก็จะไปนั่งอ่านทบทวนกันให้ดี เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ก็จะไปดูว่าตกหล่นตรงไหนบ้าง การเว้นวรรค คำถูก คำผิด ซึ่งจะไม่มีประเด็นที่แขวนไว้จากที่กรุงเทพฯ แล้วนำไปพิจารณาต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการเก็บตัวร่างรัฐธรรมนูญในช่วงโค้งสุดท้าย 4 วัน ระหว่างวันที่ 23-26 มี.ค. ที่ โรงแรม อิมพีเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ท อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่ร่างจะต้องเสร็จสมบูรณ์ส่งให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในวันที่ 29 มี.ค.นี้
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึงขอเสนอของ พล.อ.ประวิตร ที่จะให้มี ส.ว.จากการสรรหาทั้งหมด ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ว่า ถือเป็นข้อเสนอหนึ่ง กรธ.เองก็จะรับฟังไว้ แต่ขณะนี้กรธ.ยังพิจารณาไม่ถึงเรื่องที่มาส.ว. เลยยังบอกไม่ได้ว่า จะปรับแก้ หรือกำหนดอย่างไร ต้องนำข้อเสนอจากทุกภาคส่วนมาประมวลถึงข้อดีข้อเสียก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณจากรัฐบาล และ คสช.หรือไม่ นายอมร กล่าวว่า ไม่ใช่สัญญาณอะไร เป็นแค่ความเห็นของ พล.อ.ประวิตร เท่านั้น ขอยืนยันว่า การทำงานของกรธ.เป็นอิสระ ไม่มีใครมาครอบงำ หรือสั่งการเราได้ จะปรับแก้ในเรื่องนี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมติของ กรธ.เอง ส่วนการพิจารณาของกรธ.ขณะนี้ยังอยู่ในหมวดรัฐสภา โดยหลักการสำคัญ ยังคงเดิมไม่ได้ปรับแก้อะไร นอกจากคำผิดคำถูก หรือปรับแก้ถ้อยคำให้มีความสอดคล้องเท่านั้น
** "นิคม" ดักทางส.ว.เลือกนายกฯคนนอก
นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ปกติ เมื่อตอนเกิดวิกฤต หรือเกิดเหตุจนไม่มีสภาผู้แทนฯ ทางวุฒิสภาต้องมาทำหน้าที่อยู่แล้ว ตามรัฐธรรมนูญเดิม แต่ตนขอดูรายละเอียดก่อน ยังไม่รู้ความหมายของพล.อ.ประวิตร ว่าคืออะไร ประกอบกับตอนนี้ ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จ จึงยังไม่อยากวิจารณ์ แต่ไม่เห็นด้วยหากให้วุฒิสภา มาทำหน้าที่บริหาร ซึ่งต้องดูในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้มีนายกฯ คนนอกได้หรือไม่ อำนาจ หน้าที่ ของวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิด หากให้สภาผู้เเทนฯ เลือกนายกฯคนนอกได้ จะเข้าทางอะไรหรือไม่ ถ้าเกิดเหตุวิกฤติ จน วุฒิสภาต้องมาทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนฯ
นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ อดีตโฆษก กปปส. กล่าวว่า เราเป็นคนนอก ไม่รู้ข้อมูล และข้อเท็จจริงของคนใน อำนาจหน้าที่ของส.ว. จะเพิ่มมาจากรัฐธรรมนูญ ลักษณะที่มา จะเป็นการสรรหาหรือเลือกตั้งทางอ้อมจากกลุ่มอาชีพ หากยังคงตามร่างแรก ที่ให้เลือกไขว้จากกลุ่มอาชีพ ก็ควรให้มีอำนาจแค่ออกกฎหมาย หรือเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำรัฐบาลก็พอ แต่หากจะเพิ่มอำนาจตามข้อเสนอพล.อ.ประวิตร เข้าไปก็ต้องมีหลักประกันว่า จะสามารถกล้าใช้อำนาจขณะเกิดเหตุการณ์วิกฤตไว้อย่างไร หรือไม่ เพราะคราวก่อนประชาชนบนท้องถนน และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. ชุมนุมตากแดดตากฝน หลายเดือน และเดินทางไปให้กำลังใจส.ว. ถึงรัฐสภา เพื่อให้ใช้อำนาจตาม มาตรา 3 และ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 เพื่อสรรหาตัวนายกฯ คนใหม่ แต่กลับไม่มีใครกล้า ซึ่งการแก้วิกฤต มี 2 หลักการ คือ 1. กลไกภายใต้รัฐธรรมนูญที่เหมาะสม 2. อาศัยความกล้าตัดสินใจของคน ครั้งที่แล้วเราเชื่อว่ากลไกมีแต่คนกลับไม่กล้า ต้องรอดูว่ากรธ.จะกำหนดอำนาจส.ว.อย่างไร แต่เท่าที่ดูกรธ.กำลังทำให้ชัดเจนขึ้น แต่หาก กรธ.กำหนดไว้ดี ชงให้แล้วยังไม่กล้าใช้ ก็คงป่วยการ
เมื่อถามว่าเหตุผลที่เสนอฟังขึ้นหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าในส่วนของกรธ. ที่พิจารณาที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการคัดเลือกกันเองก็เห็นว่าดีแล้ว เหมือนกับประเด็นอื่นๆ ที่ กรธ.พิจารณาดีแล้ว ซึ่งทางกรธ.จะต้องไปหารือกันก่อน คาดว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็จะมีความชัดเจน เมื่อถามว่า หากเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของที่มา ส.ว.ทั้ง 2แบบ แตกต่างกันอย่างไร นายมีชัย กล่าวว่า คนที่เสนอมาคงเปรียบเทียบแล้ว และเราก็ไม่ได้เสนอ
"ยังไม่ได้คุยกัน คงตอบอะไรก่อนไม่ได้ เดี๋ยวเขาโกธรเอา คนที่เสนอมาเขาคงคิดว่า เสนอมาแล้วดี ทางกรธ.ก็จะได้ไปหารือกัน" เมื่อถามย้ำว่า ถ้าแก้เรื่องที่มา ส.ว.ตามข้อเสนอ จะต้องไปแก้เรื่องอำนาจหน้าที่ด้วยหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า "ยังตอบอะไรไม่ได้ ยังไม่ได้มีหารือกัน" นายมีชัย กล่าว
ส่วนการเก็บตัว เพื่อทำการ ร่างรัฐธรรมนูญในร่างสุดท้ายของ กรธ. ระหว่างวันที่ 23 -26 มี.ค.นี้ ก็จะไปนั่งอ่านทบทวนกันให้ดี เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ก็จะไปดูว่าตกหล่นตรงไหนบ้าง การเว้นวรรค คำถูก คำผิด ซึ่งจะไม่มีประเด็นที่แขวนไว้จากที่กรุงเทพฯ แล้วนำไปพิจารณาต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการเก็บตัวร่างรัฐธรรมนูญในช่วงโค้งสุดท้าย 4 วัน ระหว่างวันที่ 23-26 มี.ค. ที่ โรงแรม อิมพีเรียล หัวหิน บีช รีสอร์ท อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่ร่างจะต้องเสร็จสมบูรณ์ส่งให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในวันที่ 29 มี.ค.นี้
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึงขอเสนอของ พล.อ.ประวิตร ที่จะให้มี ส.ว.จากการสรรหาทั้งหมด ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ว่า ถือเป็นข้อเสนอหนึ่ง กรธ.เองก็จะรับฟังไว้ แต่ขณะนี้กรธ.ยังพิจารณาไม่ถึงเรื่องที่มาส.ว. เลยยังบอกไม่ได้ว่า จะปรับแก้ หรือกำหนดอย่างไร ต้องนำข้อเสนอจากทุกภาคส่วนมาประมวลถึงข้อดีข้อเสียก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณจากรัฐบาล และ คสช.หรือไม่ นายอมร กล่าวว่า ไม่ใช่สัญญาณอะไร เป็นแค่ความเห็นของ พล.อ.ประวิตร เท่านั้น ขอยืนยันว่า การทำงานของกรธ.เป็นอิสระ ไม่มีใครมาครอบงำ หรือสั่งการเราได้ จะปรับแก้ในเรื่องนี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมติของ กรธ.เอง ส่วนการพิจารณาของกรธ.ขณะนี้ยังอยู่ในหมวดรัฐสภา โดยหลักการสำคัญ ยังคงเดิมไม่ได้ปรับแก้อะไร นอกจากคำผิดคำถูก หรือปรับแก้ถ้อยคำให้มีความสอดคล้องเท่านั้น
** "นิคม" ดักทางส.ว.เลือกนายกฯคนนอก
นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ปกติ เมื่อตอนเกิดวิกฤต หรือเกิดเหตุจนไม่มีสภาผู้แทนฯ ทางวุฒิสภาต้องมาทำหน้าที่อยู่แล้ว ตามรัฐธรรมนูญเดิม แต่ตนขอดูรายละเอียดก่อน ยังไม่รู้ความหมายของพล.อ.ประวิตร ว่าคืออะไร ประกอบกับตอนนี้ ร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จ จึงยังไม่อยากวิจารณ์ แต่ไม่เห็นด้วยหากให้วุฒิสภา มาทำหน้าที่บริหาร ซึ่งต้องดูในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้มีนายกฯ คนนอกได้หรือไม่ อำนาจ หน้าที่ ของวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิด หากให้สภาผู้เเทนฯ เลือกนายกฯคนนอกได้ จะเข้าทางอะไรหรือไม่ ถ้าเกิดเหตุวิกฤติ จน วุฒิสภาต้องมาทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนฯ
นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ อดีตโฆษก กปปส. กล่าวว่า เราเป็นคนนอก ไม่รู้ข้อมูล และข้อเท็จจริงของคนใน อำนาจหน้าที่ของส.ว. จะเพิ่มมาจากรัฐธรรมนูญ ลักษณะที่มา จะเป็นการสรรหาหรือเลือกตั้งทางอ้อมจากกลุ่มอาชีพ หากยังคงตามร่างแรก ที่ให้เลือกไขว้จากกลุ่มอาชีพ ก็ควรให้มีอำนาจแค่ออกกฎหมาย หรือเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำรัฐบาลก็พอ แต่หากจะเพิ่มอำนาจตามข้อเสนอพล.อ.ประวิตร เข้าไปก็ต้องมีหลักประกันว่า จะสามารถกล้าใช้อำนาจขณะเกิดเหตุการณ์วิกฤตไว้อย่างไร หรือไม่ เพราะคราวก่อนประชาชนบนท้องถนน และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. ชุมนุมตากแดดตากฝน หลายเดือน และเดินทางไปให้กำลังใจส.ว. ถึงรัฐสภา เพื่อให้ใช้อำนาจตาม มาตรา 3 และ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 เพื่อสรรหาตัวนายกฯ คนใหม่ แต่กลับไม่มีใครกล้า ซึ่งการแก้วิกฤต มี 2 หลักการ คือ 1. กลไกภายใต้รัฐธรรมนูญที่เหมาะสม 2. อาศัยความกล้าตัดสินใจของคน ครั้งที่แล้วเราเชื่อว่ากลไกมีแต่คนกลับไม่กล้า ต้องรอดูว่ากรธ.จะกำหนดอำนาจส.ว.อย่างไร แต่เท่าที่ดูกรธ.กำลังทำให้ชัดเจนขึ้น แต่หาก กรธ.กำหนดไว้ดี ชงให้แล้วยังไม่กล้าใช้ ก็คงป่วยการ