พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมครม. กรณีความเคลื่อนไหวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศว่า "ผมไม่ได้มองจุดประสงค์อะไร มองทำไม" เมื่อถามย้ำว่า แล้วจะมีการเจรจาต่อรองอะไรกับนายทักษิณหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพียงสั้นๆว่า "ก็เขาพูดไปแล้วนี่ กฎหมาย พูดด้วยกฎหมาย"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังถึงความชัดเจน ต่อข้อเสนอปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไปยังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) โดยเฉพาะข้อที่16 ที่ระบุว่า ต้องการให้รัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็น 2 ช่วงว่า ถ้าใช้คำพูดว่าเป็นขยัก อาจจะผิด อาจจะทำให้งง ไม่ใช่มีรัฐธรรมนูญสองฉบับ รัฐธรรมนูญก็คือรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดคือรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 200 กว่ามาตรา ซึ่งความหมายตรงนี้ คือ บทเฉพาะกาล คือถ้าทุกคนคิดว่าจะต้องมีการปฏิรูปในช่วงระยะเวลาแรกที่เปลี่ยนผ่าน มันควรจะต้องมีระยะเวลาหรือไม่ บทนั้น บทนี้ ยกเว้นเป็นการชั่วคราวได้หรือไม่ เพื่อให้เกิดการปฏิรูป ไม่อย่างนั้นก็ทำไม่ได้หมด เพราะในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องพูดถึงกระบวนการทั้งหมดเหมือนที่ผ่านมา แล้วมันก็เกิดปัญหา
ฉะนั้น ในช่วงแรกจะสร้างความเข้าใจว่า วาระประเทศชาติจะมั่นคงแข็งแรง ภายในรัฐบาลหน้า โดยช่วงนี้ก็ต้องมีการปรับวิธีการบริหารราชการสักหน่อย แต่ไม่ได้ปรับทั้งหมด เช่น เรื่องของส.ว. จำเป็นหรือไม่ เพื่อให้เกิดการคานอำนาจในช่วงนี้ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่ใช่เขียนไว้ชัดเจนว่าต้องทำนู่น ทำนี่ 6 ยุทธศาสตร์ มีทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มันสั่งไม่ได้ อันนี้เป็นกรอบงานกว้างๆ ส่วนจะไปทำอย่างไร เพื่อให้ลงไปสู่วิธีการปฏิบัติ โดยเฉพาะการไปอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี มันก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ทำตามนั้นกัน ต่อไปเป็นเรื่องแผนการปฏิรูป 5 ปี ก็ไม่ได้เขียน ว่าจะต้องทำนั่นทำนี่
วันนี้เรามองระยะยาวให้ 20 ปี แผนปฏิรูปครั้งละ 5 ปี แต่ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาลหน้า จะทำอย่างไรก็ทำไป แต่ต้องทำตามนี้ด้วยส่วนหนึ่งนอกจากนโยบายพรรค เพราะบางทีถ้าไม่มีไกด์ตรงนี้ ก็เดินไปซ้าย ไปขวา แล้วแต่สถานการณ์ทางการเมือง และการต่อสู้ทางการเมืองก็วุ่นไปหมด ฉะนั้นถ้าเขาเดินสองทาง เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ขณะเดียวกันเส้นของการเมืองก็เดินคู่ขนานกันไป แต่ถามว่ามันต้องมีมาตรการอะไร หรือไม่ มันก็ต้องมี และต้องมีอะไรสักอย่างเพื่อที่จะควบคุมให้ตรงนั้นเป็นไปตามแผน ซึ่งก็มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นคณะอะไรขึ้นมาใหม่ หรือจะเป็น ส.ว. หรือใครก็แล้วแต่ ซึ่งทั้งหมดนี้คือกลไก ที่จะประเมินเท่านั้นเอง ถ้ามันไม่ได้ขึ้นมา ทั้งสองสภาก็คุยกัน จะเป็นไปได้หรือไม่ โดยการเปิดอภิปรายกันได้หรือไม่ ว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำนี่ ทำนู่น แล้วจะแก้ไขกันอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องตกลงกัน ถ้าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ต้องมีคนตัดสิน จะไปศาลรัฐธรรมนูญได้หรือเปล่า ตนก็ไม่รู้ เข้าใจหรือยัง
"มันไม่ใช่สองขยัก สามขยักหรอก ขยักเดียวนั่นแหล่ะ เพียงแต่ช่วงนี้จะยกเว้นบางส่วนก่อนได้หรือไม่ เมื่อถึงเวลาสถานการณ์ปกติ ก็กลับมาทั้งหมด จะกลับเข้าที่เดิมหมด ส.ว.ก็เลือกตั้งใหม่ทั้งหมดก็ได้ เพียงแต่รัฐบาลหน้ามันต้องเกิดความมั่นใจให้เรา ไม่ใช่เพื่อผม แต่เพื่อท่าน ทุกคนเข้าใจหรือยัง" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า หลังการเลือกตั้งรัฐบาลนี้จะยังอยู่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หลังเลือกตั้งตนจะอยู่ได้อย่างไร ก็ไม่รู้ เป็นเรื่องที่จะต้องไปพิจารณามา ซึ่งคิดว่าตนก็ทำไว้ให้เยอะแล้ว ก็ไปคิดกันมาบ้าง ซึ่งช่วงเปลี่ยนผ่าน ก็ภายใน 5 ปี ถ้ามันดีขึ้นทุกปีๆก็ผ่อนผันลดลงไป เข้ากลไกปกติ ทำไปตามที่เราวางไว้ ไม่เห็นจะยาก ถ้ามันดีและถ้าเขียนไว้ในบทเฉพาะกาล จะง่ายกว่าตรงที่จะกลับมาเป็นปกติ เมื่อสถานการณ์พร้อม แต่ถ้าใส่ในรัฐธรรมนูญ ก็ลำบาก นี่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจของตน
เมื่อถามว่า ขอความชัดเจนว่าในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 4-5 ปีนั้น หมายถึง คสช. จะยังอยู่ ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนจะอยู่ไปทำไม แต่เขาจะมีวิธีการอื่น แต่หากอยู่ด้วยกลไกปกติ ก็อยู่ไป ตนถึงได้บอกว่า จะมีคณะ จะไม่มี หรือจะมีวิธีการไหนก็ไปว่ามา
"ไม่ใช่ว่าผมจะต้องอยู่ หรือไม่อยู่ ไม่ต้องมายุ่งสนใจกับผมมากนัก ผมมีหน้าที่ทำให้บ้านเมืองสงบ เดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ท่านก็คิดกันต่อสิ จะเอาอย่างไร และท่านอย่ามาโทษผมว่าทำไม่เรียบร้อย ไม่สำเร็จ อย่ามาโทษผมแบบนั้น ท่านอยากให้เป็นอย่างไรก็อยู่ที่ท่านกำหนดของท่านเองทั้งนั้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาเพียง 10 นาที และให้สื่อมวลชนได้ถามได้เพียง 4 ข้อ โดยไม่รวมการชี้แจงรายละเอียดการประชุมครม. ทั้งนี้ระหว่างการตอบข้อซักถาม พล.อ.ประยุทธ์ จะย้ำเตือนตลอดว่า ผ่านไปกี่คำถามแล้ว และการให้สัมภาษณ์ก็ไม่มีทีท่าผ่อนคลายเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม หลังนายกฯชี้แจงจบใน 4 ข้อคำถาม ได้กล่าวสวัสดี และขอบคุณก่อนจะเดินไปยังตึกไทยคู่ฟ้าทันที ขณะที่ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวขอร้องสื่อมวลชนอีกครั้ง ว่า ในการตั้งคำถามต่อนายกฯ ขอร้องให้สื่อแจ้งชื่อ และสังกัด ให้ชัดเจนผ่านไมโครโฟนตามกฎ ข้อบังคับ ที่ได้แจ้งไว้
พล.อ.ประยุทธ์ ยังถึงความชัดเจน ต่อข้อเสนอปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลไปยังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) โดยเฉพาะข้อที่16 ที่ระบุว่า ต้องการให้รัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็น 2 ช่วงว่า ถ้าใช้คำพูดว่าเป็นขยัก อาจจะผิด อาจจะทำให้งง ไม่ใช่มีรัฐธรรมนูญสองฉบับ รัฐธรรมนูญก็คือรัฐธรรมนูญ ทั้งหมดคือรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 200 กว่ามาตรา ซึ่งความหมายตรงนี้ คือ บทเฉพาะกาล คือถ้าทุกคนคิดว่าจะต้องมีการปฏิรูปในช่วงระยะเวลาแรกที่เปลี่ยนผ่าน มันควรจะต้องมีระยะเวลาหรือไม่ บทนั้น บทนี้ ยกเว้นเป็นการชั่วคราวได้หรือไม่ เพื่อให้เกิดการปฏิรูป ไม่อย่างนั้นก็ทำไม่ได้หมด เพราะในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องพูดถึงกระบวนการทั้งหมดเหมือนที่ผ่านมา แล้วมันก็เกิดปัญหา
ฉะนั้น ในช่วงแรกจะสร้างความเข้าใจว่า วาระประเทศชาติจะมั่นคงแข็งแรง ภายในรัฐบาลหน้า โดยช่วงนี้ก็ต้องมีการปรับวิธีการบริหารราชการสักหน่อย แต่ไม่ได้ปรับทั้งหมด เช่น เรื่องของส.ว. จำเป็นหรือไม่ เพื่อให้เกิดการคานอำนาจในช่วงนี้ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่ใช่เขียนไว้ชัดเจนว่าต้องทำนู่น ทำนี่ 6 ยุทธศาสตร์ มีทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มันสั่งไม่ได้ อันนี้เป็นกรอบงานกว้างๆ ส่วนจะไปทำอย่างไร เพื่อให้ลงไปสู่วิธีการปฏิบัติ โดยเฉพาะการไปอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี มันก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ทำตามนั้นกัน ต่อไปเป็นเรื่องแผนการปฏิรูป 5 ปี ก็ไม่ได้เขียน ว่าจะต้องทำนั่นทำนี่
วันนี้เรามองระยะยาวให้ 20 ปี แผนปฏิรูปครั้งละ 5 ปี แต่ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาลหน้า จะทำอย่างไรก็ทำไป แต่ต้องทำตามนี้ด้วยส่วนหนึ่งนอกจากนโยบายพรรค เพราะบางทีถ้าไม่มีไกด์ตรงนี้ ก็เดินไปซ้าย ไปขวา แล้วแต่สถานการณ์ทางการเมือง และการต่อสู้ทางการเมืองก็วุ่นไปหมด ฉะนั้นถ้าเขาเดินสองทาง เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ขณะเดียวกันเส้นของการเมืองก็เดินคู่ขนานกันไป แต่ถามว่ามันต้องมีมาตรการอะไร หรือไม่ มันก็ต้องมี และต้องมีอะไรสักอย่างเพื่อที่จะควบคุมให้ตรงนั้นเป็นไปตามแผน ซึ่งก็มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นคณะอะไรขึ้นมาใหม่ หรือจะเป็น ส.ว. หรือใครก็แล้วแต่ ซึ่งทั้งหมดนี้คือกลไก ที่จะประเมินเท่านั้นเอง ถ้ามันไม่ได้ขึ้นมา ทั้งสองสภาก็คุยกัน จะเป็นไปได้หรือไม่ โดยการเปิดอภิปรายกันได้หรือไม่ ว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำนี่ ทำนู่น แล้วจะแก้ไขกันอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องตกลงกัน ถ้าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ต้องมีคนตัดสิน จะไปศาลรัฐธรรมนูญได้หรือเปล่า ตนก็ไม่รู้ เข้าใจหรือยัง
"มันไม่ใช่สองขยัก สามขยักหรอก ขยักเดียวนั่นแหล่ะ เพียงแต่ช่วงนี้จะยกเว้นบางส่วนก่อนได้หรือไม่ เมื่อถึงเวลาสถานการณ์ปกติ ก็กลับมาทั้งหมด จะกลับเข้าที่เดิมหมด ส.ว.ก็เลือกตั้งใหม่ทั้งหมดก็ได้ เพียงแต่รัฐบาลหน้ามันต้องเกิดความมั่นใจให้เรา ไม่ใช่เพื่อผม แต่เพื่อท่าน ทุกคนเข้าใจหรือยัง" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า หลังการเลือกตั้งรัฐบาลนี้จะยังอยู่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หลังเลือกตั้งตนจะอยู่ได้อย่างไร ก็ไม่รู้ เป็นเรื่องที่จะต้องไปพิจารณามา ซึ่งคิดว่าตนก็ทำไว้ให้เยอะแล้ว ก็ไปคิดกันมาบ้าง ซึ่งช่วงเปลี่ยนผ่าน ก็ภายใน 5 ปี ถ้ามันดีขึ้นทุกปีๆก็ผ่อนผันลดลงไป เข้ากลไกปกติ ทำไปตามที่เราวางไว้ ไม่เห็นจะยาก ถ้ามันดีและถ้าเขียนไว้ในบทเฉพาะกาล จะง่ายกว่าตรงที่จะกลับมาเป็นปกติ เมื่อสถานการณ์พร้อม แต่ถ้าใส่ในรัฐธรรมนูญ ก็ลำบาก นี่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจของตน
เมื่อถามว่า ขอความชัดเจนว่าในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 4-5 ปีนั้น หมายถึง คสช. จะยังอยู่ ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนจะอยู่ไปทำไม แต่เขาจะมีวิธีการอื่น แต่หากอยู่ด้วยกลไกปกติ ก็อยู่ไป ตนถึงได้บอกว่า จะมีคณะ จะไม่มี หรือจะมีวิธีการไหนก็ไปว่ามา
"ไม่ใช่ว่าผมจะต้องอยู่ หรือไม่อยู่ ไม่ต้องมายุ่งสนใจกับผมมากนัก ผมมีหน้าที่ทำให้บ้านเมืองสงบ เดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ท่านก็คิดกันต่อสิ จะเอาอย่างไร และท่านอย่ามาโทษผมว่าทำไม่เรียบร้อย ไม่สำเร็จ อย่ามาโทษผมแบบนั้น ท่านอยากให้เป็นอย่างไรก็อยู่ที่ท่านกำหนดของท่านเองทั้งนั้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้เวลาเพียง 10 นาที และให้สื่อมวลชนได้ถามได้เพียง 4 ข้อ โดยไม่รวมการชี้แจงรายละเอียดการประชุมครม. ทั้งนี้ระหว่างการตอบข้อซักถาม พล.อ.ประยุทธ์ จะย้ำเตือนตลอดว่า ผ่านไปกี่คำถามแล้ว และการให้สัมภาษณ์ก็ไม่มีทีท่าผ่อนคลายเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม หลังนายกฯชี้แจงจบใน 4 ข้อคำถาม ได้กล่าวสวัสดี และขอบคุณก่อนจะเดินไปยังตึกไทยคู่ฟ้าทันที ขณะที่ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวขอร้องสื่อมวลชนอีกครั้ง ว่า ในการตั้งคำถามต่อนายกฯ ขอร้องให้สื่อแจ้งชื่อ และสังกัด ให้ชัดเจนผ่านไมโครโฟนตามกฎ ข้อบังคับ ที่ได้แจ้งไว้