เมื่อเวลา09.00 น. วานนี้ ( 9 ก.พ.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ภายในสำนักงานกพ. กลุ่มประชาชนจากชุมชนชาวเล บ้านราไวย์ อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต ประมาณ 30 คน นำโดย นายไมตรี จงไกรจักร ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวเลบ้านราไวย์ ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อขอให้เร่งแก้ปัญหาชุมชนฯ และ อีก 1 ฉบับ ยื่นถึง รมว.วัฒนธรรม โดยขอให้สนับสนุนการแก้ปัญหาของชาวเลอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีที่มีชายฉกรรจ์ กว่า 100 คน บุกเข้าทำร้ายชาวเล และนำรถบรรทุกก้อนหินขนาดใหญ่ มาเทปิดเส้นทางเข้าออกชุมชน ที่มีผู้หญิงและเด็กจำนวนมากนั่งอยู่เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บกว่า 30 คน และมีเหตุกระทบกระทั่งกัน จึงเรียกร้องขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ดำเนินการดังนี้
1.ขอให้รองนายกฯ ดำเนินการตามมติครม. ในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล โดยการยกระดับคณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล ที่มีพล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง เป็นประธาน และให้มีอำนาจดำเนินการแก้ไขปัญหา ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกฯ
2 .เร่งสั่งการให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกมิชอบ ภายใน 1 เดือน ตามที่คณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดินได้มอบหมายให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ รวบรวมหลักฐานและส่งให้กรมที่ดิน เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ซึ่งออกมาทับชุมชน ชาวเลบ้านราไวย์ จำนวน 19 ไร่
3. มอบหมายให้คณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดิน ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ ในพื้นที่ 15 บริษัท บารอน เวิร์ดเทรด จำกัด จำนวน 33 ไร่ ที่ออกทับทางเดินสาธารณะ บาไลยพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ของชาวเล พื้นที่ชายหาด บ่อน้ำโบราณ และ คลองหลาโอน
โดยมีพล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะคณะทำงานพล.อ.ประวิตร รับเรื่อง ต่อมาภายหลังการยื่นหนังสือ ทางกลุ่มได้เข้าให้รายละเอียดกับ พล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ ด้วย
นายไมตรี กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า พื้นที่ที่มีปัญหานั้น ชาวเลเคยอาศัยอยู่มาก่อนที่จะมีเอกสารสิทธิ์ พร้อมตั้ง พล.อ.สุรินทร์ เข้ามาแก้ไขปัญหาปัญหา ตามมติครม. ตั้งแต่ 2 มิ.ย. 53 ซึ่งเราได้มีการผลักดันมาตลอด และจากการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ก็พบว่า ชาวเลอาศัยอาศัยมาตั้งแต่ดั้งเดิมกว่า 300 ปี จึงขอให้เร่งดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ ของบริษัท บารอนฯ ตามที่ฝ่ายเกี่ยวข้องรวบรวมหลักฐานแล้วส่งมายังกรมที่ดิน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ พร้อมกับยกระดับให้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร เพื่อดำเนินการกับผู้มีอิทธิพลที่เข้าทำร้ายชาวบ้าน
ขณะที่นายสนิท แซ่ซั่ว ตัวแทนชาวเลราไวย์ เรียกร้องให้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุปะทะ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 34 ราย เข้าแจ้งความ 6 ราย และอุปกรณ์ทางการประมงที่เกิดความเสียหาย ซึ่งจากการประชุมในจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 2ก.พ.ที่ผ่านมา ทางบริษัท บารอนฯ ยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหาย
ส่วนนายสงัด หาดวารี ตัวแทนชาวบ้านอีกราย ได้เรียกร้องให้พิจารณาพื้นที่ดังกล่าวประกาศเป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยเสด็จ เมื่อปี 2502 เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่ประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ ในฐานะตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า จะรับข้อมูลต่างๆ เพื่อไปพิจารณา และหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องข้อพิพาทที่ดิน และผู้ที่ได้รับความเสียหาย โดยจะประสานกระทรวงยุติธรรม ผู้ว่าฯภูเก็ต และ ดีเอสไอ แล้วเสนอต่อคณะทำงานของ พล.อ.ประวิตร เพื่อนำปัญหามาแก้ไขต่อไป
ภายหลังหารือเสร็จสิ้น ทางกลุ่มได้ลงมาทำกิจกรรมการแสดงชุด ระบำรองแง็ง ซึ่งเป็นการแสดงพื้นถิ่น จากนั้นนายสนิท ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ผ่านมาเราถูกกระทำ ทั้งปิดทางเดิน และทุบตี ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็ก คนชรา เลยมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ช่วยชาวเล ที่ผ่านมาไม่มีการช่วยเหลือไกล่เกลี่ยใดๆ เลย มีเพียงแค่คำพูด ทำให้พี่น้องรู้สึกไม่สบายใจในความปลอดภัย รวมถึงความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย จึงต้องเดินทางมาที่นี่ ถ้าไม่มีการทำอะไรซักอย่าง พี่น้องจะอยู่จนกว่าจะมีข้อตกลง และถ้าเราไม่มั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัย ก็อาจจะมาอาศัยที่ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีที่มีชายฉกรรจ์ กว่า 100 คน บุกเข้าทำร้ายชาวเล และนำรถบรรทุกก้อนหินขนาดใหญ่ มาเทปิดเส้นทางเข้าออกชุมชน ที่มีผู้หญิงและเด็กจำนวนมากนั่งอยู่เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บกว่า 30 คน และมีเหตุกระทบกระทั่งกัน จึงเรียกร้องขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ดำเนินการดังนี้
1.ขอให้รองนายกฯ ดำเนินการตามมติครม. ในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล โดยการยกระดับคณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเล ที่มีพล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง เป็นประธาน และให้มีอำนาจดำเนินการแก้ไขปัญหา ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกฯ
2 .เร่งสั่งการให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกมิชอบ ภายใน 1 เดือน ตามที่คณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดินได้มอบหมายให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ รวบรวมหลักฐานและส่งให้กรมที่ดิน เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ซึ่งออกมาทับชุมชน ชาวเลบ้านราไวย์ จำนวน 19 ไร่
3. มอบหมายให้คณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดิน ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ ในพื้นที่ 15 บริษัท บารอน เวิร์ดเทรด จำกัด จำนวน 33 ไร่ ที่ออกทับทางเดินสาธารณะ บาไลยพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ของชาวเล พื้นที่ชายหาด บ่อน้ำโบราณ และ คลองหลาโอน
โดยมีพล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะคณะทำงานพล.อ.ประวิตร รับเรื่อง ต่อมาภายหลังการยื่นหนังสือ ทางกลุ่มได้เข้าให้รายละเอียดกับ พล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ ด้วย
นายไมตรี กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า พื้นที่ที่มีปัญหานั้น ชาวเลเคยอาศัยอยู่มาก่อนที่จะมีเอกสารสิทธิ์ พร้อมตั้ง พล.อ.สุรินทร์ เข้ามาแก้ไขปัญหาปัญหา ตามมติครม. ตั้งแต่ 2 มิ.ย. 53 ซึ่งเราได้มีการผลักดันมาตลอด และจากการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ก็พบว่า ชาวเลอาศัยอาศัยมาตั้งแต่ดั้งเดิมกว่า 300 ปี จึงขอให้เร่งดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ ของบริษัท บารอนฯ ตามที่ฝ่ายเกี่ยวข้องรวบรวมหลักฐานแล้วส่งมายังกรมที่ดิน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ พร้อมกับยกระดับให้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร เพื่อดำเนินการกับผู้มีอิทธิพลที่เข้าทำร้ายชาวบ้าน
ขณะที่นายสนิท แซ่ซั่ว ตัวแทนชาวเลราไวย์ เรียกร้องให้เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุปะทะ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 34 ราย เข้าแจ้งความ 6 ราย และอุปกรณ์ทางการประมงที่เกิดความเสียหาย ซึ่งจากการประชุมในจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 2ก.พ.ที่ผ่านมา ทางบริษัท บารอนฯ ยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหาย
ส่วนนายสงัด หาดวารี ตัวแทนชาวบ้านอีกราย ได้เรียกร้องให้พิจารณาพื้นที่ดังกล่าวประกาศเป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยเสด็จ เมื่อปี 2502 เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่ประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ธรรมศักดิ์ ในฐานะตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า จะรับข้อมูลต่างๆ เพื่อไปพิจารณา และหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องข้อพิพาทที่ดิน และผู้ที่ได้รับความเสียหาย โดยจะประสานกระทรวงยุติธรรม ผู้ว่าฯภูเก็ต และ ดีเอสไอ แล้วเสนอต่อคณะทำงานของ พล.อ.ประวิตร เพื่อนำปัญหามาแก้ไขต่อไป
ภายหลังหารือเสร็จสิ้น ทางกลุ่มได้ลงมาทำกิจกรรมการแสดงชุด ระบำรองแง็ง ซึ่งเป็นการแสดงพื้นถิ่น จากนั้นนายสนิท ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ผ่านมาเราถูกกระทำ ทั้งปิดทางเดิน และทุบตี ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็ก คนชรา เลยมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ช่วยชาวเล ที่ผ่านมาไม่มีการช่วยเหลือไกล่เกลี่ยใดๆ เลย มีเพียงแค่คำพูด ทำให้พี่น้องรู้สึกไม่สบายใจในความปลอดภัย รวมถึงความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย จึงต้องเดินทางมาที่นี่ ถ้าไม่มีการทำอะไรซักอย่าง พี่น้องจะอยู่จนกว่าจะมีข้อตกลง และถ้าเราไม่มั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัย ก็อาจจะมาอาศัยที่ทำเนียบรัฐบาล