วานนี้ (2ก.พ.) ที่รัฐสภา นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิปสนช. แถลงภายหลังการประชุม ถึงการรับฟังรายละเอียดเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในวันนี้ (3 ก.พ.) โดยมีสมาชิกสนช.แสดงเจตจำนงเพื่อร่วมซักถามต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จำนวนทั้งสิ้น 7 คน โดยมี ตนเอง พร้อมด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล และ พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์
โดยเนื้อหาของคำถาม จะมีประเด็น อาทิ ที่มา ส.ส.ว่าเหตุใดถึงใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ที่มาของส.ว. และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ทั้งนี้ สนช. จะเปิดโอกาสให้สมาชิกซักถามอย่างเต็มที่ แม้ส่วนการประชุมสนช.ในวันที่ 5 ก.พ. จะเป็นการเปิดให้สมาชิกแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรวบรวมความเห็นของ สนช.ก่อนส่งกลับไปให้กรธ. ในการรปรับปรุง ร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
นพ.เจตน์ กล่าวด้วยว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบ เกี่ยวกับการทำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 ฉบับ ซึ่งมีเวลาจำกัดเพียง 2 เดือน ต้องทำให้เรียบร้อย เชื่อว่า กรธ.จะทยอยส่งร่างกฎหมายมาให้ สนช. พิจารณา ซึ่งสนช.ต้องตั้งกมธ.วิสามัญ โดยนายพรเพชร ต้องการให้สมาชิก สนช. เป็นกรรมาธิการเพียงคนละ 1 คณะ เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมายอย่างเต็มที่
**วิปสนช.ตีกลับเกณฑ์ทำประชามติ
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ วิป สนช. กล่าวกรณีที่ทาง กกต.ได้ส่งร่างประกาศหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงประชามติ มาให้สนช. พิจารณาว่า ที่ประชุมวิป สนช.ยังเห็นว่า ร่างดังกล่าวยังมีความไม่ถูกต้องอยู่พอสมควรโดยเฉพาะในเรื่องของข้อสรุปในการทำประชามติ ที่จะต้องมีผลสรุปว่า มีจำนวนประชาชนมาลงทั้งสิ้น กี่คน เห็นด้วยกี่คน และไม่เห็นด้วยกี่คน สรุปว่า มีประชาชนเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งร่างดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปเช่นนี้ โดยการที่จะให้รัฐบาลนำไปตีความเองนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะหากรัฐบาลตีความผิดขึ้นมา ก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ทั้งนี้ สนช.มีอำนาจเพียงแค่เห็นชอบ หรือไม่ กับร่างที่ กกต.เสนอมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราเห็นว่ามีข้อไม่ถูกต้อง ก็ต้องนำกลับไปให้ทางกกต.ดู เนื่องจากยังพอมีเวลาจนกว่าร่างรัฐธรรมนูญจะประกาศใช้
**สปท.เตรียมซัก 4 ประเด็น
นายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ด้านการเมือง กล่าวว่า กมธ.การเมือง มีมติเสนอคำถามที่จะถามกรธ. 4 ข้อ คือ 1. หลังร่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้ไปแล้วได้กำหนดให้กรธ.จัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ10 ฉบับ และ กำหนดให้ สปท.ทำงานอีก 1 ปี จึงจะถาม กรธ.ว่า ในช่วงเวลา 1 ปีที่เหลือภารกิจของ สปท. จะทำอะไรต่อ 2. กรณีที่ห้ามส.ส.แปรญัตติงบประมาณ ที่รัฐธรรมนูญเขียนว่า โครงการใดๆ ในความหมายคือ มีอะไรบ้าง 3. เรื่องสิทธิเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย ในเรื่องความเสมอภาคของต่างด้าว ในความเป็นมนุษย์ จะได้รับความ เสมอภาคเหมือนคนไทย หรือไม่ และ 4. หลังจากจากนี้ กรธ.จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ สปท.อีกหรือไม่
**จับตาร่างกม.ยุทธศาสตร์ชาติ
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปท. และอดีตโฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ร่างแรก นายกฯ คนใหม่จะเป็นคนนอก หรือคนใน ไม่สำคัญ แต่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบที่ไม่เคยมีมาในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า เป็นกรอบ 2 กรอบ คือ กรอบในการบริหารประเทศ และกรอบการปฏิบัติตน คือ การกำหนดนโยบายบริหารประเทศต้องให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตามมาตรา 157 ที่กำหนดขึ้นมา โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติภายใต้ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะเกิดขึ้นสมบูรณ์ก่อนนายกฯ ใหม่ เข้าบริหารประเทศ ภายใน 1 ปี หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ในขณะที่นายกฯใหม่ จะมาหลังจากนั้น2-3 เดือน
ส่วนการปฏิบัติตนของนายกฯ ครม. และ ส.ส.-ส.ว. จะต้องอยู่ภายใต้กรอบมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดขึ้น ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นภายใน 1 ปี หลังมีรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งกรอบนโยบายและกรอบการปฏิบัติตน นายกฯ ครม. ส.ส. และส.ว.ใหม่ ไม่ได้มีส่วนร่วมกำหนด แต่ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมให้ความเห็นต่อยุทธศาสตร์ชาติ ตาม มาตรา 61 ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่ประชาชนจะต้องให้ความสนใจอย่างยิ่ง แม้จะไม่ใช่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จึงคือร่างพ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ที่รัฐบาลชุดนี้ต้องทำให้เสร็จ ภายใน 3 เดือน หลังประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญใหม่
โดยเนื้อหาของคำถาม จะมีประเด็น อาทิ ที่มา ส.ส.ว่าเหตุใดถึงใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ที่มาของส.ว. และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ทั้งนี้ สนช. จะเปิดโอกาสให้สมาชิกซักถามอย่างเต็มที่ แม้ส่วนการประชุมสนช.ในวันที่ 5 ก.พ. จะเป็นการเปิดให้สมาชิกแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรวบรวมความเห็นของ สนช.ก่อนส่งกลับไปให้กรธ. ในการรปรับปรุง ร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
นพ.เจตน์ กล่าวด้วยว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบ เกี่ยวกับการทำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 ฉบับ ซึ่งมีเวลาจำกัดเพียง 2 เดือน ต้องทำให้เรียบร้อย เชื่อว่า กรธ.จะทยอยส่งร่างกฎหมายมาให้ สนช. พิจารณา ซึ่งสนช.ต้องตั้งกมธ.วิสามัญ โดยนายพรเพชร ต้องการให้สมาชิก สนช. เป็นกรรมาธิการเพียงคนละ 1 คณะ เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมายอย่างเต็มที่
**วิปสนช.ตีกลับเกณฑ์ทำประชามติ
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ วิป สนช. กล่าวกรณีที่ทาง กกต.ได้ส่งร่างประกาศหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงประชามติ มาให้สนช. พิจารณาว่า ที่ประชุมวิป สนช.ยังเห็นว่า ร่างดังกล่าวยังมีความไม่ถูกต้องอยู่พอสมควรโดยเฉพาะในเรื่องของข้อสรุปในการทำประชามติ ที่จะต้องมีผลสรุปว่า มีจำนวนประชาชนมาลงทั้งสิ้น กี่คน เห็นด้วยกี่คน และไม่เห็นด้วยกี่คน สรุปว่า มีประชาชนเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งร่างดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปเช่นนี้ โดยการที่จะให้รัฐบาลนำไปตีความเองนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะหากรัฐบาลตีความผิดขึ้นมา ก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ทั้งนี้ สนช.มีอำนาจเพียงแค่เห็นชอบ หรือไม่ กับร่างที่ กกต.เสนอมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราเห็นว่ามีข้อไม่ถูกต้อง ก็ต้องนำกลับไปให้ทางกกต.ดู เนื่องจากยังพอมีเวลาจนกว่าร่างรัฐธรรมนูญจะประกาศใช้
**สปท.เตรียมซัก 4 ประเด็น
นายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ด้านการเมือง กล่าวว่า กมธ.การเมือง มีมติเสนอคำถามที่จะถามกรธ. 4 ข้อ คือ 1. หลังร่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้ไปแล้วได้กำหนดให้กรธ.จัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ10 ฉบับ และ กำหนดให้ สปท.ทำงานอีก 1 ปี จึงจะถาม กรธ.ว่า ในช่วงเวลา 1 ปีที่เหลือภารกิจของ สปท. จะทำอะไรต่อ 2. กรณีที่ห้ามส.ส.แปรญัตติงบประมาณ ที่รัฐธรรมนูญเขียนว่า โครงการใดๆ ในความหมายคือ มีอะไรบ้าง 3. เรื่องสิทธิเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย ในเรื่องความเสมอภาคของต่างด้าว ในความเป็นมนุษย์ จะได้รับความ เสมอภาคเหมือนคนไทย หรือไม่ และ 4. หลังจากจากนี้ กรธ.จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ สปท.อีกหรือไม่
**จับตาร่างกม.ยุทธศาสตร์ชาติ
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปท. และอดีตโฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ร่างแรก นายกฯ คนใหม่จะเป็นคนนอก หรือคนใน ไม่สำคัญ แต่จะต้องอยู่ภายใต้กรอบที่ไม่เคยมีมาในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า เป็นกรอบ 2 กรอบ คือ กรอบในการบริหารประเทศ และกรอบการปฏิบัติตน คือ การกำหนดนโยบายบริหารประเทศต้องให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตามมาตรา 157 ที่กำหนดขึ้นมา โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติภายใต้ พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะเกิดขึ้นสมบูรณ์ก่อนนายกฯ ใหม่ เข้าบริหารประเทศ ภายใน 1 ปี หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ในขณะที่นายกฯใหม่ จะมาหลังจากนั้น2-3 เดือน
ส่วนการปฏิบัติตนของนายกฯ ครม. และ ส.ส.-ส.ว. จะต้องอยู่ภายใต้กรอบมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกำหนดขึ้น ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นภายใน 1 ปี หลังมีรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งกรอบนโยบายและกรอบการปฏิบัติตน นายกฯ ครม. ส.ส. และส.ว.ใหม่ ไม่ได้มีส่วนร่วมกำหนด แต่ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมให้ความเห็นต่อยุทธศาสตร์ชาติ ตาม มาตรา 61 ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่ประชาชนจะต้องให้ความสนใจอย่างยิ่ง แม้จะไม่ใช่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จึงคือร่างพ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ที่รัฐบาลชุดนี้ต้องทำให้เสร็จ ภายใน 3 เดือน หลังประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญใหม่