โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
เมื่อพูดถึงความตาย ไม่ค่อยมีใครอยากฟัง พอถามว่า ระหว่างสุคติกับทุคติจะเอาอันไหน ทุกคนต่างเอาสุคติทั้งนั้น นั่นคือทุกคนชอบสุคติ แต่ไม่ค่อยชอบทำสุคติ กลับไปทำทุคติตามกระแสนิยม โดยเฉพาะงานศพ ทุกคนในงานต่างอธิษฐานขอให้จิตวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่สุคติในสัมปรายิกภพ (ภพหน้า) ด้วยเถิด
สุคติ คือทางไปสู่ความดี มีมนุษย์ เทวดา พรหม นิพพาน
ทุคติ คือทางไปสู่ความชั่ว มีเดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก
สุคติ และทุคติ เหตุอยู่ในภพนี้ ผลอยู่ในภพนี้ และภพหน้า
ด้วยการกระทำ หรือกรรมของตนเอง
ตายแล้วไปไหน
“ตาย” เป็นองค์หนึ่งในสี่องค์ของชีวิต นั่นคือ “เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย” ทุกคนหนีไม่พ้น เพราะเราเป็นคน เมื่อประสบแต่ละองค์ ก็จงอุเบกขาเถิด อย่าแสดงอาการหลง โง่ ซ้ำเติมตัวเองเลย
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและความสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า... “ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ ไวทยะ ศูทร หรือจัณฑาล ในที่สุดก็ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตายเหมือนภาชนะ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ในที่สุดก็ต้องแตกสลายเหมือนกันหมด”
ในที่สุดแม้พระพุทธองค์ก็ต้องประสบอวสานเหมือนคนทั้งหลาย พระธรรมที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่า สัตว์ทั้งหลาย มีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง
เรื่องทั้งหลายทั้งปวง ต่างก็มาจบลงด้วยสัจธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนอยู่เสมอว่า...
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีเหตุเกิด สิ่งนั้นย่อมดับไปเมื่อมีเหตุดับ
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด
บัดนี้ พระพุทธองค์ดับแล้ว ดับอย่างหมดเชื้อ ทิ้งวิบากขันธ์ และกิเลสานุสัยทั้งปวง ประดุจกองไฟดับลงแล้ว เพราะหมอเชื้อ ฉะนั้น
...(วศิน อินทสระ, พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน, สำนักพิมพ์ธรรมดา)
ตายแล้วไปไหน? ยังเป็นข้อสงสัยไม่มีที่สิ้นสุด ความคิดความเชื่อของผู้คนก็แตกต่างกันไปต่างๆ นานา สำหรับผมคิดว่า...ตายแล้วก็ไปเกิดนะซิ ตราบที่ยังมีเชื้อ หรือยังไม่สิ้นกิเลสโดยเด็ดขาด
ก็ไปเกิดใหม่
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า...การเกิดนั้นมี 4 ประเภท...
สองประเภทแรก คือเกิดในครรภ์ และเกิดในไข่นั้น เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ประเภทที่สาม เกิดในเถ้าไคล เราอาศัยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการมองเห็นจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ
ประเภทสี่ พวกที่เกิดแล้วโตทันที เราไม่มีเครื่องมือช่วยในการมองเห็น เมื่อมองไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี
ในมิติอื่นที่ซ้อนกันอยู่ หรือในภพภูมิอื่น นอกเหนือจากมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานแล้ว ยังมีภพภูมิของพรหม เทวดา เปรต อสุรกาย และสัตว์นรกซึ่งผุดเกิดแล้ว เติบโตทันที การเกิดแบบนี้เรียกว่า “โอปปาติกะ”
อาจารย์ดร.บรรจบ บรรณรุจิ กล่าวว่า... “โอปปาติกะ คือชีวิตหลังความตายของสัตว์โลกที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยแต่อดีตกรรมเพียงอย่างเดียว เกิดจากใจของตัวเองที่ยังอยากมีชีวิตอยู่ แต่การเกิดใหม่นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วแบบผุดโผล่ขึ้น เกิดแล้วมีตัวตนสมบูรณ์ มีอวัยวะครบถ้วน เหมือนตอนก่อนตายนั่นเอง
ลองหลับตานึกถึงที่ว่างสักแห่งหนึ่ง นึกภาพว่า จู่ๆ ก็มี “ใครสักคน” หรือ “อะไรสักอย่าง” ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น โดยไม่มีที่มาที่ไป นี่เองคือการปรากฏขึ้นของโอปปาติกะ
ในอภิธรรมอธิบายไว้ว่า ขณะคนกำลังจะตาย ใจย่อมตกอยู่ในภวังค์ คือหมดความรู้สึกทางร่างกาย แต่รับรู้อยู่ในภวังค์
จิตที่ตกภวังค์ขณะนั้นเรียกว่า “จุติจิต” เพราะเป็นจิตที่ดับแล้ว ชีวิตก็ดับด้วย
แต่เนื่องจากจิตที่ดับนั้น ได้ทิ้งปัจจัยแห่งการเกิดใหม่ คือ กิเลสกรรม และผลของกรรมไว้ให้จิตขณะใหม่รับเสพ จนปรุงแต่งชีวิตให้สืบต่อขึ้นมาใหม่
ภวังคจิตที่เกิดต่อจากนั้น เรียกว่า “ปฏิสนธิจิต” เพราะเป็นจิตที่ทำให้ชีวิตกลับมาต่อติดได้ใหม่หลังตาย และดำเนินต่อไปในกายทิพย์
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นรวดเร็วเพียงชั่วขณะจิตเดียว คือชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น หรือชั่วกะพริบตา ซึ่งหากจะพูดให้ชัดๆ ก็ว่า ช่วงเวลาระหว่าง “ตาย” ถึง “เกิดหลังตาย” ห่างกันแค่พริบตาเดียว
นั่นหมายความว่า คนหรือสัตว์ที่ตายจากโลกมนุษย์แล้ว จะเกิดเป็นโอปปาติกะ (มีตัวตนใหม่) ทันที โดยมีร่างกาย ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ รับรู้และเคลื่อนไหวไปตามที่จิตหรือวิญญาณสั่ง เหมือนเมื่อตอนเป็นมนุษย์ แต่อยู่ในสภาพกายทิพย์ อาจเป็นเทวดา มนุษย์บางจำพวก สัตว์นรก เปรตบางจำพวก อสุรกาย
โอปปาติกะ จึงมีทั้งในสุคติภูมิ และทุคติภูมิ และได้รับผลกรรมที่สมควรแก่กรรม ซึ่งได้ทำมา
โอปปาติกะ หรือชีวิตหลังความตายนั้น อยู่ในสภาพทิพย์ เป็นเทวดาบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง แต่เรามักเรียก 3 ประเภทหลังว่า “ผี”
...(โอปปาติกะ ชีวิตหลังความตาย โดยดร.บรรจบ บรรณรุจิ สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ)
คุณหมอทันตแพทย์สม สุจีรา กล่าวว่า...โดยปกติรูปและนาม จะทำงานผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างแยกไม่ออก จนเมื่อใกล้รูปจะแตกสลาย ส่วนของนามก็พร้อมที่จะแยกตัวออกมา ส่วนของนามซึ่งทั้งหมดเป็นประสบการณ์อันเกี่ยวข้องกับผลกรรม จะถูกนำมาเก็บไว้ที่ภวังคจิต และภวังคจิตจะถ่ายทอดส่วนของนามทั้งหมดไปสู่จุติจิต เพื่อนำไปสู่สนธิจิต เข้ารวมกับรูปใหม่ที่ไปเกิดในชาติภพต่อไป
ภพภูมิของการจะไปเกิดในจักรวาลนี้ มีได้ทั้งหมด 31 ภพ มนุษย์อยู่ในชั้นที่ 5 ก่อนหน้านั้นชั้นต่ำสุดจะเป็นชั้นของสัตว์นรก ชั้นที่ 2 เป็นภพของอสุรกาย ชั้นที่ 3 เป็นเปรต และชั้นที่ 4 เป็นสัตว์เดรัจฉาน
ดังนั้น มนุษย์ส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะตกจากชั้นที่ 5 ไปเกิดในชั้นที่ต่ำกว่าสูงมาก เพราะการลงสู่ที่ต่ำง่ายกว่าการพยายามที่จะขึ้นสู่ที่สูง แม้องค์พระโพธิสัตว์ก็เคยมีช่วงหนึ่งที่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอย่างนับชาติไม่ถ้วน
...(เกิดเพราะกรรมหรือความซวย โดยทพ.สม สุจีรา สำนักพิมพ์อมรินทร์)
ตามเหตุปัจจัย
คุณหมอทพ.สม สุจีรา (เล่มเดียวกัน) กล่าวต่อไปว่า... “จิตสุดท้ายของร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่การเกิด...
ถ้ามีส่วนของนามที่เต็มไปด้วย “โทสะ” ปฏิสนธิจิตก็จะลงไปรวมกับรูปที่ชั้นของสัตว์นรก และอสุรกาย
ถ้าจิตนั้นเต็มไปด้วย “โลภะ” ปฏิสนธิจิตก็จะดิ่งลงไปรวมกับรูปในชั้นของเปรต
ถ้าจิตนั้นเต็มไปด้วย “โมหะ” ก็จะลงไปเกิดในรูปของสัตว์เดรัจฉาน
ดังนั้น ถ้าตลอดชีวิตของเราเต็มไปด้วยโทสะ โมหะ โลภะ ภพภูมิต่อไปจะลงไปต่ำกว่าชั้นของมนุษย์อย่างแน่นอน
หรือว่าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็ไม่แน่ว่าจะได้เกิดบนโลกใบเดิม เพราะในพระไตรปิฎกกล่าวอย่างชัดเจนว่า ในจักรวาลมีดวงดาวที่มีมนุษย์เหมือนกับโลกของเรานี้อีก 3 แห่ง”
อีกปัจจัยหนึ่งที่รู้จักกันดี ที่จะนำเราไปเกิดใหม่ในภพใหม่ คือ “ทาง 7 สายของมนุษย์ทั้งหลาย” ได้แก่...
1. ทางไปนรก ได้แก่ โทสะ
2. ทางไปเปรตและอสุรกาย ได้แก่ โลภะ
3. ทางไปเดรัจฉาน ได้แก่ โมหะ
4. ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10
5. ทางไปสวรรค์ ได้แก่ มหากุศล 8
6. ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมฐาน
7. ทางไปนิพพาน ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐาน
เหตุปัจจัยและผลง่ายๆ สั้นๆ 7 ข้อนี้ เป็นกระจกส่องตน และสังคมได้อย่างวิเศษ หากยกตัวอย่างให้ดูชัดๆ กลัวเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายจะหนาวสั่น เมื่อเห็นพฤติกรรมอัน ทุ ทุ ของตน ปล่อยให้เป็น... “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ดีกว่า
ที่ใจสั่งสม
วิบากกรรมที่ติดมากับปฏิสนธิจิต คือข้อมูลส่วนนามอื่นๆ ทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ เพื่อแสดงผลในชาติภพต่อไป แม้ว่าจิตสุดท้ายก่อนเสียชีวิต จะเป็นตัวนำไปสู่การเกิดในภพภูมิต่างๆ แต่โลกของในภพภูมินั้น ก็จะมีความแตกต่างกัน ระหว่างผลของนาม
ยกตัวอย่างเช่น ในสัตว์เดรัจฉาน ก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก สัตว์บางชนิดมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ามนุษย์เสียอีก บางชนิดถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆ่า นั่นเป็นเพราะผลของวิบากกรรมเก่า ในสัตว์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน หรือในสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น สุนัข แม้จะมีรูปพรรณเหมือนกันทุกประการ แต่นามธรรมที่ต่างกันทำให้ชีวิตของสุนัขแต่ละตัวดำเนินไปตามวิถีแห่งกรรมที่มีอยู่
กฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ได้เป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลก คือคาร์ล จุง (Carl Jung) กล่าวว่า...
“จิตทำหน้าที่เก็บสะสมกรรม ทั้งดี ทั้งชั่ว เมล็ดแห่งกรรม สะสมพลังงานของจิตไว้ ตราบใดที่จิตทำหน้าที่สะสมกรรม และความปรารถนาที่จะมีชีวิตยังคงมีอยู่ในจิต การเกิดใหม่ก็จะมีขึ้น ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ความจริงย่อมเป็นความจริง ธาตุขันธ์ฝ่ายรูปอาจแตกสลายหรือดับสูญไป แต่พลังงานของจิต (วิญญาณ) ที่มี “ความอยากเกิด” ผสมอยู่ ก็จะถูกส่งผ่านไปกับวิญญาณ (พลังจิต) สู่การปฏิสนธิ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ชีวิตใหม่อันมีผลกรรมที่สะสมไว้ในจิตก็จะเกิดขึ้น
นามที่ออกไปเกิดใหม่ ไม่ใช่ดวงวิญญาณอย่างที่เข้าใจกัน เรื่องของวิญญาณที่ล่องลอยออจากร่าง แล้วไปหาที่เกิดใหม่ เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งในยุคหลังๆ มีการนำมาปะปนกับศาสนาพุทธจนแยกไม่ออก ทั้งรูปแบบความคิด ทั้งพิธีกรรม
ความจริงแล้ว ในทางพุทธศาสนา ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป ทั้งรูปทั้งนาม เมื่อรูปดับ นามก็ดับด้วย
แต่เมื่อมีเชื้อที่กระตุ้นให้เกิดอีก ส่วนของรูปและนามใหม่ ก็เกิดขึ้นเป็นกายใหม่ จิตดวงใหม่ ซึ่งบรรจุข้อมูลแห่งกรรมเก่าไว้ทั้งหมด ประหนึ่งดังการโคลนนิ่งซึ่งเป็นการนำข้อมูลดีเอ็นเอเก่ามาทำให้เป็นรูปธรรมใหม่
เช่นเดียวกับข้อมูลของจิตที่ถูกโคลนนิ่งจากจิตดวงเก่าที่ดับไป และถ่ายทอดสู่จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นใหม่ในทันที
จากภวังคจิต จุติจิต ปฏิสนธิจิต เพียงแต่ข้อมูลในส่วนที่เป็นนาม เราไม่เรียกว่า ดีเอ็นเอ เหมือนในส่วนที่เป็นรูปธรรม หลังจากเสียชีวิตมีแต่ปฏิสนธิดวงใหม่เท่านั้นที่เกิดขึ้น โดยมีข้อมูลแห่งกรรมถ่ายทอดมาด้วย และจะเกิดใหม่ในทันที ไม่มีเวลาใดๆ มาคั่น
ดังนั้น สภาวะที่เรียกว่าตายแล้วฟื้น สามารถกลับมาเล่าว่า ได้ไปสวรรค์ นรก หรือท่องเที่ยวในภพภูมิต่างๆ มา ล้วนแล้วเป็นสภาวะที่ไม่ตายจริง ถ้าตายจริง จุติจิตดับ และเกิดปฏิสนธิจิตดวงใหม่ขึ้นมา กระบวนการนี้ จะย้อนกลับไม่ได้”...(เกิดเพราะกรรมหรือความซวย โดย ทพ.สม สุจีรา สนพ.อมรินทร์)
“ความตายเป็นสัจธรรมข้อหนึ่ง เป็นมรณานุสสติ ที่พระพุทธเจ้าทรงให้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เมื่อรู้จักความตาย เข้าใจความตาย และตีสนิทกับความตายไปแล้ว ตัวเราจะเป็นผู้ตอบได้ว่า ตายแล้วไปไหน และหากวันตายของเรามาถึง เราจะเลือกได้ว่า เราจะไปไหน ตายแล้วไปไหน เราเลือกได้ ไม่ได้เลือกในวันตาย แต่ต้องเลือกตั้งแต่วันนี้ วันที่ยังมีชีวิตอยู่ วันที่ชีวิตยังเป็นของเรา”
(ตายแล้วไปไหน เราเลือกได้ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม สนพ.อมรินทร์ธรรมะ)
อย่าลืมตรวจสอบห้องใจอยู่เสมอ ว่าสั่งสมอะไรไว้บ้าง อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ไปทุคติ ก็เลิกละ อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ไปสุคติ ก็รีบทำเอา ไม่มีอะไรทำแทนได้หรอก
สัมภเวสี แปลว่า ผู้แสวงหาที่เกิด หมายถึงวิญญาณมนุษย์ที่เที่ยวแสวงหาที่ผุดที่เกิด (พจนานุกรมฯ ว่าไว้อย่างนั้น)
บางคนเข้าใจว่า เมื่อตายวิญญาณจะออกจากร่างล่องลอยหาที่เกิดใหม่
แต่ผมเห็นว่า วิญญาณ หมายถึง “จิตใจ” ของมนุษย์ที่แสวงหาสิ่งที่ดีกว่าให้กับตนเอง ตั้งแต่ระดับพื้นๆ จนถึงระดับสูงสุด ขณะมีชีวิตอยู่ หรือจะเรียกว่า แสวงหาที่เกิดใหม่ ขณะยังมีชีวิตอยู่ก็ได้
ตายแล้วเกิดทันที แล้วจะเอาอะไรไปเที่ยวแสวงหาอะไรอีกล่ะ
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า สัมภเวสี คือสัตว์กำลังแสวงหาที่เกิด เพื่อจะเกิด หมายถึงจิตปุถุชนคนธรรมดา ในเวลาที่ยังไม่มีตัณหาอุปาทานยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน นี้เป็นสัมภเวสี ถ้ามีอุปาทานยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวกู ของกู นั่นเป็นภูตา คือสัตว์ที่เกิดแล้ว...(โอสาเรตัพพธรรม หน้า 395)
สัมภเวสีของท่านอาจารย์ ลึกซึ้งยิ่งนัก
กิเลสหมด ก็ไม่เกิด เช่น พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า เป็นต้น กิเลสมีก็เกิดอีก เกิดใหม่เป็นผลมาจากเกิดเก่า หรือโลกใหม่ เป็นผลมาจากโลกเก่าๆ นั่นแล
ตัวเองทำเอง ได้เอง (ดังทาง 7 สายของมนุษย์) นั่นคือของจริงของแท้
ไม่มีเรื่องบังเอิญหรือปาฏิหาริย์อะไรหรอก การหลอกกัน (คนโกหกไม่ทำบาป ไม่มี) มันผิดศีล 5 หมดสิทธิความเป็นมนุษย์ และลดฐานะตัวเองจากสุคติไปสู่ทุคติ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดอย่างแน่นอน
“ตายแล้วไปไหน
ก็ไปเกิดใหม่
ตามเหตุปัจจัย
ที่ใจสั่งสม”
พึงระวัง “คิด พูด ทำ” ทุกสิ่งทุกอย่างถูกบันทึก หรือสั่งสมไว้หมดในจิตใจของเรา กายตายแต่ใจไม่ตาย ใจพาเราไปเกิดใหม่ในภพต่างๆ เรื่อยๆ ไป ตราบเท่าที่ยังมีเชื้อหรือยังมีกิเลส เหตุแห่งทุกข์ดำรงอยู่ หากไม่อยากเกิดอีก ก็ดับมันซะ ตถตา เช่นนั้นเอง
เมื่อพูดถึงความตาย ไม่ค่อยมีใครอยากฟัง พอถามว่า ระหว่างสุคติกับทุคติจะเอาอันไหน ทุกคนต่างเอาสุคติทั้งนั้น นั่นคือทุกคนชอบสุคติ แต่ไม่ค่อยชอบทำสุคติ กลับไปทำทุคติตามกระแสนิยม โดยเฉพาะงานศพ ทุกคนในงานต่างอธิษฐานขอให้จิตวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่สุคติในสัมปรายิกภพ (ภพหน้า) ด้วยเถิด
สุคติ คือทางไปสู่ความดี มีมนุษย์ เทวดา พรหม นิพพาน
ทุคติ คือทางไปสู่ความชั่ว มีเดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก
สุคติ และทุคติ เหตุอยู่ในภพนี้ ผลอยู่ในภพนี้ และภพหน้า
ด้วยการกระทำ หรือกรรมของตนเอง
ตายแล้วไปไหน
“ตาย” เป็นองค์หนึ่งในสี่องค์ของชีวิต นั่นคือ “เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย” ทุกคนหนีไม่พ้น เพราะเราเป็นคน เมื่อประสบแต่ละองค์ ก็จงอุเบกขาเถิด อย่าแสดงอาการหลง โง่ ซ้ำเติมตัวเองเลย
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและความสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า... “ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ ไวทยะ ศูทร หรือจัณฑาล ในที่สุดก็ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตายเหมือนภาชนะ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ในที่สุดก็ต้องแตกสลายเหมือนกันหมด”
ในที่สุดแม้พระพุทธองค์ก็ต้องประสบอวสานเหมือนคนทั้งหลาย พระธรรมที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่า สัตว์ทั้งหลาย มีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง
เรื่องทั้งหลายทั้งปวง ต่างก็มาจบลงด้วยสัจธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนอยู่เสมอว่า...
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีเหตุเกิด สิ่งนั้นย่อมดับไปเมื่อมีเหตุดับ
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด
บัดนี้ พระพุทธองค์ดับแล้ว ดับอย่างหมดเชื้อ ทิ้งวิบากขันธ์ และกิเลสานุสัยทั้งปวง ประดุจกองไฟดับลงแล้ว เพราะหมอเชื้อ ฉะนั้น
...(วศิน อินทสระ, พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน, สำนักพิมพ์ธรรมดา)
ตายแล้วไปไหน? ยังเป็นข้อสงสัยไม่มีที่สิ้นสุด ความคิดความเชื่อของผู้คนก็แตกต่างกันไปต่างๆ นานา สำหรับผมคิดว่า...ตายแล้วก็ไปเกิดนะซิ ตราบที่ยังมีเชื้อ หรือยังไม่สิ้นกิเลสโดยเด็ดขาด
ก็ไปเกิดใหม่
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า...การเกิดนั้นมี 4 ประเภท...
สองประเภทแรก คือเกิดในครรภ์ และเกิดในไข่นั้น เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ประเภทที่สาม เกิดในเถ้าไคล เราอาศัยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการมองเห็นจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ
ประเภทสี่ พวกที่เกิดแล้วโตทันที เราไม่มีเครื่องมือช่วยในการมองเห็น เมื่อมองไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี
ในมิติอื่นที่ซ้อนกันอยู่ หรือในภพภูมิอื่น นอกเหนือจากมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานแล้ว ยังมีภพภูมิของพรหม เทวดา เปรต อสุรกาย และสัตว์นรกซึ่งผุดเกิดแล้ว เติบโตทันที การเกิดแบบนี้เรียกว่า “โอปปาติกะ”
อาจารย์ดร.บรรจบ บรรณรุจิ กล่าวว่า... “โอปปาติกะ คือชีวิตหลังความตายของสัตว์โลกที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยแต่อดีตกรรมเพียงอย่างเดียว เกิดจากใจของตัวเองที่ยังอยากมีชีวิตอยู่ แต่การเกิดใหม่นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วแบบผุดโผล่ขึ้น เกิดแล้วมีตัวตนสมบูรณ์ มีอวัยวะครบถ้วน เหมือนตอนก่อนตายนั่นเอง
ลองหลับตานึกถึงที่ว่างสักแห่งหนึ่ง นึกภาพว่า จู่ๆ ก็มี “ใครสักคน” หรือ “อะไรสักอย่าง” ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น โดยไม่มีที่มาที่ไป นี่เองคือการปรากฏขึ้นของโอปปาติกะ
ในอภิธรรมอธิบายไว้ว่า ขณะคนกำลังจะตาย ใจย่อมตกอยู่ในภวังค์ คือหมดความรู้สึกทางร่างกาย แต่รับรู้อยู่ในภวังค์
จิตที่ตกภวังค์ขณะนั้นเรียกว่า “จุติจิต” เพราะเป็นจิตที่ดับแล้ว ชีวิตก็ดับด้วย
แต่เนื่องจากจิตที่ดับนั้น ได้ทิ้งปัจจัยแห่งการเกิดใหม่ คือ กิเลสกรรม และผลของกรรมไว้ให้จิตขณะใหม่รับเสพ จนปรุงแต่งชีวิตให้สืบต่อขึ้นมาใหม่
ภวังคจิตที่เกิดต่อจากนั้น เรียกว่า “ปฏิสนธิจิต” เพราะเป็นจิตที่ทำให้ชีวิตกลับมาต่อติดได้ใหม่หลังตาย และดำเนินต่อไปในกายทิพย์
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นรวดเร็วเพียงชั่วขณะจิตเดียว คือชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น หรือชั่วกะพริบตา ซึ่งหากจะพูดให้ชัดๆ ก็ว่า ช่วงเวลาระหว่าง “ตาย” ถึง “เกิดหลังตาย” ห่างกันแค่พริบตาเดียว
นั่นหมายความว่า คนหรือสัตว์ที่ตายจากโลกมนุษย์แล้ว จะเกิดเป็นโอปปาติกะ (มีตัวตนใหม่) ทันที โดยมีร่างกาย ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ รับรู้และเคลื่อนไหวไปตามที่จิตหรือวิญญาณสั่ง เหมือนเมื่อตอนเป็นมนุษย์ แต่อยู่ในสภาพกายทิพย์ อาจเป็นเทวดา มนุษย์บางจำพวก สัตว์นรก เปรตบางจำพวก อสุรกาย
โอปปาติกะ จึงมีทั้งในสุคติภูมิ และทุคติภูมิ และได้รับผลกรรมที่สมควรแก่กรรม ซึ่งได้ทำมา
โอปปาติกะ หรือชีวิตหลังความตายนั้น อยู่ในสภาพทิพย์ เป็นเทวดาบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง อสุรกายบ้าง แต่เรามักเรียก 3 ประเภทหลังว่า “ผี”
...(โอปปาติกะ ชีวิตหลังความตาย โดยดร.บรรจบ บรรณรุจิ สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ)
คุณหมอทันตแพทย์สม สุจีรา กล่าวว่า...โดยปกติรูปและนาม จะทำงานผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างแยกไม่ออก จนเมื่อใกล้รูปจะแตกสลาย ส่วนของนามก็พร้อมที่จะแยกตัวออกมา ส่วนของนามซึ่งทั้งหมดเป็นประสบการณ์อันเกี่ยวข้องกับผลกรรม จะถูกนำมาเก็บไว้ที่ภวังคจิต และภวังคจิตจะถ่ายทอดส่วนของนามทั้งหมดไปสู่จุติจิต เพื่อนำไปสู่สนธิจิต เข้ารวมกับรูปใหม่ที่ไปเกิดในชาติภพต่อไป
ภพภูมิของการจะไปเกิดในจักรวาลนี้ มีได้ทั้งหมด 31 ภพ มนุษย์อยู่ในชั้นที่ 5 ก่อนหน้านั้นชั้นต่ำสุดจะเป็นชั้นของสัตว์นรก ชั้นที่ 2 เป็นภพของอสุรกาย ชั้นที่ 3 เป็นเปรต และชั้นที่ 4 เป็นสัตว์เดรัจฉาน
ดังนั้น มนุษย์ส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะตกจากชั้นที่ 5 ไปเกิดในชั้นที่ต่ำกว่าสูงมาก เพราะการลงสู่ที่ต่ำง่ายกว่าการพยายามที่จะขึ้นสู่ที่สูง แม้องค์พระโพธิสัตว์ก็เคยมีช่วงหนึ่งที่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอย่างนับชาติไม่ถ้วน
...(เกิดเพราะกรรมหรือความซวย โดยทพ.สม สุจีรา สำนักพิมพ์อมรินทร์)
ตามเหตุปัจจัย
คุณหมอทพ.สม สุจีรา (เล่มเดียวกัน) กล่าวต่อไปว่า... “จิตสุดท้ายของร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่การเกิด...
ถ้ามีส่วนของนามที่เต็มไปด้วย “โทสะ” ปฏิสนธิจิตก็จะลงไปรวมกับรูปที่ชั้นของสัตว์นรก และอสุรกาย
ถ้าจิตนั้นเต็มไปด้วย “โลภะ” ปฏิสนธิจิตก็จะดิ่งลงไปรวมกับรูปในชั้นของเปรต
ถ้าจิตนั้นเต็มไปด้วย “โมหะ” ก็จะลงไปเกิดในรูปของสัตว์เดรัจฉาน
ดังนั้น ถ้าตลอดชีวิตของเราเต็มไปด้วยโทสะ โมหะ โลภะ ภพภูมิต่อไปจะลงไปต่ำกว่าชั้นของมนุษย์อย่างแน่นอน
หรือว่าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็ไม่แน่ว่าจะได้เกิดบนโลกใบเดิม เพราะในพระไตรปิฎกกล่าวอย่างชัดเจนว่า ในจักรวาลมีดวงดาวที่มีมนุษย์เหมือนกับโลกของเรานี้อีก 3 แห่ง”
อีกปัจจัยหนึ่งที่รู้จักกันดี ที่จะนำเราไปเกิดใหม่ในภพใหม่ คือ “ทาง 7 สายของมนุษย์ทั้งหลาย” ได้แก่...
1. ทางไปนรก ได้แก่ โทสะ
2. ทางไปเปรตและอสุรกาย ได้แก่ โลภะ
3. ทางไปเดรัจฉาน ได้แก่ โมหะ
4. ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10
5. ทางไปสวรรค์ ได้แก่ มหากุศล 8
6. ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมฐาน
7. ทางไปนิพพาน ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐาน
เหตุปัจจัยและผลง่ายๆ สั้นๆ 7 ข้อนี้ เป็นกระจกส่องตน และสังคมได้อย่างวิเศษ หากยกตัวอย่างให้ดูชัดๆ กลัวเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายจะหนาวสั่น เมื่อเห็นพฤติกรรมอัน ทุ ทุ ของตน ปล่อยให้เป็น... “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ดีกว่า
ที่ใจสั่งสม
วิบากกรรมที่ติดมากับปฏิสนธิจิต คือข้อมูลส่วนนามอื่นๆ ทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ เพื่อแสดงผลในชาติภพต่อไป แม้ว่าจิตสุดท้ายก่อนเสียชีวิต จะเป็นตัวนำไปสู่การเกิดในภพภูมิต่างๆ แต่โลกของในภพภูมินั้น ก็จะมีความแตกต่างกัน ระหว่างผลของนาม
ยกตัวอย่างเช่น ในสัตว์เดรัจฉาน ก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก สัตว์บางชนิดมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ามนุษย์เสียอีก บางชนิดถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆ่า นั่นเป็นเพราะผลของวิบากกรรมเก่า ในสัตว์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน หรือในสัตว์ชนิดเดียวกัน เช่น สุนัข แม้จะมีรูปพรรณเหมือนกันทุกประการ แต่นามธรรมที่ต่างกันทำให้ชีวิตของสุนัขแต่ละตัวดำเนินไปตามวิถีแห่งกรรมที่มีอยู่
กฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ได้เป็นที่ยอมรับของนักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงของโลก คือคาร์ล จุง (Carl Jung) กล่าวว่า...
“จิตทำหน้าที่เก็บสะสมกรรม ทั้งดี ทั้งชั่ว เมล็ดแห่งกรรม สะสมพลังงานของจิตไว้ ตราบใดที่จิตทำหน้าที่สะสมกรรม และความปรารถนาที่จะมีชีวิตยังคงมีอยู่ในจิต การเกิดใหม่ก็จะมีขึ้น ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ความจริงย่อมเป็นความจริง ธาตุขันธ์ฝ่ายรูปอาจแตกสลายหรือดับสูญไป แต่พลังงานของจิต (วิญญาณ) ที่มี “ความอยากเกิด” ผสมอยู่ ก็จะถูกส่งผ่านไปกับวิญญาณ (พลังจิต) สู่การปฏิสนธิ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ชีวิตใหม่อันมีผลกรรมที่สะสมไว้ในจิตก็จะเกิดขึ้น
นามที่ออกไปเกิดใหม่ ไม่ใช่ดวงวิญญาณอย่างที่เข้าใจกัน เรื่องของวิญญาณที่ล่องลอยออจากร่าง แล้วไปหาที่เกิดใหม่ เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งในยุคหลังๆ มีการนำมาปะปนกับศาสนาพุทธจนแยกไม่ออก ทั้งรูปแบบความคิด ทั้งพิธีกรรม
ความจริงแล้ว ในทางพุทธศาสนา ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป ทั้งรูปทั้งนาม เมื่อรูปดับ นามก็ดับด้วย
แต่เมื่อมีเชื้อที่กระตุ้นให้เกิดอีก ส่วนของรูปและนามใหม่ ก็เกิดขึ้นเป็นกายใหม่ จิตดวงใหม่ ซึ่งบรรจุข้อมูลแห่งกรรมเก่าไว้ทั้งหมด ประหนึ่งดังการโคลนนิ่งซึ่งเป็นการนำข้อมูลดีเอ็นเอเก่ามาทำให้เป็นรูปธรรมใหม่
เช่นเดียวกับข้อมูลของจิตที่ถูกโคลนนิ่งจากจิตดวงเก่าที่ดับไป และถ่ายทอดสู่จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นใหม่ในทันที
จากภวังคจิต จุติจิต ปฏิสนธิจิต เพียงแต่ข้อมูลในส่วนที่เป็นนาม เราไม่เรียกว่า ดีเอ็นเอ เหมือนในส่วนที่เป็นรูปธรรม หลังจากเสียชีวิตมีแต่ปฏิสนธิดวงใหม่เท่านั้นที่เกิดขึ้น โดยมีข้อมูลแห่งกรรมถ่ายทอดมาด้วย และจะเกิดใหม่ในทันที ไม่มีเวลาใดๆ มาคั่น
ดังนั้น สภาวะที่เรียกว่าตายแล้วฟื้น สามารถกลับมาเล่าว่า ได้ไปสวรรค์ นรก หรือท่องเที่ยวในภพภูมิต่างๆ มา ล้วนแล้วเป็นสภาวะที่ไม่ตายจริง ถ้าตายจริง จุติจิตดับ และเกิดปฏิสนธิจิตดวงใหม่ขึ้นมา กระบวนการนี้ จะย้อนกลับไม่ได้”...(เกิดเพราะกรรมหรือความซวย โดย ทพ.สม สุจีรา สนพ.อมรินทร์)
“ความตายเป็นสัจธรรมข้อหนึ่ง เป็นมรณานุสสติ ที่พระพุทธเจ้าทรงให้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เมื่อรู้จักความตาย เข้าใจความตาย และตีสนิทกับความตายไปแล้ว ตัวเราจะเป็นผู้ตอบได้ว่า ตายแล้วไปไหน และหากวันตายของเรามาถึง เราจะเลือกได้ว่า เราจะไปไหน ตายแล้วไปไหน เราเลือกได้ ไม่ได้เลือกในวันตาย แต่ต้องเลือกตั้งแต่วันนี้ วันที่ยังมีชีวิตอยู่ วันที่ชีวิตยังเป็นของเรา”
(ตายแล้วไปไหน เราเลือกได้ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม สนพ.อมรินทร์ธรรมะ)
อย่าลืมตรวจสอบห้องใจอยู่เสมอ ว่าสั่งสมอะไรไว้บ้าง อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ไปทุคติ ก็เลิกละ อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ไปสุคติ ก็รีบทำเอา ไม่มีอะไรทำแทนได้หรอก
สัมภเวสี แปลว่า ผู้แสวงหาที่เกิด หมายถึงวิญญาณมนุษย์ที่เที่ยวแสวงหาที่ผุดที่เกิด (พจนานุกรมฯ ว่าไว้อย่างนั้น)
บางคนเข้าใจว่า เมื่อตายวิญญาณจะออกจากร่างล่องลอยหาที่เกิดใหม่
แต่ผมเห็นว่า วิญญาณ หมายถึง “จิตใจ” ของมนุษย์ที่แสวงหาสิ่งที่ดีกว่าให้กับตนเอง ตั้งแต่ระดับพื้นๆ จนถึงระดับสูงสุด ขณะมีชีวิตอยู่ หรือจะเรียกว่า แสวงหาที่เกิดใหม่ ขณะยังมีชีวิตอยู่ก็ได้
ตายแล้วเกิดทันที แล้วจะเอาอะไรไปเที่ยวแสวงหาอะไรอีกล่ะ
ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า สัมภเวสี คือสัตว์กำลังแสวงหาที่เกิด เพื่อจะเกิด หมายถึงจิตปุถุชนคนธรรมดา ในเวลาที่ยังไม่มีตัณหาอุปาทานยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน นี้เป็นสัมภเวสี ถ้ามีอุปาทานยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวกู ของกู นั่นเป็นภูตา คือสัตว์ที่เกิดแล้ว...(โอสาเรตัพพธรรม หน้า 395)
สัมภเวสีของท่านอาจารย์ ลึกซึ้งยิ่งนัก
กิเลสหมด ก็ไม่เกิด เช่น พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า เป็นต้น กิเลสมีก็เกิดอีก เกิดใหม่เป็นผลมาจากเกิดเก่า หรือโลกใหม่ เป็นผลมาจากโลกเก่าๆ นั่นแล
ตัวเองทำเอง ได้เอง (ดังทาง 7 สายของมนุษย์) นั่นคือของจริงของแท้
ไม่มีเรื่องบังเอิญหรือปาฏิหาริย์อะไรหรอก การหลอกกัน (คนโกหกไม่ทำบาป ไม่มี) มันผิดศีล 5 หมดสิทธิความเป็นมนุษย์ และลดฐานะตัวเองจากสุคติไปสู่ทุคติ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดอย่างแน่นอน
“ตายแล้วไปไหน
ก็ไปเกิดใหม่
ตามเหตุปัจจัย
ที่ใจสั่งสม”
พึงระวัง “คิด พูด ทำ” ทุกสิ่งทุกอย่างถูกบันทึก หรือสั่งสมไว้หมดในจิตใจของเรา กายตายแต่ใจไม่ตาย ใจพาเราไปเกิดใหม่ในภพต่างๆ เรื่อยๆ ไป ตราบเท่าที่ยังมีเชื้อหรือยังมีกิเลส เหตุแห่งทุกข์ดำรงอยู่ หากไม่อยากเกิดอีก ก็ดับมันซะ ตถตา เช่นนั้นเอง