สัปดาห์นี้ผมมี 3 เรื่องใหญ่ๆ มาเล่าให้ฟังครับ ความจริงแล้วทั้ง 3 เรื่องนี้มีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกันคือเกิดจาก “ความผิดพลาดของมนุษย์เอง” ดังที่ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดัง ได้สรุปไว้
เรื่องแรกครับ หลังจากบทความเรื่อง “มนุษยชาติกำลังตกอยู่ในอันตราย เพราะความผิดพลาดของตนเอง” : สตีเฟน ฮอว์คิง ที่ผมเขียนได้ออกเผยแพร่เพียงไม่กี่ชั่วโมง สภาพอากาศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเราเองก็ได้เกิดการแปรปรวนอย่างรุนแรง อุณหภูมิอากาศภาคเหนือ อีสาน รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้ลดลงอย่างมากและฉับพลัน คือ 8 ถึง 12 องศาเซลเซียสในขณะที่สองฝั่งทะเลของไทยมีคลื่นลมแรงมาก
ผมได้ตัดภาพจากเฟซบุ๊กเพื่อนๆ ของผมมาลงให้ดูด้วยครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ครับ
ผมได้คุยกับเพื่อนบ้านวัยชราท่านหนึ่ง เธอเล่าว่า “ที่บ้านเดิมของเธอในจังหวัดเชียงราย อุณหภูมิลดลงมาเหลือ 8 องศาเซลเซียส บนภูเขาติดลบ 3 องศา” ผมถามว่าต่ำที่สุดไหม เธอตอบว่า “ปีที่ลูกสาวคนนี้เกิดอุณหภูมิเคยลงถึง 4 องศา ตอนนี้ลูกสาวอายุย่าง 39 ปีแล้ว” ถ้าจะสรุปว่าอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 39 ปีก็น่าจะได้นะ
ผมได้ดูรายการสัมภาษณ์นักวิชาการทางทะเลท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าเกิดจากปัญหาโลกร้อน แต่เมื่อถูกถามต่อถึงต้นเหตุของโลกร้อน ท่านบอกว่าเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าและไม่ได้นำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง แต่ท่านไม่ยอมพูดถึงการใช้พลังงานฟอสซิลเลยซึ่งนักวิทยาศาสตร์เกือบทั้งโลกสรุปตรงกัน ท่านคงจะคิดไม่ทันเพราะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนหรืออย่างไรผมไม่ทราบได้
แต่ข้อมูลที่ผมได้นำเสนอพร้อมแหล่งอ้างอิงเสมอมาก็คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาพลังงานฟอสซิลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติเป็นต้นเหตุรวมกันถึง 72% คือปัจจัยใหญ่ที่สุด แต่น่าเสียดายที่ท่านวิทยากรไม่ได้พูดถึงประเด็นสำคัญดังกล่าว
อนึ่ง ในคืนวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่สภาพอากาศโลกแปรปรวนอย่างรุนแรง รายการโทรทัศน์อย่างน้อย 3 ช่อง ได้เสนอรายการ “Talk” ที่เกี่ยวกับ “ตุ๊กตาลูกเทพ” ซึ่งผมได้รับรู้เป็นครั้งแรกและคำถามว่า “ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” ก็มาจากรายการดังกล่าวนี้แหละครับ
เรื่องที่สอง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมรุนแรงมากขึ้น
จากรายงานซึ่งผมได้อ้างไว้ในแผ่นภาพแล้วพบว่า ย้อนหลังไป 5 ปี คือในปี 2010 มหาเศรษฐีโลกจำนวน 388 คน (ในจำนวนนี้มีคนไทย 2 คนรวมอยู่ด้วย) มีทรัพย์สินรวมกันเท่ากับทรัพย์สินของคนจนครึ่งโลกหรือประมาณ 3,600 ล้านคนรวมกัน
ถ้าให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คนจำนวน 388 คนนี้สามารถโดยสารอยู่ในเครื่องบินเพียงลำเดียว ต่อมาในปี 2015 ความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากขึ้นคือ เหลือมหาเศรษฐีจำนวน 80 คนเท่านั้น (แสดงว่าในช่วง 5 ปี ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นเยอะ) และคาดว่าเมื่อสิ้นปี 2016 สถานการณ์จะรุนแรงขึ้นอีก คือจะเหลือเพียง 62 คนเท่านั้น คือสามารถนั่งรถบัสเพียง 1 คันเท่านั้น และในปี 2020 จะเหลือแค่รถตู้เพียงคันเดียวหรือ 20 คนเท่านั้น
สันตะปาปา (Pope Francis) องค์ปัจจุบันได้ตรัสว่า “ความเหลื่อมล้ำคือรากเหง้าของปัญหาสังคม ('Inequality Is the Root of Social Evil': Big Deal?)”
ผมได้พยายามสืบค้นว่า ความเหลื่อมล้ำในสังคมหรือในโลกนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดและเพราะอะไร
คำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถิติพบว่า ความเหลื่อมล้ำได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1784) แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ประมาณปี 1870 เป็นต้นมา ซึ่งมนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ ที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินมาผลิตไฟฟ้า เมื่อถ่านหิน (และน้ำมันดิบในเวลาต่อมา) เป็นวัสดุที่สามารถผูกขาดได้ง่าย การผูกขาด (ซึ่งต้องอาศัยอำนาจรัฐ) จึงเปิดโอกาสให้คนจำนวนน้อยมีรายได้มากขึ้น ในขณะเดียวผู้ได้รับผลกระทบ (ในตอนเริ่มต้นเป็นผลกระทบด้านสุขภาพและการทำมาหากิน) จึงยากจนลง ความเหลื่อมล้ำจึงขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ
ภาพบนทางขวามือมาจากการจัดยุคของอุตสาหกรรมออกเป็น 4 ยุค โดย Klaus Schwab, ผู้ก่อตั้งและประธานผู้บริหาร World Economic Forum ซึ่งได้จัดประชุมระดับโลกเมื่อ 20-23 มกราคม 2016 แต่ละยุคมีปี ค.ศ. อยู่ด้วย ซึ่งก็สอดคล้องกับจีดีพีต่อหัวของประชากรในกลุ่มทวีปต่างๆ
ดังนั้น ภายใต้การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ได้ทำให้เกิดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระจายตัวอยู่ทั่วไป ซึ่งผูกขาดได้ยาก เราสามารถลดทั้งปัญหาโลกร้อนและความเหลื่อมล้ำของโลกได้
ขณะนี้ ความเป็นความตายของโลกขึ้นอยู่กับความโลภของเจ้าของเทคโนโลยีเก่าที่ใช้พลังงานฟอสซิล และความรับรู้ของประชาชนต่อเทคโนโลยีใหม่ ความหวังที่มนุษยชาติจะอยู่อย่างปลอดภัยได้จึงขึ้นอยู่กับความรับรู้และร่วมปฏิบัติการของภาคประชาชนทั่วโลก ซึ่งในหลายๆ ประเทศได้เริ่มดำเนินการไปมากแล้ว แต่ประเทศไทยเรากำลังสนใจกับตุ๊กตาลูกเทพ
เรื่องที่สาม คำพูดนายกฯรัฐมนตรีและข้อเท็จจริง
จากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (อังคาร 26 มกราคม 59) “ซัด NGO พลังงาน! จ่อเซ็นโปรเจกต์ 9 แสนล้านบาท” ตอนหนึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า
“พลังงานต่างๆ เราซื้อจากต่างประเทศหมด แล้ววันหน้าจะอยู่กันอย่างไร ทุกอย่างที่เป็นพลังงานเราต้องซื้อเขา วันหน้าถ้าเขาเลิกขาย เราก็จบ คนไทยเป็นประเภทที่บอกให้ไม่ต้องสร้าง สร้างแล้วมีผลกระทบกับอากาศ รอบบ้านเขามีหมดก็ซื้อเขาสิครับ สบายต่อสายไปอย่างเดียว คิดอย่างนี้ได้อย่างไร ผมไม่เข้าใจ วันหน้าความเสถียรของพลังงานไฟฟ้าจะทำยังไง”
อีกตอนหนึ่งที่ท่านเปิดเผยความในใจถึงกระบวนการทำงานของท่านว่า
“ผมยังยืนยันว่าจะทำงานแบบนี้ด้วยความร่วมมือของทุกคน ผมจะทำตัวเป็นแก้วน้ำที่เต็มแล้วสำหรับคนบางประเภท แต่สำหรับเรื่องที่ไม่เคยรู้ ผมก็จะเป็นแก้วน้ำครึ่งแก้ว ผมเป็นคนแบบนี้จะรับฟังในสิ่งที่ผมควรจะฟัง สิ่งที่ไม่อยากฟังผมก็ค่อนข้างหงุดหงิด”
ความจริงแล้ว วิธีการจำแนกประเภทของคนที่เราควรจะรับฟังหรือไม่รับฟังของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นเรื่องปกติ Sir Winston Churchill นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ (1951-1955) ก็เคยใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการพิจารณาคำอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา คือให้น้ำหนักกับคนพูดมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ คือ (1) ใครพูด (2) วิธีการพูด และ (3) พูดว่าอะไร คือเนื้อหาที่พูดมีความสำคัญในอันดับสุดท้าย
แต่ท่านเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีโอกาสได้พูด ได้นำเสนอ แต่ท่านประยุทธ์ฯ ท่านอยู่ในยุครัฐประหาร ที่ด้านหนึ่งท่านกำลังถูกห้อมล้อมด้วยข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ด้านพลังงานซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่อีกด้านหนึ่ง ภาคประชาชน รวมทั้งด้านอื่นๆ ได้ถูกปิดปากหมด
ท่านพูดเองว่า มีเรื่องที่ท่านไม่รู้ (เพราะท่านไม่เคยได้สนใจเรื่องพลังงานมาก่อน) แต่ท่านจะไม่มีทางรับรู้ความจริงได้เลยในสถานการณ์ปัจจุบัน ผมเองเป็นนักคณิตศาสตร์ ตอนแรกผมก็ไม่รู้เรื่องพลังงานเหมือนกับท่าน แต่ผมค่อยๆ แกะรอยและติดตามเรื่องพลังงานมานานเกือบ 20 ปี ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน จึงได้มีความรู้มาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันให้กับสังคมได้ระดับหนึ่ง
ถ้าท่านพล.อ.ประยุทธ์ คิดอย่างที่ได้กล่าวข้างต้นจริง ผมเชื่อว่าเป็นอันตรายมากๆ ทั้งต่อตัวท่านเองและประเทศชาติโดยรวมด้วยเพราะผมเกรงว่า น้ำที่จะมาเติมให้เต็มแก้วน่าจะเป็นน้ำเน่า-ตกยุคเสียมากกว่าด้วยปัจจัยแวดล้อมรอบๆ ตัวท่าน
ท่านน่าจะเคยรับรู้ว่า ในยุค “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” ซึ่งได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อ 5 - 6 ปีมานี้เอง นักวิชาการด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้คาดการณ์ว่าอีกประมาณ 15 ปี หรือภายในปี 2030 การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จะกระจายศูนย์ขนาดเล็ก ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องซื้อหามาจากไหน (ตามที่ท่านพูด) แต่ได้มาฟรีๆ จากแสงแดดบนหลังคาบ้านของต้นเอง รวมทั้งพลังงานลมด้วย
“ในสหรัฐอเมริกา การเพิ่มของโซลาร์เซลล์นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 72% มีการจ้างงานมากกว่าภาคพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันและการเจาะก๊าซธรรมชาติ มีคนทำงานใน 8 พันบริษัทรวมกันถึง 2.09 แสนคน เพิ่มขึ้น 130% จากปี 2010 ในขณะที่ราคาลดลง 70% จากปี 2006” (จาก Solar Energy Industries Association, SEIA) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้กล่าวในที่ประชุมร่วมรัฐสภาว่า การตัดตั้งโซลาร์เซลล์ได้เพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าตัวในช่วง 7 ปีในสมัยของเขา
“ภายในปี 2020 ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์จะเพียงพอสำหรับครอบครัวอเมริกัน 20 ล้านครอบครัว จะมีการจ้างงาน 2.2 แสนคน ภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์”
สำหรับที่ท่านกังวลเรื่อง “ความเสถียรของพลังงาน” เขาก็มีวิธีการจัดการครับ ท่านนายกฯ กรุณาอย่ากังวลจนเกินไปจนตกเป็นเครื่องมือของพ่อค้าพลังงานฟอสซิลเลยครับ
อีกอย่างหนึ่งที่อยากให้คิด คือ (1) โดยเฉลี่ยค่าไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีราคาถูกกว่าประเทศไทยเล็กน้อย (2) ศักยภาพของพลังงานแสงแดดของสองประเทศก็ใกล้เคียงกัน (3) แต่ค่าแรงของประเทศเขาสูงกว่าประเทศเราราว 10-14 เท่าตัว และ (4) ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นราคาในตลาดโลก ส่วนใหญ่ผลิตจากประเทศจีน คำถามคือ ทำไมโซลาร์เซลล์ในสหรัฐอเมริกาจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่ทำไมในบ้านเราจึงมีปัญหาเยอะแยะไปหมด
เพื่อให้เห็นภาพของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ผมขอขยายความอีกสักนิด ปัจจุบันบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ได้หันไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพราะว่าเมื่อเราหลุดออกไปจากกรอบ “เครื่องจักรไอน้ำ” อันเป็นเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยุคที่ 1 แล้วหันไปใช้เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์และคอมพิวเตอร์แทน ได้ส่งผลให้ความซับซ้อนของรถยนต์น้อยลงไปเยอะ แถมประสิทธิภาพก็สูงขึ้นหลายพันเท่าตัว จนมีผู้กล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าคือคอมพิวเตอร์ที่วางอยู่บนล้อ (Elon Musk: Model S not a car but a ‘sophisticated computer on wheels’)
ท่านนายกฯ กำลังปวดหัวกับการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรซึ่งปีนี้มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงกว่าทุกปี การส่งเสริมให้ชาวบ้านติดโซลาร์เซลล์นอกจากจะเป็นการจ้างงาน ลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนซึ่งท่านนายกฯ ได้นำเสนอไว้ที่กรุงปารีสเมื่อปลายปีที่แล้วด้วย ท่านอย่าลืมสัญญากับประชาคมโลกซิครับ
สัปดาห์นี้ผมมี 3 เรื่องใหญ่ๆ มาเล่าให้ฟังครับ ความจริงแล้วทั้ง 3 เรื่องนี้มีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกันคือเกิดจาก “ความผิดพลาดของมนุษย์เอง” ดังที่ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดัง ได้สรุปไว้
เรื่องแรกครับ หลังจากบทความเรื่อง “มนุษยชาติกำลังตกอยู่ในอันตราย เพราะความผิดพลาดของตนเอง” : สตีเฟน ฮอว์คิง ที่ผมเขียนได้ออกเผยแพร่เพียงไม่กี่ชั่วโมง สภาพอากาศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเราเองก็ได้เกิดการแปรปรวนอย่างรุนแรง อุณหภูมิอากาศภาคเหนือ อีสาน รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้ลดลงอย่างมากและฉับพลัน คือ 8 ถึง 12 องศาเซลเซียสในขณะที่สองฝั่งทะเลของไทยมีคลื่นลมแรงมาก
ผมได้ตัดภาพจากเฟซบุ๊กเพื่อนๆ ของผมมาลงให้ดูด้วยครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ครับ
เรื่องแรกครับ หลังจากบทความเรื่อง “มนุษยชาติกำลังตกอยู่ในอันตราย เพราะความผิดพลาดของตนเอง” : สตีเฟน ฮอว์คิง ที่ผมเขียนได้ออกเผยแพร่เพียงไม่กี่ชั่วโมง สภาพอากาศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเราเองก็ได้เกิดการแปรปรวนอย่างรุนแรง อุณหภูมิอากาศภาคเหนือ อีสาน รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้ลดลงอย่างมากและฉับพลัน คือ 8 ถึง 12 องศาเซลเซียสในขณะที่สองฝั่งทะเลของไทยมีคลื่นลมแรงมาก
ผมได้ตัดภาพจากเฟซบุ๊กเพื่อนๆ ของผมมาลงให้ดูด้วยครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ครับ
ผมได้คุยกับเพื่อนบ้านวัยชราท่านหนึ่ง เธอเล่าว่า “ที่บ้านเดิมของเธอในจังหวัดเชียงราย อุณหภูมิลดลงมาเหลือ 8 องศาเซลเซียส บนภูเขาติดลบ 3 องศา” ผมถามว่าต่ำที่สุดไหม เธอตอบว่า “ปีที่ลูกสาวคนนี้เกิดอุณหภูมิเคยลงถึง 4 องศา ตอนนี้ลูกสาวอายุย่าง 39 ปีแล้ว” ถ้าจะสรุปว่าอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 39 ปีก็น่าจะได้นะ
ผมได้ดูรายการสัมภาษณ์นักวิชาการทางทะเลท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าเกิดจากปัญหาโลกร้อน แต่เมื่อถูกถามต่อถึงต้นเหตุของโลกร้อน ท่านบอกว่าเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าและไม่ได้นำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง แต่ท่านไม่ยอมพูดถึงการใช้พลังงานฟอสซิลเลยซึ่งนักวิทยาศาสตร์เกือบทั้งโลกสรุปตรงกัน ท่านคงจะคิดไม่ทันเพราะไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนหรืออย่างไรผมไม่ทราบได้
แต่ข้อมูลที่ผมได้นำเสนอพร้อมแหล่งอ้างอิงเสมอมาก็คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาพลังงานฟอสซิลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติเป็นต้นเหตุรวมกันถึง 72% คือปัจจัยใหญ่ที่สุด แต่น่าเสียดายที่ท่านวิทยากรไม่ได้พูดถึงประเด็นสำคัญดังกล่าว
อนึ่ง ในคืนวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่สภาพอากาศโลกแปรปรวนอย่างรุนแรง รายการโทรทัศน์อย่างน้อย 3 ช่อง ได้เสนอรายการ “Talk” ที่เกี่ยวกับ “ตุ๊กตาลูกเทพ” ซึ่งผมได้รับรู้เป็นครั้งแรกและคำถามว่า “ประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” ก็มาจากรายการดังกล่าวนี้แหละครับ
เรื่องที่สอง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมรุนแรงมากขึ้น
จากรายงานซึ่งผมได้อ้างไว้ในแผ่นภาพแล้วพบว่า ย้อนหลังไป 5 ปี คือในปี 2010 มหาเศรษฐีโลกจำนวน 388 คน (ในจำนวนนี้มีคนไทย 2 คนรวมอยู่ด้วย) มีทรัพย์สินรวมกันเท่ากับทรัพย์สินของคนจนครึ่งโลกหรือประมาณ 3,600 ล้านคนรวมกัน
ถ้าให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คนจำนวน 388 คนนี้สามารถโดยสารอยู่ในเครื่องบินเพียงลำเดียว ต่อมาในปี 2015 ความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากขึ้นคือ เหลือมหาเศรษฐีจำนวน 80 คนเท่านั้น (แสดงว่าในช่วง 5 ปี ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นเยอะ) และคาดว่าเมื่อสิ้นปี 2016 สถานการณ์จะรุนแรงขึ้นอีก คือจะเหลือเพียง 62 คนเท่านั้น คือสามารถนั่งรถบัสเพียง 1 คันเท่านั้น และในปี 2020 จะเหลือแค่รถตู้เพียงคันเดียวหรือ 20 คนเท่านั้น
สันตะปาปา (Pope Francis) องค์ปัจจุบันได้ตรัสว่า “ความเหลื่อมล้ำคือรากเหง้าของปัญหาสังคม ('Inequality Is the Root of Social Evil': Big Deal?)”
ผมได้พยายามสืบค้นว่า ความเหลื่อมล้ำในสังคมหรือในโลกนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดและเพราะอะไร
คำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถิติพบว่า ความเหลื่อมล้ำได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1784) แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ประมาณปี 1870 เป็นต้นมา ซึ่งมนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ ที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินมาผลิตไฟฟ้า เมื่อถ่านหิน (และน้ำมันดิบในเวลาต่อมา) เป็นวัสดุที่สามารถผูกขาดได้ง่าย การผูกขาด (ซึ่งต้องอาศัยอำนาจรัฐ) จึงเปิดโอกาสให้คนจำนวนน้อยมีรายได้มากขึ้น ในขณะเดียวผู้ได้รับผลกระทบ (ในตอนเริ่มต้นเป็นผลกระทบด้านสุขภาพและการทำมาหากิน) จึงยากจนลง ความเหลื่อมล้ำจึงขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ
ภาพบนทางขวามือมาจากการจัดยุคของอุตสาหกรรมออกเป็น 4 ยุค โดย Klaus Schwab, ผู้ก่อตั้งและประธานผู้บริหาร World Economic Forum ซึ่งได้จัดประชุมระดับโลกเมื่อ 20-23 มกราคม 2016 แต่ละยุคมีปี ค.ศ. อยู่ด้วย ซึ่งก็สอดคล้องกับจีดีพีต่อหัวของประชากรในกลุ่มทวีปต่างๆ
ดังนั้น ภายใต้การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ได้ทำให้เกิดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระจายตัวอยู่ทั่วไป ซึ่งผูกขาดได้ยาก เราสามารถลดทั้งปัญหาโลกร้อนและความเหลื่อมล้ำของโลกได้
ขณะนี้ ความเป็นความตายของโลกขึ้นอยู่กับความโลภของเจ้าของเทคโนโลยีเก่าที่ใช้พลังงานฟอสซิล และความรับรู้ของประชาชนต่อเทคโนโลยีใหม่ ความหวังที่มนุษยชาติจะอยู่อย่างปลอดภัยได้จึงขึ้นอยู่กับความรับรู้และร่วมปฏิบัติการของภาคประชาชนทั่วโลก ซึ่งในหลายๆ ประเทศได้เริ่มดำเนินการไปมากแล้ว แต่ประเทศไทยเรากำลังสนใจกับตุ๊กตาลูกเทพ
เรื่องที่สาม คำพูดนายกฯรัฐมนตรีและข้อเท็จจริง
จากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (อังคาร 26 มกราคม 59) “ซัด NGO พลังงาน! จ่อเซ็นโปรเจกต์ 9 แสนล้านบาท” ตอนหนึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า
“พลังงานต่างๆ เราซื้อจากต่างประเทศหมด แล้ววันหน้าจะอยู่กันอย่างไร ทุกอย่างที่เป็นพลังงานเราต้องซื้อเขา วันหน้าถ้าเขาเลิกขาย เราก็จบ คนไทยเป็นประเภทที่บอกให้ไม่ต้องสร้าง สร้างแล้วมีผลกระทบกับอากาศ รอบบ้านเขามีหมดก็ซื้อเขาสิครับ สบายต่อสายไปอย่างเดียว คิดอย่างนี้ได้อย่างไร ผมไม่เข้าใจ วันหน้าความเสถียรของพลังงานไฟฟ้าจะทำยังไง”
อีกตอนหนึ่งที่ท่านเปิดเผยความในใจถึงกระบวนการทำงานของท่านว่า
“ผมยังยืนยันว่าจะทำงานแบบนี้ด้วยความร่วมมือของทุกคน ผมจะทำตัวเป็นแก้วน้ำที่เต็มแล้วสำหรับคนบางประเภท แต่สำหรับเรื่องที่ไม่เคยรู้ ผมก็จะเป็นแก้วน้ำครึ่งแก้ว ผมเป็นคนแบบนี้จะรับฟังในสิ่งที่ผมควรจะฟัง สิ่งที่ไม่อยากฟังผมก็ค่อนข้างหงุดหงิด”
ความจริงแล้ว วิธีการจำแนกประเภทของคนที่เราควรจะรับฟังหรือไม่รับฟังของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นเรื่องปกติ Sir Winston Churchill นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ (1951-1955) ก็เคยใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการพิจารณาคำอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา คือให้น้ำหนักกับคนพูดมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ คือ (1) ใครพูด (2) วิธีการพูด และ (3) พูดว่าอะไร คือเนื้อหาที่พูดมีความสำคัญในอันดับสุดท้าย
แต่ท่านเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีโอกาสได้พูด ได้นำเสนอ แต่ท่านประยุทธ์ฯ ท่านอยู่ในยุครัฐประหาร ที่ด้านหนึ่งท่านกำลังถูกห้อมล้อมด้วยข้าราชการประจำชั้นผู้ใหญ่ด้านพลังงานซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่อีกด้านหนึ่ง ภาคประชาชน รวมทั้งด้านอื่นๆ ได้ถูกปิดปากหมด
ท่านพูดเองว่า มีเรื่องที่ท่านไม่รู้ (เพราะท่านไม่เคยได้สนใจเรื่องพลังงานมาก่อน) แต่ท่านจะไม่มีทางรับรู้ความจริงได้เลยในสถานการณ์ปัจจุบัน ผมเองเป็นนักคณิตศาสตร์ ตอนแรกผมก็ไม่รู้เรื่องพลังงานเหมือนกับท่าน แต่ผมค่อยๆ แกะรอยและติดตามเรื่องพลังงานมานานเกือบ 20 ปี ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน จึงได้มีความรู้มาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันให้กับสังคมได้ระดับหนึ่ง
ถ้าท่านพล.อ.ประยุทธ์ คิดอย่างที่ได้กล่าวข้างต้นจริง ผมเชื่อว่าเป็นอันตรายมากๆ ทั้งต่อตัวท่านเองและประเทศชาติโดยรวมด้วยเพราะผมเกรงว่า น้ำที่จะมาเติมให้เต็มแก้วน่าจะเป็นน้ำเน่า-ตกยุคเสียมากกว่าด้วยปัจจัยแวดล้อมรอบๆ ตัวท่าน
ท่านน่าจะเคยรับรู้ว่า ในยุค “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” ซึ่งได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อ 5 - 6 ปีมานี้เอง นักวิชาการด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้คาดการณ์ว่าอีกประมาณ 15 ปี หรือภายในปี 2030 การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จะกระจายศูนย์ขนาดเล็ก ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องซื้อหามาจากไหน (ตามที่ท่านพูด) แต่ได้มาฟรีๆ จากแสงแดดบนหลังคาบ้านของต้นเอง รวมทั้งพลังงานลมด้วย
“ในสหรัฐอเมริกา การเพิ่มของโซลาร์เซลล์นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 72% มีการจ้างงานมากกว่าภาคพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันและการเจาะก๊าซธรรมชาติ มีคนทำงานใน 8 พันบริษัทรวมกันถึง 2.09 แสนคน เพิ่มขึ้น 130% จากปี 2010 ในขณะที่ราคาลดลง 70% จากปี 2006” (จาก Solar Energy Industries Association, SEIA) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้กล่าวในที่ประชุมร่วมรัฐสภาว่า การตัดตั้งโซลาร์เซลล์ได้เพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าตัวในช่วง 7 ปีในสมัยของเขา
“ภายในปี 2020 ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์จะเพียงพอสำหรับครอบครัวอเมริกัน 20 ล้านครอบครัว จะมีการจ้างงาน 2.2 แสนคน ภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์”
สำหรับที่ท่านกังวลเรื่อง “ความเสถียรของพลังงาน” เขาก็มีวิธีการจัดการครับ ท่านนายกฯ กรุณาอย่ากังวลจนเกินไปจนตกเป็นเครื่องมือของพ่อค้าพลังงานฟอสซิลเลยครับ
อีกอย่างหนึ่งที่อยากให้คิด คือ (1) โดยเฉลี่ยค่าไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีราคาถูกกว่าประเทศไทยเล็กน้อย (2) ศักยภาพของพลังงานแสงแดดของสองประเทศก็ใกล้เคียงกัน (3) แต่ค่าแรงของประเทศเขาสูงกว่าประเทศเราราว 10-14 เท่าตัว และ (4) ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นราคาในตลาดโลก ส่วนใหญ่ผลิตจากประเทศจีน คำถามคือ ทำไมโซลาร์เซลล์ในสหรัฐอเมริกาจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่ทำไมในบ้านเราจึงมีปัญหาเยอะแยะไปหมด
เพื่อให้เห็นภาพของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ผมขอขยายความอีกสักนิด ปัจจุบันบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ได้หันไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพราะว่าเมื่อเราหลุดออกไปจากกรอบ “เครื่องจักรไอน้ำ” อันเป็นเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยุคที่ 1 แล้วหันไปใช้เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์และคอมพิวเตอร์แทน ได้ส่งผลให้ความซับซ้อนของรถยนต์น้อยลงไปเยอะ แถมประสิทธิภาพก็สูงขึ้นหลายพันเท่าตัว จนมีผู้กล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าคือคอมพิวเตอร์ที่วางอยู่บนล้อ (Elon Musk: Model S not a car but a ‘sophisticated computer on wheels’)
ท่านนายกฯ กำลังปวดหัวกับการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรซึ่งปีนี้มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงกว่าทุกปี การส่งเสริมให้ชาวบ้านติดโซลาร์เซลล์นอกจากจะเป็นการจ้างงาน ลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนซึ่งท่านนายกฯ ได้นำเสนอไว้ที่กรุงปารีสเมื่อปลายปีที่แล้วด้วย ท่านอย่าลืมสัญญากับประชาคมโลกซิครับ
สัปดาห์นี้ผมมี 3 เรื่องใหญ่ๆ มาเล่าให้ฟังครับ ความจริงแล้วทั้ง 3 เรื่องนี้มีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกันคือเกิดจาก “ความผิดพลาดของมนุษย์เอง” ดังที่ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดัง ได้สรุปไว้
เรื่องแรกครับ หลังจากบทความเรื่อง “มนุษยชาติกำลังตกอยู่ในอันตราย เพราะความผิดพลาดของตนเอง” : สตีเฟน ฮอว์คิง ที่ผมเขียนได้ออกเผยแพร่เพียงไม่กี่ชั่วโมง สภาพอากาศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเราเองก็ได้เกิดการแปรปรวนอย่างรุนแรง อุณหภูมิอากาศภาคเหนือ อีสาน รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้ลดลงอย่างมากและฉับพลัน คือ 8 ถึง 12 องศาเซลเซียสในขณะที่สองฝั่งทะเลของไทยมีคลื่นลมแรงมาก
ผมได้ตัดภาพจากเฟซบุ๊กเพื่อนๆ ของผมมาลงให้ดูด้วยครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ครับ