ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้เน้นย้ำให้กระทรวงศึกษาธิการ วางยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำการศึกษาภายใต้กลยุทธ์ต่างๆ ผ่านการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ เสมอภาค และยุติธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การกำกับของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการโครงการ “สานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้”ใน 5 จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา (อ.นาทวี อ.สะเดา อ.จะนะ อ.เทพา และ อ.สะบ้าย้อย) ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2557 ที่มุ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนในจังหวัดชายแดนใต้ได้มีช่องทางในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้านการกีฬา และเข้าสู่ระบบการศึกษา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความอดทน สามัคคี มีระเบียบวินัย สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ห่างไกลยาเสพติด และอบายมุข
โครงการสานฝันการกีฬาฯ ได้วางแผนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย แผนระยะสั้น เป็นการสร้างความตระหนักให้ความสำคัญของการกีฬาที่จะนำไปพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว แผนระยะกลาง เป็นการนำการกีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษาด้วยการจัดหลักสูตรวิทยาศาสตร์–กีฬา และแผนระยะยาว เป็นการต่อยอดให้นักเรียนที่จบหลักสูตรวิทยาศาสตร์–กีฬาได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่สูงต่อไป
ทั้งนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระบุว่า การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการขับเคลื่อนให้ประชาชนได้พัฒนาในทุกๆด้าน ทั้งด้านความรู้ ด้านคุณธรรม และการมีอาชีพ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข โครงการสานฝันการกีฬาฯ จึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาทักษะ และความรู้ทางกีฬา ตลอดจนส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพในอนาคต ตลอดจนสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะที่จะส่งผลให้เกิดสังคมสันติสุข เป็นการตอบสนองต่อนโยบายของนายกรัฐมนตรี
นายนิสิต ชายภักตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สตูล กล่าวว่า โครงการสานฝันการกีฬาฯเป็นการส่งเสริมนำการกีฬามาเป็นสื่อสร้างความเข้าใจอันดีของส่วนราชการและชุมชน ทั้งยังเป็นการสร้างเยาวชนที่มีพื้นฐานด้านการกีฬาให้มีพัฒนาการมากยิ่งขึ้นเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นนักกีฬามืออาชีพได้ ในส่วนของจังหวัดสตูล เป็น 1 ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ แม้โครงการจะลงสู่พื้นที่ในปีการศึกษา 2559นี้ แต่จังหวัดได้เตรียมการทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว โดยได้คัดเลือก โรงเรียนละงูพิทยาคม เป็นโรงเรียนนำร่องในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งด้านบุคลาการ ด้านการกีฬา ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้มีความสามารถ ทั้งกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล และตะกร้อ มวยรวมถึงการคัดเลือกนักเรียนที่มีพื้นฐานด้านการกีฬาด้วย
นอกจากนี้ จ.สตูล ยังมีแนวคิดที่จะให้เยาวชนในจังหวัดที่มีความสนใจเรื่องของกีฬาอากาศยานจำลองและวิทยุบังคับ เข้ามาฝึกสอนตามโครงการ “หนูน้อยเจ้าเวหา”ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ได้มาแข่งขันที่จังหวัดก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมอากาศยาน วิทยาศาสตร์การบิน และส่งเสริมการประดิษฐ์เครื่องบินจำลองวิทยุบังคับ โดยสามารถเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและหลักการปฏิบัติทางกลศาสตร์ผสมผสานกับการออกแบบเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นรูปธรรมสามารถเคลื่อนไหวบินได้ ซึ่งควบคุมด้วยวิทยุบังคับ ที่ผ่านมาได้ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ แบ่งการการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือการให้ความรู้กับเยาวชนเรื่องการประกอบเครื่องบิน และการเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันด้วย
“อยากให้ทางรัฐบาลสนับสนุนการกีฬาประเภทนี้ เพราะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ต่อยอดไปสู่การสร้างเครื่องบินที่มีสมรรถนะขั้นสามารถใช้งานได้จริงที่สามารถนำไปใช้รองรับภารกิจในโครงการต่างๆ ได้ อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย” นายนิสิต ระบุ
กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การกำกับของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการโครงการ “สานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้”ใน 5 จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา (อ.นาทวี อ.สะเดา อ.จะนะ อ.เทพา และ อ.สะบ้าย้อย) ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2557 ที่มุ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนในจังหวัดชายแดนใต้ได้มีช่องทางในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้านการกีฬา และเข้าสู่ระบบการศึกษา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความอดทน สามัคคี มีระเบียบวินัย สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ห่างไกลยาเสพติด และอบายมุข
โครงการสานฝันการกีฬาฯ ได้วางแผนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย แผนระยะสั้น เป็นการสร้างความตระหนักให้ความสำคัญของการกีฬาที่จะนำไปพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว แผนระยะกลาง เป็นการนำการกีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษาด้วยการจัดหลักสูตรวิทยาศาสตร์–กีฬา และแผนระยะยาว เป็นการต่อยอดให้นักเรียนที่จบหลักสูตรวิทยาศาสตร์–กีฬาได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่สูงต่อไป
ทั้งนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระบุว่า การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการขับเคลื่อนให้ประชาชนได้พัฒนาในทุกๆด้าน ทั้งด้านความรู้ ด้านคุณธรรม และการมีอาชีพ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข โครงการสานฝันการกีฬาฯ จึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาทักษะ และความรู้ทางกีฬา ตลอดจนส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพในอนาคต ตลอดจนสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะที่จะส่งผลให้เกิดสังคมสันติสุข เป็นการตอบสนองต่อนโยบายของนายกรัฐมนตรี
นายนิสิต ชายภักตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สตูล กล่าวว่า โครงการสานฝันการกีฬาฯเป็นการส่งเสริมนำการกีฬามาเป็นสื่อสร้างความเข้าใจอันดีของส่วนราชการและชุมชน ทั้งยังเป็นการสร้างเยาวชนที่มีพื้นฐานด้านการกีฬาให้มีพัฒนาการมากยิ่งขึ้นเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นนักกีฬามืออาชีพได้ ในส่วนของจังหวัดสตูล เป็น 1 ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ แม้โครงการจะลงสู่พื้นที่ในปีการศึกษา 2559นี้ แต่จังหวัดได้เตรียมการทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว โดยได้คัดเลือก โรงเรียนละงูพิทยาคม เป็นโรงเรียนนำร่องในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งด้านบุคลาการ ด้านการกีฬา ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้มีความสามารถ ทั้งกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล และตะกร้อ มวยรวมถึงการคัดเลือกนักเรียนที่มีพื้นฐานด้านการกีฬาด้วย
นอกจากนี้ จ.สตูล ยังมีแนวคิดที่จะให้เยาวชนในจังหวัดที่มีความสนใจเรื่องของกีฬาอากาศยานจำลองและวิทยุบังคับ เข้ามาฝึกสอนตามโครงการ “หนูน้อยเจ้าเวหา”ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่ได้มาแข่งขันที่จังหวัดก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมอากาศยาน วิทยาศาสตร์การบิน และส่งเสริมการประดิษฐ์เครื่องบินจำลองวิทยุบังคับ โดยสามารถเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและหลักการปฏิบัติทางกลศาสตร์ผสมผสานกับการออกแบบเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นรูปธรรมสามารถเคลื่อนไหวบินได้ ซึ่งควบคุมด้วยวิทยุบังคับ ที่ผ่านมาได้ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ แบ่งการการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือการให้ความรู้กับเยาวชนเรื่องการประกอบเครื่องบิน และการเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันด้วย
“อยากให้ทางรัฐบาลสนับสนุนการกีฬาประเภทนี้ เพราะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ต่อยอดไปสู่การสร้างเครื่องบินที่มีสมรรถนะขั้นสามารถใช้งานได้จริงที่สามารถนำไปใช้รองรับภารกิจในโครงการต่างๆ ได้ อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย” นายนิสิต ระบุ