นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อศึกษาข้อกฎหมายในแง่ต่างๆ เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า มีภาคเอกชนร่วมหารือกับตนหลายคน อาทิ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งข้อสรุปว่ามีกฎระเบียบหลายอย่างไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ จึงจะมีการทำงานร่วมกันแบบประชารัฐ โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การปฏิรูปกฎหมาย และการปฏิรูปการปฏิบัติตามกฎหมาย
ในส่วนแรก ภาคเอกชนจะออกทุนในการศึกษาวิจัยว่า จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายอย่างไร หรือไม่ แล้วส่งผลมาให้รัฐบาล ตัดสินใจ ส่วนที่สองนั้นเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆที่ล่าช้า ทำให้ผลการประเมินประเทศไทยในหลายๆเรื่องยังไม่ดีขึ้น เขารู้ว่ามันติดตรงไหน ช่องทางคอร์รัปชันอยู่ตรงไหน ไม่สะดวกตรงไหน โดยจะมีการตั้งกรรมการร่วมกัน พิจารณาเป็นรายเดือน
ทั้งนี้ในเดือนก.พ.นี้จะหยิบมา 5 เรื่อง ประกอบด้วย การปฏิบัติตามกฎหมายคนเข้าเมือง การขออนุญาตอย. การปฏิบัติตามกฎหมายผังเมือง การปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายเรื่องของการขออนุญาตต่างๆโดยจะแก้ในเรื่องที่ติดขัด จะทำแบบ เครื่องกิโยติน คือเอากฎระเบียบที่ไม่จำเป็นมารวมกันแล้วตัดไปทีเดียว เป็นการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งทำอะไรได้รวดเร็ว จะช่วยได้เยอะ
เมื่อถามถึงกฎหมายผังเมือง จะเกี่ยวกับข้อเสนอให้ขยายเวลาเช่าที่ดินเป็น 99 ปี หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นคนละเรื่องกัน และเรื่องเช่าที่ดินดังกล่าว ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอ แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย เรื่องนี้พูดกันมาทุกสมัย สุดท้ายมีการจำนนกันด้วยเหตุผลหลายอย่าง สุดท้ายเหลือเพียง 50 ปี และข้อเสนอดังกล่าว ไม่ใช่การเช่าที่ดินทุกชนิด เพราะการเช่าทำได้เพียงเรื่องพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ยกเว้น เกษตรกรรม ซึ่งเรื่องยังไม่เสนอเข้ามา ส่วนจะต้องพับไปอีกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ
ด้านพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รัฐบาลยังไม่พูดคุยในเรื่องนี้กันเลย และยังไม่ได้กำหนดนโยบายใดๆ ข่าวที่เกิดขึ้นน่าจะ เกิดจากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จะให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เช่าที่ที่มักกะสัน เพื่อเอาไปพัฒนา เป็นการบริหารสินทรัพย์ แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าการให้เช่าที่ดินในระยะเวลา 50 ปีไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อาจจะต้องมีระยะเวลาที่ยาวกว่านั้น แต่ด้วยข้อกฏหมาย กำหนดระยะเวลาการเช่าสูงสุดไว้แค่ 50 ปี จึงมีการเสนอแก้ไขกฎหมาย ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับต่างชาติเลย
ในส่วนแรก ภาคเอกชนจะออกทุนในการศึกษาวิจัยว่า จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายอย่างไร หรือไม่ แล้วส่งผลมาให้รัฐบาล ตัดสินใจ ส่วนที่สองนั้นเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆที่ล่าช้า ทำให้ผลการประเมินประเทศไทยในหลายๆเรื่องยังไม่ดีขึ้น เขารู้ว่ามันติดตรงไหน ช่องทางคอร์รัปชันอยู่ตรงไหน ไม่สะดวกตรงไหน โดยจะมีการตั้งกรรมการร่วมกัน พิจารณาเป็นรายเดือน
ทั้งนี้ในเดือนก.พ.นี้จะหยิบมา 5 เรื่อง ประกอบด้วย การปฏิบัติตามกฎหมายคนเข้าเมือง การขออนุญาตอย. การปฏิบัติตามกฎหมายผังเมือง การปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายเรื่องของการขออนุญาตต่างๆโดยจะแก้ในเรื่องที่ติดขัด จะทำแบบ เครื่องกิโยติน คือเอากฎระเบียบที่ไม่จำเป็นมารวมกันแล้วตัดไปทีเดียว เป็นการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งทำอะไรได้รวดเร็ว จะช่วยได้เยอะ
เมื่อถามถึงกฎหมายผังเมือง จะเกี่ยวกับข้อเสนอให้ขยายเวลาเช่าที่ดินเป็น 99 ปี หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นคนละเรื่องกัน และเรื่องเช่าที่ดินดังกล่าว ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอ แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย เรื่องนี้พูดกันมาทุกสมัย สุดท้ายมีการจำนนกันด้วยเหตุผลหลายอย่าง สุดท้ายเหลือเพียง 50 ปี และข้อเสนอดังกล่าว ไม่ใช่การเช่าที่ดินทุกชนิด เพราะการเช่าทำได้เพียงเรื่องพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ยกเว้น เกษตรกรรม ซึ่งเรื่องยังไม่เสนอเข้ามา ส่วนจะต้องพับไปอีกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ
ด้านพล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รัฐบาลยังไม่พูดคุยในเรื่องนี้กันเลย และยังไม่ได้กำหนดนโยบายใดๆ ข่าวที่เกิดขึ้นน่าจะ เกิดจากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จะให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เช่าที่ที่มักกะสัน เพื่อเอาไปพัฒนา เป็นการบริหารสินทรัพย์ แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าการให้เช่าที่ดินในระยะเวลา 50 ปีไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อาจจะต้องมีระยะเวลาที่ยาวกว่านั้น แต่ด้วยข้อกฏหมาย กำหนดระยะเวลาการเช่าสูงสุดไว้แค่ 50 ปี จึงมีการเสนอแก้ไขกฎหมาย ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับต่างชาติเลย