“กำนันเซี้ย” อ่วม ศาลฎีกาพิพากษาแก้ จำคุก 5 ปี คดีฮั้วประมูลงานก่อสร้างในกาญจนบุรี-เพชรบุรี ช่วงปี 42-44 ด้านเมียกับลูกน้องถูกจำคุกคนละ 4 ปี ขณะที่จำเลยทั้งสามไม่มาศาลตามเคย ส่วนคดีบุกรุกที่ราชพัสดุ ถูกศาลอุทธรณ์สั่งจำคุกอีก 3 ปี
วานนี้ (25 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 808 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.4077/2546 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายประชา โพธิพิพิธ หรือกำนันเซี้ย อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ นางเขมพร ต่างใจเย็น ภรรยา น.ส.วรรณา ล้อไพบูลย์ คนสนิทนางเขมพร และนายถวิล สวัสดี (เสียชีวิตแล้ว) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฮั้วประมูล)
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จำเลยทั้งสามไม่มาศาล มีเพียงทนายความผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลได้ออกหมายจับจำเลยจนครบ 1 เดือนแล้วหลังจากที่ไม่มาศาลหลายนัด ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยาน 14 ปากซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มบ้านใหญ่ หรือกลุ่มกำนันเซี้ย ซึ่งพยานต่างเบิกความสอดคล้องกันว่า เดิมมีผู้ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวเพื่อรวบรวมสมาชิกที่จะยื่นซองประกวดราคาโครงการของรัฐต่างๆ ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี โดยกีดกันบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกเข้ายื่นซองประกวดราคาแข่งขัน ขณะที่การเป็นสมาชิกต้องให้ค่าตอบแทน โดยแบ่งสัดส่วนให้ 5 เปอร์เซ็นต์ก่อนยื่นซอง และเมื่อชนะการประกวดราคาแล้วต้องให้ค่าตอบแทนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ของราคาที่ประกวด และการเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายเงิน 1 แสนบาทเพื่อเป็นค่าดำเนินการ โดยภายหลังจำเลยที่ 1 เป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นที่รู้จักของเอกชนในพื้นที่ จึงถูกเชิญมาเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม และภายหลังถูกเลือกให้เป็นประธานกลุ่ม ซึ่งได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 5 หมื่นบาท ซึ่งมีการจัดประชุมกลุ่มทุกเดือนที่บ้านพักของจำเลยที่ 1 อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นประธานการประชุม จำเลยที่ 2 เป็นรองประธาน ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเลขานุการจดบันทึกการประชุม รวมทั้งเป็นผู้ติดตามทวงถามเงินค่าตอบแทนจากการประมูล ซึ่งภายหลังมีการประชุมบ่อยครั้งจะมีจำเลยที่ 2 นั่งเป็นประธานการประชุม เพื่อแจกแจงรายละเอียดในการยื่นซองประมูลโครงการต่างๆ แทนจำเลยที่ 1
นอกจากนี้ โจทก์ยังมีผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทวัสดุก่อสร้างเบิกความว่า วันเกิดเหตุที่ 17 พ.ค.44 จะเข้ายื่นซองประกวดราคาโครงการของกรมชลประทาน แต่ถูกกลุ่มของจำเลยกีดกันและหน่วงเหนี่ยวตัวเพื่อที่จะไม่ให้เข้าร่วมการยื่นซองประมูล ซึ่งคำเบิกความดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ขณะเกิดเหตุ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แฝงตัวได้เข้าจับกุมกลุ่มของจำเลยดังกล่าว 7 คน ซึ่งถูกดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาไปแล้วฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวและทำร้ายร่างกาย โดยกลุ่มของจำเลยนี้เป็นผู้ช่วย ส.ส.ของจำเลยที่ 1 ที่นำกำลังคน ซึ่งเป็นทหารมาคอยกีดกันบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกห้ามยื่นซองประกวดราคา
โดยพยานโจทก์ดังกล่าวถือเป็นประจักษ์พยาน เชื่อว่าต่างเบิกความตามที่ได้รู้เห็น จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย ส่วนที่จำเลยที่ 1-3 นำสืบต่อสู้อ้างว่า ไม่รู้เห็นเรื่องการประชุม และไม่ทราบเรื่องการกีดกันการประมูลในที่เกิดเหตุนั้น เป็นการปฏิเสธต่อสู้ลอยๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
การกระทำของจำเลยที่ 1-3 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 วรรคสอง 210 213 310 317 และ 391 และ พ.ร.บ.ฮั้วประมูลมาตรา 4-6 ซึ่งเป็นความผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดมาตรา 209 วรรคสอง ฐานเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งในคณะบุคคล ซึ่งเป็นอั้งยี่
จึงพิพากษาแก้ให้จำคุกนายประชา หรือ กำนันเซี้ย จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 5 ปี และให้จำคุกนางเขมพร และน.ส.วรรณา จำเลยที่ 2-3 คนละ 4 ปี โดยให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสามมารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งถึงที่สุดแล้วต่อไป
โดนอีกคดีบุกรุกที่ราชพัสดุอีกสำนวน
วันเดียวกัน ที่ห้องพิจารณาคดี 901 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำ อ.55/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประชา โพธิพิพิธ หรือ กำนันเซี้ย อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลยในความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดิน หรือก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ในที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
แต่ในวันนี้จำเลยไม่มาศาล จึงอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
ศาลอุทธรณ์ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วไปสร้างบ้านพักอาศัย โดยมอบหมายให้คนงานเข้าไปดูแล ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ยุติว่าจำเลยเป็นอดีตกำนัน รวมทั้งมีประกาศเรื่องที่ดินติดไว้ที่หน้าที่ว่าการอำเภอ จำเลยย่อมรู้ดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐเป็นอย่างดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจากวันนี้จำเลยไม่มาฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลอุทธรณ์ให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี ดังนั้นศาลจึงให้ออกหมายจับเพื่อมารับโทษตามคำพิพากษาต่อไป
วานนี้ (25 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 808 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.4077/2546 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายประชา โพธิพิพิธ หรือกำนันเซี้ย อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ นางเขมพร ต่างใจเย็น ภรรยา น.ส.วรรณา ล้อไพบูลย์ คนสนิทนางเขมพร และนายถวิล สวัสดี (เสียชีวิตแล้ว) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฮั้วประมูล)
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จำเลยทั้งสามไม่มาศาล มีเพียงทนายความผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลได้ออกหมายจับจำเลยจนครบ 1 เดือนแล้วหลังจากที่ไม่มาศาลหลายนัด ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยาน 14 ปากซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มบ้านใหญ่ หรือกลุ่มกำนันเซี้ย ซึ่งพยานต่างเบิกความสอดคล้องกันว่า เดิมมีผู้ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวเพื่อรวบรวมสมาชิกที่จะยื่นซองประกวดราคาโครงการของรัฐต่างๆ ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี โดยกีดกันบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกเข้ายื่นซองประกวดราคาแข่งขัน ขณะที่การเป็นสมาชิกต้องให้ค่าตอบแทน โดยแบ่งสัดส่วนให้ 5 เปอร์เซ็นต์ก่อนยื่นซอง และเมื่อชนะการประกวดราคาแล้วต้องให้ค่าตอบแทนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ของราคาที่ประกวด และการเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายเงิน 1 แสนบาทเพื่อเป็นค่าดำเนินการ โดยภายหลังจำเลยที่ 1 เป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นที่รู้จักของเอกชนในพื้นที่ จึงถูกเชิญมาเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม และภายหลังถูกเลือกให้เป็นประธานกลุ่ม ซึ่งได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 5 หมื่นบาท ซึ่งมีการจัดประชุมกลุ่มทุกเดือนที่บ้านพักของจำเลยที่ 1 อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นประธานการประชุม จำเลยที่ 2 เป็นรองประธาน ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเลขานุการจดบันทึกการประชุม รวมทั้งเป็นผู้ติดตามทวงถามเงินค่าตอบแทนจากการประมูล ซึ่งภายหลังมีการประชุมบ่อยครั้งจะมีจำเลยที่ 2 นั่งเป็นประธานการประชุม เพื่อแจกแจงรายละเอียดในการยื่นซองประมูลโครงการต่างๆ แทนจำเลยที่ 1
นอกจากนี้ โจทก์ยังมีผู้เสียหายซึ่งเป็นบริษัทวัสดุก่อสร้างเบิกความว่า วันเกิดเหตุที่ 17 พ.ค.44 จะเข้ายื่นซองประกวดราคาโครงการของกรมชลประทาน แต่ถูกกลุ่มของจำเลยกีดกันและหน่วงเหนี่ยวตัวเพื่อที่จะไม่ให้เข้าร่วมการยื่นซองประมูล ซึ่งคำเบิกความดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ขณะเกิดเหตุ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แฝงตัวได้เข้าจับกุมกลุ่มของจำเลยดังกล่าว 7 คน ซึ่งถูกดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาไปแล้วฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวและทำร้ายร่างกาย โดยกลุ่มของจำเลยนี้เป็นผู้ช่วย ส.ส.ของจำเลยที่ 1 ที่นำกำลังคน ซึ่งเป็นทหารมาคอยกีดกันบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกห้ามยื่นซองประกวดราคา
โดยพยานโจทก์ดังกล่าวถือเป็นประจักษ์พยาน เชื่อว่าต่างเบิกความตามที่ได้รู้เห็น จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย ส่วนที่จำเลยที่ 1-3 นำสืบต่อสู้อ้างว่า ไม่รู้เห็นเรื่องการประชุม และไม่ทราบเรื่องการกีดกันการประมูลในที่เกิดเหตุนั้น เป็นการปฏิเสธต่อสู้ลอยๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
การกระทำของจำเลยที่ 1-3 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 วรรคสอง 210 213 310 317 และ 391 และ พ.ร.บ.ฮั้วประมูลมาตรา 4-6 ซึ่งเป็นความผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุดมาตรา 209 วรรคสอง ฐานเป็นหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้มีตำแหน่งในคณะบุคคล ซึ่งเป็นอั้งยี่
จึงพิพากษาแก้ให้จำคุกนายประชา หรือ กำนันเซี้ย จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 5 ปี และให้จำคุกนางเขมพร และน.ส.วรรณา จำเลยที่ 2-3 คนละ 4 ปี โดยให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสามมารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งถึงที่สุดแล้วต่อไป
โดนอีกคดีบุกรุกที่ราชพัสดุอีกสำนวน
วันเดียวกัน ที่ห้องพิจารณาคดี 901 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำ อ.55/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประชา โพธิพิพิธ หรือ กำนันเซี้ย อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลยในความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดิน หรือก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ในที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
แต่ในวันนี้จำเลยไม่มาศาล จึงอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
ศาลอุทธรณ์ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วไปสร้างบ้านพักอาศัย โดยมอบหมายให้คนงานเข้าไปดูแล ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ยุติว่าจำเลยเป็นอดีตกำนัน รวมทั้งมีประกาศเรื่องที่ดินติดไว้ที่หน้าที่ว่าการอำเภอ จำเลยย่อมรู้ดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐเป็นอย่างดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจากวันนี้จำเลยไม่มาฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลอุทธรณ์ให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี ดังนั้นศาลจึงให้ออกหมายจับเพื่อมารับโทษตามคำพิพากษาต่อไป