ผู้จัดการรายวัน360-ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 9 ปี “ปิยะ จุลกิตติพันธ์” โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงลงในเฟซบุ๊กเมื่อปี 56 แต่ให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษ 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุก 6 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (20 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 914 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีดำ อ.747/2558 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายปิยะ จุลกิตติพันธ์ หรือนายพงศธร บันทอน อายุ 48 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3), (5)
คำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2556 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่ 28 พ.ย.2556 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ต่อเนื่องกัน จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยการโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จำนวน 2 ข้อความ อยู่บนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 2 ภาพ ในบัญชีเฟซบุ๊กของจำเลยที่ใช้ชื่อว่า นายพงศธร บันทอน (SIAMAID) โดยเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ เหตุเกิดที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. ตำบลสำโรงกลาง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ, อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม, อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และที่นอกราชอาณาจักร เกี่ยวพันกัน จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดี
โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เบิกตัวนายปิยะ จำเลย มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ซึ่งตลอดการพิจารณาคดี จำเลยไม่ได้รับการประกันตัว
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์มีพนักงานสอบสวนและผู้ที่ตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีเบิกความว่ามีผู้โพสต์ข้อความที่อยู่บนพระบรมฉายยาลักษณ์ แล้วนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยการนำลงไปโพสต์ในเฟซบุ๊ก ชื่อนายพงศธร บันทอน (SIAMAID) ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีเจตนาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้แชร์จำนวนมากจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3), (5)
มีประเด็นต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ นายพงศธร บันทอน (SIAMAID) หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีพนักงานสอบสวน เบิกความว่าจากกากตรวจสอบพบว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดอนเมืองดำเนินคดี กรณีได้สวมตนในบัตรประชาชนผู้อื่น เป็นการปกปิดที่อยู่จำเลย โดยจำเลยได้มาเปิดใช้เฟซบุ๊กชื่อ นายพงศธร บันทอน (SIAMAID) จึงน่าเชื่อว่าพฤติการณ์ของจำเลยได้มีพยายามปกปิดตนเองเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตัวได้
นอกจากนี้ ยังฟังได้จากคำเบิกความจำเลยว่าเคยใช้เฟซบุ๊กระหว่างปี 2553-2554 ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่าได้แจ้งให้กูเกิลลบข้อความดังกล่าวไปแล้วนั้น จำเลยไม่ได้นำพยานอื่นมานำสืบให้ชัดเจนและการแจ้งให้ลบข้อความดังกล่าวนั้นก็เป็นช่วงหลังเกิดเหตุแล้วประมาณ 1 ปี พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักน้อยไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้
จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา14 (3), (5) ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุด คือ มาตรา 112 ให้จำคุก 9 ปี แต่คำให้การชั้นสอบสวนและพิจารณาเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 6 ปี
ภายหลังนายปิยะ จำเลย กล่าวสั้นๆ เพียงว่า จะปรึกษาทนายความ เพื่อจะพิจารณาเรื่องยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (20 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 914 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีดำ อ.747/2558 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายปิยะ จุลกิตติพันธ์ หรือนายพงศธร บันทอน อายุ 48 ปี ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3), (5)
คำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2556 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่ 28 พ.ย.2556 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ต่อเนื่องกัน จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยการโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จำนวน 2 ข้อความ อยู่บนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 2 ภาพ ในบัญชีเฟซบุ๊กของจำเลยที่ใช้ชื่อว่า นายพงศธร บันทอน (SIAMAID) โดยเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ เหตุเกิดที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. ตำบลสำโรงกลาง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ, อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม, อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และที่นอกราชอาณาจักร เกี่ยวพันกัน จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดี
โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เบิกตัวนายปิยะ จำเลย มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ซึ่งตลอดการพิจารณาคดี จำเลยไม่ได้รับการประกันตัว
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์มีพนักงานสอบสวนและผู้ที่ตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีเบิกความว่ามีผู้โพสต์ข้อความที่อยู่บนพระบรมฉายยาลักษณ์ แล้วนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยการนำลงไปโพสต์ในเฟซบุ๊ก ชื่อนายพงศธร บันทอน (SIAMAID) ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีเจตนาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้แชร์จำนวนมากจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (3), (5)
มีประเด็นต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ นายพงศธร บันทอน (SIAMAID) หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีพนักงานสอบสวน เบิกความว่าจากกากตรวจสอบพบว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดอนเมืองดำเนินคดี กรณีได้สวมตนในบัตรประชาชนผู้อื่น เป็นการปกปิดที่อยู่จำเลย โดยจำเลยได้มาเปิดใช้เฟซบุ๊กชื่อ นายพงศธร บันทอน (SIAMAID) จึงน่าเชื่อว่าพฤติการณ์ของจำเลยได้มีพยายามปกปิดตนเองเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตัวได้
นอกจากนี้ ยังฟังได้จากคำเบิกความจำเลยว่าเคยใช้เฟซบุ๊กระหว่างปี 2553-2554 ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่าได้แจ้งให้กูเกิลลบข้อความดังกล่าวไปแล้วนั้น จำเลยไม่ได้นำพยานอื่นมานำสืบให้ชัดเจนและการแจ้งให้ลบข้อความดังกล่าวนั้นก็เป็นช่วงหลังเกิดเหตุแล้วประมาณ 1 ปี พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักน้อยไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้
จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา14 (3), (5) ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุด คือ มาตรา 112 ให้จำคุก 9 ปี แต่คำให้การชั้นสอบสวนและพิจารณาเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 6 ปี
ภายหลังนายปิยะ จำเลย กล่าวสั้นๆ เพียงว่า จะปรึกษาทนายความ เพื่อจะพิจารณาเรื่องยื่นอุทธรณ์คดีต่อไป