นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นข้าราชการเกียร์ว่าง ที่จะใช้เกณฑ์การประเมินแบบใหม่ที่จะเริ่มในวันที่ 1 เม.ย.นี้ว่า เป็นการประเมินโดยเราเป็นเหมือนครูออกข้อสอบไม่ใช่หน่วยงานที่ถูกประเมินเป็นผู้ออกข้อสอบเอง การประเมินยึดหลัก 3 ข้อ คือ 1. ประเมินจากภาระหน้าที่ปกติ 2. ประเมินตามยุทธศาสตร์หรือภารกิจพิเศษ เพราะผู้บริหารแต่ละคน มีภารกิจพิเศษแตกต่างกัน เช่น การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เรื่องของการแก้ไขปัญหาการบินระหว่างประเทศ ประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ 3. ประเมินจากพื้นที่ เพราะในบางพื้นที่นั้น มีภารกิจพิเศษ ขณะที่บางพื้นที่นั้นไม่มี เช่น ให้ผู้ว่าฯ กำชับประชาชนเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอยในเทศกาลลอยกระทง
ทั้งนี้ การประเมินจะทำแบบ 360 องศา คือให้ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ประชาชน เป็นผู้ประเมิน โดยเริ่มใช้หลักนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 59 เป็นต้นไป และจะรู้ผลว่าการเมินนั้นเป็นคุณ หรือโทษ ในวันที่ 1 ต.ค. 59 ซึ่งเป็นคุณ หมายถึง การเลื่อนขั้น การเพิ่มงบประมาณ การให้โบนัส เป็นโทษ หมายถึง การลดงบประมาณ งดโบนัส มีการแต่งตั้งโยกย้าย สับเปลี่ยนตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม หากการทำงานไม่เข้าเป้าอย่างรุนแรง หรือมีความผิดรุนแรง ก็ต้องเร่งจัดการ เพราะจะเกิดความเสียหาย เชื่อว่า การประเมินตามแนวทางนี้ จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความกระฉับกระเฉงมากขึ้น และอย่าลืมว่า ประชาชนก็มีส่วนในการประเมินด้วย หากคะแนนจากนายให้มาดี แต่ประชาชนบอกว่าไม่ได้เรื่อง คะแนนประชาชนก็จะมีน้ำหนัก
"ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาของระบบราชการไทยมาทุกยุค ทุกสมัย ผมอยู่กับระบบนี้มานาน เห็นมานาน เมื่อมีเกณฑ์ประเมินแบบใหม่ จึงต้องประเมินกันหลายปี ถึงจะแก้ได้หมด ลองคิดจากการที่ไม่มีการประเมิน คนไม่กลัวอะไรเลย พอประเมิน มันก็ต้องกลัว มันก็ต้องดีขึ้นจากเดิมแน่ อย่างไรก็ตาม บรรดาข้าราชการที่ใกล้เกษียณ ยิ่งไม่ต้องกลัวใครจะทำอะไรเขา หรือพวกที่ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ คงนึกว่าไม่มีใครกล้าไปย้ายเขา แต่เราจะอาศัย ถ้าเล่นงานคุณไม่ได้ แต่เล่นงานหน่วยงานคุณได้ เช่น ตัดงบประมาณ" นายวิษณุ กล่าว
ทั้งนี้ การประเมินจะทำแบบ 360 องศา คือให้ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ประชาชน เป็นผู้ประเมิน โดยเริ่มใช้หลักนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 59 เป็นต้นไป และจะรู้ผลว่าการเมินนั้นเป็นคุณ หรือโทษ ในวันที่ 1 ต.ค. 59 ซึ่งเป็นคุณ หมายถึง การเลื่อนขั้น การเพิ่มงบประมาณ การให้โบนัส เป็นโทษ หมายถึง การลดงบประมาณ งดโบนัส มีการแต่งตั้งโยกย้าย สับเปลี่ยนตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม หากการทำงานไม่เข้าเป้าอย่างรุนแรง หรือมีความผิดรุนแรง ก็ต้องเร่งจัดการ เพราะจะเกิดความเสียหาย เชื่อว่า การประเมินตามแนวทางนี้ จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความกระฉับกระเฉงมากขึ้น และอย่าลืมว่า ประชาชนก็มีส่วนในการประเมินด้วย หากคะแนนจากนายให้มาดี แต่ประชาชนบอกว่าไม่ได้เรื่อง คะแนนประชาชนก็จะมีน้ำหนัก
"ข้าราชการเกียร์ว่าง เป็นปัญหาของระบบราชการไทยมาทุกยุค ทุกสมัย ผมอยู่กับระบบนี้มานาน เห็นมานาน เมื่อมีเกณฑ์ประเมินแบบใหม่ จึงต้องประเมินกันหลายปี ถึงจะแก้ได้หมด ลองคิดจากการที่ไม่มีการประเมิน คนไม่กลัวอะไรเลย พอประเมิน มันก็ต้องกลัว มันก็ต้องดีขึ้นจากเดิมแน่ อย่างไรก็ตาม บรรดาข้าราชการที่ใกล้เกษียณ ยิ่งไม่ต้องกลัวใครจะทำอะไรเขา หรือพวกที่ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ คงนึกว่าไม่มีใครกล้าไปย้ายเขา แต่เราจะอาศัย ถ้าเล่นงานคุณไม่ได้ แต่เล่นงานหน่วยงานคุณได้ เช่น ตัดงบประมาณ" นายวิษณุ กล่าว