**โหราศาสตร์ปี 2559 ปีวอก ธาตุไฟ โหรทุกสำนักพาเหรดออกมาพลิกตำรา ทำนายดวงเมืองกันพรึ่บพรั่บ เมื่อนำมาไล่เรียงเนื้อหาดูแล้ว ทำเอาจิตใจห่อเหี่ยวไปตามๆ กัน
ผู้นำรัฐนาวาอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อให้แกร่งแค่ไหน ก็คงต้องอ่อนใจกันบ้าง ทั้งเรื่องผู้นำประเทศที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดความวุ่นวาย มีการหักหลัง ล้างบางกันเกิดขึ้น เศรษฐกิจพ่นพิษ ภาคการลงทุนเจอวิกฤต เกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อน เจอภัยแล้งอย่างหนัก
นับตั้งแต่ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 ที่พล.อ.ประยุทธ์ นำทัพเข้ามายึดอำนาจบริหารรัฐบาล ระยะเวลาผ่านไปปีกว่า ด้วยความตั้งใจจะยุติความขัดแย้ง และแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ แต่ทัพนาวานี้ไม่ได้ทำงานเพียงแค่ลูบหน้าปะจมูกเท่านั้น เพราะเมื่อเข้ามาจับงาน ไปมากลายเป็นว่าต้องรื้อพรมกันยกใหญ่ ล้วนแล้วแต่เจอขยะที่หมักหมกกองโต แก้เท่าไหร่ก็ไม่จบไม่สิ้น ทั้งคดีทุจริตในระดับองค์กรภาครัฐ ยันการทุจริตระดับนโยบาย
**แต่เรื่องการปราบปรามแก้ไขปัญหาการทุจริต ที่นายกรัฐมนตรี ประกาศกร้าวว่า เป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องทำให้สำเร็จจับต้องได้ ต้องปฏิรูปการทุจริตในทุกภาคส่วน กลับต้องมาเจอ“ตอ”เอาเสียเอง คือปมการตรวจสอบโครงการก่อสร้าง“อุทยานราชภักดิ์”ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้คนของกองทัพ
ปมอุทยานราชภักดิ์ กลายหนังมหากาพย์ ยาวมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ข้ามมาปีนี้ก็ยังไม่จบสิ้น แม้ว่าช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2558 ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานการตรวจสอบโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ จัดโต๊ะแถลงข่าวใหญ่ โดยเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้แทนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งผลจากการแถลงข่าว ปรากฏว่า การก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ทำทุกอย่างตามขั้นตอน ไม่พบการทุจริต
แต่กระนั้นผลสอบปมอุทยานราชภักดิ์ ที่ผ่านมา 2 ครั้ง ทั้งจากกองทัพบก และจากกระทรวงกลาโหม ต่างมีผลออกมาไปในทิศทางเดียวกันคือ ไม่มีทุจริตก็ตาม แต่คำถามตัวโตๆ กลับผุดขึ้นมาว่า “ทำไมสังคมยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อใจว่าจะบริสุทธิ์จริง ?”
สุดท้ายการตรวจสอบจึงยังไม่จบ ต้องต่อเนื่องเป็นเรื่องข้ามปี ส่งไม้ต่อการตรวจสอบให้ไปอยู่ในมือของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในเดือนมกราคม ดำเนินการต่อไป
จากนี้ไป แม้การตรวจสอบภายใต้คนลายพราง จะเรียบร้อยดีไม่มีรอยด่าง แม้ว่าสัญญาณความเชื่อมั่นในตัวบุคคล ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่มีต่อพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ที่ว่า "เราเชื่อว่าความดีจะทำให้โด่งประสบผลดี เราเชื่อว่า โด่งไม่ใช่คนแบบนั้น เชื่อว่าโด่งเป็นคนดี"
**แต่เมื่อเรื่องมาถึงมือองค์กรอิสระแล้ว และประกอบด้วยเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ แต่ไม่ละสายตา อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในเกมการเมืองด้วยแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโคงการดังกล่าว ก็คงไม่สามารถที่จะนอนหลับได้อย่างสบายใจนัก
ทว่าทุกอย่างเมื่อเข้าสู่วงจรของ“การเมือง”และ“อำนาจ”แล้ว ทุกอย่างไม่มีอะไรที่แน่นอน ความแน่นอนคือความไม่แน่นนอน นั้นเป็นสัจธรรม อีกทั้งสนิมเนื้อในในวงจรของอำนาจที่ผุกร่อน อาจจะแผลงฤทธิ์เอาได้ทุกเมื่อ
ที่ผ่านมา ปมปัญหาการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำเอารัฐบาลที่อยู่ในคราบลายพรางต้องหัวเสีย และเสียสมาธิเอามากๆ และเรื่องก็ยังไม่จบ ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเป็นปัจจัยหนึ่งของความสั่นคลอนรัฐบาลหรือไม่
นอกจากนี้วิเคราะห์ปัจจัยต่อๆไปที่จะทำให้รัฐบาล สั่นคลอน และอ่อนแอในปีลิงนี้มีอยู่อีกมาก ตั้งแต่เรื่องรัฐธรรมนูญ ที่ร่างแรกจะออกมาในวันที่ 29 ม.ค.นี้ ก็ไม่รู้ว่าจะโดนใจ ถูกใจ คนส่วนใหญ่หรือไม่ หรือจะเป็นร่างที่ถูกใจแค่คนส่วนน้อยหรือเปล่า เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หัวเรือใหญ่ "มีชัย ฤชุพันธุ์" ออกมาประกาศกร้าวแล้วว่า ต้องใช้“ยาแรง”เพื่อขจัดปัญหาการเมือง ปัญหาการทุจริตให้อยู่หมัด อีกทั้งยังย้ำด้วยว่า หากใครที่ออกมาสร้างความบิดเบือนจนทำให้ ร่างรัฐธรรมนุญไม่ผ่านประชามติ ต้องรับผิดชอบ
**ถามว่าการประกาศหาคนรับผิดชอบ ต่อการร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน เพราะได้รับสัญญาณอะไรหรือไม่ หรือร่างก็รู้อยู่แก่ใจไปว่า ยาแรงที่เอามาใช้ คือของแสลง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุการเมืองได้อีกครั้ง
ส่วนการเคลื่อนไหวการเมืองที่เกิดมาจากชนวนที่รัฐบาล จะฟ้องทางปกครองเพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชดใช้ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกิดการตอบโต้ระหว่างรัฐบาล และพรรคเพื่อไทย อย่างดุเดือด ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน โดยเฉพาะอดีตรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ใช้ปมมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมมาเป็นการตอบโต้ ซึ่งหากบานปลายสุดท้ายการเคลื่อนไหวของมวลชน ก็จะถูกใช้เป็นเครืองมือ เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง อาจจะนำพาไปสู่อุบัติเหตุการเมืองได้อีก
เรื่องปากท้อง เศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะคนฐานราก ที่อยู่ในส่วนภาคการเกษตร ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะราคา ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา ที่แม้จะนิ่งนอนใจว่า ปัญหายางพารา มีคนพวกเดียวกันคุมอยู่ อาจจะไม่ส่งผลกระทบ แต่หารู้ไม่ว่า เมื่อราคาตกต่ำมาก ไม่มีข้าวสารกรอกหม้อแล้ว คำว่าพวก ก็ไม่คงทนอยู่ด้วย ขธะที่ภาคการลงทุน การส่งออก ก็นิ่ง ทุกอย่างฝืดเคือง
เรื่องการค้ามนุษย์ ที่ไทยยังอยู่ในระดับเทียร์ 3 (Tier3) หรือแม้แต่ เรื่องการบินพลเรือน ที่ "ไอเคโอ" หรือ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(International Civil Aviation Organization : ICAO ยังให้ไทยปักธงแดงอยู่
เรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อบ้าน กับเมียนมาร์ หลังจากที่ศาลตัดสินประหารชีวิต 2 พม่าที่เกาะเต่า ทำให้ประชาชนชาวพม่าไม่พอใจ และเคลือบแคลงสงสัยต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย
**สารพัดปมปัญหาในทุกมิติที่รัฐบาลคสช. จะต้องพบเจอ ล้วนแล้วเป็นงานหินทั้งสิ้น และเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ยากต่อการแก้ไข อีกด้วยกรอบระยะเวลาที่มีจำกัด 1 ปี 6 เดือน นั้นยากที่จะแก้ไขเข้าไปอีก แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหมด ได้หรือไม่ อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรไม่ให้สารพัดปัญหา กลายมาเป็นปัจจัยทำให้เกิดอุบัติเหตุการเมือง ทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพประชาธิปไตยไม่เต็มใบไปนานกว่านี้
ผู้นำรัฐนาวาอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อให้แกร่งแค่ไหน ก็คงต้องอ่อนใจกันบ้าง ทั้งเรื่องผู้นำประเทศที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดความวุ่นวาย มีการหักหลัง ล้างบางกันเกิดขึ้น เศรษฐกิจพ่นพิษ ภาคการลงทุนเจอวิกฤต เกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อน เจอภัยแล้งอย่างหนัก
นับตั้งแต่ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 ที่พล.อ.ประยุทธ์ นำทัพเข้ามายึดอำนาจบริหารรัฐบาล ระยะเวลาผ่านไปปีกว่า ด้วยความตั้งใจจะยุติความขัดแย้ง และแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ แต่ทัพนาวานี้ไม่ได้ทำงานเพียงแค่ลูบหน้าปะจมูกเท่านั้น เพราะเมื่อเข้ามาจับงาน ไปมากลายเป็นว่าต้องรื้อพรมกันยกใหญ่ ล้วนแล้วแต่เจอขยะที่หมักหมกกองโต แก้เท่าไหร่ก็ไม่จบไม่สิ้น ทั้งคดีทุจริตในระดับองค์กรภาครัฐ ยันการทุจริตระดับนโยบาย
**แต่เรื่องการปราบปรามแก้ไขปัญหาการทุจริต ที่นายกรัฐมนตรี ประกาศกร้าวว่า เป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องทำให้สำเร็จจับต้องได้ ต้องปฏิรูปการทุจริตในทุกภาคส่วน กลับต้องมาเจอ“ตอ”เอาเสียเอง คือปมการตรวจสอบโครงการก่อสร้าง“อุทยานราชภักดิ์”ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้คนของกองทัพ
ปมอุทยานราชภักดิ์ กลายหนังมหากาพย์ ยาวมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ข้ามมาปีนี้ก็ยังไม่จบสิ้น แม้ว่าช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2558 ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานการตรวจสอบโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ จัดโต๊ะแถลงข่าวใหญ่ โดยเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้แทนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งผลจากการแถลงข่าว ปรากฏว่า การก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ทำทุกอย่างตามขั้นตอน ไม่พบการทุจริต
แต่กระนั้นผลสอบปมอุทยานราชภักดิ์ ที่ผ่านมา 2 ครั้ง ทั้งจากกองทัพบก และจากกระทรวงกลาโหม ต่างมีผลออกมาไปในทิศทางเดียวกันคือ ไม่มีทุจริตก็ตาม แต่คำถามตัวโตๆ กลับผุดขึ้นมาว่า “ทำไมสังคมยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อใจว่าจะบริสุทธิ์จริง ?”
สุดท้ายการตรวจสอบจึงยังไม่จบ ต้องต่อเนื่องเป็นเรื่องข้ามปี ส่งไม้ต่อการตรวจสอบให้ไปอยู่ในมือของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในเดือนมกราคม ดำเนินการต่อไป
จากนี้ไป แม้การตรวจสอบภายใต้คนลายพราง จะเรียบร้อยดีไม่มีรอยด่าง แม้ว่าสัญญาณความเชื่อมั่นในตัวบุคคล ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่มีต่อพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ที่ว่า "เราเชื่อว่าความดีจะทำให้โด่งประสบผลดี เราเชื่อว่า โด่งไม่ใช่คนแบบนั้น เชื่อว่าโด่งเป็นคนดี"
**แต่เมื่อเรื่องมาถึงมือองค์กรอิสระแล้ว และประกอบด้วยเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ แต่ไม่ละสายตา อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในเกมการเมืองด้วยแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโคงการดังกล่าว ก็คงไม่สามารถที่จะนอนหลับได้อย่างสบายใจนัก
ทว่าทุกอย่างเมื่อเข้าสู่วงจรของ“การเมือง”และ“อำนาจ”แล้ว ทุกอย่างไม่มีอะไรที่แน่นอน ความแน่นอนคือความไม่แน่นนอน นั้นเป็นสัจธรรม อีกทั้งสนิมเนื้อในในวงจรของอำนาจที่ผุกร่อน อาจจะแผลงฤทธิ์เอาได้ทุกเมื่อ
ที่ผ่านมา ปมปัญหาการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำเอารัฐบาลที่อยู่ในคราบลายพรางต้องหัวเสีย และเสียสมาธิเอามากๆ และเรื่องก็ยังไม่จบ ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเป็นปัจจัยหนึ่งของความสั่นคลอนรัฐบาลหรือไม่
นอกจากนี้วิเคราะห์ปัจจัยต่อๆไปที่จะทำให้รัฐบาล สั่นคลอน และอ่อนแอในปีลิงนี้มีอยู่อีกมาก ตั้งแต่เรื่องรัฐธรรมนูญ ที่ร่างแรกจะออกมาในวันที่ 29 ม.ค.นี้ ก็ไม่รู้ว่าจะโดนใจ ถูกใจ คนส่วนใหญ่หรือไม่ หรือจะเป็นร่างที่ถูกใจแค่คนส่วนน้อยหรือเปล่า เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หัวเรือใหญ่ "มีชัย ฤชุพันธุ์" ออกมาประกาศกร้าวแล้วว่า ต้องใช้“ยาแรง”เพื่อขจัดปัญหาการเมือง ปัญหาการทุจริตให้อยู่หมัด อีกทั้งยังย้ำด้วยว่า หากใครที่ออกมาสร้างความบิดเบือนจนทำให้ ร่างรัฐธรรมนุญไม่ผ่านประชามติ ต้องรับผิดชอบ
**ถามว่าการประกาศหาคนรับผิดชอบ ต่อการร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน เพราะได้รับสัญญาณอะไรหรือไม่ หรือร่างก็รู้อยู่แก่ใจไปว่า ยาแรงที่เอามาใช้ คือของแสลง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุการเมืองได้อีกครั้ง
ส่วนการเคลื่อนไหวการเมืองที่เกิดมาจากชนวนที่รัฐบาล จะฟ้องทางปกครองเพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชดใช้ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกิดการตอบโต้ระหว่างรัฐบาล และพรรคเพื่อไทย อย่างดุเดือด ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน โดยเฉพาะอดีตรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ใช้ปมมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมมาเป็นการตอบโต้ ซึ่งหากบานปลายสุดท้ายการเคลื่อนไหวของมวลชน ก็จะถูกใช้เป็นเครืองมือ เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง อาจจะนำพาไปสู่อุบัติเหตุการเมืองได้อีก
เรื่องปากท้อง เศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะคนฐานราก ที่อยู่ในส่วนภาคการเกษตร ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะราคา ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา ที่แม้จะนิ่งนอนใจว่า ปัญหายางพารา มีคนพวกเดียวกันคุมอยู่ อาจจะไม่ส่งผลกระทบ แต่หารู้ไม่ว่า เมื่อราคาตกต่ำมาก ไม่มีข้าวสารกรอกหม้อแล้ว คำว่าพวก ก็ไม่คงทนอยู่ด้วย ขธะที่ภาคการลงทุน การส่งออก ก็นิ่ง ทุกอย่างฝืดเคือง
เรื่องการค้ามนุษย์ ที่ไทยยังอยู่ในระดับเทียร์ 3 (Tier3) หรือแม้แต่ เรื่องการบินพลเรือน ที่ "ไอเคโอ" หรือ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(International Civil Aviation Organization : ICAO ยังให้ไทยปักธงแดงอยู่
เรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อบ้าน กับเมียนมาร์ หลังจากที่ศาลตัดสินประหารชีวิต 2 พม่าที่เกาะเต่า ทำให้ประชาชนชาวพม่าไม่พอใจ และเคลือบแคลงสงสัยต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย
**สารพัดปมปัญหาในทุกมิติที่รัฐบาลคสช. จะต้องพบเจอ ล้วนแล้วเป็นงานหินทั้งสิ้น และเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ยากต่อการแก้ไข อีกด้วยกรอบระยะเวลาที่มีจำกัด 1 ปี 6 เดือน นั้นยากที่จะแก้ไขเข้าไปอีก แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหมด ได้หรือไม่ อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรไม่ให้สารพัดปัญหา กลายมาเป็นปัจจัยทำให้เกิดอุบัติเหตุการเมือง ทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพประชาธิปไตยไม่เต็มใบไปนานกว่านี้