ผู้จัดการรายวัน360-ก.ล.ต.สั่งพักงาน "อุรชา" มาร์สาวคดีโอนหุ้น "เสี่ยชูวงษ์" พร้อมพวกอีก 2 คน และสั่งปรับบริษัทหลักทรัพย์ เออีซี 1.1 ล้านบาท ฐานบกพร่องในการตรวจสอบ ส่วนผู้บริหารห้ามให้บริการและทำธุรกิจเกี่ยวกับตลาดทุน 6 เดือน
นางปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึงกรณีการลงโทษ บล.เออีซี ผู้บริหาร และผู้นำแนะนำการลงทุน จากกรณีการโอนหุ้นของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง นักธุรกิจที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ ว่า ก.ล.ต. ได้ขอให้ บล.ที่เกี่ยวข้องชี้แจง และเข้าไปตรวจสอบบริษัท พร้อมทั้งสอบถ้อยคำผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่ามีการโอนหุ้นก่อนนายชูวงษ์เสียชีวิตจริง จึงได้ดำเนินการเอาผิดกับ บล. ผู้บริหาร และผู้แนะนำการลงทุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้แนะนำการลงทุน 3 ราย ได้แก่ น.ส.อุรชา วชิรกุลฑล ก.ล.ต. ได้เพิกถอนในการให้ความเห็นชอบ 10 ปี , นายนัฐพล เฉลิมพจน์ พักการให้ความเห็นชอบ 6 เดือน และน.ส.พัชรีย์ ธัชธำรงชัย พักให้การเห็นชอบเป็นเวลา 1 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2558
โดยกรณีของน.ส.อุรชา พบว่า จัดการโอนหุ้นในบัญชีลูกค้ารายที่เป็นข่าวเข้าบัญชีมารดาและตนเอง ได้รับประโยชน์ โดยมีการเตรียมการเป็นขั้นตอน ดังนี้ เปิดบัญชีมารดาที่ บล.เออีซี โดยไม่เปิดเผยความสัมพันธ์ จัดการโอนหุ้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เป็นผู้แนะนำที่ดูแลบัญชีลูกค้า จัดการให้ฝ่ายปฏิบัติการดำเนินการยืนยันการโอนหุ้นกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นลูกค้าเจ้าของบัญชี และเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์เข้าไปในระบบฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อให้การโอนหุ้นสำเร็จ โดย ก.ล.ต. ระบุว่า เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กระทำมิชอบต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน ใช้บัญชีของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุนโดยการเบิกถอนโอนย้ายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กำหนด โดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
ส่วนนายนัฐพล รับคำสั่งซื้อขายจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจ มีการใช้คำพูดเพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจวาตนเองกำลังสนทนา และรับคำสั่งซื้อขายกับเจ้าของบัญชี ซึ่งเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ได้ให้บริการซื้อขายตามคำสั่งของเจ้าของบัญชีหรือผู้มอบอำนาจ หรือเป็นการรับคำสั่งจากคนอื่น และสร้างหลักฐานว่าผู้สั่งซื้อขายเป็นเจ้าของบัญชี ทั้งที่เป็นบุคคลอื่น เพื่ออำพรางปกปิดบริษัทและหน่วยงานกำกับดูแล
ขณะที่น.ส.พัชรีย์ ให้การยอมรับว่ารับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจ มีความผิดฐานไม่ได้ให้บริการซื้อขายตามคำสั่งของเจ้าของบัญชีหรือผู้มอบอำนาจหรือรับคำสั่งจากคนอื่น
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับระบบงานและการกำกับดูแล บล.เออีซี พบความบกพร่อง 3 ระบบงานที่เข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ คือ การทำความรู้จักลูกค้าและตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า การกำกับดูแลทรัพย์สินของลูกค้า การกำกับดูแลเพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท ต้องระวางโทษตามมาตรา 282 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ จึงเปรียบเทียบความผิดเป็นเงิน 1,101,000 บาท
ส่วนผู้บริหารหลัก 2 ราย ได้แก่ นายธาดา จันทร์ประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์ และนายพิสิทธิ์ ปทุมบาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ซึ่งเป็นผู้ควบคุมสายงานบริหารด้านหลักทรัพย์ ก.ล.ต. พบว่าในภาพรวมบุคคลทั้งสองละเลยการตรวจสอบดูแลและสั่งการให้มีการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและปฏิบัติให้ถูกต้อง ทั้งที่ได้รับทราบข้อมูลจากผลการตรวจสอบของบริษัทเอง และการรายงานจากผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับข้อมูลที่น่าสงสัยของลูกค้า จนเป็นเหตุให้บริษัทมีการกระทำผิด
ดังนั้น ก.ล.ต.จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ทั้งสองรายเป็นเวลา 6 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.2558 โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวบุคคลทั้งสองจะไม่สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการงานการเป็นที่ปรึกษาของบริษัทและการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่อยู่ในขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ ซึ่งการกระทำของบุคคลทั้งสองยังเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 283 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ อันเป็นผลจากการที่บริษัทกระทำผิดมาตรา 113 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ก.ล.ต.จะเสนอการกระทำผิดต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบความผิด ซึ่งหากทั้งสองบุคคลไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ ก.ล.ต.จะดำเนินการกล่าวโทษต่อไป
นางปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึงกรณีการลงโทษ บล.เออีซี ผู้บริหาร และผู้นำแนะนำการลงทุน จากกรณีการโอนหุ้นของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง นักธุรกิจที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ ว่า ก.ล.ต. ได้ขอให้ บล.ที่เกี่ยวข้องชี้แจง และเข้าไปตรวจสอบบริษัท พร้อมทั้งสอบถ้อยคำผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่ามีการโอนหุ้นก่อนนายชูวงษ์เสียชีวิตจริง จึงได้ดำเนินการเอาผิดกับ บล. ผู้บริหาร และผู้แนะนำการลงทุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้แนะนำการลงทุน 3 ราย ได้แก่ น.ส.อุรชา วชิรกุลฑล ก.ล.ต. ได้เพิกถอนในการให้ความเห็นชอบ 10 ปี , นายนัฐพล เฉลิมพจน์ พักการให้ความเห็นชอบ 6 เดือน และน.ส.พัชรีย์ ธัชธำรงชัย พักให้การเห็นชอบเป็นเวลา 1 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2558
โดยกรณีของน.ส.อุรชา พบว่า จัดการโอนหุ้นในบัญชีลูกค้ารายที่เป็นข่าวเข้าบัญชีมารดาและตนเอง ได้รับประโยชน์ โดยมีการเตรียมการเป็นขั้นตอน ดังนี้ เปิดบัญชีมารดาที่ บล.เออีซี โดยไม่เปิดเผยความสัมพันธ์ จัดการโอนหุ้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เป็นผู้แนะนำที่ดูแลบัญชีลูกค้า จัดการให้ฝ่ายปฏิบัติการดำเนินการยืนยันการโอนหุ้นกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นลูกค้าเจ้าของบัญชี และเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์เข้าไปในระบบฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อให้การโอนหุ้นสำเร็จ โดย ก.ล.ต. ระบุว่า เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กระทำมิชอบต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน ใช้บัญชีของผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อตนเองหรือบุคคลอื่น ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุนโดยการเบิกถอนโอนย้ายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กำหนด โดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
ส่วนนายนัฐพล รับคำสั่งซื้อขายจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจ มีการใช้คำพูดเพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจวาตนเองกำลังสนทนา และรับคำสั่งซื้อขายกับเจ้าของบัญชี ซึ่งเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ได้ให้บริการซื้อขายตามคำสั่งของเจ้าของบัญชีหรือผู้มอบอำนาจ หรือเป็นการรับคำสั่งจากคนอื่น และสร้างหลักฐานว่าผู้สั่งซื้อขายเป็นเจ้าของบัญชี ทั้งที่เป็นบุคคลอื่น เพื่ออำพรางปกปิดบริษัทและหน่วยงานกำกับดูแล
ขณะที่น.ส.พัชรีย์ ให้การยอมรับว่ารับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชี โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจ มีความผิดฐานไม่ได้ให้บริการซื้อขายตามคำสั่งของเจ้าของบัญชีหรือผู้มอบอำนาจหรือรับคำสั่งจากคนอื่น
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับระบบงานและการกำกับดูแล บล.เออีซี พบความบกพร่อง 3 ระบบงานที่เข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ คือ การทำความรู้จักลูกค้าและตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า การกำกับดูแลทรัพย์สินของลูกค้า การกำกับดูแลเพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท ต้องระวางโทษตามมาตรา 282 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ จึงเปรียบเทียบความผิดเป็นเงิน 1,101,000 บาท
ส่วนผู้บริหารหลัก 2 ราย ได้แก่ นายธาดา จันทร์ประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์ และนายพิสิทธิ์ ปทุมบาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ซึ่งเป็นผู้ควบคุมสายงานบริหารด้านหลักทรัพย์ ก.ล.ต. พบว่าในภาพรวมบุคคลทั้งสองละเลยการตรวจสอบดูแลและสั่งการให้มีการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและปฏิบัติให้ถูกต้อง ทั้งที่ได้รับทราบข้อมูลจากผลการตรวจสอบของบริษัทเอง และการรายงานจากผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับข้อมูลที่น่าสงสัยของลูกค้า จนเป็นเหตุให้บริษัทมีการกระทำผิด
ดังนั้น ก.ล.ต.จึงสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ทั้งสองรายเป็นเวลา 6 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.2558 โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวบุคคลทั้งสองจะไม่สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการงานการเป็นที่ปรึกษาของบริษัทและการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่อยู่ในขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ ซึ่งการกระทำของบุคคลทั้งสองยังเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 283 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ อันเป็นผลจากการที่บริษัทกระทำผิดมาตรา 113 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ก.ล.ต.จะเสนอการกระทำผิดต่อคณะกรรมการเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบความผิด ซึ่งหากทั้งสองบุคคลไม่ยินยอมเข้ารับการเปรียบเทียบ ก.ล.ต.จะดำเนินการกล่าวโทษต่อไป