นายกฯ ปลื้ม “ฮุนเซน” ร่วมมือกำ หนดทิศทางเดินหน้าร่วมกันของไทย-กัมพูชา บอกอย่ากังวลแต่เรื่องข้อตกลงแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อน ผุดไอเดียสร้างโรงไฟฟ้าชายแดนร่วมกันแต่ไทยขอใช้น้ำ ด้าน “บิ๊กป้อม” ยันตั้งใจช่วย “วีระ”ให้พ้นคุกเขมร ตั้งแต่ปี 53 ด้าน คปพ. ยื่นผู้ตรวจฯ สอบก.พลังงาน เล่นเล่ห์ชง 2 ร่างกฎหมายพลังงานให้ ครม.เห็นชอบ ยันข้อเรียกร้องภาคประชาชนยังไม่ได้รับการพิจารณา“ดอน” มั่นใจ ยกเลิกพาสปอร์ต “แม้ว” ทำ ถูกต้องตามระเบียบ
วานนี้ (22 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงการเดินทางมาร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชาว่า เป็นความตั้งใจที่ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เนื่องจากต้องการมาดูความเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และจากการเดินทางมาในครั้งนี้ สมเด็จ ฮุน เซนได้บอกกับตนว่า รู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย หลังจากที่ไม่ได้มาเยือนเป็นเวลากว่า 10 ปี และทำ ให้ทางกัมพูชาต้องร่วมมือกับไทย เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศ จึงนำ มาสู่การหารืออย่างไม่เป็นทางการ โดยพูดคุยในเรื่องของหลักการและความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะร่วมมือกันกำ หนดทิศทางว่าจะสามารถทำ ได้ในส่วนใดบ้าง เพื่อให้ความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะที่ผ่านมามีการประชุมร่วมกันเพียงคณะทำ งาน จึงอาจจะทำ ให้เกิดความล่าช้า แต่การหารือร่วมของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะในครั้งนี้ ได้พูดคุยหารือกันให้จบ และรู้ว่าจะต้องแก้ไขในส่วนใดบ้าง และต่างฝ่ายต่างกลับไปแก้ไขในกระบวนการของกฎหมาย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอทุกคนอย่ากังวลเรื่องของข้อตกลงในแหล่งพลังงานบนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา เพราะในการประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีการตกลงกันแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการตกลงความร่วมมือตามโรดแมป ว่าจะทำ กันไปในทิศทางใด ในความร่วมมือทั้งทางบกและทางทะเล ว่าในส่วนใดที่ร่วมมือกันได้ก็จะเดินหน้าทำ ไปก่อน แต่หากพูดถึงเรื่องพิพาททางดินแดน ความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศก็จะร่วมมือกันไม่ได้ รอไปอีก 200 ปีก็ไม่เกิดความร่วมมือ ดังนั้น ขอให้ทุกคนเข้าใจ โดยเฉพาะผู้ที่ต่อต้าน เพราะจะนำ มาสู่ปัญหาในอนาคต
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึง การสร้างโรงไฟฟ้าแนวชายแดน ว่า ขณะนี้เป็นปัญหาเนื่องจากใช้น้ำ ในแม่น้ำ สร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ เพราะใช้แม่น้ำไม่ใช่สิทธิของไทยในเรื่องแนวชายแดนตามเรื่องเส้นเขตแดน จึงต้องแสวงหาความร่วมมือ ตนมีแนวคิดและคุยกับ สมเด็จฮุนเซน ว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่า ให้โรงไฟฟ้าบางแห่งมาตั้งที่ฝั่งไทย เมื่อมีน้ำ ผ่านก็ให้หันน้ำ มาลงประเทศไทย ซึ่งสมเด็จฮุนเซน ก็ระบุว่า น่าจะเป็นไปได้ เพราะเขาก็ได้ไฟฟ้า ไทยก็ได้น้ำ
อย่างไรก็ตาม วันนี้ไทยไม่ได้ซื้อไฟฟ้าอย่างเดียว แต่ขายให้เขาด้วย เพราะไทยมีระบบสายส่งที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เมื่อมีการขาย ก็อาศัยระบบสายส่งของไทย ไม่ใช่เราเสียเปรียบเขาอย่างเดียว แต่เป็นการแลกเปลี่ยนกันขายให้เขาด้วย
ยันตั้งใจช่วย “วีระ” ให้พ้นคุกเขมร
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีนายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ออกมาระบุว่า พล.อ.ประวิตร และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ไม่ตั้งใจให้ความช่วยเหลือให้ตนพ้นจากคุกกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2553 ว่าตนไม่เข้าใจว่า การช่วยเหลือกับความตั้งใจ ต่างกันอย่างไร เพราะตนช่วยเหลือเขา และตนพยายามที่จะช่วยตั้งแต่ปี 53 ซึ่งก็ช่วยได้หลายคน แต่ก็มีน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ไม่ยอมออกมา จะขอถูกควบคุมตัวด้วยกัน
เลิกพาสปอร์ต “แม้ว” ทำถูกต้องตาม ระเบียบ
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศกล่าวถึงกรณีศาลปกครองกลางนัดไต่สวนในคดีที่ นายทักษิณ ชินวัตร ยื่นฟ้องอธิบดีกรมการกงสุล กับพวกรวม 2 คน ที่มีคำ สั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง เลขที่ U957411 และ Z530117 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในวันที่ 23 ธ.ค.ว่า หลักเกณฑ์การยกเลิกหนังสือเดินทางนั้น มีระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทางพ.ศ. 2548 อยู่ ซึ่งกรณีนี้เข้าข่ายตามระเบียบฯสามารถดำ เนินการได้ จึงมีคำ สั่งยกเลิกหนังสือเดินทางดังกล่าว ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องการเมืองเนื่องจากก่อนที่จะมีการยกเลิกหนังสือเดินทางมีข่าวว่านายทักษิณไปให้สัมภาษณ์ลักษณะกระทบต่อความมั่นคง จึงมีการทำ เรื่องมายังกระทรวงการต่างประเทศ ให้ยกเลิก อย่างไรก็ตาม เดี๋ยวตนจะกลับไปพูดคุยกับอธิบดีกรมการกงสุลในเรื่องนี้ ซึ่งตามกฎหมายหากทำ ตามระเบียบฯกฎหมายย่อมคุ้มครองอยู่แล้ว
คปพ.ยื่นผู้ตรวจฯสอบพลังงานใช้เล่ห์ชง 2 กม.เข้าครม.
วานนี้ (22 ธ.ค.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำ โดย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เข้ายื่นคำ ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำ นักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจการจัดทำ และเสนอ ร่าง พ.ร.บ.(ฉบับที่..) พ.ศ...และ ร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ..ของกระทรวงพลังงาน และตรวจสอบการจัดทำแผนพัฒนากำ ลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 หรือแผน พีดีพี 2015
นายปานเทพ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการในการประชุมครม.วันที่ 21 ก.ค. ให้กระทรวงพลังงานจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมของต่างประเทศ และพิจารณาแนวทางเกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และการบริหารจัดการสัมปทานปิโตรเลียมที่กำ ลังจะหมดอายุโดยให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพลังงาน ทำ ความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เชิญกล่มผู้มีความเห็นต่างมาร่วมรับฟังความเห็น สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ และศึกษาประเเด็นข้อร้องเรียนของคปพ. ซึ่งต่อมา นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารมต.ประจำ สำ นักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 3 ส.ค.ถึงตนในฐานะตัวแทนคปพ. ที่ได้ยื่นหนังสือขอให้ถอนร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียม ของกระทรวงพลังงาน แต่กลับพบว่า วันที่ 4 ส.ค. ครม.ก็กลับมีการประชุมและลงมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..)พ.ศ..รวม 2 ฉบับ
ทั้งนี้ คปพ. เห็นว่า มติครม.ดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานข้อมูลกระทรวงพลังงานที่เป็นเท็จขณะที่ในส่วนของแผนพัฒนากำ ลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (PDP2015) ของกระทรวงพลังงานนั้น คปพ. พบว่า มีเพราะแผนฯดังกล่าวมีกำ ลังการผลิตไฟฟ้าเกินกว่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด และเกินกว่ากำ ลังการผลิตสำรองมาตรฐานสากล ไปอย่างมาก ทั้งๆที่ กำ ลังผลิตสำรองมาตรฐานสากลควรจะมีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประมาณร้อยละ 15 เท่านั้น และยังมีการอ้างอิงตัวตัวเลขพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินจริง ผิดหลักวิชาการ ซึ่งสุดท้ายจะทำ ให้ประเทศไทยผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินความจำ เป็น และประชาชนต้องจ่ายค่าไฟในอัตราที่สูง ซึ่งแผนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเร่งรีบในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
ดังนั้น จึงเห็นว่าสมควรที่ผู้ตรวจฯจะดำ เนินการตรวจสอบและเสนอให้ครม.พิจารณาให้มีการถอนร่างแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับออกไปจนกว่า จะมีการนำ ประเด็นผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญมาปรับปรุงแก้ไขในร่างกฎหมายให้ครบถ้วนทุกประเด็น.