เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (16ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านกิจการเอเซียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ในโอกาสนำคณะผู้แทนสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมหารือยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 5 โดยมี นายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ นายอภิชาติ ชินวรรโณ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมด้วย
ภายหลังการหารือ นายแดเนียล เปิดเผยว่า การพบปะครั้งนี้ ถือเป็นการพบปะที่ดี ได้ผลผลิตอะไรมากมาย เน้นความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐฯ และบทบาทของไทยในภูมิภาคนี้ และในเวทีโลก รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ
นายแดเนียล กล่าวว่า ได้พูดคุยกันอย่างเปิดอก ในเรื่องของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และหนทางในอนาคตข้างหน้า ทั้งยังได้ชี้แจงแนวคิดของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐฯ ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของสหรัฐฯ จึงอยากให้ไทยเฟื่องฟู มีความมั่นคงมากขึ้น และได้บอกไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความเคารพต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งวัฒนธรรมของไทย และให้ความสำคัญต่อ ด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านความมั่นคง
ด้านพล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องของความสัมพันธ์ นายกฯ ระบุไทยพร้อมสนับสนุนบทบาทสหรัฐฯในการทำให้ภูมิภาคนี้มีความเข้มแข็ง ขณะที่ไทยไม่ได้มองว่าเป็นผู้นำอาเซียน แต่จะทำหน้าที่ประสานประเทศต่างๆ ในอาเซียน ก้าวไปอย่างเข้มแข็ง และรู้สึกยินดีที่สหรัฐฯ กลับมาให้ความสำคัญประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หันกลับมาให้ความสำคัญประเทศไทย แม้จะอยู่ภายใต้ข้อจำกัดโดยกฎหมายของสหรัฐฯ เอง โดยสหรัฐฯ ยืนยันพร้อมเดินหน้าไปด้วยกันภายใต้ข้อจำกัด พยายามลดช่องว่างความสัมพันธ์ที่ผ่านมา ที่อาจมีเรื่องการปฏิวัติรัฐประหาร มาเป็นเงื่อนไขอุปสรรค พร้อมกับบอกนายแดเนียล ว่า
"จะเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทยได้ ต้องย้อนกลับไปดูอดีตว่า เกิดอะไรขึ้น จะทำให้เข้าใจปัจจุบัน มองอนาคตได้อย่างชัดเจน ขอให้มองประเทศไทย อย่ามองที่ตัวบุคคล ไม่ต้องเชื่อ แต่ขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติม โดยนายกฯได้บอกว่าไทยได้ผ่านอะไรมาบ้าง ประการสำคัญ เราไม่ได้ถอยห่างจากหลักประชาธิไตยเลย ซึ่งเราทำให้เห็นตัวอย่างแล้วว่า เรากำลังทำให้ประเทศไทยกลับไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนคนไทยมีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง"
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า โดยทางสหรัฐฯ เองแสดงความเข้าใจ พร้อมบอกกับนายกฯว่าเรื่องต่างๆ อย่างเรื่องของสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่อาจถูกนำไปประเด็นได้ ขอให้ประเทศไทยระมัดระวังเรื่องนี้นิดหนึ่ง ขณะที่นายกฯ ยืนยันว่า ระมัดระวังเรื่องนี้ แต่การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น เป็นข่าวต่างๆ ล้วนแต่มีเบื้องหน้า เบื้องหลังทั้งนั้น มันไม่ใช่พลังการเคลื่อนไหวที่บริสุทธิ์ มันมีเรื่องราว ต้องการจะให้สหรัฐฯมาสนใจ มากดดัน ให้ต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ มากดดัน ตรงนี้ นายกฯบอกว่าอยากให้มองหลายมุม อย่ามองมุมประชาธิปไตยมุมเดียว ในแง่มุมของเรื่องความมั่นคง ความ ปลอดภัยของประเทศเราด้วย พยายามมองหลายๆมุม ก่อนจะประเมินอะไร
ภายหลังการหารือ นายแดเนียล เปิดเผยว่า การพบปะครั้งนี้ ถือเป็นการพบปะที่ดี ได้ผลผลิตอะไรมากมาย เน้นความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐฯ และบทบาทของไทยในภูมิภาคนี้ และในเวทีโลก รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ
นายแดเนียล กล่าวว่า ได้พูดคุยกันอย่างเปิดอก ในเรื่องของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และหนทางในอนาคตข้างหน้า ทั้งยังได้ชี้แจงแนวคิดของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐฯ ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของสหรัฐฯ จึงอยากให้ไทยเฟื่องฟู มีความมั่นคงมากขึ้น และได้บอกไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความเคารพต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งวัฒนธรรมของไทย และให้ความสำคัญต่อ ด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านความมั่นคง
ด้านพล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องของความสัมพันธ์ นายกฯ ระบุไทยพร้อมสนับสนุนบทบาทสหรัฐฯในการทำให้ภูมิภาคนี้มีความเข้มแข็ง ขณะที่ไทยไม่ได้มองว่าเป็นผู้นำอาเซียน แต่จะทำหน้าที่ประสานประเทศต่างๆ ในอาเซียน ก้าวไปอย่างเข้มแข็ง และรู้สึกยินดีที่สหรัฐฯ กลับมาให้ความสำคัญประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หันกลับมาให้ความสำคัญประเทศไทย แม้จะอยู่ภายใต้ข้อจำกัดโดยกฎหมายของสหรัฐฯ เอง โดยสหรัฐฯ ยืนยันพร้อมเดินหน้าไปด้วยกันภายใต้ข้อจำกัด พยายามลดช่องว่างความสัมพันธ์ที่ผ่านมา ที่อาจมีเรื่องการปฏิวัติรัฐประหาร มาเป็นเงื่อนไขอุปสรรค พร้อมกับบอกนายแดเนียล ว่า
"จะเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทยได้ ต้องย้อนกลับไปดูอดีตว่า เกิดอะไรขึ้น จะทำให้เข้าใจปัจจุบัน มองอนาคตได้อย่างชัดเจน ขอให้มองประเทศไทย อย่ามองที่ตัวบุคคล ไม่ต้องเชื่อ แต่ขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติม โดยนายกฯได้บอกว่าไทยได้ผ่านอะไรมาบ้าง ประการสำคัญ เราไม่ได้ถอยห่างจากหลักประชาธิไตยเลย ซึ่งเราทำให้เห็นตัวอย่างแล้วว่า เรากำลังทำให้ประเทศไทยกลับไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนคนไทยมีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง"
พล.ต.วีรชน กล่าวว่า โดยทางสหรัฐฯ เองแสดงความเข้าใจ พร้อมบอกกับนายกฯว่าเรื่องต่างๆ อย่างเรื่องของสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่อาจถูกนำไปประเด็นได้ ขอให้ประเทศไทยระมัดระวังเรื่องนี้นิดหนึ่ง ขณะที่นายกฯ ยืนยันว่า ระมัดระวังเรื่องนี้ แต่การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น เป็นข่าวต่างๆ ล้วนแต่มีเบื้องหน้า เบื้องหลังทั้งนั้น มันไม่ใช่พลังการเคลื่อนไหวที่บริสุทธิ์ มันมีเรื่องราว ต้องการจะให้สหรัฐฯมาสนใจ มากดดัน ให้ต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ มากดดัน ตรงนี้ นายกฯบอกว่าอยากให้มองหลายมุม อย่ามองมุมประชาธิปไตยมุมเดียว ในแง่มุมของเรื่องความมั่นคง ความ ปลอดภัยของประเทศเราด้วย พยายามมองหลายๆมุม ก่อนจะประเมินอะไร