นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยังคงให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบในส่วนภาคการเมือง และรัฐราชการเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่า กรธ. พยายามออกแบบและสร้างกลไกใหม่ๆ เพื่อให้การเมืองของภาคนักการเมืองมีความโปร่งใส และสุจริตมากขึ้น แต่ยังไม่มีพื้นที่ให้กับประชาสังคมเข้ามาร่วมส่วนเท่าที่ควร ซึ่งเป้นการสวนทางกับนโยบายของ คสช.และรัฐบาล ที่พยายามขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ "ประชารัฐ" ที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ กับภาคประชาชน เพราะถ้าเน้นเฉพาะความเข้มแข็งของภาคการเมือง และราชการโดยละเลยสิทธิและอำนาจของประชาชน จะทำให้นโยบายประชารัฐ ไม่เป็นจริง อำนาจชี้ขาดเบ็ดเสร็จยังผูกขาดอยู่กับภาคการเมืองเช่นเดิม กลายเป็นการเพิ่มอำนาจรัฐ แต่ตอนอำนาจประชาชน
ฉะนั้น ร่างรัฐธรรมนูญในหมวดที่เหลืออยู่ กรธ. ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองของภาคประชาสังคมชัดเจนมากขึ้น เพราะบทเรียนจากความล้มเหลวทางการเมืองที่ผ่านมา ผู้มีอำนาจพยายามทำให้การเมืองอยู่ในระบบปิด โดยกลุ่มคนไม่กี่กลุ่มพอเจรจาผลประโยชน์กันไม่ลงตัว ก็กลายเป็นความแตกแยกและเผชิญหน้ากัน ความตื่นตัวของประชาชนถูกมองเป็นแค่กองเชียร์นักการเมืองเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำไปก่อนหน้านี้ จะพบว่า การเมืองของภาคพลเมืองหดหายไปมาก กรธ. ควรปรับทัศนคติว่า ความตื่นตัวของประชาชนเป็นหัวใจของการพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อไปสู่การปฏิรูปประเทศ จึงต้องคำนึงถึงการสร้างสมดุลย์ให้กับองค์อำนาจอันหลากหลายในสังคมให้ลงตัวที่สุด ไม่เช่นนั้นก็ยากที่จะเปลี่ยนผ่านในระยะยาวได้
ฉะนั้น ร่างรัฐธรรมนูญในหมวดที่เหลืออยู่ กรธ. ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองของภาคประชาสังคมชัดเจนมากขึ้น เพราะบทเรียนจากความล้มเหลวทางการเมืองที่ผ่านมา ผู้มีอำนาจพยายามทำให้การเมืองอยู่ในระบบปิด โดยกลุ่มคนไม่กี่กลุ่มพอเจรจาผลประโยชน์กันไม่ลงตัว ก็กลายเป็นความแตกแยกและเผชิญหน้ากัน ความตื่นตัวของประชาชนถูกมองเป็นแค่กองเชียร์นักการเมืองเท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำไปก่อนหน้านี้ จะพบว่า การเมืองของภาคพลเมืองหดหายไปมาก กรธ. ควรปรับทัศนคติว่า ความตื่นตัวของประชาชนเป็นหัวใจของการพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อไปสู่การปฏิรูปประเทศ จึงต้องคำนึงถึงการสร้างสมดุลย์ให้กับองค์อำนาจอันหลากหลายในสังคมให้ลงตัวที่สุด ไม่เช่นนั้นก็ยากที่จะเปลี่ยนผ่านในระยะยาวได้