วานนี้ (8ธ.ค.) ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน พร้อมด้วย นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ โฆษกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือวิปสปท. ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมว่าสปท. จะนัดประชุมในวันที่ 21-22 ธ.ค.นี้ เพื่อพิจารณารายงานการปฏิรูปชุดแรกของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน และคณะกรรมาธิการวิสามัญการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน รวม 6 คณะ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานทุกคณะ เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นไปตามทิศทางที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน
นอกจากนี้ ทางสปท.จะได้เชิญผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน อาทิ เจ้าของสื่อ บรรณาธิการ เข้ามารับฟังการบรรยายสุรปเกี่ยวกับการทำงาน และความคืบหน้าในการทำงานของสปท. ว่าจะเป็นอย่างไร ในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ และในวันที่ 15 ธ.ค. ก็จะเชิญสื่อต่างประเทศ มารับฟังบรรยายสรุปเช่นเดียวกัน ที่ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สปท. เร่งทำงานกันอย่างสอดประสาน โดยเฉพาะการรายงานการปฏิรูปประเทศที่สปท. จะพิจารณาเพื่อนำเสนอต่อให้สังคมรับทราบความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ที่สปท.จะมอบให้ประชาชนทั่วประเทศต่อไป
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน 6 คณะ ว่าเป็นการ แสดงถึงความจริงใจของนายกฯที่จะเดินหน้าเรื่องการปฏิรูป เพราะจะเห็นว่านายกฯ เข้ามาเป็นประธาน และตั้งรองนายกฯ เป็นรองประธานแต่ละคณะ ซึ่งในส่วนของสปท. มีหน้าที่ศึกษา และเสนอแผนการปฏิรูปแก่ครม.เท่านั้น และหากมีเรื่องใดที่ต้องออกเป็นพ.ร.บ. ก็ต้องประสานไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อดำเนินการ โดยในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการประสานงาน(วิป) 3 ฝ่าย คือ ครม. สนช. และ สปท. มีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพูดคุยรายละเอียด หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว ว่าจะมาช่วยเหลือการปฏิรูปในรูปแบบใด
"การตั้งคณะกรรมการ 6 คณะนั้น เพราะนายกฯ ต้องการให้งานปฏิรูปเดินหน้าและจะนำไปสู่ความเป็นรูปธรรม ยอมรับว่าที่ผ่านมาในการทำงานของสปช.อาจมีข้อติดขัดบ้าง แต่ในสปท. เราไม่ได้สอบตกในการทำงาน เราทำตามแผนการปฏิรูป 1+1+18 ซึ่งหลังจากคณะกมธ.แต่ละด้านส่งรายงานปฏิรูปชุดแรกเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่ช่วง 18 เดือน หลังที่ต้องเร่งปฏิรูปในด้านต่างๆ สปท.ไม่สามารถดำเนินการปฏิรูปได้เพราะอำนาจหน้าที่อยู่ที่ ครม. ส่วนรายละเอียดต้องนำไปพูดคุยในการประชุมวิป 3 ฝ่าย" นายคำนูณ กล่าว
**กมธ.ชงแผนฏิรูปสื่อ 3 ด้าน
พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน สปท. กล่าวถึงแผนการปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน ที่จะนำเสนอต่อ สปท. ว่า มีสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
1. ด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และด้านโทรคมนาคม โดยจะเน้นเรื่องการกำกับดูแลการประกอบกิจการ ด้านสื่อสารมวลชนและสารสนเทศให้เหมาะสมกับการก้าวสู่ยุคดิจิทัล เช่น การใช้วิทยุแท็กซี่ วิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวี รวมถึงวิกฤตโครงสร้างด้านการติดต่อสื่อสาร โดยใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างแท้จริง และจะต้องพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้วย
2.ด้านสื่อออนไลน์ โดยเน้นที่ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ไปในทางที่ถูกต้อง ไม่ละเมิดกฏหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนสร้างปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ หรือสถาบันหลักของประเทศ โดยจะเน้นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลให้มากขึ้น
3. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ จะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอด้านเนื้อหาสาระ ของสื่อทุกแขนง โดยเน้นในสื่อที่มีความรับผิดชอบ มีมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งแนวทางเบื้องต้นจะต้องมีการแก้ไขพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ยกร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.....
นอกจากนี้ ทางสปท.จะได้เชิญผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน อาทิ เจ้าของสื่อ บรรณาธิการ เข้ามารับฟังการบรรยายสุรปเกี่ยวกับการทำงาน และความคืบหน้าในการทำงานของสปท. ว่าจะเป็นอย่างไร ในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ และในวันที่ 15 ธ.ค. ก็จะเชิญสื่อต่างประเทศ มารับฟังบรรยายสรุปเช่นเดียวกัน ที่ห้องสารนิเทศ อาคารรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สปท. เร่งทำงานกันอย่างสอดประสาน โดยเฉพาะการรายงานการปฏิรูปประเทศที่สปท. จะพิจารณาเพื่อนำเสนอต่อให้สังคมรับทราบความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ที่สปท.จะมอบให้ประชาชนทั่วประเทศต่อไป
นายคำนูณ ยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน 6 คณะ ว่าเป็นการ แสดงถึงความจริงใจของนายกฯที่จะเดินหน้าเรื่องการปฏิรูป เพราะจะเห็นว่านายกฯ เข้ามาเป็นประธาน และตั้งรองนายกฯ เป็นรองประธานแต่ละคณะ ซึ่งในส่วนของสปท. มีหน้าที่ศึกษา และเสนอแผนการปฏิรูปแก่ครม.เท่านั้น และหากมีเรื่องใดที่ต้องออกเป็นพ.ร.บ. ก็ต้องประสานไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อดำเนินการ โดยในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการประสานงาน(วิป) 3 ฝ่าย คือ ครม. สนช. และ สปท. มีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพูดคุยรายละเอียด หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว ว่าจะมาช่วยเหลือการปฏิรูปในรูปแบบใด
"การตั้งคณะกรรมการ 6 คณะนั้น เพราะนายกฯ ต้องการให้งานปฏิรูปเดินหน้าและจะนำไปสู่ความเป็นรูปธรรม ยอมรับว่าที่ผ่านมาในการทำงานของสปช.อาจมีข้อติดขัดบ้าง แต่ในสปท. เราไม่ได้สอบตกในการทำงาน เราทำตามแผนการปฏิรูป 1+1+18 ซึ่งหลังจากคณะกมธ.แต่ละด้านส่งรายงานปฏิรูปชุดแรกเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่ช่วง 18 เดือน หลังที่ต้องเร่งปฏิรูปในด้านต่างๆ สปท.ไม่สามารถดำเนินการปฏิรูปได้เพราะอำนาจหน้าที่อยู่ที่ ครม. ส่วนรายละเอียดต้องนำไปพูดคุยในการประชุมวิป 3 ฝ่าย" นายคำนูณ กล่าว
**กมธ.ชงแผนฏิรูปสื่อ 3 ด้าน
พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานกมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน สปท. กล่าวถึงแผนการปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน ที่จะนำเสนอต่อ สปท. ว่า มีสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
1. ด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และด้านโทรคมนาคม โดยจะเน้นเรื่องการกำกับดูแลการประกอบกิจการ ด้านสื่อสารมวลชนและสารสนเทศให้เหมาะสมกับการก้าวสู่ยุคดิจิทัล เช่น การใช้วิทยุแท็กซี่ วิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวี รวมถึงวิกฤตโครงสร้างด้านการติดต่อสื่อสาร โดยใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างแท้จริง และจะต้องพัฒนากฎหมายให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้วย
2.ด้านสื่อออนไลน์ โดยเน้นที่ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ไปในทางที่ถูกต้อง ไม่ละเมิดกฏหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนสร้างปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ หรือสถาบันหลักของประเทศ โดยจะเน้นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลให้มากขึ้น
3. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ จะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอด้านเนื้อหาสาระ ของสื่อทุกแขนง โดยเน้นในสื่อที่มีความรับผิดชอบ มีมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งแนวทางเบื้องต้นจะต้องมีการแก้ไขพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ยกร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.....