อดีต สปช.ค้านนำร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับ ของกระทรวงพลังงานเข้า ครม. ชี้เข้าทางโรดแมปกลุ่มทุนพลังงาน หวังยึดกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมต่ออีก 39 ปี พร้อมฮุบท่อก๊าซเป็นของเอกชน
เมื่อเวลา 17.09 น. วานนี้ (6ธ.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้าพลังงาน ได้โพสต์บทความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล เรื่อง "รัฐบาลคสช.โปรดหยุดเดินตามโรดแมปกลุ่มทุนพลังงาน" เพื่อแสดงความคิดเห็นคัดค้านการนำร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับ ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
น.ส.รสนา ระบุว่า ลิ่วล้อกลุ่มทุนพลังงานทั้งในและต่างชาติ พากันออกมาแถลงข่าวเร่งรัดรัฐบาลคสช.ต้องตัดสินใจผ่านร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับปะผุ ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับปะผุนี้ ไม่ได้แก้ไขให้เกิดประโยชน์กับประเทศแต่ประการใด แต่เป็นกฎหมายที่ยึดระบบสัมปทาน ที่ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมที่ค้นพบให้เป็นของเอกชน เหมือนที่เคยใช้มาเป็นเวลา 44 ปีแล้ว ยิ่งกว่านั้น กฎหมายปะผุฉบับนี้ยังเพิ่มโอกาสให้เอกชนสามารถขอสิทธิในสัมปทานครอบครองพื้นที่แบบรวดเดียว 39 ปี ดังนั้น กฎหมายปะผุฉบับนี้จึงมุ่งให้ประโยชน์บริษัทเอกชน มากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ และประชาชนเป็นหลัก
ส่วนข้อเรียกร้องของเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่ให้มีการยกร่างกฎหมายปิโตรเลียมใหม่ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่ประเทศเสียเปรียบมานาน เช่น ให้เปลี่ยน"ระบบสัมปทาน" มาเป็น"ระบบแบ่งปันผลผลิต" ที่หัวใจคือ การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมที่ค้นพบมาเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศ ในฐานะเจ้าของทรัพยากร แต่ถูกขัดขวาง และดิสเครดิตจากลิ่วล้อกลุ่มทุนพลังงาน และรัฐบาลไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงร่างกฎหมายปิโตรเลียมอย่างที่ท่านนายกฯมีบัญชาก่อนหน้านี้
แล้วจู่ๆ รมว.พลังงาน ก็ออกมาประกาศว่า "ที่ผ่านมาได้รับฟังทุกฝ่าย ทำความเข้าใจ ชี้แจงกันมาตลอด ถ้ารัฐบาลตัดสินใจอย่างไร ก็ถือว่าได้คิดดีแล้ว"
ถ้ารัฐบาลตัดสินใจตามสิ่งที่รมว.พลังงานกล่าว ก็ต้องถือว่ารัฐบาลเลือกทำตามโรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน คือ 1 ) ต้องรีบผลักดันกฎหมายปิโตรเลียมให้ผ่านเป็นกฎหมายมาใช้บังคับโดยเร็วที่สุดในยุคอำนาจพิเศษของคสช.และเป็นกฎหมายที่คงระบบสัมปทานไว้เพื่อให้กรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมยังเป็นของเอกชนต่อไปอย่างน้อย 39 ปี
2) ท่อก๊าซธรรมชาติที่ท่านนายกฯ ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า ท่อก๊าซเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นสมบัติของบริษัทเอกชน ตั้งแต่ ส.ค.57 จนบัดนี้ ยังไม่มีวี่แววจะประกาศคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาเลย เพราะอะไรกฤษฎีกาใช้เวลานานขนาดนั้น เป็นเพราะขาดประสิทธิภาพ หรือเพราะฝ่ายบริหารไม่กล้าเปิดเผยผลวินิจฉัยกันแน่ แต่ถ้ากฤษฎีกาตัดสินแล้ว แต่ผู้บริหารไม่ยอมเปิดเผย ก็ต้องขออภัยกฤษฎีกาด้วย
ดิฉันเชื่อว่าถ้ากฤษฎีกาตัดสินเป็นคุณกับบริษัทเอกชน ป่านนี้รัฐบาลคงนำผลการตัดสินมาเปิดเผยแล้ว รวมถึงรีบตั้งบริษัทแยกท่อส่งก๊าซตามข้อเสนอกลุ่มทุนพลังงานไปแล้ว ใช่หรือไม่ ?
ทรัพยากรปิโตรเลียมหากอยู่ในทะเล ก็ยังไม่มีมูลค่าจนกว่าจะนำขึ้นมา ดังนั้นท่อ ก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นอุปกรณ์หลักและสำคัญในการนำปิโตรเลียมในทะเลขึ้นมาและทำให้เกิดมูลค่า
ท่อก๊าซ คือเส้นเลือดของระบบพลังงานของประเทศ ส่วนปิโตรเลียมคือ เลือดในระบบพลังงาน ทั้งสองส่วนนี้คือระบบที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าเอกชนกินรวบทั้งเส้นเลือดและเลือดในระบบพลังงานได้เบ็ดเสร็จ คนไทยก็ต้องตกเป็นทาสของกลุ่มทุนพลังงานตลอดไป
กลุ่มทุนพลังงานนั้นเป็นผู้ประกอบการที่ต้องแสวงหาผลประโยชน์และกำไรสูงสุด แต่การมาแถลงการณ์แทรกแซงอำนาจรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศนั้น ไม่สมควร และยิ่งเป็นการไม่สมควรที่รัฐบาล คสช.จะเดินตามโรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนก็จะเกิดความคลางแคลงใจว่า รัฐบาลคสช.กำลังใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อทะลุทะลวงอุปสรรคการกินรวบประเทศไทยของกลุ่มทุนพลังงาน ซึ่งถ้ารัฐบาลคสช. เดินตามโรดแมปนี้ ท่านก็จะไม่แตกต่างจากนักการเมืองเลือกตั้งจากกลุ่มทุน ที่เคยทำความเสียหายให้กับบ้านเมืองมาแล้ว
โรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน คือการยึดทั้งทรัพยากรปิโตรเลียมผ่านกฎหมายฉบับปะผุ และยึดทั้งอุปกรณ์ผูกขาดทั้งหลาย ซึ่งขณะนี้เหลือท่อก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเสนอผ่านรัฐบาลคสช. ในการรีบจัดตั้งบริษัทท่อก๊าซขึ้นอีกบริษัทเพื่อถ่ายโอนท่อก๊าซที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปเป็นของเอกชนโดยสมบูรณ์
การที่รัฐบาล คสช.ไม่ประกาศผลการวินิจฉัยของกฤษฎีกา ว่าท่อก๊าซเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นสมบัติของบริษัทเอกชน ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงว่าท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารองค์กรที่จะรักษาสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ?
รัฐบาลผู้ใช้อำนาจรัฐแทนประชาชน ควรปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ความมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรตัวจริง การทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนหรือประชาภิบาลถือเป็นธรรมะของรัฐบาล เพราะถ้าหากรัฐบาลไม่ทำหน้าที่โดยธรรมก็จะก่อให้เกิดอธรรมขึ้นในบ้านเมือง และอาจเกิดวิกฤติตามมา จากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลนั้นเอง
รัฐบาลไม่ควรอ้างว่าเพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่ต้องฟังเสียงของประชาชน รัฐบาลอย่าลืมว่าท่านเองกำลังทำหน้าที่ทางการเมืองอยู่ เดี๋ยวนี้แม้แต่เด็กมัธยมก็ยังรู้ว่า การเมืองคือการจัดสรรผลประโยชน์และทรัพยากรแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รัฐบาลเป็นซีอีโอของประเทศไม่ใช่ซีอีโอของบริษัทจึงไม่มีหน้าที่เดินตามนโยบายของบริษัทซึ่งเขามีซีอีโอทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว
รัฐบาลไม่ว่าจะมาโดยการเลือกตั้ง หรือโดยการรัฐประหาร ต้องฟังเสียงของประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นทรัพยากรของชาติ
เพื่อยุติการโต้แย้งในเรื่องแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมอย่างเด็ดขาด ดิฉันขอเสนอให้รัฐบาลทำประชามติว่าจะรับหลักการตาม ร่างกฏหมายปิโตรเลียมของกลุ่มทุนพลังงานที่ต้องการให้กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม ยังเป็นของบริษัทเอกชนต่อไป หรือจะรับหลักการตามร่างกฎหมายของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) ที่ต้องการให้กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมกลับมาเป็นของประเทศ
รัฐบาลอย่าอ้างว่าตัวเองตัดสินใจดีแล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่า รัฐบาลจะกล้าฟังเสียงความต้องของประชาชนจริงหรือไม่ !?!
ทั้งนี้ ในวันจันทร์ ที่ 7 ธ.ค.นี้ เวลา 13.00 น. ที่โรงแรมเอเชีย จะมีการแถลงการณ์ โดยคณะบุคคล เพื่อคัดค้านกรณีที่จะนำร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.... ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพลังงาน เข้าสู่การพิจารณาของครม. และเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งยุติการพิจารณาร่างกฎหมายนี้.
เมื่อเวลา 17.09 น. วานนี้ (6ธ.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้าพลังงาน ได้โพสต์บทความในเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล เรื่อง "รัฐบาลคสช.โปรดหยุดเดินตามโรดแมปกลุ่มทุนพลังงาน" เพื่อแสดงความคิดเห็นคัดค้านการนำร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับ ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
น.ส.รสนา ระบุว่า ลิ่วล้อกลุ่มทุนพลังงานทั้งในและต่างชาติ พากันออกมาแถลงข่าวเร่งรัดรัฐบาลคสช.ต้องตัดสินใจผ่านร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับปะผุ ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับปะผุนี้ ไม่ได้แก้ไขให้เกิดประโยชน์กับประเทศแต่ประการใด แต่เป็นกฎหมายที่ยึดระบบสัมปทาน ที่ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมที่ค้นพบให้เป็นของเอกชน เหมือนที่เคยใช้มาเป็นเวลา 44 ปีแล้ว ยิ่งกว่านั้น กฎหมายปะผุฉบับนี้ยังเพิ่มโอกาสให้เอกชนสามารถขอสิทธิในสัมปทานครอบครองพื้นที่แบบรวดเดียว 39 ปี ดังนั้น กฎหมายปะผุฉบับนี้จึงมุ่งให้ประโยชน์บริษัทเอกชน มากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ และประชาชนเป็นหลัก
ส่วนข้อเรียกร้องของเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่ให้มีการยกร่างกฎหมายปิโตรเลียมใหม่ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่ประเทศเสียเปรียบมานาน เช่น ให้เปลี่ยน"ระบบสัมปทาน" มาเป็น"ระบบแบ่งปันผลผลิต" ที่หัวใจคือ การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมที่ค้นพบมาเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศ ในฐานะเจ้าของทรัพยากร แต่ถูกขัดขวาง และดิสเครดิตจากลิ่วล้อกลุ่มทุนพลังงาน และรัฐบาลไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงร่างกฎหมายปิโตรเลียมอย่างที่ท่านนายกฯมีบัญชาก่อนหน้านี้
แล้วจู่ๆ รมว.พลังงาน ก็ออกมาประกาศว่า "ที่ผ่านมาได้รับฟังทุกฝ่าย ทำความเข้าใจ ชี้แจงกันมาตลอด ถ้ารัฐบาลตัดสินใจอย่างไร ก็ถือว่าได้คิดดีแล้ว"
ถ้ารัฐบาลตัดสินใจตามสิ่งที่รมว.พลังงานกล่าว ก็ต้องถือว่ารัฐบาลเลือกทำตามโรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน คือ 1 ) ต้องรีบผลักดันกฎหมายปิโตรเลียมให้ผ่านเป็นกฎหมายมาใช้บังคับโดยเร็วที่สุดในยุคอำนาจพิเศษของคสช.และเป็นกฎหมายที่คงระบบสัมปทานไว้เพื่อให้กรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมยังเป็นของเอกชนต่อไปอย่างน้อย 39 ปี
2) ท่อก๊าซธรรมชาติที่ท่านนายกฯ ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า ท่อก๊าซเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นสมบัติของบริษัทเอกชน ตั้งแต่ ส.ค.57 จนบัดนี้ ยังไม่มีวี่แววจะประกาศคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาเลย เพราะอะไรกฤษฎีกาใช้เวลานานขนาดนั้น เป็นเพราะขาดประสิทธิภาพ หรือเพราะฝ่ายบริหารไม่กล้าเปิดเผยผลวินิจฉัยกันแน่ แต่ถ้ากฤษฎีกาตัดสินแล้ว แต่ผู้บริหารไม่ยอมเปิดเผย ก็ต้องขออภัยกฤษฎีกาด้วย
ดิฉันเชื่อว่าถ้ากฤษฎีกาตัดสินเป็นคุณกับบริษัทเอกชน ป่านนี้รัฐบาลคงนำผลการตัดสินมาเปิดเผยแล้ว รวมถึงรีบตั้งบริษัทแยกท่อส่งก๊าซตามข้อเสนอกลุ่มทุนพลังงานไปแล้ว ใช่หรือไม่ ?
ทรัพยากรปิโตรเลียมหากอยู่ในทะเล ก็ยังไม่มีมูลค่าจนกว่าจะนำขึ้นมา ดังนั้นท่อ ก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นอุปกรณ์หลักและสำคัญในการนำปิโตรเลียมในทะเลขึ้นมาและทำให้เกิดมูลค่า
ท่อก๊าซ คือเส้นเลือดของระบบพลังงานของประเทศ ส่วนปิโตรเลียมคือ เลือดในระบบพลังงาน ทั้งสองส่วนนี้คือระบบที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าเอกชนกินรวบทั้งเส้นเลือดและเลือดในระบบพลังงานได้เบ็ดเสร็จ คนไทยก็ต้องตกเป็นทาสของกลุ่มทุนพลังงานตลอดไป
กลุ่มทุนพลังงานนั้นเป็นผู้ประกอบการที่ต้องแสวงหาผลประโยชน์และกำไรสูงสุด แต่การมาแถลงการณ์แทรกแซงอำนาจรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศนั้น ไม่สมควร และยิ่งเป็นการไม่สมควรที่รัฐบาล คสช.จะเดินตามโรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนก็จะเกิดความคลางแคลงใจว่า รัฐบาลคสช.กำลังใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อทะลุทะลวงอุปสรรคการกินรวบประเทศไทยของกลุ่มทุนพลังงาน ซึ่งถ้ารัฐบาลคสช. เดินตามโรดแมปนี้ ท่านก็จะไม่แตกต่างจากนักการเมืองเลือกตั้งจากกลุ่มทุน ที่เคยทำความเสียหายให้กับบ้านเมืองมาแล้ว
โรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน คือการยึดทั้งทรัพยากรปิโตรเลียมผ่านกฎหมายฉบับปะผุ และยึดทั้งอุปกรณ์ผูกขาดทั้งหลาย ซึ่งขณะนี้เหลือท่อก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเสนอผ่านรัฐบาลคสช. ในการรีบจัดตั้งบริษัทท่อก๊าซขึ้นอีกบริษัทเพื่อถ่ายโอนท่อก๊าซที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปเป็นของเอกชนโดยสมบูรณ์
การที่รัฐบาล คสช.ไม่ประกาศผลการวินิจฉัยของกฤษฎีกา ว่าท่อก๊าซเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นสมบัติของบริษัทเอกชน ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงว่าท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารองค์กรที่จะรักษาสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ?
รัฐบาลผู้ใช้อำนาจรัฐแทนประชาชน ควรปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ความมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรตัวจริง การทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนหรือประชาภิบาลถือเป็นธรรมะของรัฐบาล เพราะถ้าหากรัฐบาลไม่ทำหน้าที่โดยธรรมก็จะก่อให้เกิดอธรรมขึ้นในบ้านเมือง และอาจเกิดวิกฤติตามมา จากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลนั้นเอง
รัฐบาลไม่ควรอ้างว่าเพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่ต้องฟังเสียงของประชาชน รัฐบาลอย่าลืมว่าท่านเองกำลังทำหน้าที่ทางการเมืองอยู่ เดี๋ยวนี้แม้แต่เด็กมัธยมก็ยังรู้ว่า การเมืองคือการจัดสรรผลประโยชน์และทรัพยากรแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รัฐบาลเป็นซีอีโอของประเทศไม่ใช่ซีอีโอของบริษัทจึงไม่มีหน้าที่เดินตามนโยบายของบริษัทซึ่งเขามีซีอีโอทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว
รัฐบาลไม่ว่าจะมาโดยการเลือกตั้ง หรือโดยการรัฐประหาร ต้องฟังเสียงของประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นทรัพยากรของชาติ
เพื่อยุติการโต้แย้งในเรื่องแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมอย่างเด็ดขาด ดิฉันขอเสนอให้รัฐบาลทำประชามติว่าจะรับหลักการตาม ร่างกฏหมายปิโตรเลียมของกลุ่มทุนพลังงานที่ต้องการให้กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม ยังเป็นของบริษัทเอกชนต่อไป หรือจะรับหลักการตามร่างกฎหมายของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) ที่ต้องการให้กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมกลับมาเป็นของประเทศ
รัฐบาลอย่าอ้างว่าตัวเองตัดสินใจดีแล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่า รัฐบาลจะกล้าฟังเสียงความต้องของประชาชนจริงหรือไม่ !?!
ทั้งนี้ ในวันจันทร์ ที่ 7 ธ.ค.นี้ เวลา 13.00 น. ที่โรงแรมเอเชีย จะมีการแถลงการณ์ โดยคณะบุคคล เพื่อคัดค้านกรณีที่จะนำร่างแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.... และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.... ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพลังงาน เข้าสู่การพิจารณาของครม. และเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งยุติการพิจารณาร่างกฎหมายนี้.