เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (30พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการดำเนินการเรียกรับผิดโครงการรับจำนำข้าว รัฐบาลน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในส่วนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และกำหนดค่าความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว กระทรวงการคลังว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ของกระทรวงการคลัง ได้ขยายเวลาต่อไปอีก 30 วัน เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหา ขอยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม ซึ่งนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรว่า ได้ทราบจากข่าว เป็นเพียงแค่คำปรารภ ยังไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการ ขอให้กรมสรรพากร รับไปดู และให้ความเห็นเบื้องต้นมาก่อน เรื่องดังกล่าวก็เป็นเรื่องตามกฎหมาย ทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพียงแต่การจัดการจะทำได้มากน้อยเพียงใด ขอให้กรมสรรพากรบอกมาอีกที
เมื่อถามว่า แต่กระทรวงการคลังปรับฐานภาษี ยังมีปัญหาอยู่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นหน้าที่กระทรวงการคลัง ในการหาเงินเข้าแผ่นดิน ที่จำเป็นต้องคิดหลายอย่าง ทางไหนหาเงินเข้าแผ่นดินได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องทำเหมือนกับจะช่วยบางคน แต่ในระยะยาว คือได้เงินแผ่นดินเข้ามา ก็ขอให้เขาไปคิดก่อน
**"วิษณุ"รอดูกรอบปฏิรูป สปท.
นอกจากนี้ นายวิษณุ ได้กล่าวถึงการรวบรวมความเห็น เรื่องการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ว่า รัฐบาลจะรอให้ สปท. รวบรวมความคิดเห็นก่อน คาดว่าจะเป็นช่วง วันที่ 9-10 ธ.ค. จากนั้นรัฐบาลจะเอามาดู และจะบอกว่ามีอะไรบ้างที่ควรเพิ่มเติม ถ้าตรงกันแล้วก็จบไป จากนั้นคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบ รัฐบาล สปท. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะร่วมกันนำข้อมูลมาดูว่า ใครจะรับเรื่องอะไรไปทำ รัฐบาลก็เตรียมของรัฐบาลในส่วนที่จะปฏิรูปไม่ต้องส่งไปให้เขา สำหรับการปฏิรูปอย่าไปคิดว่าต้องเสร็จ ที่สำคัญคือ ต้องเริ่ม เพราะอาจจะติดขัดติดปัญหา
เรื่องทัศนคติของคนที่จะได้รับผลกระทบ การออกกฎหมาย เงิน และคนที่มีความรู้ที่จะมานั่งทำเรื่องอย่างนี้ ดังนั้นการปฏิรูปสามารถฝันได้เยอะ แต่ถามว่าใครจะเป็นคนทำ ซึ่งสุดท้ายเราต้องทำกันเอง อาจใช้เวลาอยู่บ้าง
สำหรับข้อเสนอแนะการร่างรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลจะส่งให้กับกรรมาการร่างรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่า จะส่งให้ช่วงเดือนมกราคม 2559 ภายหลังจากที่ได้ฟังความเห็นจาก กรธ. ทั้งหมดแล้ว และเมื่อเห็นภาพรวมทั้งหมดว่ามีอะไรบ้างที่ไม่ดี และควรแก้เสียใหม่ก็ค่อยเสนอแนะไป ขณะนี้ใครฝันอะไรก็บอกเขาไป ส่วนความในใจของรัฐบาลที่มีอยู่เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับภาระการบริหารราชการแผ่นดินทุกสมัย ไม่ใช่เรื่องการเมือง เลือกตั้งแบบไหน เพราะการเป็นรัฐบาลมีภาระมีอุปสรรค เช่น มาตรา 190 เดิม ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการทำสนธิสัญญา
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรว่า ได้ทราบจากข่าว เป็นเพียงแค่คำปรารภ ยังไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการ ขอให้กรมสรรพากร รับไปดู และให้ความเห็นเบื้องต้นมาก่อน เรื่องดังกล่าวก็เป็นเรื่องตามกฎหมาย ทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพียงแต่การจัดการจะทำได้มากน้อยเพียงใด ขอให้กรมสรรพากรบอกมาอีกที
เมื่อถามว่า แต่กระทรวงการคลังปรับฐานภาษี ยังมีปัญหาอยู่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นหน้าที่กระทรวงการคลัง ในการหาเงินเข้าแผ่นดิน ที่จำเป็นต้องคิดหลายอย่าง ทางไหนหาเงินเข้าแผ่นดินได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องทำเหมือนกับจะช่วยบางคน แต่ในระยะยาว คือได้เงินแผ่นดินเข้ามา ก็ขอให้เขาไปคิดก่อน
**"วิษณุ"รอดูกรอบปฏิรูป สปท.
นอกจากนี้ นายวิษณุ ได้กล่าวถึงการรวบรวมความเห็น เรื่องการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ว่า รัฐบาลจะรอให้ สปท. รวบรวมความคิดเห็นก่อน คาดว่าจะเป็นช่วง วันที่ 9-10 ธ.ค. จากนั้นรัฐบาลจะเอามาดู และจะบอกว่ามีอะไรบ้างที่ควรเพิ่มเติม ถ้าตรงกันแล้วก็จบไป จากนั้นคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบ รัฐบาล สปท. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะร่วมกันนำข้อมูลมาดูว่า ใครจะรับเรื่องอะไรไปทำ รัฐบาลก็เตรียมของรัฐบาลในส่วนที่จะปฏิรูปไม่ต้องส่งไปให้เขา สำหรับการปฏิรูปอย่าไปคิดว่าต้องเสร็จ ที่สำคัญคือ ต้องเริ่ม เพราะอาจจะติดขัดติดปัญหา
เรื่องทัศนคติของคนที่จะได้รับผลกระทบ การออกกฎหมาย เงิน และคนที่มีความรู้ที่จะมานั่งทำเรื่องอย่างนี้ ดังนั้นการปฏิรูปสามารถฝันได้เยอะ แต่ถามว่าใครจะเป็นคนทำ ซึ่งสุดท้ายเราต้องทำกันเอง อาจใช้เวลาอยู่บ้าง
สำหรับข้อเสนอแนะการร่างรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลจะส่งให้กับกรรมาการร่างรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่า จะส่งให้ช่วงเดือนมกราคม 2559 ภายหลังจากที่ได้ฟังความเห็นจาก กรธ. ทั้งหมดแล้ว และเมื่อเห็นภาพรวมทั้งหมดว่ามีอะไรบ้างที่ไม่ดี และควรแก้เสียใหม่ก็ค่อยเสนอแนะไป ขณะนี้ใครฝันอะไรก็บอกเขาไป ส่วนความในใจของรัฐบาลที่มีอยู่เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับภาระการบริหารราชการแผ่นดินทุกสมัย ไม่ใช่เรื่องการเมือง เลือกตั้งแบบไหน เพราะการเป็นรัฐบาลมีภาระมีอุปสรรค เช่น มาตรา 190 เดิม ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการทำสนธิสัญญา