ศาลฎีกาออกหมายจับ 2 ผู้บริหารบลิสเชอร์ฉ้อโกงหลอกสมาชิกซื้อทัวร์ฟรี ชี้ฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกา ให้บังคับคดีตามศาลอุทธรณ์ จำคุกคนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุกจำเลยคนละ 20 ปี
ที่ห้องพิจารณา 709 ศาลอาญา วันนี้ (23 พ.ย.) ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ ด.4756/2537 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัทฯ น.ส.ปัรจวรรณ เบญจมาศมงคล อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทฯและผู้ถือหุ้น นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทฯและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และนายอรรณพ หรืออาร์ต กุลเสวตร์ อดีต ผู้จัดการสาขาศูนย์สีลม เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4, 5, 12, 15
คดีนี้ อัยการโจทก์ยื่นฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2534 ถึง 11 ก.พ. 2537 บ.บลิสเชอร์ฯ ประกอบธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือไทม์แชริ่ง โฆษณาชักชวนประชาชนให้สมัครสมาชิกใช้บริการที่พักฟรีตามสถานที่พักตากอากาศ หรือโรงแรมที่บริษัทฯ จำเลยจัดไว้ เป็นเวลา 4 วัน 4 คืนต่อปี หรือฟรีโฟร์ นาน 20 ปี มีรูปแบบการสมัครสมาชิกเป็นรูปแบบบัตรทอง และบัตรเงิน โดยบัตรเงิน จ่ายค่าสมาชิกปีละ 30,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 2,500 บาท และบัตรทอง จ่ายค่าสมาชิก 60,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 4,500 บาท หากสมาชิกรายใดจะสมัครเป็นฝ่ายขายต่อจะต้องเสียค่าสมัครเพิ่ม 1,500 บาทต่อปี และหากหาสมาชิกได้จะได้ค่านายหน้าเพิ่มรายละ5,000บาท มีผู้เสียหายหลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิก 24,189 ราย มูลค่าความเสียหาย 826,266,000 บาท ต่อมากระทรวงการคลังพบว่า จำเลยไม่อาจดำเนินการซื้อขายสินค้าตามที่ประกาศได้ เพราะไม่มีสินค้าให้ไปขายจริง และให้ค่าตอบแทนในวิธีฟรีโฟร์ คิดแล้วสูงกว่าดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการประกอบกิจการจริง อันเป็นการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน จำเลยให้การปฏิเสธ
โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืน ให้จำคุก น.ส.อังสุนีย์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, นายแสงทอง อดีตผู้ก่อตั้งบริษัท และนายอรรณพ อดีต ผจก.สาขาศูนย์สีลม จำเลยที่ 2, 4, 5 ฐานฉ้อโกงประชาชน คนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกจำเลยที่ 2,4 และ 5 ไว้คนละ 20 ปี
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพวกจำเลยไม่ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บลิสเซอร์ และเห็นว่าบริษัทไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะแชร์ลูกโซ่ โดยไม่ทราบว่าบริษัทมีการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งคำร้องฎีกาของจำเลยเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ซึ่งต้องห้ามฎีกา ส่วนที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่าคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตกไป ทำให้คำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 4 ตกไปด้วย ก็ไม่เป็นสาระแห่งการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เมื่อฎีกาของจำเลยที่ 2 และ 4 ต้องห้ามฎีกา จึงให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกจำเลยคนละ 20 ปี และให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสองเพื่อบังคับคดีตามศาลอุทธรณ์
ที่ห้องพิจารณา 709 ศาลอาญา วันนี้ (23 พ.ย.) ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ ด.4756/2537 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัทฯ น.ส.ปัรจวรรณ เบญจมาศมงคล อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทฯและผู้ถือหุ้น นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทฯและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และนายอรรณพ หรืออาร์ต กุลเสวตร์ อดีต ผู้จัดการสาขาศูนย์สีลม เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4, 5, 12, 15
คดีนี้ อัยการโจทก์ยื่นฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2534 ถึง 11 ก.พ. 2537 บ.บลิสเชอร์ฯ ประกอบธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือไทม์แชริ่ง โฆษณาชักชวนประชาชนให้สมัครสมาชิกใช้บริการที่พักฟรีตามสถานที่พักตากอากาศ หรือโรงแรมที่บริษัทฯ จำเลยจัดไว้ เป็นเวลา 4 วัน 4 คืนต่อปี หรือฟรีโฟร์ นาน 20 ปี มีรูปแบบการสมัครสมาชิกเป็นรูปแบบบัตรทอง และบัตรเงิน โดยบัตรเงิน จ่ายค่าสมาชิกปีละ 30,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 2,500 บาท และบัตรทอง จ่ายค่าสมาชิก 60,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 4,500 บาท หากสมาชิกรายใดจะสมัครเป็นฝ่ายขายต่อจะต้องเสียค่าสมัครเพิ่ม 1,500 บาทต่อปี และหากหาสมาชิกได้จะได้ค่านายหน้าเพิ่มรายละ5,000บาท มีผู้เสียหายหลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิก 24,189 ราย มูลค่าความเสียหาย 826,266,000 บาท ต่อมากระทรวงการคลังพบว่า จำเลยไม่อาจดำเนินการซื้อขายสินค้าตามที่ประกาศได้ เพราะไม่มีสินค้าให้ไปขายจริง และให้ค่าตอบแทนในวิธีฟรีโฟร์ คิดแล้วสูงกว่าดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการประกอบกิจการจริง อันเป็นการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน จำเลยให้การปฏิเสธ
โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืน ให้จำคุก น.ส.อังสุนีย์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, นายแสงทอง อดีตผู้ก่อตั้งบริษัท และนายอรรณพ อดีต ผจก.สาขาศูนย์สีลม จำเลยที่ 2, 4, 5 ฐานฉ้อโกงประชาชน คนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกจำเลยที่ 2,4 และ 5 ไว้คนละ 20 ปี
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพวกจำเลยไม่ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บลิสเซอร์ และเห็นว่าบริษัทไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะแชร์ลูกโซ่ โดยไม่ทราบว่าบริษัทมีการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งคำร้องฎีกาของจำเลยเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ซึ่งต้องห้ามฎีกา ส่วนที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่าคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตกไป ทำให้คำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 4 ตกไปด้วย ก็ไม่เป็นสาระแห่งการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เมื่อฎีกาของจำเลยที่ 2 และ 4 ต้องห้ามฎีกา จึงให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกจำเลยคนละ 20 ปี และให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสองเพื่อบังคับคดีตามศาลอุทธรณ์