วานนี้ (23 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.ยงยศ เทียมประชา อดีตสารวัตรสอบสวน ทำหน้าที่สืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดสตูล ได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากผู้สื่อข่าวว่า เมื่อปี 2535 ขณะรับราชการที่ สภ.อ.สตูลได้รับคำสั่งจาก ผบช.ภ.4 ให้เข้าสืบสวนจับกุมผู้ลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนข้ามชาติรายใหญ่ในจ.สตูล โดยได้ทำการจับกุมเรือบรรทุกน้ำมันเถื่อน จำนวน 37,800 ลิตร ได้ยึดเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำ คือเรือ "ลักษมี" และเรือ"ฮะเฮง" พร้อมรถบรรทุกน้ำมัน 6 ล้อ อีก 1 คัน พร้อมเครื่องดูดน้ำมันจากในเรือใส่รถบรรทุก และจับกุมได้ผู้ต้องหาอีก 2 คน สำหรับเรือน้ำมันเถื่อน เป็นของนายทุน นักการเมือง รายใหญ่ใน จ.สตูล
พ.ต.ท.ยงยศ เปิดเผยต่อว่า หลังจากที่ได้นำของกลาง พร้อมผู้ต้องหา ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งร้อยเวรเจ้าของคดีในขณะนั้นคือพ.ต.ต.ประวีณ พงษ์ศิรินทร์ สสว.สภ.อ.สตูล ส่วนของกลางที่เป็นเรือ และน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งด่านศุลกากรจังหวัดสตูล เป็นผู้เก็บรักษาเนื่องจากเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
หลังจากนั้นนายทุน เจ้าของเรือได้แจ้งความดำเนินคดีกับตน และลูกน้อง ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยนายทุนนักการเมืองอ้างว่า น้ำมันที่ตนเองจับกุม เป็นน้ำมันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ตนต้องเสียเวลาในการต่อสู้คดีกับนายทุนดังกล่าว รวมทั้งข้าราชการบางคน ที่มีผลประโยชน์ในการค้าของผิดกฎหมายกับนายทุนคนดังกล่าว ซึ่งตนใช้เวลาในการต่อสู้คดี จากปี 2535 จนถึง ปี 2542 ศาลฎีกาได้พิพากษาตามคำพิพากษาที่ 8857,8858/2542 ให้ตนเองเป็นผู้ชนะคดี และให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489
พ.ต.ท.ยงยศ เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเป็นที่เด็ดขาดแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งศุลกากร ไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งของศาลฎีกาในเรื่องการจ่ายบำเหน็จในการปราบปรามตาม พ.ร.บ. 2489 แต่อย่างใด ซึ่งใน พ.ร.บ.ดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศุลกากร จะต้องขายของกลาง และนำเงินของกลางให้กับรัฐ และตนก็จะได้รับบำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดจากศาล
ต่อมา เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.53 ตนได้ทำหนังสือสอบถามไปยังด่านศุลกากรจังหวัดสตูล เพื่อขอทราบความคืบหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรจังหวัดสตูล ได้ตอบหนังสือมาว่า ให้ตนเองทำการสละสิทธิ์ในการรับเงินบำเหน็จแก่ผู้ปราบปรามการกระทำผิด ตามมาตรา 2489 เพื่อมารับบำเหน็จตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 แทน ซึ่งตนได้ปฏิเสธว่า ตนขอยืนยันที่จะรับเงินบำเหน็จฯตาม พ.ร.บ. 2489 ตามคำสั่งของศาลฎีกาเท่านั้น เพราะตนต้องการให้มีการนำเงินจากการจำหน่ายของกลางเข้าหลวงก่อนที่ตนจะขอรับบำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด แต่จนถึงบัดนี้ หลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศุลกากรจังหวัดสตูล ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลฎีกา แต่อย่างใด
พ.ต.ท.ยงยศ กล่าวว่า ตนต่อสู้เพื่อความถูกต้องของกฎหมาย และเพื่อความเป็นธรรมของตนเอง จนเกษียณอายุราชการ แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะนี้นอกจากร้องขอความเป็นธรรมผ่านสื่อมวลชนแล้ว ตนได้ทำหนังสือถึงหัวหน้าคสช.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และศุลกากรจังหวัดสตูล ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ซึ่งตามกฎหมายการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกา เป็นความผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 40 และกฎหมายอาญา มาตราที่ 203 ตนต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม จนสามารถชนะคดีตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงศาลฎีกา แต่สุดท้ายเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทำตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ตนเองจึงหวังที่จะขอความเป็นธรรมจาก หัวหน้า คสช.ในการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายในครั้งนี้
พ.ต.ท.ยงยศ เปิดเผยต่อว่า หลังจากที่ได้นำของกลาง พร้อมผู้ต้องหา ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งร้อยเวรเจ้าของคดีในขณะนั้นคือพ.ต.ต.ประวีณ พงษ์ศิรินทร์ สสว.สภ.อ.สตูล ส่วนของกลางที่เป็นเรือ และน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งด่านศุลกากรจังหวัดสตูล เป็นผู้เก็บรักษาเนื่องจากเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
หลังจากนั้นนายทุน เจ้าของเรือได้แจ้งความดำเนินคดีกับตน และลูกน้อง ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยนายทุนนักการเมืองอ้างว่า น้ำมันที่ตนเองจับกุม เป็นน้ำมันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ตนต้องเสียเวลาในการต่อสู้คดีกับนายทุนดังกล่าว รวมทั้งข้าราชการบางคน ที่มีผลประโยชน์ในการค้าของผิดกฎหมายกับนายทุนคนดังกล่าว ซึ่งตนใช้เวลาในการต่อสู้คดี จากปี 2535 จนถึง ปี 2542 ศาลฎีกาได้พิพากษาตามคำพิพากษาที่ 8857,8858/2542 ให้ตนเองเป็นผู้ชนะคดี และให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489
พ.ต.ท.ยงยศ เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเป็นที่เด็ดขาดแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งศุลกากร ไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งของศาลฎีกาในเรื่องการจ่ายบำเหน็จในการปราบปรามตาม พ.ร.บ. 2489 แต่อย่างใด ซึ่งใน พ.ร.บ.ดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศุลกากร จะต้องขายของกลาง และนำเงินของกลางให้กับรัฐ และตนก็จะได้รับบำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดจากศาล
ต่อมา เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.53 ตนได้ทำหนังสือสอบถามไปยังด่านศุลกากรจังหวัดสตูล เพื่อขอทราบความคืบหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรจังหวัดสตูล ได้ตอบหนังสือมาว่า ให้ตนเองทำการสละสิทธิ์ในการรับเงินบำเหน็จแก่ผู้ปราบปรามการกระทำผิด ตามมาตรา 2489 เพื่อมารับบำเหน็จตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 แทน ซึ่งตนได้ปฏิเสธว่า ตนขอยืนยันที่จะรับเงินบำเหน็จฯตาม พ.ร.บ. 2489 ตามคำสั่งของศาลฎีกาเท่านั้น เพราะตนต้องการให้มีการนำเงินจากการจำหน่ายของกลางเข้าหลวงก่อนที่ตนจะขอรับบำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด แต่จนถึงบัดนี้ หลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศุลกากรจังหวัดสตูล ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลฎีกา แต่อย่างใด
พ.ต.ท.ยงยศ กล่าวว่า ตนต่อสู้เพื่อความถูกต้องของกฎหมาย และเพื่อความเป็นธรรมของตนเอง จนเกษียณอายุราชการ แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะนี้นอกจากร้องขอความเป็นธรรมผ่านสื่อมวลชนแล้ว ตนได้ทำหนังสือถึงหัวหน้าคสช.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และศุลกากรจังหวัดสตูล ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ซึ่งตามกฎหมายการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกา เป็นความผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 40 และกฎหมายอาญา มาตราที่ 203 ตนต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม จนสามารถชนะคดีตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงศาลฎีกา แต่สุดท้ายเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทำตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ตนเองจึงหวังที่จะขอความเป็นธรรมจาก หัวหน้า คสช.ในการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายในครั้งนี้