xs
xsm
sm
md
lg

โรคพยาธิตืดหมัดในสุนัข และแมว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พยาธิตืดหมัดตัวเต็มวัย
สพ.ญ. ดวงกมล สุระเรืองชัย (สพ.บ.,วท.ม.)
ฝ่ายวิชาการ แผนกผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง
บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด

โรคพยาธิตืดหมัดในสุนัข และแมว ติดต่อได้อย่างไร

สุนัข หรือ แมว ติดต่อได้โดยการเลีย หรือกิน “หมัด” ที่มีตัวอ่อนพยาธิระยะติดต่อ หรือที่เรียกว่า cysticercoid เข้าไปโดยบังเอิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมวที่มีนิสัยชอบ ทำความสะอาดตัวเองอยู่เป็นประจำ ลักษณะของลิ้นแมวเอง ค่อนข้างหยาบ และสาก ทำให้ง่ายต่อการเลียเอาตัวแก่ของหมัดเข้าไป เราจึงมักพบพยาธิชนิดนี้ ในแมวอยู่เสมอ
 

ปล้องแก่ของพยาธิตืดหมัด เมื่อแตกออกจะมีไข่พยาธิอยู่ เป็นจำนวนมาก ตัวอ่อนหมัด ที่รูปร่างคล้ายหนอน จะอาศัยอยู่ตามสิ่งแวดล้อม และกินอุจจาระของหมัดตัวแก่ เป็นอาหาร รวมถึงกินเศษรังแค เซลล์ผิวที่ตายแล้วของสุนัข และแมว ที่ร่วงหล่นอยู่ และอาจกินไข่ของพยาธิตัวตืดที่พบปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมเข้าไป ไข่ของพยาธิ จะฟักเป็นตัว และพัฒนาเป็นตัวอ่อน ระยะติดต่อในตัวหมัด (metacestode stage) เมื่อสัตว์เลี้ยงเลียหมัดเข้าไป พยาธิจะพัฒนาต่อ เป็นตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของสัตว์เลี้ยง พยาธิตัวเต็มวัย มีความยาวได้ถึง 2 ฟุต ปล้องแก่ของพยาธิ จะแยกตัวออกมาจากตัวพยาธิ และเคลื่อนตัวมายังรูทวาร ปะปนออกมากับอุจจาระภายใน 1 เดือนหลังจากที่สุนัข หรือแมวได้รับพยาธิเข้าไป

ในกรณีที่ติดพยาธิจำนวนไม่มาก สัตว์เลี้ยงบางตัว อาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่ในบางตัว อาจมีภาวะขาดสารอาหาร และแสดงอาการไถก้นเนื่องจากมีอาการคัน ในกรณีที่ติดพยาธิ เป็นจำนวนมาก สัตว์จะโตช้า บางตัวมีอาการท้องเสีย สลับกับท้องผูก ขนหยาบสากแห้ง เนื่องจากถูกแย่งสารอาหาร

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)

กำลังโหลดความคิดเห็น