1. กล่าวนำ
เนื่องจากสำนัก (หรือนิตยสาร) จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก Times Higher Education (Magazine) ของอังกฤษ ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี 2015-2016 (Times Higher Education World University Rankings 2015-2016) โดยระบุว่า มหาวิทยาลัยCalifornia Institute of Tech(U.S.A.)ได้รับการจัดอยู่ในอันดับที่ 1, อันดับที่ 2 คือ University of Oxford (U.K.) และอันดับที่ 3 คือ Stanford University(U.S.A.)
สำหรับในเอเชีย มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือ University of Tokyo ของญี่ปุ่นได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ส่วนมหาวิทยาลัยของไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 501-600 และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ติดอันดับได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ในอันดับที่ 601-800 (สรุปข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ ประจำวันที่ 15 ต.ค. 2558)
คนไทยบางคนที่อ่านข่าวนี้แล้วอาจเชื่อถือตามประกาศของ Times Higher Education (Magazine) แต่ผู้เขียนเองกลับรู้สึกประหลาดใจ รู้สึกสงสัย และไม่เชื่อถือต่อผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามประกาศนี้แต่อย่างใด โดยขอแสดงความคิดเห็นมาในบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจติดตามในเรื่องนี้ได้ช่วยกันพิจารณาและตรวจสอบกันอีกครั้งหนึ่ง
2. ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกระหว่างปี 2015-2016 ขององค์กรต่างๆ
2.1 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings 2015/16(บริษัท QS)1
ตารางที่ 1 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
ตารางที่ 2 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย
ตารางที่ 3 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์
ตารางที่ 4 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์
ตารางที่ 5 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย
1ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-universityrankings/2014#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=
คำอธิบายตารางที่ 1-5: ตัวเลข ในแนวตั้งซ้ายมือสุด คือ อันดับที่ และตัวเลขถัดมา คือ คะแนนที่ได้รับจากการประเมินของ QS World University Rankings(บริษัท QS)
2.2 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก The Times Higher Education World University Rankings 2015/16 ของ Times Higher Education Magazine
ตารางที่ 6 World University Rankings 2015-2016: top 102
2https://www.timeshighereducation.com/news/world-university-rankings-2015-2016-results-announced
3https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2016/world-ranking#!/page/0/length/25
2.3 มหาวิทยาลัยในเอเชียที่อยู่ในอันดับโลกของ US.News Ranking4
2.4 ความเป็นมาโดยสังเขปเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกได้มีการจัดทำขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีก่อนโดยหนังสือพิมพ์ US.News & World Report ซึ่งมักรู้จักกันในหัวข้อข่าวว่า US. News Ranking หรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของ US. News & World Report หลังจากนั้นในปี 2004 Times Higher Education–QS World University Rankings ได้เริ่มจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยโลกเผยแพร่สู่สาธารณชนทั่วไป
ต่อมา Times Higher Education และบริษัท QS ได้แยกกิจการออกจากกัน และในปี 2011 QS ก็ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ QS เอง โดยออกเผยแพร่ในชื่อ QS World University Rankings ส่วน Times Higher Education Magazine (ซึ่งเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ที่พิมพ์เผยแพร่ในอังกฤษ) ก็ยังคงจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยในชื่อ The Times Higher Education World University Rankings ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ (สรุปจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Times_Higher_Education)
อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาถึงระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำแล้ว จะพบว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ US.News & World Report จะมีประสบการณ์เป็นเวลายาวนาน และมีข้อมูลสะสมที่สนับสนุนการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยมากกว่าองค์กรอื่น เนื่องจากได้ดำเนินการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัย US.News Ranking มาก่อนการจัดอันดับของ QS World University Rankings และของ The Times Higher Education World University Rankings เป็นเวลานานหลายสิบปี
3. การเปรียบเทียบอันดับมหาวิทยาลัยไทยในมหาวิทยาลัยโลก
จากตารางที่ 8 จะพบว่า Times Higher Education Magazine ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยให้ จุฬาฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, สงขลา และสุรนารี อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือ อยู่ในกลุ่มอันดับที่ 601 – 800 นั่นหมายความว่า Times Higher Education Magazine อาจไม่ได้ให้ความสำคัญ และอาจไม่ได้พิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอย่างละเอียด เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่มหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง จะอยู่ในกลุ่มอันดับเดียวกัน เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยย่อมมีคุณลักษณะ และองค์ประกอบต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น บางสถาบันจะเน้นหนักในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง, บางสถาบันจะมีหลากหลายสาขาวิชา, จำนวนอาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการในสาขาต่างๆ, ผลงานการค้นคว้าวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ, ความนิยมในการสมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาต่างๆ ของสถาบัน, ความก้าวหน้าหรือตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรที่จบการศึกษาจากสถาบัน และโครงการวิจัยต่างๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน เป็นต้น
4. ความคิดเห็นต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education Magazine
เมื่อทราบผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education จากสื่อสิ่งพิมพ์ไทยบางฉบับ ผู้เขียนก็รู้สึกประหลาดใจ รู้สึกสงสัย และไม่เชื่อถือต่อการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดังกล่าวแต่อย่างใด
4.1 ความรู้สึกประหลาดใจ (1) ก็คือ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและผลิตบุคลากรที่มีชื่อเสียงมากมาย แต่กลับไม่ได้รับการจัดให้อยู่(แม้)ในอันดับที่ต่ำที่สุดคือ อันดับที่ 601-800 (ดูในตารางที่ 8) ซึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าอันดับที่ต่ำที่สุดนั่นเอง
4.2 ความรู้สึกสงสัย (2) ก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 601-800 ซึ่งค่อนข้างต่ำกว่าที่คาดไว้มาก ไม่เพียงเท่านั้นจุฬาฯ ยังถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าทั้งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย ในกรณีที่จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยมหิดลยังพอมีเหตุผลที่พอรับฟังได้บ้าง เพราะมหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะแพทยศาสตร์ถึง 2 คณะคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์แผนปัจจุบันแห่งแรกของประเทศไทยได้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นจำนวนมาก ได้สร้างผลงานการรักษาโรคต่างๆ มากมาย และยังมีรายงานการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ออกเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก
ส่วนกรณีที่จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าเชียงใหม่ คาดว่าคงเรียงตามตัวอักษร แต่ถ้าไม่ใช่ตามที่คาด ก็น่าเชื่อว่า Times Higher Education Magazine ไม่เพียงไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาในสาขาอื่นๆ ของจุฬาฯ เท่านั้น แต่ยังอาจไม่ได้นำเอาปัจจัยสำคัญอื่นๆ ของจุฬาฯ มาทำการพิจารณาอีกด้วย ถ้าจะใช้ภาษาทางการวิจัยก็คือ คงไม่ได้นำตัวแปร (Variables) ที่สำคัญอื่นๆ มาพิจารณาในตัวแบบการประเมิน (Model) หรืออาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนนั่นเอง เช่น ข้อมูลการผลิตบุคลากรในด้านต่างๆ และรวมทั้งข้อมูลผลงานทางวิชาการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรม คณะแพทยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี คณะอักษรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ เป็นต้น เพราะสาขาวิชาต่างๆ ดังกล่าวของจุฬาฯไม่เพียงจะมีประวัติการก่อตั้งมาอย่างยาวนานเท่านั้น แต่ยังได้ผลิตผลงานทางวิชาการและการค้นคว้าวิจัยต่างๆ เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ผลิตบุคลากรที่ได้สร้างชื่อเสียงและคุณประโยชน์ให้แก่สังคมไทยเป็นจำนวนมากอีกด้วย
นอกจากที่กล่าวแล้วยังมีกรณีที่น่าสงสัยอีกประการหนึ่งก็คือ Times Higher Education Magazine ได้จัดให้ California Institute of Technology เป็นสถาบันอุดมศึกษาอันดับ 1 ของโลกซึ่งตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของนักศึกษาหลายท่านที่จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) เพราะแม้ Caltech จะมีผลงานที่ดีเด่น และมีบุคลากรที่ได้รับรางวัล Nobel Prize เป็นจำนวนถึง 34 คนก็ตาม แต่ก็เป็นผลงานทางด้านวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสาขาวิชาอื่นๆ ของ Caltech นั้นก็ยังไม่ได้มีผลงานที่เด่นชัดสักเท่าใด ถ้าเปรียบเทียบกับ Harvard University, MIT (Massachusetts Institute of Technology), University of California-Berkeley และ Stanford University ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวมีบุคลากรที่มีชื่อเสียงและมีผลงานทางวิชาการที่ดีเด่นหลากหลายสาขาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมสาขาต่างๆ, แพทย์, บริหารธุรกิจ, การศึกษา, กฎหมาย, นโยบายสาธารณะ, เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เป็นต้น
ขอให้ดูตัวอย่างเช่น Harvard University มี Harvard Business School, Harvard Laws School, Harvard Medical School และ John F. Kennedy School ซึ่งผลิตบุคลากรและมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก, ส่วน MIT ก็มีบุคลากรที่ได้รับรางวัล Nobel Prize (จากอดีตจนถึงปี 2015) เป็นจำนวนถึง 84 คน เป็นต้น แต่ Times Higher Education Magazine กลับพิจารณาให้ Harvard อยู่ในอันดับที่ 6 และ MIT อยู่ในอันดับ 5 ของโลก (ดูในตารางที่ 6) ซึ่งตรงกันข้ามกับ U.S. News Rankings ที่ได้จัดให้ Harvard University, MIT, University of California-Berkeley และ Stanford University เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1, 2, 3 และที่ 4 ของโลกตามลำดับ ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงมากกว่า (มาจากผลการจัดอันดับล่าสุด 2015 – 2016 ของ U.S. News Rankings)
4.3 สำหรับความรู้สึกไม่เชื่อถือ (3) ที่เกิดขึ้น ก็คือ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education Magazine ที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเป็นส่วนใหญ่(ในข้อ 4.2) และยังคลาดเคลื่อนไปจากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของทั้ง QS และ U.S. News Rankings (ในตารางที่ 8) อีกด้วย ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นโดยสรุปว่า ความน่าเชื่อถือของผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education Magazine ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งหมายความว่า ยังไม่น่าเชื่อถือนั่นเอง หรือยังไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง
5. บทสรุป
จากการประเมินผลและจัดอันดับมหาวิทยาลัยของทั้ง 3 องค์กร ปรากฏว่า ไม่มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยแม้แต่แห่งเดียว (รวมทั้งสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ด้วย) ที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก มีเพียงมหาวิทยาลัยจากประเทศสิงคโปร์เพียงประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอาเซียนที่อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก และมหาวิทยาลัยของไทยทุกแห่งยังถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซียอีกด้วย นั่นอาจบ่งบอกให้เราได้รู้ว่า การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยยังมีข้อบกพร่องและยังไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง
ดังนั้น สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยทุกแห่งจึงควรได้รับการตรวจสอบและประเมินผลอย่างละเอียดทุกปี และควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ แล้ว คุณภาพการศึกษาของไทยก็อาจถดถอยลดต่ำลงจนคนไทยที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่จะมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน และจะไม่สามารถแข่งขันกับคนต่างชาติที่จบการศึกษาในสาขาเดียวกันจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในเอเชีย ในยุโรป ในแอฟริกา และในอเมริกา ซึ่งจะส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจเอกชนที่เป็นบริษัทข้ามชาติในที่สุด
ท้ายบทความ: ตอบคำถามผู้อ่าน
(1) คำถามแรก :
ได้มีผู้อ่านสอบถามมาว่า หนังสือชื่อ ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ (Armed Conflict), การก่อการร้าย(Terrorism) และแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งเขียนโดยผู้เขียน จะหาซื้อหนังสือเล่มนี้ได้จากที่ใด
คำตอบของผู้เขียน :
หนังสือเล่มนี้ได้เขียนโดยผู้เขียน และจัดพิมพ์โดย สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2557 ไม่ได้วางขายเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ดีผู้เขียนยังพอมีหนังสือเล่มนี้อยู่จำนวนหนึ่ง และสามารถมอบให้ผู้อ่านที่ต้องการหนังสือเล่มนี้ได้ 10 ท่านๆ ละ 1 เล่ม
ถ้าท่านใดต้องการหนังสือเล่มนี้ กรุณาเขียนจดหมายแนะนำตัว และแจ้งความประสงค์ของท่าน พร้อมระบุชื่อที่อยู่ของท่านและแนบแสตมป์จำนวนเท่ากับน้ำหนักหนังสือประมาณ 3 ขีด ส่งมาตามที่อยู่ข้างล่างนี้ เมื่อผู้เขียนได้รับจดหมายและแสตมป์จากท่านแล้ว ก็จะส่งหนังสือเล่มนี้ไปให้ท่านตามที่อยู่ของท่านทันที
สำหรับที่อยู่ทางไปรษณีย์ของผู้เขียน คือ
คุณวีระศักดิ์ นาทะสิริ
ตู้ ปณ. 149
ปณศ. ตลิ่งชัน
กรุงเทพฯ 10170
ในกรณีที่ท่านต้องการสอบถามหรือมีข้อมูลข่าวสารในเรื่องใดๆ กรุณาส่งมาที่ weerasak.nathasiri@gmail.com
(2) คำถามที่สอง:
มีผู้อ่านสงสัยถามมาว่า รูปถ่ายของผู้เขียนใน FB : วีระศักดิ์ นาทะสิริ ถ่ายในที่ใด
คำตอบของผู้เขียน :
รูปถ่ายนี้ถ่ายในขณะนั่งเฮลิคอปเตอร์กลับจากไปเยี่ยมผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญาหรือโรฮีนจาในช่วง 3 - 4 เดือนที่แล้ว จังหวัดพังงา
ขอขอบคุณทุกท่านที่สอบถามมาครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ
เนื่องจากสำนัก (หรือนิตยสาร) จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก Times Higher Education (Magazine) ของอังกฤษ ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี 2015-2016 (Times Higher Education World University Rankings 2015-2016) โดยระบุว่า มหาวิทยาลัยCalifornia Institute of Tech(U.S.A.)ได้รับการจัดอยู่ในอันดับที่ 1, อันดับที่ 2 คือ University of Oxford (U.K.) และอันดับที่ 3 คือ Stanford University(U.S.A.)
สำหรับในเอเชีย มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือ University of Tokyo ของญี่ปุ่นได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ส่วนมหาวิทยาลัยของไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 501-600 และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ติดอันดับได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ในอันดับที่ 601-800 (สรุปข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ ประจำวันที่ 15 ต.ค. 2558)
คนไทยบางคนที่อ่านข่าวนี้แล้วอาจเชื่อถือตามประกาศของ Times Higher Education (Magazine) แต่ผู้เขียนเองกลับรู้สึกประหลาดใจ รู้สึกสงสัย และไม่เชื่อถือต่อผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามประกาศนี้แต่อย่างใด โดยขอแสดงความคิดเห็นมาในบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจติดตามในเรื่องนี้ได้ช่วยกันพิจารณาและตรวจสอบกันอีกครั้งหนึ่ง
2. ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกระหว่างปี 2015-2016 ขององค์กรต่างๆ
2.1 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings 2015/16(บริษัท QS)1
ตารางที่ 1 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
ตารางที่ 2 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย
ตารางที่ 3 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์
ตารางที่ 4 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์
ตารางที่ 5 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย
1ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-universityrankings/2014#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=
คำอธิบายตารางที่ 1-5: ตัวเลข ในแนวตั้งซ้ายมือสุด คือ อันดับที่ และตัวเลขถัดมา คือ คะแนนที่ได้รับจากการประเมินของ QS World University Rankings(บริษัท QS)
2.2 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก The Times Higher Education World University Rankings 2015/16 ของ Times Higher Education Magazine
ตารางที่ 6 World University Rankings 2015-2016: top 102
2https://www.timeshighereducation.com/news/world-university-rankings-2015-2016-results-announced
3https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2016/world-ranking#!/page/0/length/25
2.3 มหาวิทยาลัยในเอเชียที่อยู่ในอันดับโลกของ US.News Ranking4
2.4 ความเป็นมาโดยสังเขปเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกได้มีการจัดทำขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีก่อนโดยหนังสือพิมพ์ US.News & World Report ซึ่งมักรู้จักกันในหัวข้อข่าวว่า US. News Ranking หรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของ US. News & World Report หลังจากนั้นในปี 2004 Times Higher Education–QS World University Rankings ได้เริ่มจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยโลกเผยแพร่สู่สาธารณชนทั่วไป
ต่อมา Times Higher Education และบริษัท QS ได้แยกกิจการออกจากกัน และในปี 2011 QS ก็ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ QS เอง โดยออกเผยแพร่ในชื่อ QS World University Rankings ส่วน Times Higher Education Magazine (ซึ่งเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ที่พิมพ์เผยแพร่ในอังกฤษ) ก็ยังคงจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยในชื่อ The Times Higher Education World University Rankings ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ (สรุปจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Times_Higher_Education)
อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาถึงระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำแล้ว จะพบว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ US.News & World Report จะมีประสบการณ์เป็นเวลายาวนาน และมีข้อมูลสะสมที่สนับสนุนการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยมากกว่าองค์กรอื่น เนื่องจากได้ดำเนินการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัย US.News Ranking มาก่อนการจัดอันดับของ QS World University Rankings และของ The Times Higher Education World University Rankings เป็นเวลานานหลายสิบปี
3. การเปรียบเทียบอันดับมหาวิทยาลัยไทยในมหาวิทยาลัยโลก
จากตารางที่ 8 จะพบว่า Times Higher Education Magazine ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยให้ จุฬาฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, สงขลา และสุรนารี อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือ อยู่ในกลุ่มอันดับที่ 601 – 800 นั่นหมายความว่า Times Higher Education Magazine อาจไม่ได้ให้ความสำคัญ และอาจไม่ได้พิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอย่างละเอียด เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่มหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง จะอยู่ในกลุ่มอันดับเดียวกัน เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยย่อมมีคุณลักษณะ และองค์ประกอบต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น บางสถาบันจะเน้นหนักในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง, บางสถาบันจะมีหลากหลายสาขาวิชา, จำนวนอาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการในสาขาต่างๆ, ผลงานการค้นคว้าวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ, ความนิยมในการสมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาต่างๆ ของสถาบัน, ความก้าวหน้าหรือตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรที่จบการศึกษาจากสถาบัน และโครงการวิจัยต่างๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน เป็นต้น
4. ความคิดเห็นต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education Magazine
เมื่อทราบผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education จากสื่อสิ่งพิมพ์ไทยบางฉบับ ผู้เขียนก็รู้สึกประหลาดใจ รู้สึกสงสัย และไม่เชื่อถือต่อการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดังกล่าวแต่อย่างใด
4.1 ความรู้สึกประหลาดใจ (1) ก็คือ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและผลิตบุคลากรที่มีชื่อเสียงมากมาย แต่กลับไม่ได้รับการจัดให้อยู่(แม้)ในอันดับที่ต่ำที่สุดคือ อันดับที่ 601-800 (ดูในตารางที่ 8) ซึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าอันดับที่ต่ำที่สุดนั่นเอง
4.2 ความรู้สึกสงสัย (2) ก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 601-800 ซึ่งค่อนข้างต่ำกว่าที่คาดไว้มาก ไม่เพียงเท่านั้นจุฬาฯ ยังถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าทั้งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย ในกรณีที่จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยมหิดลยังพอมีเหตุผลที่พอรับฟังได้บ้าง เพราะมหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะแพทยศาสตร์ถึง 2 คณะคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์แผนปัจจุบันแห่งแรกของประเทศไทยได้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นจำนวนมาก ได้สร้างผลงานการรักษาโรคต่างๆ มากมาย และยังมีรายงานการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ออกเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก
ส่วนกรณีที่จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าเชียงใหม่ คาดว่าคงเรียงตามตัวอักษร แต่ถ้าไม่ใช่ตามที่คาด ก็น่าเชื่อว่า Times Higher Education Magazine ไม่เพียงไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาในสาขาอื่นๆ ของจุฬาฯ เท่านั้น แต่ยังอาจไม่ได้นำเอาปัจจัยสำคัญอื่นๆ ของจุฬาฯ มาทำการพิจารณาอีกด้วย ถ้าจะใช้ภาษาทางการวิจัยก็คือ คงไม่ได้นำตัวแปร (Variables) ที่สำคัญอื่นๆ มาพิจารณาในตัวแบบการประเมิน (Model) หรืออาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนนั่นเอง เช่น ข้อมูลการผลิตบุคลากรในด้านต่างๆ และรวมทั้งข้อมูลผลงานทางวิชาการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรม คณะแพทยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี คณะอักษรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ เป็นต้น เพราะสาขาวิชาต่างๆ ดังกล่าวของจุฬาฯไม่เพียงจะมีประวัติการก่อตั้งมาอย่างยาวนานเท่านั้น แต่ยังได้ผลิตผลงานทางวิชาการและการค้นคว้าวิจัยต่างๆ เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ผลิตบุคลากรที่ได้สร้างชื่อเสียงและคุณประโยชน์ให้แก่สังคมไทยเป็นจำนวนมากอีกด้วย
นอกจากที่กล่าวแล้วยังมีกรณีที่น่าสงสัยอีกประการหนึ่งก็คือ Times Higher Education Magazine ได้จัดให้ California Institute of Technology เป็นสถาบันอุดมศึกษาอันดับ 1 ของโลกซึ่งตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของนักศึกษาหลายท่านที่จบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) เพราะแม้ Caltech จะมีผลงานที่ดีเด่น และมีบุคลากรที่ได้รับรางวัล Nobel Prize เป็นจำนวนถึง 34 คนก็ตาม แต่ก็เป็นผลงานทางด้านวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสาขาวิชาอื่นๆ ของ Caltech นั้นก็ยังไม่ได้มีผลงานที่เด่นชัดสักเท่าใด ถ้าเปรียบเทียบกับ Harvard University, MIT (Massachusetts Institute of Technology), University of California-Berkeley และ Stanford University ซึ่งมหาวิทยาลัยดังกล่าวมีบุคลากรที่มีชื่อเสียงและมีผลงานทางวิชาการที่ดีเด่นหลากหลายสาขาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมสาขาต่างๆ, แพทย์, บริหารธุรกิจ, การศึกษา, กฎหมาย, นโยบายสาธารณะ, เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เป็นต้น
ขอให้ดูตัวอย่างเช่น Harvard University มี Harvard Business School, Harvard Laws School, Harvard Medical School และ John F. Kennedy School ซึ่งผลิตบุคลากรและมีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก, ส่วน MIT ก็มีบุคลากรที่ได้รับรางวัล Nobel Prize (จากอดีตจนถึงปี 2015) เป็นจำนวนถึง 84 คน เป็นต้น แต่ Times Higher Education Magazine กลับพิจารณาให้ Harvard อยู่ในอันดับที่ 6 และ MIT อยู่ในอันดับ 5 ของโลก (ดูในตารางที่ 6) ซึ่งตรงกันข้ามกับ U.S. News Rankings ที่ได้จัดให้ Harvard University, MIT, University of California-Berkeley และ Stanford University เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1, 2, 3 และที่ 4 ของโลกตามลำดับ ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงมากกว่า (มาจากผลการจัดอันดับล่าสุด 2015 – 2016 ของ U.S. News Rankings)
4.3 สำหรับความรู้สึกไม่เชื่อถือ (3) ที่เกิดขึ้น ก็คือ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education Magazine ที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเป็นส่วนใหญ่(ในข้อ 4.2) และยังคลาดเคลื่อนไปจากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของทั้ง QS และ U.S. News Rankings (ในตารางที่ 8) อีกด้วย ในเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นโดยสรุปว่า ความน่าเชื่อถือของผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education Magazine ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งหมายความว่า ยังไม่น่าเชื่อถือนั่นเอง หรือยังไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง
5. บทสรุป
จากการประเมินผลและจัดอันดับมหาวิทยาลัยของทั้ง 3 องค์กร ปรากฏว่า ไม่มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยแม้แต่แห่งเดียว (รวมทั้งสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ด้วย) ที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก มีเพียงมหาวิทยาลัยจากประเทศสิงคโปร์เพียงประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอาเซียนที่อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก และมหาวิทยาลัยของไทยทุกแห่งยังถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซียอีกด้วย นั่นอาจบ่งบอกให้เราได้รู้ว่า การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยยังมีข้อบกพร่องและยังไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง
ดังนั้น สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยทุกแห่งจึงควรได้รับการตรวจสอบและประเมินผลอย่างละเอียดทุกปี และควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ แล้ว คุณภาพการศึกษาของไทยก็อาจถดถอยลดต่ำลงจนคนไทยที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่จะมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน และจะไม่สามารถแข่งขันกับคนต่างชาติที่จบการศึกษาในสาขาเดียวกันจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในเอเชีย ในยุโรป ในแอฟริกา และในอเมริกา ซึ่งจะส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจเอกชนที่เป็นบริษัทข้ามชาติในที่สุด
ท้ายบทความ: ตอบคำถามผู้อ่าน
(1) คำถามแรก :
ได้มีผู้อ่านสอบถามมาว่า หนังสือชื่อ ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ (Armed Conflict), การก่อการร้าย(Terrorism) และแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งเขียนโดยผู้เขียน จะหาซื้อหนังสือเล่มนี้ได้จากที่ใด
คำตอบของผู้เขียน :
หนังสือเล่มนี้ได้เขียนโดยผู้เขียน และจัดพิมพ์โดย สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2557 ไม่ได้วางขายเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ดีผู้เขียนยังพอมีหนังสือเล่มนี้อยู่จำนวนหนึ่ง และสามารถมอบให้ผู้อ่านที่ต้องการหนังสือเล่มนี้ได้ 10 ท่านๆ ละ 1 เล่ม
ถ้าท่านใดต้องการหนังสือเล่มนี้ กรุณาเขียนจดหมายแนะนำตัว และแจ้งความประสงค์ของท่าน พร้อมระบุชื่อที่อยู่ของท่านและแนบแสตมป์จำนวนเท่ากับน้ำหนักหนังสือประมาณ 3 ขีด ส่งมาตามที่อยู่ข้างล่างนี้ เมื่อผู้เขียนได้รับจดหมายและแสตมป์จากท่านแล้ว ก็จะส่งหนังสือเล่มนี้ไปให้ท่านตามที่อยู่ของท่านทันที
สำหรับที่อยู่ทางไปรษณีย์ของผู้เขียน คือ
คุณวีระศักดิ์ นาทะสิริ
ตู้ ปณ. 149
ปณศ. ตลิ่งชัน
กรุงเทพฯ 10170
ในกรณีที่ท่านต้องการสอบถามหรือมีข้อมูลข่าวสารในเรื่องใดๆ กรุณาส่งมาที่ weerasak.nathasiri@gmail.com
(2) คำถามที่สอง:
มีผู้อ่านสงสัยถามมาว่า รูปถ่ายของผู้เขียนใน FB : วีระศักดิ์ นาทะสิริ ถ่ายในที่ใด
คำตอบของผู้เขียน :
รูปถ่ายนี้ถ่ายในขณะนั่งเฮลิคอปเตอร์กลับจากไปเยี่ยมผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญาหรือโรฮีนจาในช่วง 3 - 4 เดือนที่แล้ว จังหวัดพังงา
ขอขอบคุณทุกท่านที่สอบถามมาครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ