เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เครือข่ายในสังคมออนไลน์ส่งรายงานที่ชี้บ่งว่าเป็นของสื่อสำนักหนึ่งซึ่งจั่วหัวข้อข่าวดังต่อไปนี้ (พร้อมมีภาพประกอบ) -- 'วิรไท' เล็งแก้ พ.ร.บ. ธปท.จ่อหารายได้เพิ่ม ปรับ 'ทุนสำรอง' ลงทุนสินทรัพย์หลากหลาย - ผมเห็นข่าวแล้วขนหัวลุกปานเห็นผี แต่ไม่เห็นมีสื่อสำนักอื่นรายงาน จึงหวังว่ามันเป็นเพียงปีศาจแห่งฤดู “ฮาโลวีน” มิฉะนั้น เมืองไทยจะประสบเหตุการณ์ที่ฝันร้าย ณ ปี 2540 เป็นเพียงเด็กเล่นขายของ
เนื้อหาส่วนหนึ่งของข่าวเป็นเช่นนี้
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.กำลังพิจารณาเพิ่มรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ ของทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย โดยมองว่าธนาคารกลางประเทศต่างๆ บริหารทุนสำรองใช้ตราสารหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ปัจจุบันการนำทุนสำรองฯ ไปลงทุนพันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนน้อย ฉะนั้นการขยายประเภทลงทุนสินทรัพย์ต่างประเทศอื่นๆ จะช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ จึงคาดว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ธปท.พ.ศ. 2551 ผ่อนคลายเฉพาะเรื่องนี้ ภายใต้กติกาที่รัดกุมมาก
ย้อนไปหลายปี เมื่อเรื่องทำนองนี้ถูกเผยแพร่ออกมา ผมพยายามบอกให้คนไทยใส่ใจว่าอะไรอาจเกิดขึ้นและผลที่อาจได้ไม่น่าจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ผมทำผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งบทความอย่างน้อยสองบทลงในเอเอสทีวีผู้จัดการ ขออนุญาตนำมาปันอีกครั้ง บทแรกลงพิมพ์เมื่อ 26 สิงหาคม 2554 ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
การใช้เงินสำรองของประเทศกับความล่มจม
ทันทีที่รัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศก็มีแนวคิดที่จะนำเงินสำรองของชาติออกมาใช้โดยเฉพาะในด้านพลังงาน พร้อมๆ กันนั้นก็เริ่มมีบทความตามหน้าสื่อที่สรุปแบบซื่อบื้อว่าอาร์เจนตินาไม่เคยมีปัญหาจากการใช้นโยบายประชานิยม เรื่องเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญยากที่จะพิสูจน์ ในฐานะที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาของอาร์เจนตินามาพอควร ขอทบทวนคร่าวๆ ว่าอะไรเกิดขึ้นในประเทศนั้นและอะไรอาจเกิดกับเมืองไทยหากนักการเมืองเข้าไปจุ้นจ้านในการบริหารเงินสำรองของชาติ
อาร์เจนตินาเริ่มใช้นโยบายประชานิยมเมื่อปี 2459 อันเป็นตอนกลางสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงนั้นอาร์เจนตินาพัฒนาไปมากจนมีรายได้ไม่ต่างกับบรรดาประเทศก้าวหน้าในยุโรป เช่น ฝรั่งเศสและเยอรมนี อาร์เจนตินาแตกต่างกับประเทศเหล่านั้นในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ นั่นคือ รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการผลิตสินค้าเกษตรส่งขายเนื่องจากมีที่ดินกว้างใหญ่ในภูมิอากาศอันเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ ส่วนประเทศในยุโรปพัฒนาโดยอาศัยการอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรของอาร์เจนตินาที่ส่งออกไปขายจนทำให้อาร์เจนตินาร่ำรวยนั้นผลิตโดยชนชั้นเศรษฐีเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ มิใช่ผู้ถือครองที่ดินขนาดย่อมเช่นในเมืองไทย ชนชั้นเจ้าของที่ดินเหล่านั้นครอบงำการบริหารประเทศติดต่อกันเป็นเวลานานผ่านระบบการเลือกตั้ง ยังผลให้ชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง
ในภาวะดังกล่าวมีนักการเมืองหัวใสเกิดขึ้นชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน เขามองทะลุว่าถ้าจะเอาชนะพวกเศรษฐีที่ดินในการเลือกตั้ง เขาจะต้องใช้นโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่ที่เข้าไม่ถึงอำนาจด้วยการเสนอให้ของเปล่าต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม กลยุทธ์ของเขาได้ผล เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2459 และเริ่มนโยบายให้ของเปล่าแก่ชาวอาร์เจนตินาทันที เขาได้รับความนิยมมากจากชาวอาร์เจนตินา แต่เขาไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2465 ได้เนื่องจากรัฐธรรมห้ามมิให้ประธานาธิบดีสืบทอดอำนาจทันที พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งในปีนั้นพยายามยกเลิกนโยบายประชานิยมยังผลให้เป็นที่เกลียดชังของประชาชนผู้เสียประโยชน์ เมื่อถึงการเลือกตั้งปี 2471 ฮิโปลิโต อิริโกเยน ลงสมัครอีกและชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่เขาอยู่ได้ไม่ครบ 6 ปีเพราะทหารยึดอำนาจหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่หลวงในช่วงหลังตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาล่มเมื่อปี 2472
หลังจากนั้นมา อาร์เจนตินาก็ปกครองผ่านการเลือกตั้งสลับกับเผด็จการทหารหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม เผด็จการทหารก็ใช้นโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจประชาชนซึ่งเสพติดนโยบายจำพวกให้ของเปล่านั้นอย่างรวดเร็ว ในภาวะเช่นนี้มีนายทหารคนหนึ่งซึ่งมองการเมืองทะลุปรุโปร่งชื่อฮวน เปโรน เขาปูทางทุกอย่างในระหว่างที่เป็นทหารเพื่อนำไปสู่การเป็นประธานาธิบดี เขามีคู่คิดเป็นดาราหน้าตาดีและเป็นที่ชื่นชอบของชาวอาร์เจนตินา ต่อมาเป็นเธอที่รู้จักของชาวโลกตามชื่อเล่นของเธอซึ่งเป็นชื่อภาพยนตร์เรื่อง “เอวิตา”
ฮวน เปโรน ใช้นโยบายประชานิยมเข้าสู่อำนาจและมอมเมาชาวอาร์เจนตินาด้วยของเปล่าจนพวกเขาหลงใหล ในขณะที่ไม่มีใครใส่ใจว่าเงินที่นำมาปิดงบประมาณขาดดุลจำนวนมากนั้นมาจากไหน ตอนที่เขาเข้าบริหารประเทศ อาร์เจนตินามีเงินสำรองจำมหาศาล นั่นคือ มากกว่า 2 เท่าของเงินสำรองของประเทศละตินอเมริกาทั้งหมดรวมกัน ในเวลาเพียงไม่นานหลังประธานาธิบดีสั่งให้นำมาใช้เงินสำรองนั้นก็หมด เมื่อเงินสำรองหมด อาร์เจนตินาก็หายืมจากต่างประเทศ ยืมจนกระทั่งไม่มีใครให้ยืมอีกต่อไปก็เริ่มพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ชนิดทีละหลายเล่มเกวียน เพียงไม่นานอาร์เจนตินาก็ประสบปัญหาเงินเฟ้อชนิดสินค้าขึ้นราคาเป็นรายวัน วิกฤตครั้งนั้นพาอาร์เจนตินาไปสู่ความล้มละลายในปี 2499 หรือ 40 ปีหลังวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยม จากนั้นมา อาร์เจนตินาก็พัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานและล้มละลายอีกหลายครั้งรวมทั้งครั้งล่าสุดคือการชักดาบหนี้ต่างประเทศจำนวน 9.3 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อปี 2544 ตอนนี้อาร์เจนตินาอาจเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว แต่ผู้ที่สรุปว่าอาร์เจนตินาไม่เคยมีปัญหาเพราะประชานิยมคงไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง หากนั่งเทียนเขียนบทความตามใจชอบ หรือตามคำสั่งเพราะหวังอามิส
ทั้งหลายทั้งปวงนี้น่าจะชี้ให้เห็นว่าอะไรอาจเกิดขึ้นได้เมื่อนักการเมืองนำทุนสำรองของชาติออกมาใช้ ในฐานะที่เคยทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคารกลางในต่างประเทศเป็นเวลานาน ขอฝากไว้ด้วยว่าชื่อเสียงของธนาคารแห่งประเทศไทยเกือบถูกทำลายหลังนักการเมืองปลาไหลเข้าไปจุ้นจ้านในกิจการของธนาคารเมื่อตนเป็นรัฐมนตรีคลัง ถ้าตอนนี้มีนักการเมืองเข้าไปจุ้นจ้านอีก ไม่เฉพาะชื่อเสียงของธนาคารเท่านั้นที่จะถูกทำลาย หากจะเป็นเมืองไทยทั้งประเทศ
บทที่สองลงพิมพ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
การบริหารด้วยการเล่นลิ้น ตอนผีปอบและเปรตกินเงินสำรองของชาติ
ตามที่สัญญาไว้เมื่อสองสัปดาห์ก่อน วันนี้จะพูดถึงตอนผีปอบและเปรตกินเงินสำรองของชาติ ต้องพูดถึงเรื่องนี้เพราะมันมีความสำคัญมากเนื่องจากพวกเมธีบริกรอ้าปากให้เห็นลิ้นไก่ไม่กี่วันหลังรัฐบาลนี้เข้าสู่อำนาจ วิธีของพวกเมธีคือการกรุยทางให้นักการเมืองเข้าถึงทุนสำรองของชาติทั้งที่ในยุคโลกาภิวัตน์นี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีทุนสำรองจำนวนมาก เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นหัวจักรใหญ่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมันเอื้อให้การติดต่อสื่อสาร การค้าขายและการโยกย้ายเงินตราสามารถทำได้ในพริบตา
ความสะดวกของการค้าขายเอื้อให้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกเขาสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าประเทศก้าวหน้า การขยายตัวในอัตราสูงมานับสิบปีทำให้ตอนนี้จีน บราซิล และอินเดียมีเศรษฐกิจรวมกันกว่าครึ่งโลก ในขณะเดียวกัน สินค้าราคาถูกก็เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้การบริโภคในประเทศก้าวหน้าขยายตัวอย่างรวดเร็วจนส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นขาดดุลการค้าในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง การขาดดุลนั้นนำไปสู่การกู้หนี้ยืมสินจำนวนมหาศาลจนทำให้สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนสถานะจากการเป็นเจ้าหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาเป็นลูกหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การโยกย้ายเงินตราได้ภายในพริบตาเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดกองทุนเพื่อเก็งกำไรขนาดใหญ่ กองทุนพวกนี้ไม่มีประโยชน์ต่อด้านการผลิตในเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากเป็นเพียงกิจการปั่นตัวเลขเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มันทำให้ผู้ปั่นร่ำรวยและมีบทบาทสูง ข้อมูลบ่งว่าในช่วงเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา กองทุนเพื่อเก็งกำไรมีส่วนผลักดันให้ภาคการเงินมีบทบาทสูงขึ้นมากในเศรษฐกิจ ในสหรัฐอเมริกา บทบาทนั้นเพิ่มเป็นสองเท่าจากราว 4% เป็น 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
ความสะดวกทางด้านการค้าขายและโยกย้ายเงินตรามีผลทำให้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศหนึ่งขยายไปถึงประเทศอื่นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว วิกฤตในเมืองไทยเมื่อปี 2540 จึงลุกลามไปถึงประเทศอื่นอย่างกว้างขวางและวิกฤตในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2551 ก็ลุกลามไปถึงประเทศอื่นอย่างรวดเร็ว ในสภาพการณ์เช่นนี้ ประเทศที่อาศัยการค้าขายต่างประเทศเป็นหัวจักรใหญ่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นไทยควรเก็บทุนสำรองไว้ในระดับสูงกว่าอัตราที่เคยคิดว่าเพียงพอ นั่นคือ เท่ากับค่าสินค้านำเข้าราว 3 เดือน เราคงยังไม่ลืมกันว่าเมื่อก่อนปี 2540 เรามีทุนสำรองราวสองเท่าของอัตรานั้น แต่มันหมดไปในเวลาอันสั้นเมื่อเกิดวิกฤต ยิ่งกว่านั้น บางคนอาจจำกรณีของอาร์เจนตินาได้ (หากจำไม่ได้อาจไปเปิดอ่านหนังสือชื่อ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ”) ย้อนไปก่อนวันที่ประธานาธิบดีฮวน เปโรน จะเข้ารับตำแหน่ง อาร์เจนตินาค้าขายจนร่ำรวยและมีทุนสำรองสูงถึงราว 2.5 เท่าของค่าสินค้านำเข้าต่อปี หรือสามารถซื้อสินค้าได้ถึง 30 เดือน ฮวน เปโรน เป็นผีปอบประชานิยม หลังเข้าบริหารประเทศไม่นาน เขาก็ผลาญทุนสำรองก้อนใหญ่จนหมดสิ้น
ทั้งที่สภาพการณ์บ่งชี้ว่าควรเก็บทุนสำรองไว้ให้มากที่สุด แต่พอรัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ พวกเมธีบริกรก็เสนอให้นำทุนสำรองกองใหญ่ออกมาบริหารแทนธนาคารแห่งประเทศไทย สร้างความสงสัยว่าอะไรคือแรงจูงใจที่แท้จริง พวกเขาให้เหตุผลว่า การนำทุนสำรองออกมาบริหารเช่นนั้นจะได้ค่าตอบแทนสูงกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำได้อยู่ในปัจจุบัน แต่นั่นเป็นการพูดเพียงด้านเดียว อีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสำคัญยิ่งได้แก่ความเสี่ยงต่อการขาดทุนซึ่งจะไม่เกิดขึ้นเมื่อเงินนั้นอยู่ในความดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีความเสี่ยงทางด้านการเข้าถึงเงินก้อนใหญ่ของนักการเมืองที่ไม่มีจรรยา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพวกผีปอบ พวกเขาจะหาโอกาสถลุงทุนสำรองของชาติ กระบวนการอาจเกิดดังนี้
พวกเขาจะตั้งพรรคพวกกันเองรวมทั้งเมธีบริกรขึ้นมาเป็นกรรมการกองทุนที่ตั้งขึ้นจากทุนสำรองด้วยค่าตอบแทนแสนสูง กรรมการจะนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในบริษัทที่นักการเมืองและพวกพ้องไปตั้งไว้ในต่างประเทศ บริษัทอาจเป็นทั้งจำพวกที่มีกิจการจริงและจำพวกผีที่มีเฉพาะตู้ไปรษณีย์ตามเกาะต่างๆ ซึ่งพวกอาชญากรนิยมทำ ไม่ว่าจะลงทุนในบริษัทชนิดไหน โอกาสที่จะขาดทุนและสูญเงินเกิดขึ้นได้สูงทั้งนั้น ในตอนต้นๆ บริษัทจะแต่งบัญชีให้ดูมีกำไร ต่อไปบริษัทก็จะขาดทุนส่งผลให้ทุนสำรองของชาติสูญหายกลายเป็นเงินของพวกผีปอบซึ่งอาจมองว่าเป็นผีเปรตด้วยก็ได้หากทุนสำรองที่สูญไปเป็นเงินที่ได้มาจากการทอดผ้าป่ากับหลวงตามหาบัว
ผู้ที่มองเห็นว่ารัฐบาลนี้มีผีปอบและผีเปรตแฝงอยู่ควรออกมาร่วมกระบวนการต่อต้านกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีอยู่หลายกลุ่ม ถ้าออกมาไม่ได้ก็ส่งปัจจัยไปช่วยเขา เมื่อไหร่การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีการ “เป่านกหวีด” เพื่อสู้กับพวกผีที่ต้องการล้มล้างสถาบันและกินบ้านกินเมืองจนผอมเหลืองเจียนตาย อย่านิ่งดูดาย จงออกมาร่วม นี่คือวิธีรักษาทุนสำรองของชาติและบ้านเมืองไว้ให้ลูกหลาน
นั่นเป็นสิ่งที่ผมเขียนไว้หลายปีซึ่งผมมองว่ายังไม่ล้าสมัยแม้แต่นิดเดียว จึงอยากบอกคนไทยด้วยกันอีกครั้งหนึ่งว่า อย่านิ่งนอนใจกับนโยบายเศรษฐกิจในช่วงนี้ ควรติดตามแบบไม่กะพริบตา ทั้งนี้เพราะคนที่คุมนโยบายอยู่ในปัจจุบันคือพวกที่เริ่มนำเอาประชานิยมแบบเลวร้ายเข้ามาใช้ในประเทศเมื่อปี 2544 และเกือบจะทำให้ชาติไทยล่มจมเมื่อนโยบายประชานิยมเดินมาถึงโครงการรับจำนำข้าว คนพวกนี้อาจมีมาดเป็นเมธี แต่แท้จริงเป็นเพียงบริกรของพวกกระสือ หรือผีปอบและผีเปรตที่จ้องกินตับไตไส้พุงของประเทศไทย
เนื้อหาส่วนหนึ่งของข่าวเป็นเช่นนี้
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.กำลังพิจารณาเพิ่มรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ ของทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย โดยมองว่าธนาคารกลางประเทศต่างๆ บริหารทุนสำรองใช้ตราสารหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ปัจจุบันการนำทุนสำรองฯ ไปลงทุนพันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนน้อย ฉะนั้นการขยายประเภทลงทุนสินทรัพย์ต่างประเทศอื่นๆ จะช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ จึงคาดว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ธปท.พ.ศ. 2551 ผ่อนคลายเฉพาะเรื่องนี้ ภายใต้กติกาที่รัดกุมมาก
ย้อนไปหลายปี เมื่อเรื่องทำนองนี้ถูกเผยแพร่ออกมา ผมพยายามบอกให้คนไทยใส่ใจว่าอะไรอาจเกิดขึ้นและผลที่อาจได้ไม่น่าจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ผมทำผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งบทความอย่างน้อยสองบทลงในเอเอสทีวีผู้จัดการ ขออนุญาตนำมาปันอีกครั้ง บทแรกลงพิมพ์เมื่อ 26 สิงหาคม 2554 ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
การใช้เงินสำรองของประเทศกับความล่มจม
ทันทีที่รัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศก็มีแนวคิดที่จะนำเงินสำรองของชาติออกมาใช้โดยเฉพาะในด้านพลังงาน พร้อมๆ กันนั้นก็เริ่มมีบทความตามหน้าสื่อที่สรุปแบบซื่อบื้อว่าอาร์เจนตินาไม่เคยมีปัญหาจากการใช้นโยบายประชานิยม เรื่องเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญยากที่จะพิสูจน์ ในฐานะที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาของอาร์เจนตินามาพอควร ขอทบทวนคร่าวๆ ว่าอะไรเกิดขึ้นในประเทศนั้นและอะไรอาจเกิดกับเมืองไทยหากนักการเมืองเข้าไปจุ้นจ้านในการบริหารเงินสำรองของชาติ
อาร์เจนตินาเริ่มใช้นโยบายประชานิยมเมื่อปี 2459 อันเป็นตอนกลางสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงนั้นอาร์เจนตินาพัฒนาไปมากจนมีรายได้ไม่ต่างกับบรรดาประเทศก้าวหน้าในยุโรป เช่น ฝรั่งเศสและเยอรมนี อาร์เจนตินาแตกต่างกับประเทศเหล่านั้นในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ นั่นคือ รายได้ส่วนใหญ่เกิดจากการผลิตสินค้าเกษตรส่งขายเนื่องจากมีที่ดินกว้างใหญ่ในภูมิอากาศอันเหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ ส่วนประเทศในยุโรปพัฒนาโดยอาศัยการอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรของอาร์เจนตินาที่ส่งออกไปขายจนทำให้อาร์เจนตินาร่ำรวยนั้นผลิตโดยชนชั้นเศรษฐีเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ มิใช่ผู้ถือครองที่ดินขนาดย่อมเช่นในเมืองไทย ชนชั้นเจ้าของที่ดินเหล่านั้นครอบงำการบริหารประเทศติดต่อกันเป็นเวลานานผ่านระบบการเลือกตั้ง ยังผลให้ชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง
ในภาวะดังกล่าวมีนักการเมืองหัวใสเกิดขึ้นชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน เขามองทะลุว่าถ้าจะเอาชนะพวกเศรษฐีที่ดินในการเลือกตั้ง เขาจะต้องใช้นโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่ที่เข้าไม่ถึงอำนาจด้วยการเสนอให้ของเปล่าต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม กลยุทธ์ของเขาได้ผล เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2459 และเริ่มนโยบายให้ของเปล่าแก่ชาวอาร์เจนตินาทันที เขาได้รับความนิยมมากจากชาวอาร์เจนตินา แต่เขาไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2465 ได้เนื่องจากรัฐธรรมห้ามมิให้ประธานาธิบดีสืบทอดอำนาจทันที พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งในปีนั้นพยายามยกเลิกนโยบายประชานิยมยังผลให้เป็นที่เกลียดชังของประชาชนผู้เสียประโยชน์ เมื่อถึงการเลือกตั้งปี 2471 ฮิโปลิโต อิริโกเยน ลงสมัครอีกและชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่เขาอยู่ได้ไม่ครบ 6 ปีเพราะทหารยึดอำนาจหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่หลวงในช่วงหลังตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาล่มเมื่อปี 2472
หลังจากนั้นมา อาร์เจนตินาก็ปกครองผ่านการเลือกตั้งสลับกับเผด็จการทหารหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม เผด็จการทหารก็ใช้นโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจประชาชนซึ่งเสพติดนโยบายจำพวกให้ของเปล่านั้นอย่างรวดเร็ว ในภาวะเช่นนี้มีนายทหารคนหนึ่งซึ่งมองการเมืองทะลุปรุโปร่งชื่อฮวน เปโรน เขาปูทางทุกอย่างในระหว่างที่เป็นทหารเพื่อนำไปสู่การเป็นประธานาธิบดี เขามีคู่คิดเป็นดาราหน้าตาดีและเป็นที่ชื่นชอบของชาวอาร์เจนตินา ต่อมาเป็นเธอที่รู้จักของชาวโลกตามชื่อเล่นของเธอซึ่งเป็นชื่อภาพยนตร์เรื่อง “เอวิตา”
ฮวน เปโรน ใช้นโยบายประชานิยมเข้าสู่อำนาจและมอมเมาชาวอาร์เจนตินาด้วยของเปล่าจนพวกเขาหลงใหล ในขณะที่ไม่มีใครใส่ใจว่าเงินที่นำมาปิดงบประมาณขาดดุลจำนวนมากนั้นมาจากไหน ตอนที่เขาเข้าบริหารประเทศ อาร์เจนตินามีเงินสำรองจำมหาศาล นั่นคือ มากกว่า 2 เท่าของเงินสำรองของประเทศละตินอเมริกาทั้งหมดรวมกัน ในเวลาเพียงไม่นานหลังประธานาธิบดีสั่งให้นำมาใช้เงินสำรองนั้นก็หมด เมื่อเงินสำรองหมด อาร์เจนตินาก็หายืมจากต่างประเทศ ยืมจนกระทั่งไม่มีใครให้ยืมอีกต่อไปก็เริ่มพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ชนิดทีละหลายเล่มเกวียน เพียงไม่นานอาร์เจนตินาก็ประสบปัญหาเงินเฟ้อชนิดสินค้าขึ้นราคาเป็นรายวัน วิกฤตครั้งนั้นพาอาร์เจนตินาไปสู่ความล้มละลายในปี 2499 หรือ 40 ปีหลังวันที่เริ่มใช้นโยบายประชานิยม จากนั้นมา อาร์เจนตินาก็พัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานและล้มละลายอีกหลายครั้งรวมทั้งครั้งล่าสุดคือการชักดาบหนี้ต่างประเทศจำนวน 9.3 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อปี 2544 ตอนนี้อาร์เจนตินาอาจเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว แต่ผู้ที่สรุปว่าอาร์เจนตินาไม่เคยมีปัญหาเพราะประชานิยมคงไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง หากนั่งเทียนเขียนบทความตามใจชอบ หรือตามคำสั่งเพราะหวังอามิส
ทั้งหลายทั้งปวงนี้น่าจะชี้ให้เห็นว่าอะไรอาจเกิดขึ้นได้เมื่อนักการเมืองนำทุนสำรองของชาติออกมาใช้ ในฐานะที่เคยทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคารกลางในต่างประเทศเป็นเวลานาน ขอฝากไว้ด้วยว่าชื่อเสียงของธนาคารแห่งประเทศไทยเกือบถูกทำลายหลังนักการเมืองปลาไหลเข้าไปจุ้นจ้านในกิจการของธนาคารเมื่อตนเป็นรัฐมนตรีคลัง ถ้าตอนนี้มีนักการเมืองเข้าไปจุ้นจ้านอีก ไม่เฉพาะชื่อเสียงของธนาคารเท่านั้นที่จะถูกทำลาย หากจะเป็นเมืองไทยทั้งประเทศ
บทที่สองลงพิมพ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
การบริหารด้วยการเล่นลิ้น ตอนผีปอบและเปรตกินเงินสำรองของชาติ
ตามที่สัญญาไว้เมื่อสองสัปดาห์ก่อน วันนี้จะพูดถึงตอนผีปอบและเปรตกินเงินสำรองของชาติ ต้องพูดถึงเรื่องนี้เพราะมันมีความสำคัญมากเนื่องจากพวกเมธีบริกรอ้าปากให้เห็นลิ้นไก่ไม่กี่วันหลังรัฐบาลนี้เข้าสู่อำนาจ วิธีของพวกเมธีคือการกรุยทางให้นักการเมืองเข้าถึงทุนสำรองของชาติทั้งที่ในยุคโลกาภิวัตน์นี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีทุนสำรองจำนวนมาก เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นหัวจักรใหญ่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมันเอื้อให้การติดต่อสื่อสาร การค้าขายและการโยกย้ายเงินตราสามารถทำได้ในพริบตา
ความสะดวกของการค้าขายเอื้อให้เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกเขาสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าประเทศก้าวหน้า การขยายตัวในอัตราสูงมานับสิบปีทำให้ตอนนี้จีน บราซิล และอินเดียมีเศรษฐกิจรวมกันกว่าครึ่งโลก ในขณะเดียวกัน สินค้าราคาถูกก็เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้การบริโภคในประเทศก้าวหน้าขยายตัวอย่างรวดเร็วจนส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นขาดดุลการค้าในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง การขาดดุลนั้นนำไปสู่การกู้หนี้ยืมสินจำนวนมหาศาลจนทำให้สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนสถานะจากการเป็นเจ้าหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาเป็นลูกหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การโยกย้ายเงินตราได้ภายในพริบตาเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดกองทุนเพื่อเก็งกำไรขนาดใหญ่ กองทุนพวกนี้ไม่มีประโยชน์ต่อด้านการผลิตในเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากเป็นเพียงกิจการปั่นตัวเลขเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มันทำให้ผู้ปั่นร่ำรวยและมีบทบาทสูง ข้อมูลบ่งว่าในช่วงเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา กองทุนเพื่อเก็งกำไรมีส่วนผลักดันให้ภาคการเงินมีบทบาทสูงขึ้นมากในเศรษฐกิจ ในสหรัฐอเมริกา บทบาทนั้นเพิ่มเป็นสองเท่าจากราว 4% เป็น 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
ความสะดวกทางด้านการค้าขายและโยกย้ายเงินตรามีผลทำให้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศหนึ่งขยายไปถึงประเทศอื่นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว วิกฤตในเมืองไทยเมื่อปี 2540 จึงลุกลามไปถึงประเทศอื่นอย่างกว้างขวางและวิกฤตในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2551 ก็ลุกลามไปถึงประเทศอื่นอย่างรวดเร็ว ในสภาพการณ์เช่นนี้ ประเทศที่อาศัยการค้าขายต่างประเทศเป็นหัวจักรใหญ่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นไทยควรเก็บทุนสำรองไว้ในระดับสูงกว่าอัตราที่เคยคิดว่าเพียงพอ นั่นคือ เท่ากับค่าสินค้านำเข้าราว 3 เดือน เราคงยังไม่ลืมกันว่าเมื่อก่อนปี 2540 เรามีทุนสำรองราวสองเท่าของอัตรานั้น แต่มันหมดไปในเวลาอันสั้นเมื่อเกิดวิกฤต ยิ่งกว่านั้น บางคนอาจจำกรณีของอาร์เจนตินาได้ (หากจำไม่ได้อาจไปเปิดอ่านหนังสือชื่อ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ”) ย้อนไปก่อนวันที่ประธานาธิบดีฮวน เปโรน จะเข้ารับตำแหน่ง อาร์เจนตินาค้าขายจนร่ำรวยและมีทุนสำรองสูงถึงราว 2.5 เท่าของค่าสินค้านำเข้าต่อปี หรือสามารถซื้อสินค้าได้ถึง 30 เดือน ฮวน เปโรน เป็นผีปอบประชานิยม หลังเข้าบริหารประเทศไม่นาน เขาก็ผลาญทุนสำรองก้อนใหญ่จนหมดสิ้น
ทั้งที่สภาพการณ์บ่งชี้ว่าควรเก็บทุนสำรองไว้ให้มากที่สุด แต่พอรัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ พวกเมธีบริกรก็เสนอให้นำทุนสำรองกองใหญ่ออกมาบริหารแทนธนาคารแห่งประเทศไทย สร้างความสงสัยว่าอะไรคือแรงจูงใจที่แท้จริง พวกเขาให้เหตุผลว่า การนำทุนสำรองออกมาบริหารเช่นนั้นจะได้ค่าตอบแทนสูงกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำได้อยู่ในปัจจุบัน แต่นั่นเป็นการพูดเพียงด้านเดียว อีกด้านหนึ่งซึ่งมีความสำคัญยิ่งได้แก่ความเสี่ยงต่อการขาดทุนซึ่งจะไม่เกิดขึ้นเมื่อเงินนั้นอยู่ในความดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีความเสี่ยงทางด้านการเข้าถึงเงินก้อนใหญ่ของนักการเมืองที่ไม่มีจรรยา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพวกผีปอบ พวกเขาจะหาโอกาสถลุงทุนสำรองของชาติ กระบวนการอาจเกิดดังนี้
พวกเขาจะตั้งพรรคพวกกันเองรวมทั้งเมธีบริกรขึ้นมาเป็นกรรมการกองทุนที่ตั้งขึ้นจากทุนสำรองด้วยค่าตอบแทนแสนสูง กรรมการจะนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในบริษัทที่นักการเมืองและพวกพ้องไปตั้งไว้ในต่างประเทศ บริษัทอาจเป็นทั้งจำพวกที่มีกิจการจริงและจำพวกผีที่มีเฉพาะตู้ไปรษณีย์ตามเกาะต่างๆ ซึ่งพวกอาชญากรนิยมทำ ไม่ว่าจะลงทุนในบริษัทชนิดไหน โอกาสที่จะขาดทุนและสูญเงินเกิดขึ้นได้สูงทั้งนั้น ในตอนต้นๆ บริษัทจะแต่งบัญชีให้ดูมีกำไร ต่อไปบริษัทก็จะขาดทุนส่งผลให้ทุนสำรองของชาติสูญหายกลายเป็นเงินของพวกผีปอบซึ่งอาจมองว่าเป็นผีเปรตด้วยก็ได้หากทุนสำรองที่สูญไปเป็นเงินที่ได้มาจากการทอดผ้าป่ากับหลวงตามหาบัว
ผู้ที่มองเห็นว่ารัฐบาลนี้มีผีปอบและผีเปรตแฝงอยู่ควรออกมาร่วมกระบวนการต่อต้านกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีอยู่หลายกลุ่ม ถ้าออกมาไม่ได้ก็ส่งปัจจัยไปช่วยเขา เมื่อไหร่การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีการ “เป่านกหวีด” เพื่อสู้กับพวกผีที่ต้องการล้มล้างสถาบันและกินบ้านกินเมืองจนผอมเหลืองเจียนตาย อย่านิ่งดูดาย จงออกมาร่วม นี่คือวิธีรักษาทุนสำรองของชาติและบ้านเมืองไว้ให้ลูกหลาน
นั่นเป็นสิ่งที่ผมเขียนไว้หลายปีซึ่งผมมองว่ายังไม่ล้าสมัยแม้แต่นิดเดียว จึงอยากบอกคนไทยด้วยกันอีกครั้งหนึ่งว่า อย่านิ่งนอนใจกับนโยบายเศรษฐกิจในช่วงนี้ ควรติดตามแบบไม่กะพริบตา ทั้งนี้เพราะคนที่คุมนโยบายอยู่ในปัจจุบันคือพวกที่เริ่มนำเอาประชานิยมแบบเลวร้ายเข้ามาใช้ในประเทศเมื่อปี 2544 และเกือบจะทำให้ชาติไทยล่มจมเมื่อนโยบายประชานิยมเดินมาถึงโครงการรับจำนำข้าว คนพวกนี้อาจมีมาดเป็นเมธี แต่แท้จริงเป็นเพียงบริกรของพวกกระสือ หรือผีปอบและผีเปรตที่จ้องกินตับไตไส้พุงของประเทศไทย