วานนี้ (27ต.ค.) นายสมชัย สุวรรณบรรณ อดีต ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เข้ายื่นฟ้อง คณะกรรมการนโยบายส.ส.ท. ที่ออกประกาศเลิกสัญญาจ้างกับนายสมชัย และผู้บริหารไทยพีบีเอส โดยในคำฟ้อง มีผู้ฟ้องทั้งหมด 6 ราย ประกอบด้วยนายสมชัย, นายมงคล ลีลาธรรม, นายสุพจ จริงจิตร , นายพุทธิสัตย์ นามเดช , นางสมถวิล จรรยาวงษ์ และ น.ส.วิภา เหลืองมณี โดยฟ้อง ส.ส.ท. คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. และประธานคณะกรรมการนโยบายฯ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3
นายสมชัย กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้เนื่องจากคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. ออกประกาศเลิกสัญญาจ้างโดยไม่เป็นธรรมกับตน และคณะผู้บริหาร และไม่เป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติและวิธีการที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการประเมินการปฏิบัติงาน ก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอน จึงจำเป็นต้องพึ่งบารมีของศาล เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีชื่อเสียง เพราะเห็นว่าโดยกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ กรรมการนโยบายส.ส.ท. ต้องให้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน แต่กลับมีคำสั่งเลิกจ้างโดยผิดขั้นตอน และไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล สร้างความเสื่อมเสียให้แก่องค์กร ทั้งที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับการ ยอมรับเป็นองค์กรสื่อสาธารณะจาก UNESCO ซึ่งควรต้องได้รับการคุ้มครองตามเจตนารมณ์ที่ก่อตั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนบาดแผลขององค์กร
อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันเรื่องความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ การบริหารไทยพีบีเอสที่ผ่านมา ไม่มีอะไรบกพร่อง การบริหารของตนและคณะผู้บริหารประสบความสำเร็จ ทั้งเรื่องการประเมินผลที่ผ่านเกินเกณฑ์ และเรื่องโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอลกับ กสทช. ที่ปฏิบัติตามระเบียบทุกขั้นตอน อีกด้วย
"เมื่อเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ความจริงจะค่อยๆ คลี่คลาย ศาลจะเรียกคณะกรรมการนโยบายส.ส.ท. มาชี้แจงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งในคำชี้แจงของคณะกรรมการนโยบายส.ส.ท. มีการพาดพิงผม และมีคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ต่อจากนี้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ผมจะทำคำชี้แจงเพื่อให้พนักงานไทยพีบีเอส ทราบความจริงอีกด้านหนึ่ง การยื่นฟ้องครั้งนี้ไม่ได้ขอเพิกถอนมติของคณะกรรมการนโยบาย เพราะไม่ได้ต้องการกลับไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ ส.ส.ท.อีก เนื่องจากก็ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารชุดใหม่แล้ว และไม่ขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพราะไม่อยากให้องค์กรเกิดความเสียหาย แต่เป็นการฟ้องขอให้มีการชดใช้เยียวยาความเสียหาย จากการถูกเลิกสัญญาก่อนครบระยะเวลาสัญญา ซึ่งเหลืออีก 1 ปี โดยเป็นเงินเดือนในตำแหน่งผู้อำนวยการส.ส.ท.ประมาณ 3 แสนบาทต่อเดือน และรายได้อื่น" นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้เนื่องจากคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. ออกประกาศเลิกสัญญาจ้างโดยไม่เป็นธรรมกับตน และคณะผู้บริหาร และไม่เป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติและวิธีการที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการประเมินการปฏิบัติงาน ก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอน จึงจำเป็นต้องพึ่งบารมีของศาล เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีชื่อเสียง เพราะเห็นว่าโดยกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ กรรมการนโยบายส.ส.ท. ต้องให้ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน แต่กลับมีคำสั่งเลิกจ้างโดยผิดขั้นตอน และไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล สร้างความเสื่อมเสียให้แก่องค์กร ทั้งที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับการ ยอมรับเป็นองค์กรสื่อสาธารณะจาก UNESCO ซึ่งควรต้องได้รับการคุ้มครองตามเจตนารมณ์ที่ก่อตั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนบาดแผลขององค์กร
อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันเรื่องความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ การบริหารไทยพีบีเอสที่ผ่านมา ไม่มีอะไรบกพร่อง การบริหารของตนและคณะผู้บริหารประสบความสำเร็จ ทั้งเรื่องการประเมินผลที่ผ่านเกินเกณฑ์ และเรื่องโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอลกับ กสทช. ที่ปฏิบัติตามระเบียบทุกขั้นตอน อีกด้วย
"เมื่อเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ความจริงจะค่อยๆ คลี่คลาย ศาลจะเรียกคณะกรรมการนโยบายส.ส.ท. มาชี้แจงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งในคำชี้แจงของคณะกรรมการนโยบายส.ส.ท. มีการพาดพิงผม และมีคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ต่อจากนี้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ผมจะทำคำชี้แจงเพื่อให้พนักงานไทยพีบีเอส ทราบความจริงอีกด้านหนึ่ง การยื่นฟ้องครั้งนี้ไม่ได้ขอเพิกถอนมติของคณะกรรมการนโยบาย เพราะไม่ได้ต้องการกลับไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ ส.ส.ท.อีก เนื่องจากก็ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้บริหารชุดใหม่แล้ว และไม่ขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพราะไม่อยากให้องค์กรเกิดความเสียหาย แต่เป็นการฟ้องขอให้มีการชดใช้เยียวยาความเสียหาย จากการถูกเลิกสัญญาก่อนครบระยะเวลาสัญญา ซึ่งเหลืออีก 1 ปี โดยเป็นเงินเดือนในตำแหน่งผู้อำนวยการส.ส.ท.ประมาณ 3 แสนบาทต่อเดือน และรายได้อื่น" นายสมชัย กล่าว