ASTVผู้จัดการรายวัน - นักวิชาการเชื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐหนุนจีดีพีปี 58 โต 2.7% พร้อมดันปี 59 โต 3.5% เตือนดึงการบริโภคในอนาคตมาใช้อาจฉุดเศรษฐกิจในอีกปีครึ่งข้างหน้าชะลอตัว ขณะที่ สศค.ชี้มาตรการอสังหาฯช่วยตลาดดูดซับดีขึ้นเหลือ 17 เดือน
วานนี้ (27 ต.ค.58) ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ จัดงานสัมนาทิศทางที่อยู่อาศัย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยดร.เบญจรงค์ สวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าว่า นับจากรัฐบาลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ซึ่งเริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีปรับตัวดีขึ้นและคาดว่าจีดีพีในปีนี้จะอยู่ที่ 2.7% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 2.5% และคาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2559 และจะมีผลทำให้จีดีพีในปีหน้าสามารถขยายตัวได้ 3.5% โดยมีปัจจัยหนุนจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน การท่องเที่ยว
ส่วนการลงทุนภาครัฐ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน นับจากปี 2558 - 2565 มูลค่าลงทุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท จะส่งผลบวกต่อการลงทุนเอกชนในปี 2559 เป็นต้นไป และจะผลักดันการเติบโตของภาคก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขณะนี้ถือว่าอยู่ในจุดต่ำสุดของทิศทางดอกเบี้ยขาลงแล้ว แต่อย่างไรก็ดีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงระดับที่ 1.5% ไปถึงสิ้นไตรมาส 3 ปีหน้าก่อนจะเข้าสู่แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นในไตรมาส 4 ปีหน้าเป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการให้สินเชื่อและครัวเรือนมีข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทันที แต่ข้อเสียคือเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 จะเริ่มเห็นแนวโน้มที่สวนทางกัน เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านการให้สินเชื่อเป็นการนำเงินอนาคตมาใช้จะส่งผลให้การบริโภคทรุดตัวหลังจากมาตรการผ่านพ้นไปได้ประมาณ 1.5-2 ปี ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ตรงโดยผ่านมาตรการรถคันแรก เมื่อปี 2554 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวได้ถึง 6.8% และหลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็ชะลอตัวต่อเนื่อง 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องควรระวังหลังจากนี้ไป 1 ปีครึ่ง การบริโภคในประเทศจะมาจากทางใดซึ่งภาครัฐจะต้องวางกรอบการเบิกจ่ายเงินภาครัฐผ่านโครงการลงทุนต่างๆ จะต้องออกมา เพื่อที่จะมาเติมช่องทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริโภคในหมวดอสังหาริมทรัพย์ที่ภาครัฐได้มีมาตรการกระตุ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดีภาวะเศรษฐกิจในปีหน้า ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาภัยแล้ง และหนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง รวมถึงการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย 2% จากปีนี้ที่ติดลบ 5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และมีความเสี่ยงจากอุปสรรคต่างๆ อาทิ ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) สถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทีไอพี) และความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี
นายวโรทัย โกศลพิสิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ปัจจัยหนี้ครัวเรือนที่สูง ยังส่งผลกระทบต่อกำลังซื้ออยู่บ้าง โดยเฉพาะการก่อหนี้ใหม่สำหรับการซื้ออสังหาฯ ที่อาจทำได้ยากขึ้น แต่อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยบวกจากดอกเบี้ยระดับต่ำที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลมีมาตรการกระตุนอสังหาฯ ออกมา ทำให้การดูดซับของตลาดดีขึ้นจากเดิมที่ต้องใช้เวลา 21 เดือนจากช่วงต้นปี ลดเหลือเพียง 17 เดือนในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าดีขึ้น ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อภาคอสังหาฯ ได้แก่การปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ของกรมธนารักษ์ มีผล 1 ม.ค. 59 ที่ทำให้ราคาประเมินเพิ่ม 25% ทั่วประเทศและภาษีการรับมรดก ที่คาดว่าอาจมีผลบังคับใช้ก.พ. 59 ที่การรับมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีตามกฎหมายใหม่
นอกจากนี้ สศค. อยู่ระหว่างศึกษาการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันส์) และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (รีเวิร์ส มอร์เกจ) ที่ ผู้สูงอายุที่มีบ้าน สามารถนำบ้านมาเป็นหลักประกันสินเชื่อ ทำให้มีหลักประกันด้านรายได้ เมื่อเสียชีวิต จะนำบ้านไปจำหน่ายทอดตลาด ถ้ามีเงินเหลือจากการขายบ้านจะตกทอดไปยังบุตรหลาน แต่ถ้าไม่พอ บุตรหลานต้องรับภาระไป ซึ่งจะเสนอให้กระทรวงการคลังนำไปพิจารณาบังคับใช้ในอนาคตต่อไป
นอกจากนี้ สศค. กำลังศึกษาการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันส์) และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (รีเวิร์ส มอร์เกจ) ที่ ผู้สูงอายุที่มีบ้าน สามารถนำบ้านมาเป็นหลักประกันสินเชื่อ ทำให้มีหลักประกันด้านรายได้ เมื่อเสียชีวิต จะนำบ้านไปจำหน่ายทอดตลาด ถ้ามีเงินเหลือจากการขายบ้านจะตกทอดไปยังบุตรหลาน แต่ถ้าไม่พอ บุตรหลานต้องรับภาระไป ซึ่งจะเสนอให้กระทรวงการคลังนำไปพิจารณาบังคับใช้ในอนาคตต่อไป
วานนี้ (27 ต.ค.58) ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ จัดงานสัมนาทิศทางที่อยู่อาศัย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยดร.เบญจรงค์ สวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าว่า นับจากรัฐบาลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ซึ่งเริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีปรับตัวดีขึ้นและคาดว่าจีดีพีในปีนี้จะอยู่ที่ 2.7% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 2.5% และคาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2559 และจะมีผลทำให้จีดีพีในปีหน้าสามารถขยายตัวได้ 3.5% โดยมีปัจจัยหนุนจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน การท่องเที่ยว
ส่วนการลงทุนภาครัฐ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน นับจากปี 2558 - 2565 มูลค่าลงทุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท จะส่งผลบวกต่อการลงทุนเอกชนในปี 2559 เป็นต้นไป และจะผลักดันการเติบโตของภาคก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขณะนี้ถือว่าอยู่ในจุดต่ำสุดของทิศทางดอกเบี้ยขาลงแล้ว แต่อย่างไรก็ดีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงระดับที่ 1.5% ไปถึงสิ้นไตรมาส 3 ปีหน้าก่อนจะเข้าสู่แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นในไตรมาส 4 ปีหน้าเป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการให้สินเชื่อและครัวเรือนมีข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทันที แต่ข้อเสียคือเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 จะเริ่มเห็นแนวโน้มที่สวนทางกัน เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านการให้สินเชื่อเป็นการนำเงินอนาคตมาใช้จะส่งผลให้การบริโภคทรุดตัวหลังจากมาตรการผ่านพ้นไปได้ประมาณ 1.5-2 ปี ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ตรงโดยผ่านมาตรการรถคันแรก เมื่อปี 2554 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวได้ถึง 6.8% และหลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็ชะลอตัวต่อเนื่อง 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องควรระวังหลังจากนี้ไป 1 ปีครึ่ง การบริโภคในประเทศจะมาจากทางใดซึ่งภาครัฐจะต้องวางกรอบการเบิกจ่ายเงินภาครัฐผ่านโครงการลงทุนต่างๆ จะต้องออกมา เพื่อที่จะมาเติมช่องทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริโภคในหมวดอสังหาริมทรัพย์ที่ภาครัฐได้มีมาตรการกระตุ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดีภาวะเศรษฐกิจในปีหน้า ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาภัยแล้ง และหนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง รวมถึงการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย 2% จากปีนี้ที่ติดลบ 5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และมีความเสี่ยงจากอุปสรรคต่างๆ อาทิ ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) สถานการณ์การค้ามนุษย์ (ทีไอพี) และความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี
นายวโรทัย โกศลพิสิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ปัจจัยหนี้ครัวเรือนที่สูง ยังส่งผลกระทบต่อกำลังซื้ออยู่บ้าง โดยเฉพาะการก่อหนี้ใหม่สำหรับการซื้ออสังหาฯ ที่อาจทำได้ยากขึ้น แต่อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยบวกจากดอกเบี้ยระดับต่ำที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลมีมาตรการกระตุนอสังหาฯ ออกมา ทำให้การดูดซับของตลาดดีขึ้นจากเดิมที่ต้องใช้เวลา 21 เดือนจากช่วงต้นปี ลดเหลือเพียง 17 เดือนในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าดีขึ้น ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อภาคอสังหาฯ ได้แก่การปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ของกรมธนารักษ์ มีผล 1 ม.ค. 59 ที่ทำให้ราคาประเมินเพิ่ม 25% ทั่วประเทศและภาษีการรับมรดก ที่คาดว่าอาจมีผลบังคับใช้ก.พ. 59 ที่การรับมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีตามกฎหมายใหม่
นอกจากนี้ สศค. อยู่ระหว่างศึกษาการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันส์) และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (รีเวิร์ส มอร์เกจ) ที่ ผู้สูงอายุที่มีบ้าน สามารถนำบ้านมาเป็นหลักประกันสินเชื่อ ทำให้มีหลักประกันด้านรายได้ เมื่อเสียชีวิต จะนำบ้านไปจำหน่ายทอดตลาด ถ้ามีเงินเหลือจากการขายบ้านจะตกทอดไปยังบุตรหลาน แต่ถ้าไม่พอ บุตรหลานต้องรับภาระไป ซึ่งจะเสนอให้กระทรวงการคลังนำไปพิจารณาบังคับใช้ในอนาคตต่อไป
นอกจากนี้ สศค. กำลังศึกษาการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันส์) และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (รีเวิร์ส มอร์เกจ) ที่ ผู้สูงอายุที่มีบ้าน สามารถนำบ้านมาเป็นหลักประกันสินเชื่อ ทำให้มีหลักประกันด้านรายได้ เมื่อเสียชีวิต จะนำบ้านไปจำหน่ายทอดตลาด ถ้ามีเงินเหลือจากการขายบ้านจะตกทอดไปยังบุตรหลาน แต่ถ้าไม่พอ บุตรหลานต้องรับภาระไป ซึ่งจะเสนอให้กระทรวงการคลังนำไปพิจารณาบังคับใช้ในอนาคตต่อไป