หมายเหตุ : กงซี้ คือบ้านของชาวสวนยางที่ชาวสวนยางภาคใต้ใช้เป็นที่อยู่ที่พักอาศัยหรือเราเรียกว่า“บ้านในป่าสวนยาง”
ตลอดหลายวันนี้ติดตามข่าวพี่น้องชาวสวนยางภาคใต้ ขึ้นป้ายตามหมู่บ้านของภาคใต้ “ประกาศเขตภัยพิบัติ ราคายางพาราตกต่ำ” ซึ่งบอกเล่าความทุกข์ของชีวิตชาวสวนยางที่ผูกชีวิตของพวกเขาไว้กับราคายางพารา ยางราคาดี วิถีชีวิตเศรษฐกิจก็จะคึกคัก ยางราคาไม่ดี ก็ย่อมสั่นไหวเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่ร้านกาแฟในตลาดสด เขียงหมู จนไปถึงดีลเลอร์ตัวแทนขายรถยนต์ในภาคใต้ ยามนี้บ่นไปตามๆกันว่า เศรษฐกิจภาคใต้ ไม่มีกำลังซื้อ ขายของไม่ได้ เพราะชีวิตเศรษฐกิจภาคใต้แขวนไว้กับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้
กลับมามองดูสภาพชีวิตของชาวสวนยางตามกงซี้กันบ้าง!
เพื่อให้ได้เห็นภาพชีวิต ของคนกรีดยาง ชาวสวนยาง กงซี้ คือบ้านของชาวสวนยางที่ชาวสวนยางภาคใต้ใช้เป็นที่อยู่ที่พักที่อาศัยหรือเราเรียกว่า “บ้านในป่าสวนยาง” ตลอดเวลาหลายปีมานี้ เมื่อมองดูพัฒนาการของสังคมภาคใต้ที่อ้างว่าเจริญขึ้น มีการพัฒนามากขึ้น มีการประเมินกันว่า ในภาคใต้มี พี่น้องชาวสวนยางที่ยังอาศัยอยู่ตามกงซี้บ้านเล็กในป่าสวนยาง ประมาณกันว่ามีถึง 2 แสนครอบครัว เฉพาะในจังหวัดตรังจังหวัดเดียวมีเกือบ2หมื่นกงซี้
ก่อนหน้านี้เมื่อ30ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของสังคมภาคใต้ชีวิตของชาวสวนยางภาคใต้ยังไม่ได้เปราะบาง อ่อนแอทางเศรษฐกิจเหมือนทุกวันนี้ ชีวิตของชาวสวนยางไม่ได้ลำบากแสนสาหัสอย่างทุกวันนี้
อย่าได้แปลกใจเมื่อสังคมภาคใต้ผูกติดไว้กับยางเส้นเดียว เปลี่ยนผืนดิน แปลงผืนป่าปลูกเป็นสวนยางพารายึดมั่นเป็นพืชเศรษฐกิจ
ชีวิตมีความเสี่ยงสูง เปราะปาง สั่นไหวไปตามราคายาง นับย้อนหลังขึ้นไป20ปีมานี้ การชุมนุมของชาวสวนยางเกิดขึ้นทุกปีที่ยางราคาตกต่ำ การปิดถนนคือสัญลักษณ์แห่งการร้องทุกข์ว่า ชีวิตลำบาก อ่อนแอ เปราะบาง ชีวิตของชาวสวนยางเมื่อผูกโยงไว้กับยางเส้นเดียวที่เป็นท่อเลือดเศรษฐกิจแบบนี้ ปิดถนนครั้งหนึ่ง รัฐก็จะเข้าไปแทรกแซงซื้อเข้าสต๊อกโกดังของรัฐบาลกันครั้งหนึ่ง ราคายางพาราก็กระเตื้องขึ้นมา
นักวิชาการบางคนบอกว่ามันเป็นพืชการเมือง เหมือนข้าวที่เป็นพืชการเมืองของชาวนาในภาคกลาง ข้าวเปลือกลงราคา รถอีแต๊นรถอีเต๊กอีต๊อก ก็ลงถนนกันทุกครั้ง เพื่อบอกต่อรัฐบาล ช่วยแทรกแซงซื้อทิ้งซื้อขว้าง เข้าไปในโกดังของรัฐบาล เราได้เห็นพืชผลทางการเกษตรแผ่นดินของเรา
ทำไมความมั่งคั่งของแผ่นดินถึงมีล้นเหลือ ปลูกข้าวข้าวเน่าล้นประเทศ ปลูกลำไยก็ต้องเผาลำไยทิ้ง ปลูกหอมแดงรัฐก็ต้องไปซื้อทิ้งกองอยู่ในสนามฟุตบอลโรงเรียนในอีสาน ทิ้งเน่าเหม็นเป็นภูเขาเลากา
เส้นทางการพัฒนาประเทศของเรา ทำไมถึงมีชะตากรรมแบบนี้..!!
มันต้องมีอะไรที่ผิดพลาดหรือไม่?ในการบริหารจัดการทิศทางของประเทศ
การพัฒนาประเทศทำไม พี่น้องชาวนาเป็นหนี้สิ้นล้นพ้นตัว
การพัฒนาประเทศเรามีสวนยางมากขึ้น แต่ชาวสวนยางตามกงซี้ ลำบากยากจน เป็นหนี้นอกระบบกู้หนี้ยืมสิน อาหารไม่มีให้ลูกๆได้กินครบสามมื้อ
คุณภาพชีวิตตกต่ำ ลูกเล็กเด็กแดงต้องออกจากโรงเรียน กงซี้บ้านในสวนยาง จึงเป็นบ้านเล็กในป่าสวนยางที่เศร้าหมอง มองไม่เห็นอนาคต เพราะชีวิตของชาวสวนยางได้ผูกไว้กับยางเส้นเดียวจริงๆ
วันนี้ประเทศไทยกาลเวลาได้ถูลู่ถูกังให้กำเนิด การยางแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแล้ว เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับยางพาราให้สามารถบริหารจัดการอย่างมีเอกภาพ ให้ความมั่งคั่งในแผ่นดินบริหารจัดสรรให้ชาวสวนยางได้ประโยชน์สูงสุด มีความสุขตามสมควรในประเทศของเรา
จะขายยางเป็นที่หนึ่งของโลกก็ไม่ได้ว่า จะสร้างโรงงานแปรรูปเราก็ส่งเสริม จะผลักดันให้ไทยเป็นที่หนึ่งของผู้ผลิตยางเราก็ไม่ได้คัดค้าน
ตลอด 30 ปีของการติดตามพัฒนาการของอุตสาหกรรมยางของประเทศไทย ผมก็ได้เห็นโกดังคลังสินค้าที่เก็บยางของรัฐไฟไหม้อยู่บ่อยครั้งเช่นกัน
ผ่านโลกมาก็มาก เห็นการพัฒนาตามเขตอุตสาหกรรมทั้งในจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เห็นมาก็หลายประเทศ
4 เดือนที่ประเทศไทย ได้ให้กำเนิดการยางแห่งประเทศไทย
ผมกลับให้ความสำคัญกับศาสตร์ของพระราชา หลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่อยากจะบอกให้การยางแห่งประเทศไทย วางนโยบายการพัฒนาเอาชาวสวนยางเป็นที่ตั้ง เอากงซี้ เป็นหมุดหมายของชีวิตในการพัฒนา
30 ปีที่แล้ว กงซี้ในสวนยางของภาคใต้ เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงเมืองเลี้ยงชุมชน ทำสวนยางยางราคาดี ชีวิตก็ดีมีเงินเก็บออม แต่ชีวิตของพี่น้องชาวสวนยางในช่วงนั้น ก็ไม่ได้ผูกชีวิตไว้กับยางเส้นเดียว ผมอยู่ในสังคมชาวสวนยางในอำเภอนาบอน กงซี้ของชาวสวนยางมีการทำปศุสัตว์ขนาดเล็กแทบทุกครัวเรือนเลี้ยงหมูพันธุ์พื้นบ้านจากต้นกล้วย ในกงซี้เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่พื้นบ้าน มีการเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ด ชาวสวนยางนำไข่ไก่ไข่เป็ดพื้นบ้านลำเลียงออกมาขายในชุมชนในตลาดทุกวันพร้อมยางพารา ถึงฤดูกาลงานบุญเทศกาลต่างๆ หรือวันตรุษจีน กงซี้คือฟาร์มปศุสัตว์ขนาดเล็ก ซึ่งมีกันนับแสนครอบครัวที่ไม่ต้องพึ่ง ไก่ขาว หมูฟาร์มที่มาพร้อมฮอร์โมนและสารเร่ง
ในกงซี้สวนยางเป็นแหล่งผลิตสารพัดพืชผักเพื่อการบริโภคของชุมชนในตลาดในเมืองของภาคใต้ หน่อไม้ มะละกอ กล้วยหอม ส้มโอ ส้มจุก ข้าวโพด สารพัดพืชผักพื้นบ้านถูกลำเลียงออกสู่ท้องตลาดและชุมชนตัวอำเภอ
กงซี้ในสวนยางคือบ้านของชาวสวนยาง คือฐานการผลิตแหล่งอาหารเพื่อเลี้ยงเมือง
กงซี้ในสวนยางภาคใต้คือแหล่งผลิตวัตถุดิบเบื้องต้นให้กับชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
กงซี้ในสวนยางคือฐานการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำของเครื่องมือแพทย์ของโลก
กงซี้ในสวนยางคือแหล่งผลิตวัตถุดิบเบื้องต้นในการทำล้อของเครื่องบินของอุตสาหกรรมการบินแอร์บัสในฝรั่งเศส โบอิ่งในอิลลินอยส์
ผมอยากเห็นกงซี้ในสวนยางคือที่ที่พี่น้องชาวสวนยางของประเทศเรา
จะใช้ปัญญาไม่ให้อับจน นำศาสตร์ของพระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปฟื้นฟูชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์ประเทศเหมือนครั้งที่คนรุ่นพ่อรุ่นปู่สร้างกงซี้ให้เป็นรากฐานของชีวิต เราจะต้องไม่ผูกเงื่อนชีวิตไว้กับยางเส้นเดียวอีกต่อไป ..
ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
กงซี้ใหญ่ อ.นาบอน
ตลอดหลายวันนี้ติดตามข่าวพี่น้องชาวสวนยางภาคใต้ ขึ้นป้ายตามหมู่บ้านของภาคใต้ “ประกาศเขตภัยพิบัติ ราคายางพาราตกต่ำ” ซึ่งบอกเล่าความทุกข์ของชีวิตชาวสวนยางที่ผูกชีวิตของพวกเขาไว้กับราคายางพารา ยางราคาดี วิถีชีวิตเศรษฐกิจก็จะคึกคัก ยางราคาไม่ดี ก็ย่อมสั่นไหวเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่ร้านกาแฟในตลาดสด เขียงหมู จนไปถึงดีลเลอร์ตัวแทนขายรถยนต์ในภาคใต้ ยามนี้บ่นไปตามๆกันว่า เศรษฐกิจภาคใต้ ไม่มีกำลังซื้อ ขายของไม่ได้ เพราะชีวิตเศรษฐกิจภาคใต้แขวนไว้กับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้
กลับมามองดูสภาพชีวิตของชาวสวนยางตามกงซี้กันบ้าง!
เพื่อให้ได้เห็นภาพชีวิต ของคนกรีดยาง ชาวสวนยาง กงซี้ คือบ้านของชาวสวนยางที่ชาวสวนยางภาคใต้ใช้เป็นที่อยู่ที่พักที่อาศัยหรือเราเรียกว่า “บ้านในป่าสวนยาง” ตลอดเวลาหลายปีมานี้ เมื่อมองดูพัฒนาการของสังคมภาคใต้ที่อ้างว่าเจริญขึ้น มีการพัฒนามากขึ้น มีการประเมินกันว่า ในภาคใต้มี พี่น้องชาวสวนยางที่ยังอาศัยอยู่ตามกงซี้บ้านเล็กในป่าสวนยาง ประมาณกันว่ามีถึง 2 แสนครอบครัว เฉพาะในจังหวัดตรังจังหวัดเดียวมีเกือบ2หมื่นกงซี้
ก่อนหน้านี้เมื่อ30ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของสังคมภาคใต้ชีวิตของชาวสวนยางภาคใต้ยังไม่ได้เปราะบาง อ่อนแอทางเศรษฐกิจเหมือนทุกวันนี้ ชีวิตของชาวสวนยางไม่ได้ลำบากแสนสาหัสอย่างทุกวันนี้
อย่าได้แปลกใจเมื่อสังคมภาคใต้ผูกติดไว้กับยางเส้นเดียว เปลี่ยนผืนดิน แปลงผืนป่าปลูกเป็นสวนยางพารายึดมั่นเป็นพืชเศรษฐกิจ
ชีวิตมีความเสี่ยงสูง เปราะปาง สั่นไหวไปตามราคายาง นับย้อนหลังขึ้นไป20ปีมานี้ การชุมนุมของชาวสวนยางเกิดขึ้นทุกปีที่ยางราคาตกต่ำ การปิดถนนคือสัญลักษณ์แห่งการร้องทุกข์ว่า ชีวิตลำบาก อ่อนแอ เปราะบาง ชีวิตของชาวสวนยางเมื่อผูกโยงไว้กับยางเส้นเดียวที่เป็นท่อเลือดเศรษฐกิจแบบนี้ ปิดถนนครั้งหนึ่ง รัฐก็จะเข้าไปแทรกแซงซื้อเข้าสต๊อกโกดังของรัฐบาลกันครั้งหนึ่ง ราคายางพาราก็กระเตื้องขึ้นมา
นักวิชาการบางคนบอกว่ามันเป็นพืชการเมือง เหมือนข้าวที่เป็นพืชการเมืองของชาวนาในภาคกลาง ข้าวเปลือกลงราคา รถอีแต๊นรถอีเต๊กอีต๊อก ก็ลงถนนกันทุกครั้ง เพื่อบอกต่อรัฐบาล ช่วยแทรกแซงซื้อทิ้งซื้อขว้าง เข้าไปในโกดังของรัฐบาล เราได้เห็นพืชผลทางการเกษตรแผ่นดินของเรา
ทำไมความมั่งคั่งของแผ่นดินถึงมีล้นเหลือ ปลูกข้าวข้าวเน่าล้นประเทศ ปลูกลำไยก็ต้องเผาลำไยทิ้ง ปลูกหอมแดงรัฐก็ต้องไปซื้อทิ้งกองอยู่ในสนามฟุตบอลโรงเรียนในอีสาน ทิ้งเน่าเหม็นเป็นภูเขาเลากา
เส้นทางการพัฒนาประเทศของเรา ทำไมถึงมีชะตากรรมแบบนี้..!!
มันต้องมีอะไรที่ผิดพลาดหรือไม่?ในการบริหารจัดการทิศทางของประเทศ
การพัฒนาประเทศทำไม พี่น้องชาวนาเป็นหนี้สิ้นล้นพ้นตัว
การพัฒนาประเทศเรามีสวนยางมากขึ้น แต่ชาวสวนยางตามกงซี้ ลำบากยากจน เป็นหนี้นอกระบบกู้หนี้ยืมสิน อาหารไม่มีให้ลูกๆได้กินครบสามมื้อ
คุณภาพชีวิตตกต่ำ ลูกเล็กเด็กแดงต้องออกจากโรงเรียน กงซี้บ้านในสวนยาง จึงเป็นบ้านเล็กในป่าสวนยางที่เศร้าหมอง มองไม่เห็นอนาคต เพราะชีวิตของชาวสวนยางได้ผูกไว้กับยางเส้นเดียวจริงๆ
วันนี้ประเทศไทยกาลเวลาได้ถูลู่ถูกังให้กำเนิด การยางแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแล้ว เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับยางพาราให้สามารถบริหารจัดการอย่างมีเอกภาพ ให้ความมั่งคั่งในแผ่นดินบริหารจัดสรรให้ชาวสวนยางได้ประโยชน์สูงสุด มีความสุขตามสมควรในประเทศของเรา
จะขายยางเป็นที่หนึ่งของโลกก็ไม่ได้ว่า จะสร้างโรงงานแปรรูปเราก็ส่งเสริม จะผลักดันให้ไทยเป็นที่หนึ่งของผู้ผลิตยางเราก็ไม่ได้คัดค้าน
ตลอด 30 ปีของการติดตามพัฒนาการของอุตสาหกรรมยางของประเทศไทย ผมก็ได้เห็นโกดังคลังสินค้าที่เก็บยางของรัฐไฟไหม้อยู่บ่อยครั้งเช่นกัน
ผ่านโลกมาก็มาก เห็นการพัฒนาตามเขตอุตสาหกรรมทั้งในจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เห็นมาก็หลายประเทศ
4 เดือนที่ประเทศไทย ได้ให้กำเนิดการยางแห่งประเทศไทย
ผมกลับให้ความสำคัญกับศาสตร์ของพระราชา หลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่อยากจะบอกให้การยางแห่งประเทศไทย วางนโยบายการพัฒนาเอาชาวสวนยางเป็นที่ตั้ง เอากงซี้ เป็นหมุดหมายของชีวิตในการพัฒนา
30 ปีที่แล้ว กงซี้ในสวนยางของภาคใต้ เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงเมืองเลี้ยงชุมชน ทำสวนยางยางราคาดี ชีวิตก็ดีมีเงินเก็บออม แต่ชีวิตของพี่น้องชาวสวนยางในช่วงนั้น ก็ไม่ได้ผูกชีวิตไว้กับยางเส้นเดียว ผมอยู่ในสังคมชาวสวนยางในอำเภอนาบอน กงซี้ของชาวสวนยางมีการทำปศุสัตว์ขนาดเล็กแทบทุกครัวเรือนเลี้ยงหมูพันธุ์พื้นบ้านจากต้นกล้วย ในกงซี้เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่พื้นบ้าน มีการเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ด ชาวสวนยางนำไข่ไก่ไข่เป็ดพื้นบ้านลำเลียงออกมาขายในชุมชนในตลาดทุกวันพร้อมยางพารา ถึงฤดูกาลงานบุญเทศกาลต่างๆ หรือวันตรุษจีน กงซี้คือฟาร์มปศุสัตว์ขนาดเล็ก ซึ่งมีกันนับแสนครอบครัวที่ไม่ต้องพึ่ง ไก่ขาว หมูฟาร์มที่มาพร้อมฮอร์โมนและสารเร่ง
ในกงซี้สวนยางเป็นแหล่งผลิตสารพัดพืชผักเพื่อการบริโภคของชุมชนในตลาดในเมืองของภาคใต้ หน่อไม้ มะละกอ กล้วยหอม ส้มโอ ส้มจุก ข้าวโพด สารพัดพืชผักพื้นบ้านถูกลำเลียงออกสู่ท้องตลาดและชุมชนตัวอำเภอ
กงซี้ในสวนยางคือบ้านของชาวสวนยาง คือฐานการผลิตแหล่งอาหารเพื่อเลี้ยงเมือง
กงซี้ในสวนยางภาคใต้คือแหล่งผลิตวัตถุดิบเบื้องต้นให้กับชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
กงซี้ในสวนยางคือฐานการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำของเครื่องมือแพทย์ของโลก
กงซี้ในสวนยางคือแหล่งผลิตวัตถุดิบเบื้องต้นในการทำล้อของเครื่องบินของอุตสาหกรรมการบินแอร์บัสในฝรั่งเศส โบอิ่งในอิลลินอยส์
ผมอยากเห็นกงซี้ในสวนยางคือที่ที่พี่น้องชาวสวนยางของประเทศเรา
จะใช้ปัญญาไม่ให้อับจน นำศาสตร์ของพระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปฟื้นฟูชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์ประเทศเหมือนครั้งที่คนรุ่นพ่อรุ่นปู่สร้างกงซี้ให้เป็นรากฐานของชีวิต เราจะต้องไม่ผูกเงื่อนชีวิตไว้กับยางเส้นเดียวอีกต่อไป ..
ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
กงซี้ใหญ่ อ.นาบอน