ASTVผู้จัดการรายวัน - ThaiBMA เผย 9 เดือนมูลค่าคงค้าง 9.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.35% จากสิ้นปีก่อน โดยเอกชนยังออกบอนด์สูงต่อเนื่อง ระบุ ต้นเดือนต.ค. มีเงินไหลเข้าไทยกว่า 50,000 ล้านบาท ความไม่แน่นอนจากสหรัฐฯขึ้น ดบ.
นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่าตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 ว่า มูลค่าคงค้าง(Outstanding) ของตลาดโดยรวมเท่ากับ 9.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.35 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว โดยประกอบด้วยตราสารหนี้ภาครัฐร้อยละ 75 และภาคเอกชนร้อยละ 25
โดยภาคเอกชนออกตราสารหนี้ระยะยาวที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ในช่วง 9 เดือนแรกเท่ากับ 428,231 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ระยะยาวสูงถึง 109 บริษัท เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในจำนวนนี้เป็นผู้ออกรายใหม่ (Newcomer) ถึง 30 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีการเติบโตขึ้นตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA มียอดการออกรวมในช่วง 9 เดือนแรกเท่ากับ 638,976 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีผู้ออกรวมถึง 165 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผู้ออกรายใหม่ 49 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ด้านการลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 เงินลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้ไทยมียอดคงค้างลดลง 104,421 ล้านบาทซึ่งมีเงินไหลออกในตราสารหนี้ระยะสั้น 68,885 ล้านบาท เป็นการขายสุทธิ 11,526 ล้านบาท และครบอายุ 57,356 ล้านบาทส่วนตราสารหนี้ระยะยาวมีเงินไหลออก 35,535 ล้านบาท
สถานะการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ 562,831 ล้านบาท (เมื่อสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 594,115 ล้านบาท ลดลง 31,284 ล้านบาท) และการถือครองตราสารหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ 15,077 ล้านบาท (เมื่อสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 58,022 ล้านบาท ลดลง 42,945 ล้านบาท)เป็นผลมาจากการลดการถือครองตราสารหนี้ทั่วโลกจากความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่เดือนตุลาคม 12 วันที่ผ่านมา กระแสเงินทุนต่างประเทศเริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทย โดยมียอดซื้อสุทธิรวม 52,182 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้นจำนวน 41,183 ล้านบาท และตราสารระยะยาว ประมาณ 11,000ล้านบาทซึ่งคาดว่าเป็นการเข้ามาพักเงินทุนในช่วงสั้นของนักลงทุนต่างชาติหลังจากการคาดการณ์ต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไป
"คาดว่า ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ผลตอบแทนและอัตราดอกเบี้ยในตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงทรงตัวในระดับนี้ต่อไป ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวจะมีความผันผวนตามทิศทางของดอกเบี้ยระยะยาวสหรัฐฯ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะดีขึ้นแต่มีความผันผวนจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนยุโรโซน ดีขึ้นเล็กน้อยแต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังมีความไม่แน่นอนและมองไม่เห็นจุดต่ำสุด"
ทั้งนี้มองว่าหากสหรัฐฯไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ก็อาจเห็นเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยอีก แต่หากมีข่าวเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯก็จะเกิดความไม่น่อนตามมา ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเรื่องเงินทุนไหลเข้า ขณะเดียวกันยังมีเงินจากบลจ.ที่ออกไปลงทุนต่างประเทศและกลับเข้ามาหลังจากบราซิลโดนลดเรทติ้งตราสารหนี้
นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่าตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 ว่า มูลค่าคงค้าง(Outstanding) ของตลาดโดยรวมเท่ากับ 9.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.35 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว โดยประกอบด้วยตราสารหนี้ภาครัฐร้อยละ 75 และภาคเอกชนร้อยละ 25
โดยภาคเอกชนออกตราสารหนี้ระยะยาวที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ในช่วง 9 เดือนแรกเท่ากับ 428,231 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ระยะยาวสูงถึง 109 บริษัท เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในจำนวนนี้เป็นผู้ออกรายใหม่ (Newcomer) ถึง 30 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีการเติบโตขึ้นตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA มียอดการออกรวมในช่วง 9 เดือนแรกเท่ากับ 638,976 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีผู้ออกรวมถึง 165 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผู้ออกรายใหม่ 49 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ด้านการลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 เงินลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้ไทยมียอดคงค้างลดลง 104,421 ล้านบาทซึ่งมีเงินไหลออกในตราสารหนี้ระยะสั้น 68,885 ล้านบาท เป็นการขายสุทธิ 11,526 ล้านบาท และครบอายุ 57,356 ล้านบาทส่วนตราสารหนี้ระยะยาวมีเงินไหลออก 35,535 ล้านบาท
สถานะการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ 562,831 ล้านบาท (เมื่อสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 594,115 ล้านบาท ลดลง 31,284 ล้านบาท) และการถือครองตราสารหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นไตรมาส 3 อยู่ที่ 15,077 ล้านบาท (เมื่อสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 58,022 ล้านบาท ลดลง 42,945 ล้านบาท)เป็นผลมาจากการลดการถือครองตราสารหนี้ทั่วโลกจากความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่เดือนตุลาคม 12 วันที่ผ่านมา กระแสเงินทุนต่างประเทศเริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทย โดยมียอดซื้อสุทธิรวม 52,182 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้นจำนวน 41,183 ล้านบาท และตราสารระยะยาว ประมาณ 11,000ล้านบาทซึ่งคาดว่าเป็นการเข้ามาพักเงินทุนในช่วงสั้นของนักลงทุนต่างชาติหลังจากการคาดการณ์ต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไป
"คาดว่า ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ผลตอบแทนและอัตราดอกเบี้ยในตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงทรงตัวในระดับนี้ต่อไป ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวจะมีความผันผวนตามทิศทางของดอกเบี้ยระยะยาวสหรัฐฯ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะดีขึ้นแต่มีความผันผวนจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนยุโรโซน ดีขึ้นเล็กน้อยแต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังมีความไม่แน่นอนและมองไม่เห็นจุดต่ำสุด"
ทั้งนี้มองว่าหากสหรัฐฯไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ก็อาจเห็นเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยอีก แต่หากมีข่าวเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯก็จะเกิดความไม่น่อนตามมา ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเรื่องเงินทุนไหลเข้า ขณะเดียวกันยังมีเงินจากบลจ.ที่ออกไปลงทุนต่างประเทศและกลับเข้ามาหลังจากบราซิลโดนลดเรทติ้งตราสารหนี้