"อภิศักดิ์" เผยครม.อนุมัติแผนกระตุ้นอสังหาฯ ลดค่าจำนอง -โอนเหลือ 0.01% ไฟเขียวผู้ซื้อบ้านต่ำกว่า 3 ลบ. นำ 20% มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ภายใน 5 ปี "สมคิด"เร่งกคช.เดินหน้าทำบ้านมั่นคงตามคำบัญชาของนายกฯดูแลผู้มีรายได้ ระบุมาตรการอสังหาฯทำรัฐจัดเก็บลดลง 15,000 ล้านบาท แต่คุ้มค่าพร้อมลดภาษีนิติบุคคลถาวรเหลือ20%สร้างความมั่นให้นักลงทุน ยกเว้นภาษีเวนเจอร์แคปปิตอลที่เรียกเก็บอยู่ 20 % เป็นเวลา 10 ปี ขณะที่บิ๊กอสังหาฯรับเต็มๆ คาดตัวเลขโอนปลายปีคึกคัก
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้ (13 ต.ค.) คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์รวม 2 มาตรการ ดังนี้
มาตรการการเงิน ได้อนุมัติให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง วงเงินรวมเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลารับคำขอและการทำนิติกรรม 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี เน้นผู้ที่มีรายได้สุทธิต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท
มาตรการการคลัง โดยให้ลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ และห้องชุด จากเดิม 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ในกรณีการโอน และ 1 % ของมูลค่าที่จำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีการจำนองฯ ทั้งสองประเภทลดลงเหลือ 0.01% เป็นเวลา 6 เดือน
รวมถึงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นจำนวน 20 % ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี กล่าวคือต้องเป็นการซื้อครั้งแรกและเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง โดยต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเนื่องกัน 5 ปีภาษี นับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ โดยให้แบ่งใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ครม.มีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการที่ออกมานั้น จะทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐลดลง 15,000 ล้านบาท ต่อปี โดยเฉพาะจากการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง แต่เชื่อว่าในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นที่ออกมา
ลดภาษีนิติบุคคลถาวรเหลือ20%-เว้นเวนเจอร์แคปปิตอล
ที่ประชุมครม. ยังเห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% ที่จะสิ้นสุดการลดหย่อนถึงสิ้นปีนี้ ให้เป็นการถาวร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติ ที่ถึงแม้ว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยหากปรับลดแล้ว จะยังสูงกว่าประเทศอื่นในเอเชียก็ตาม และ ครม. ยังอนุมัติมาตร การภาษีช่วยกิจการร่วมลงทุน หรือ เวนเจอร์แคปปิตอล โดยยกเว้นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี จากปัจจุบันเสียอยู่ที่ 20 % เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนของภาคธุรกิจมากขึ้น
บิ๊กอสังหาฯเร่งปั๊มยอดโอนหนุนรายได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ คาดว่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมตลาดและต่อผู้ประกอบการ โดยทางผู้สื่อข่าวได้มีการสำรวจพบว่า บริษัทขนาดใหญ่ มียอดขายที่รอบันทึกเป็นรายได้(แบ็กล็อก)ในช่วงไตรมาส 4และต่อเนื่องถึงปี 59 หลายหมื่นล้านบาท
นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ANAN) กล่าวว่า บริษัทมองว่าหลังจากที่มาตการออกมาแล้ว จะส่งผลดีต่อภาพรวมอสังหาฯทั้งหมด แต่เป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามบริษัทมีโครงการที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทที่รอการขายและพร้อมโอนที่รองรับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯของภาครัฐอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท โดยบริษัทจะเร่งการขายและการโอนให้ทันระยะเวลา 6 เดือนของมาตรการ พร้อมกับมีโปรโมชั่นเสริมให้ลูกค้าอีกด้วย
สำหรับเป้ารายได้ในปีนี้ ทางบริษัทอนันดาฯวางไว้ที่ 10,500 ล้านบาท โดยจะมีการโอนโครงการอีก 6,000 ล้านบาทในไตรมาส 4 จากมูลค่ายอดขายรอโอน (Backlog) ทั้งหมดที่มี ณ ไตรมาส 3 จำนวน 36,000 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือจะทยอยโอนไปถึงปี 2561
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายแล้ว 12,000 ล้านบาท ส่วนยอดรับรู้รายได้คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ 16,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน บริษัทรับรู้รายได้ไปแล้ว 12,000 ล้านบาท เนื่องจากมีสินค้ารอรับรู้รายได้ในปีนี้อีกจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทไม่จำเป็นต้องเร่งเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะรายได้จากโครงการเปิดใหม่ก็จะไปรับรู้ในปีหน้า แต่บริษัทจะเน้นการขายสต๊อกคอนโดฯสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ที่ต้นปีมีอยู่ราว 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันสามารถขายออกไปได้กว่า 3,000 ล้านบาท โดยนำมาทำโปรโมชันขายในราคาต้นทุนเดิม และให้โปรโมชั่นอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทสามารถระบายสต๊อกได้อย่างต่อเนื่องเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ล้านบาท
โครงการที่จะเป็นไฮไลน์ โครงการทาวน์ชิป รังสิต คลอง 1 โอนประมาณเฟส 1 ประมาณ 3,000 ยูนิต เป็นมูลค่า... ทยอยโอนเริ่มสัปดาห์หน้า ที่ผ่านตรวจสภาพห้อง ทาวน์ชิป มี 3 เฟส 10,000 ยูนิต
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH กล่าวว่า คาดว่ารายได้รวมในปีนี้จะใกล้เคียงกับปี57 ที่บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 34,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคอสังหาฯตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยตัวเลขทั้งตลาดพบว่าชะลอตัว 20-25% จากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง
บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ระบุว่า ปัจจุบันมีแบ็กล็อก 15,790 ล้านบาท แยกเป็นแนวสูง 10,290 ล้านบาท และโครงการแนวราบ 5,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนสุดท้าของปีนี้ (ก.ย.-ธ.ค.58) จะมียอดโอนต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ 4,400 ล้านบาท แนวราบ 5,500 ล้านบาท โดยในปีนี้ ทางบริษัทเอพี ได้ตั้งเป้ายอดพีเซล 28,300 ล้านบาท ณ 30 ก.ย.มียอดขายแล้ว 22,300 ล้านบาท เป้ารายได้ทั้งปี 25,300 ล้านบาท ครึ่งปีแรกมียอดรับรู้รายได้ 10,440 ล้านบาท
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS ปัจจุบันมียอดขายรอโอนรวมอยู่ที่ 36,700 ล้านบาท ทยอยรับรู้ในไตรมาส 4 ประมาณ 14,000-15,000 ล้านบาท ที่เหลือจะทยอยรับรู้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ บริษัทคาดมีรายได้รวมเติบโตตามเป้าที่วางไว้ 47,000 ล้านบาท
บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI ช่วง 9 เดือนมียอดขาย 20,500 ล้านบาท มีรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกกว่า 17,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ทางบริษัท แสนสิริฯ คาดว่า หลังมาตรการกระตุ้นอสังหาฯออกมาจะเพิ่มการรับรู้รายได้ของบริษัทอีก 1,000-2,000 ล้านบาท
บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายรอโอนประมาณ 38,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกโอนไปแล้ว 10,000 ล้านบาท และจะโอนอีก 14,000 ล้านบาทในครึ่งปีหลัง ในส่วนของสินค้าพร้อมโอนทางบริษัทมีอยู่ประมาณ 4,600 ล้านบาท
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้ (13 ต.ค.) คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์รวม 2 มาตรการ ดังนี้
มาตรการการเงิน ได้อนุมัติให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง วงเงินรวมเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลารับคำขอและการทำนิติกรรม 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี เน้นผู้ที่มีรายได้สุทธิต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท
มาตรการการคลัง โดยให้ลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ และห้องชุด จากเดิม 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ในกรณีการโอน และ 1 % ของมูลค่าที่จำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีการจำนองฯ ทั้งสองประเภทลดลงเหลือ 0.01% เป็นเวลา 6 เดือน
รวมถึงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นจำนวน 20 % ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี กล่าวคือต้องเป็นการซื้อครั้งแรกและเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง โดยต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเนื่องกัน 5 ปีภาษี นับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ โดยให้แบ่งใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ครม.มีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการที่ออกมานั้น จะทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐลดลง 15,000 ล้านบาท ต่อปี โดยเฉพาะจากการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง แต่เชื่อว่าในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นที่ออกมา
ลดภาษีนิติบุคคลถาวรเหลือ20%-เว้นเวนเจอร์แคปปิตอล
ที่ประชุมครม. ยังเห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% ที่จะสิ้นสุดการลดหย่อนถึงสิ้นปีนี้ ให้เป็นการถาวร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติ ที่ถึงแม้ว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยหากปรับลดแล้ว จะยังสูงกว่าประเทศอื่นในเอเชียก็ตาม และ ครม. ยังอนุมัติมาตร การภาษีช่วยกิจการร่วมลงทุน หรือ เวนเจอร์แคปปิตอล โดยยกเว้นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี จากปัจจุบันเสียอยู่ที่ 20 % เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนของภาคธุรกิจมากขึ้น
บิ๊กอสังหาฯเร่งปั๊มยอดโอนหนุนรายได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ คาดว่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมตลาดและต่อผู้ประกอบการ โดยทางผู้สื่อข่าวได้มีการสำรวจพบว่า บริษัทขนาดใหญ่ มียอดขายที่รอบันทึกเป็นรายได้(แบ็กล็อก)ในช่วงไตรมาส 4และต่อเนื่องถึงปี 59 หลายหมื่นล้านบาท
นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ANAN) กล่าวว่า บริษัทมองว่าหลังจากที่มาตการออกมาแล้ว จะส่งผลดีต่อภาพรวมอสังหาฯทั้งหมด แต่เป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามบริษัทมีโครงการที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทที่รอการขายและพร้อมโอนที่รองรับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯของภาครัฐอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท โดยบริษัทจะเร่งการขายและการโอนให้ทันระยะเวลา 6 เดือนของมาตรการ พร้อมกับมีโปรโมชั่นเสริมให้ลูกค้าอีกด้วย
สำหรับเป้ารายได้ในปีนี้ ทางบริษัทอนันดาฯวางไว้ที่ 10,500 ล้านบาท โดยจะมีการโอนโครงการอีก 6,000 ล้านบาทในไตรมาส 4 จากมูลค่ายอดขายรอโอน (Backlog) ทั้งหมดที่มี ณ ไตรมาส 3 จำนวน 36,000 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือจะทยอยโอนไปถึงปี 2561
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายแล้ว 12,000 ล้านบาท ส่วนยอดรับรู้รายได้คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ 16,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน บริษัทรับรู้รายได้ไปแล้ว 12,000 ล้านบาท เนื่องจากมีสินค้ารอรับรู้รายได้ในปีนี้อีกจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทไม่จำเป็นต้องเร่งเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะรายได้จากโครงการเปิดใหม่ก็จะไปรับรู้ในปีหน้า แต่บริษัทจะเน้นการขายสต๊อกคอนโดฯสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ที่ต้นปีมีอยู่ราว 6,500 ล้านบาท ปัจจุบันสามารถขายออกไปได้กว่า 3,000 ล้านบาท โดยนำมาทำโปรโมชันขายในราคาต้นทุนเดิม และให้โปรโมชั่นอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทสามารถระบายสต๊อกได้อย่างต่อเนื่องเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ล้านบาท
โครงการที่จะเป็นไฮไลน์ โครงการทาวน์ชิป รังสิต คลอง 1 โอนประมาณเฟส 1 ประมาณ 3,000 ยูนิต เป็นมูลค่า... ทยอยโอนเริ่มสัปดาห์หน้า ที่ผ่านตรวจสภาพห้อง ทาวน์ชิป มี 3 เฟส 10,000 ยูนิต
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH กล่าวว่า คาดว่ารายได้รวมในปีนี้จะใกล้เคียงกับปี57 ที่บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 34,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคอสังหาฯตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยตัวเลขทั้งตลาดพบว่าชะลอตัว 20-25% จากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง
บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ระบุว่า ปัจจุบันมีแบ็กล็อก 15,790 ล้านบาท แยกเป็นแนวสูง 10,290 ล้านบาท และโครงการแนวราบ 5,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนสุดท้าของปีนี้ (ก.ย.-ธ.ค.58) จะมียอดโอนต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ 4,400 ล้านบาท แนวราบ 5,500 ล้านบาท โดยในปีนี้ ทางบริษัทเอพี ได้ตั้งเป้ายอดพีเซล 28,300 ล้านบาท ณ 30 ก.ย.มียอดขายแล้ว 22,300 ล้านบาท เป้ารายได้ทั้งปี 25,300 ล้านบาท ครึ่งปีแรกมียอดรับรู้รายได้ 10,440 ล้านบาท
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS ปัจจุบันมียอดขายรอโอนรวมอยู่ที่ 36,700 ล้านบาท ทยอยรับรู้ในไตรมาส 4 ประมาณ 14,000-15,000 ล้านบาท ที่เหลือจะทยอยรับรู้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ บริษัทคาดมีรายได้รวมเติบโตตามเป้าที่วางไว้ 47,000 ล้านบาท
บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI ช่วง 9 เดือนมียอดขาย 20,500 ล้านบาท มีรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกกว่า 17,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ทางบริษัท แสนสิริฯ คาดว่า หลังมาตรการกระตุ้นอสังหาฯออกมาจะเพิ่มการรับรู้รายได้ของบริษัทอีก 1,000-2,000 ล้านบาท
บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายรอโอนประมาณ 38,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกโอนไปแล้ว 10,000 ล้านบาท และจะโอนอีก 14,000 ล้านบาทในครึ่งปีหลัง ในส่วนของสินค้าพร้อมโอนทางบริษัทมีอยู่ประมาณ 4,600 ล้านบาท