วานนี้ (12 ต.ค.) นายเคท ครั้งพิบูลย์ สาวประเภทสอง พร้อมนายนคร ชมพูชาติ ทนายความ เข้ายื่นฟ้อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 ต่อศาลปกครองกลาง ในข้อหาใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง จากกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดี มีมติไม่เห็นชอบให้ว่าจ้างนายเคท เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ในตำแหน่งอาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ทั้งที่สอบผ่านข้อเขียน และสัมภาษณ์ โดยอ้างกรณีที่ นายเคท ได้โพสต์ภาพลิปสติกที่มีลักษณะคล้ายอวัยวะเพศชาย ผ่านสื่อออนไลน์ จึงเห็นว่า มีพฤติกรรมการแสดงออกด้วยการใช้ถ้อยคำผ่านสื่อสาธารณะในลักษณะที่ไม่เหมาะสม และส่งผลต่อภาพลักษณ์ของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ในคำฟ้องระบุว่า ภาพลิปสติกดังกล่าว เป็นของฝากจากประเทศญี่ปุ่น เป็นการโพสต์เพื่อขอบคุณผู้ที่ซื้อฝาก และเป็นการสื่อถึงเรื่องเพศวิถี ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมักจะใช้เรื่องเพศวิถี เป็นแรงบันดาลใจในการผลิตสินค้า อีกทั้งตามปกติผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ในการให้ข้อมูลเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ความหลากหลายทางเพศวิถี เพศสภาพ เพราะได้มีประสบการณ์ทำงานวิชาการในเรื่องดังกล่าวดังนั้น จึงเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีทัศนคติเรื่องเพศที่ตายตัว มองความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องผิดปกติ รวมทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีนำสื่อออนไลน์ มาเป็นดุลพินิจในการพิจารณานั้น ถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว เป็นการเลือกปฏิบัติ
ดังนั้น จึงขอให้ศาลปกครองสั่งเพิกถอนมติ ก.บ.ม. ครั้งที่5/2558 เมื่อวันที่ 2มี.ค.58 และ มติก.บ.ม. ครั้งที่10/2558 เมื่อวันที่ 22มิ.ย.58 ที่มีมติไม่เห็นชอบจ้างนายเคท เป็นอาจารย์ และให้ศาลสั่งให้ ก.บ.ม.รับนายเคท เป็นอาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ พร้อมให้ ทางมหาวิทยาลัยชดใช้ค่าสินไหม แก่นายเคท เป็นเงิน 363,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น รวมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียโอกาสแก่ นายเคท ในอัตราเดือนละ 23,700 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่า ก.บ.ม. จะรับนายเคท เป็นอาจารย์ในคณะดังกล่าว
นายเคท กล่าวว่า ตนหวังว่า คดีของตนจะเป็นบรรทัดฐานให้สังคมไทยเข้าใจสิทธิ และความเท่าเทียมทางเพศ อีกทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำลังร่างอยู่นั้น ตนต้องการให้ระบุถึงสิทธิทางเพศเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ลงข้อกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
ด้านนายนคร ชมพูชาติ ทนายความ กล่าวว่า คดีนี้เป็นการตรวจสอบแนวคิดการวินิจฉัยการใช้ดุลยพินิจรับคนเข้าทำงาน โดยการตรวจสอบครั้งนี้เพื่อให้เห็นเหตุผลชัดเจนขึ้น แม้มหาวิทยาลัยจะการอ้างหลักพิจารณาต่างๆ แต่ต้องมองเรื่องทางเพศวิถีในการประกอบการพิจารณาด้วย ตนหวังให้ศาลปกครองช่วยทำให้สังคมเห็นถึงความซับซ้อนต่างๆ
ทั้งนี้ ในคำฟ้องระบุว่า ภาพลิปสติกดังกล่าว เป็นของฝากจากประเทศญี่ปุ่น เป็นการโพสต์เพื่อขอบคุณผู้ที่ซื้อฝาก และเป็นการสื่อถึงเรื่องเพศวิถี ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมักจะใช้เรื่องเพศวิถี เป็นแรงบันดาลใจในการผลิตสินค้า อีกทั้งตามปกติผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ในการให้ข้อมูลเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ความหลากหลายทางเพศวิถี เพศสภาพ เพราะได้มีประสบการณ์ทำงานวิชาการในเรื่องดังกล่าวดังนั้น จึงเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีทัศนคติเรื่องเพศที่ตายตัว มองความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องผิดปกติ รวมทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีนำสื่อออนไลน์ มาเป็นดุลพินิจในการพิจารณานั้น ถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว เป็นการเลือกปฏิบัติ
ดังนั้น จึงขอให้ศาลปกครองสั่งเพิกถอนมติ ก.บ.ม. ครั้งที่5/2558 เมื่อวันที่ 2มี.ค.58 และ มติก.บ.ม. ครั้งที่10/2558 เมื่อวันที่ 22มิ.ย.58 ที่มีมติไม่เห็นชอบจ้างนายเคท เป็นอาจารย์ และให้ศาลสั่งให้ ก.บ.ม.รับนายเคท เป็นอาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ พร้อมให้ ทางมหาวิทยาลัยชดใช้ค่าสินไหม แก่นายเคท เป็นเงิน 363,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น รวมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียโอกาสแก่ นายเคท ในอัตราเดือนละ 23,700 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่า ก.บ.ม. จะรับนายเคท เป็นอาจารย์ในคณะดังกล่าว
นายเคท กล่าวว่า ตนหวังว่า คดีของตนจะเป็นบรรทัดฐานให้สังคมไทยเข้าใจสิทธิ และความเท่าเทียมทางเพศ อีกทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำลังร่างอยู่นั้น ตนต้องการให้ระบุถึงสิทธิทางเพศเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ลงข้อกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
ด้านนายนคร ชมพูชาติ ทนายความ กล่าวว่า คดีนี้เป็นการตรวจสอบแนวคิดการวินิจฉัยการใช้ดุลยพินิจรับคนเข้าทำงาน โดยการตรวจสอบครั้งนี้เพื่อให้เห็นเหตุผลชัดเจนขึ้น แม้มหาวิทยาลัยจะการอ้างหลักพิจารณาต่างๆ แต่ต้องมองเรื่องทางเพศวิถีในการประกอบการพิจารณาด้วย ตนหวังให้ศาลปกครองช่วยทำให้สังคมเห็นถึงความซับซ้อนต่างๆ