คนไทยส่วนใหญ่คงไม่รู้ว่ามีประเทศชื่อ “กายอานา” อยู่บนโลกเนื่องจากประเทศเล็กๆ นั้นอยู่ถึงทวีปอเมริกาใต้และไม่ค่อยเป็นข่าว ในทวีปอเมริกาใต้ ประเทศส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปนยกเว้นบราซิลซึ่งใช้ภาษาโปรตุเกสและกายอานาซึ่งใช้ภาษาอังกฤษ กายอานาเล็กมากเนื่องจากมีประชากรไม่ถึงล้านคน กายอานาค่อนข้างล้าหลังทั้งที่มีทรัพยากรมากและเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่น่าจะให้ข้อคิดหลายอย่างแก่ประเทศขนาดใหญ่รวมทั้งไทยด้วย
ผมคงเป็นคนไทยเพียงไม่กี่คนที่มีโอกาสรู้จักกายอานาค่อนข้างดีเพราะมีโอกาสไปที่นั่นหลายต่อหลายครั้งในระหว่างที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลก เรื่องราวของกายอานา ผมได้นำมาเล่าไว้พร้อมกับอีกหลายประเทศในหนังสือชื่อ “จดหมายจากวอชิงตัน” ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
“กายอานา” มีความหมายตามภาษาท้องถิ่นดั้งเดิมว่า “แผ่นดินแห่งหลายสายน้ำ” ชาวพื้นเมืองเรียกผืนแผ่นดินของตนเช่นนั้นเพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านและมีน้ำมากตลอดปีเนื่องจากมีฝนตกชุก แม้จะเคยถูกยึดครองเป็นเมืองขึ้นของชาวดัชต์และชาวอังกฤษอยู่เป็นเวลานาน แต่ชื่อเดิมของผืนแผ่นดินตรงนั้นยังถูกนำมาใช้หลังได้รับเอกราชเมื่อปี 2509
จริงอยู่กายอานามีสายน้ำอยู่ทั่วไป แต่รัฐมนตรีมหาดไทยเคยเปรยกับผมหลายครั้งด้วยการอ้างบทกลอนซึ่งสะท้อนสภาวะของกลาสีเรือผู้ลอยอยู่กลางทะเลหลังเรืออับปางที่ว่า “น้ำมีอยู่ทั่วไป แต่ไม่มีอะไรจะดื่ม” (Water, water, everywhere, Nor any drop to drink.) หรือบางครั้งก็อ้างถึงคำพูดกึ่งขำขันที่ว่า “น้ำหาไม่ค่อยได้ จงใช้เบียร์ดื่มแทน” การอ้างเช่นนั้นเป็นการชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริง นั่นคือ สายน้ำในกายอานามักสกปรกเกินไปสำหรับการใช้ดื่ม ปัจจัยที่ทำให้น้ำสกปรกมีหลายอย่างรวมทั้งการแสวงหาทองคำ
กายอานาปกคลุมด้วยป่าทึบเป็นส่วนใหญ่ ป่านั้นเป็นต้นน้ำสายเล็กๆ มากมายที่ไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ก่อนไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ในป่าและตามสายน้ำต่างๆ มักมีแร่ทองคำกระจัดกระจายอยู่ในดิน ด้วยเหตุนี้จึงมีการแสวงหาทองคำมาเป็นเวลานานเริ่มด้วยการร่อนทองตามแหล่งน้ำโดยนักแสวงโชคและชาวบ้านในย่านใกล้เคียง
เนื่องจากการร่อนทองมิใช่จะได้ทองก้อนใหญ่ๆ บ่อยนักเนื่องจากแร่ทองคำส่วนใหญ่ปนอยู่ในดินและทรายในรูปของฝุ่นผง นักร่อนทองส่วนใหญ่จึงต้องใช้กระบวนการแยกทองง่ายๆ นั่นคือ ใส่สารปรอทลงไปในทรายที่มีผงทองปนอยู่ เมื่อผงทองแยกตัวออกจากทรายมาเกาะปรอท นักร่อนทองก็เอาปรอทนั้นใส่กระทะแล้วเอาไฟลนก้นกระทะให้ปรอทร้อนจนระเหยออกไปและทิ้งทองไว้ที่ก้นกระทะ กระบวนการนี้อาจเกิดผลกระทบร้ายแรงได้หากนักร่อนทองหายใจอากาศที่มีไอพิษของปรอทเข้าไปในปอด หรือถ้าสารปรอทตกหล่นลงในสายน้ำและถูกดูดซึม หรือกลืนกินเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร
การร่อนทองแบบดั้งเดิมนั้นหายไปมากเนื่องจากชาวกายอานาเข้าถึงเครื่องจักรกลอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับชาวโลกโดยทั่วไปแล้ว เครื่องจักรกลที่นำไปใช้มักได้แก่รถไถและขุดจำพวก “แบคโฮ” เครื่องฉีดน้ำแรงสูงและเครื่องดูดทราย เครื่องจักรกลจำพวกนี้มีผลร้ายทั้งในด้านการทำลายป่าได้อย่างรวดเร็วและการก่อให้เกิดการพังทลายของพื้นดินริมสายน้ำทำให้น้ำขุ่นเป็นตมจนนำมาใช้ในกระบวนการหุงต้มและดื่มไม่ได้ ส่วนทรายที่นักแสวงหาทองเชื่อกันว่ามีแร่ทองปนอยู่ก็ถูกนำเข้าสู่กระบวนการแยกทองซึ่งมักใช้สารปรอทเป็นตัวยืน
การร่อนทองแบบดั้งเดิมและการใช้เครื่องจักรกลดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการไม่พบทองสูงมาก เนื่องจากเป็นเสมือนการสุ่มทำจำพวกทอดแหโดยไม่เห็นปลาผุด แต่การพบทองของนักแสวงโชคก็ยังจูงใจให้รัฐบาลกายอานาเชื่อว่าในป่ามีแร่ทองคำจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลขาดทั้งเงินทุนและความเชี่ยวชาญในการค้นหา จึงตัดสินใจให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ ต่อมาบริษัทจากแคนาดาสำรวจพบว่ามีแร่ทองคำตามคาด จึงลงทุนทำเหมืองขนาดใหญ่ขึ้นในกลางป่า
เนื่องจากเหมืองนั้นอยู่ห่างไกล ชาวกายอานาโดยทั่วไปจึงไม่มีโอกาสเห็นสภาพของการทำลายป่าและหน้าดินที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อพวกเขาและสิ่งแวดล้อม ส่วนทางรัฐบาลซึ่งมักขาดความโปร่งใสก็เต็มใจที่จะปล่อยให้เรื่องไม่เป็นข่าวจนชาวกายอานารู้ความจริง หลังเวลาผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง ชาวกายอานาจึงรู้เมื่อฝนตกใหญ่ทำให้ขอบสระที่ใช้เก็บน้ำผสมไซยาไนด์พัง เหมืองนั้นใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการแยกทอง กระบวนการนั้นก่อให้เกิดน้ำผสมสารไซยาไนด์ที่มีพิษร้ายในประมาณสูง วิธีกำจัดไซยาไนด์โดยทั่วไปได้แก่การสร้างสระขนาดใหญ่กักน้ำนั้นไว้ชั่วคราว เมื่อน้ำในสระถูกแดดเผา ไซยาไนด์จะระเหยไปโดยไม่ทำอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม การพังของขอบสระขนาดใหญ่ทำให้น้ำผสมไซยาไนด์ไหลลงในสายน้ำส่งผลให้ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กตายหมด อุบัติเหตุดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นที่กายอานาเท่านั้น หากยังมักเกิดขึ้นในประเทศอื่นที่มีเหมืองทองคำอีกด้วย
ในช่วงนี้มีข่าวอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องเมืองไทยให้สัมปทานการทำเหมืองทองคำแก่บริษัทข้ามชาติในแนวเดียวกันกับกายอานา พร้อมๆ กันนั้นก็มีการประชาสัมพันธ์ขนานใหญ่เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเหมืองทองคำจะนำมาซึ่งผลดีจำพวกทำให้มีการจ้างงานโดยปราศจากผลกระทบร้ายแรงต่อชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน มีกลุ่มคนไทยที่ไม่เชื่อการประชาสัมพันธ์นั้นจึงเริ่มออกมาต่อต้านด้วยการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความโปร่งใสจริงๆ
ณ วันนี้ ยังไม่มีข้อสรุป แต่แน่นอนว่าการประชาสัมพันธ์แบบนั้นเป็นการบิดเบือนเนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องเกิด ส่วนจะมากหรือน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งวิธีทำเหมือง กระบวนการแยกทอง การป้องกันผลกระทบและฝนฟ้าอากาศซึ่งธรรมชาติเป็นผู้กำหนด
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าทองคำมีค่าสูง แต่คนส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่าทองคำที่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตจริงๆ นั้นเป็นจำนวนน้อยนิด โดยเฉพาะในสิ่งของจำพวกเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นราว 9% ของทองคำที่ขุดขึ้นมาแล้วราว 183,600 ตันเท่านั้น ส่วนอีกกว่า 90% มิได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์มากนักหากมองให้ลึกลงไปจริงๆ ทั้งนี้เพราะราว 50% ใช้ในการทำเครื่องประดับ ราว 33% เป็นทองแท่งที่เก็บกันไว้สำหรับเก็งกำไรในหมู่ของผู้มีเงินเหลือใช้และราว 4% ธนาคารกลางต่างๆ เก็บไว้เป็นทุนสำรองในรูปของทองแท่งเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ค่าของทองคำส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องในจิตใจของมนุษย์เราที่ยึดติดและคิดว่ามันมีค่าจนพร้อมที่จะแยกมันออกมาจากธรรมชาติแม้จะต้องทำลายทั้งธรรมชาติและตนเองก็ตาม
การยึดติดและการคิดว่าทองคำมีค่าเกินกว่าประโยชน์ใช้สอยตามความจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิตอย่างแท้จริงนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ทองคำจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการรุกรานโดยกลุ่มชนที่มีพลังอำนาจสูงกว่าผู้อื่น ในปัจจุบัน การรุกรานมักไม่เป็นในรูปของการส่งกองทัพเข้าไปยึดครอง หากเป็นในรูปของการลงทุนโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งอาจทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้ารวมทั้งศีลธรรมจรรยาของตนและของผู้คนในท้องถิ่น ทองคำจึงไม่ต่างกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่มักมีคำสาปแฝงอยู่ ชนชาติที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และมีรัฐบาลฉ้อฉลมักจะโดนคำสาปร้ายแรงเสมอ
ผมคงเป็นคนไทยเพียงไม่กี่คนที่มีโอกาสรู้จักกายอานาค่อนข้างดีเพราะมีโอกาสไปที่นั่นหลายต่อหลายครั้งในระหว่างที่ทำงานอยู่กับธนาคารโลก เรื่องราวของกายอานา ผมได้นำมาเล่าไว้พร้อมกับอีกหลายประเทศในหนังสือชื่อ “จดหมายจากวอชิงตัน” ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
“กายอานา” มีความหมายตามภาษาท้องถิ่นดั้งเดิมว่า “แผ่นดินแห่งหลายสายน้ำ” ชาวพื้นเมืองเรียกผืนแผ่นดินของตนเช่นนั้นเพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านและมีน้ำมากตลอดปีเนื่องจากมีฝนตกชุก แม้จะเคยถูกยึดครองเป็นเมืองขึ้นของชาวดัชต์และชาวอังกฤษอยู่เป็นเวลานาน แต่ชื่อเดิมของผืนแผ่นดินตรงนั้นยังถูกนำมาใช้หลังได้รับเอกราชเมื่อปี 2509
จริงอยู่กายอานามีสายน้ำอยู่ทั่วไป แต่รัฐมนตรีมหาดไทยเคยเปรยกับผมหลายครั้งด้วยการอ้างบทกลอนซึ่งสะท้อนสภาวะของกลาสีเรือผู้ลอยอยู่กลางทะเลหลังเรืออับปางที่ว่า “น้ำมีอยู่ทั่วไป แต่ไม่มีอะไรจะดื่ม” (Water, water, everywhere, Nor any drop to drink.) หรือบางครั้งก็อ้างถึงคำพูดกึ่งขำขันที่ว่า “น้ำหาไม่ค่อยได้ จงใช้เบียร์ดื่มแทน” การอ้างเช่นนั้นเป็นการชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริง นั่นคือ สายน้ำในกายอานามักสกปรกเกินไปสำหรับการใช้ดื่ม ปัจจัยที่ทำให้น้ำสกปรกมีหลายอย่างรวมทั้งการแสวงหาทองคำ
กายอานาปกคลุมด้วยป่าทึบเป็นส่วนใหญ่ ป่านั้นเป็นต้นน้ำสายเล็กๆ มากมายที่ไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ก่อนไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ในป่าและตามสายน้ำต่างๆ มักมีแร่ทองคำกระจัดกระจายอยู่ในดิน ด้วยเหตุนี้จึงมีการแสวงหาทองคำมาเป็นเวลานานเริ่มด้วยการร่อนทองตามแหล่งน้ำโดยนักแสวงโชคและชาวบ้านในย่านใกล้เคียง
เนื่องจากการร่อนทองมิใช่จะได้ทองก้อนใหญ่ๆ บ่อยนักเนื่องจากแร่ทองคำส่วนใหญ่ปนอยู่ในดินและทรายในรูปของฝุ่นผง นักร่อนทองส่วนใหญ่จึงต้องใช้กระบวนการแยกทองง่ายๆ นั่นคือ ใส่สารปรอทลงไปในทรายที่มีผงทองปนอยู่ เมื่อผงทองแยกตัวออกจากทรายมาเกาะปรอท นักร่อนทองก็เอาปรอทนั้นใส่กระทะแล้วเอาไฟลนก้นกระทะให้ปรอทร้อนจนระเหยออกไปและทิ้งทองไว้ที่ก้นกระทะ กระบวนการนี้อาจเกิดผลกระทบร้ายแรงได้หากนักร่อนทองหายใจอากาศที่มีไอพิษของปรอทเข้าไปในปอด หรือถ้าสารปรอทตกหล่นลงในสายน้ำและถูกดูดซึม หรือกลืนกินเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร
การร่อนทองแบบดั้งเดิมนั้นหายไปมากเนื่องจากชาวกายอานาเข้าถึงเครื่องจักรกลอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับชาวโลกโดยทั่วไปแล้ว เครื่องจักรกลที่นำไปใช้มักได้แก่รถไถและขุดจำพวก “แบคโฮ” เครื่องฉีดน้ำแรงสูงและเครื่องดูดทราย เครื่องจักรกลจำพวกนี้มีผลร้ายทั้งในด้านการทำลายป่าได้อย่างรวดเร็วและการก่อให้เกิดการพังทลายของพื้นดินริมสายน้ำทำให้น้ำขุ่นเป็นตมจนนำมาใช้ในกระบวนการหุงต้มและดื่มไม่ได้ ส่วนทรายที่นักแสวงหาทองเชื่อกันว่ามีแร่ทองปนอยู่ก็ถูกนำเข้าสู่กระบวนการแยกทองซึ่งมักใช้สารปรอทเป็นตัวยืน
การร่อนทองแบบดั้งเดิมและการใช้เครื่องจักรกลดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการไม่พบทองสูงมาก เนื่องจากเป็นเสมือนการสุ่มทำจำพวกทอดแหโดยไม่เห็นปลาผุด แต่การพบทองของนักแสวงโชคก็ยังจูงใจให้รัฐบาลกายอานาเชื่อว่าในป่ามีแร่ทองคำจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลขาดทั้งเงินทุนและความเชี่ยวชาญในการค้นหา จึงตัดสินใจให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ ต่อมาบริษัทจากแคนาดาสำรวจพบว่ามีแร่ทองคำตามคาด จึงลงทุนทำเหมืองขนาดใหญ่ขึ้นในกลางป่า
เนื่องจากเหมืองนั้นอยู่ห่างไกล ชาวกายอานาโดยทั่วไปจึงไม่มีโอกาสเห็นสภาพของการทำลายป่าและหน้าดินที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อพวกเขาและสิ่งแวดล้อม ส่วนทางรัฐบาลซึ่งมักขาดความโปร่งใสก็เต็มใจที่จะปล่อยให้เรื่องไม่เป็นข่าวจนชาวกายอานารู้ความจริง หลังเวลาผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง ชาวกายอานาจึงรู้เมื่อฝนตกใหญ่ทำให้ขอบสระที่ใช้เก็บน้ำผสมไซยาไนด์พัง เหมืองนั้นใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการแยกทอง กระบวนการนั้นก่อให้เกิดน้ำผสมสารไซยาไนด์ที่มีพิษร้ายในประมาณสูง วิธีกำจัดไซยาไนด์โดยทั่วไปได้แก่การสร้างสระขนาดใหญ่กักน้ำนั้นไว้ชั่วคราว เมื่อน้ำในสระถูกแดดเผา ไซยาไนด์จะระเหยไปโดยไม่ทำอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม การพังของขอบสระขนาดใหญ่ทำให้น้ำผสมไซยาไนด์ไหลลงในสายน้ำส่งผลให้ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กตายหมด อุบัติเหตุดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นที่กายอานาเท่านั้น หากยังมักเกิดขึ้นในประเทศอื่นที่มีเหมืองทองคำอีกด้วย
ในช่วงนี้มีข่าวอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องเมืองไทยให้สัมปทานการทำเหมืองทองคำแก่บริษัทข้ามชาติในแนวเดียวกันกับกายอานา พร้อมๆ กันนั้นก็มีการประชาสัมพันธ์ขนานใหญ่เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเหมืองทองคำจะนำมาซึ่งผลดีจำพวกทำให้มีการจ้างงานโดยปราศจากผลกระทบร้ายแรงต่อชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน มีกลุ่มคนไทยที่ไม่เชื่อการประชาสัมพันธ์นั้นจึงเริ่มออกมาต่อต้านด้วยการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความโปร่งใสจริงๆ
ณ วันนี้ ยังไม่มีข้อสรุป แต่แน่นอนว่าการประชาสัมพันธ์แบบนั้นเป็นการบิดเบือนเนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องเกิด ส่วนจะมากหรือน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งวิธีทำเหมือง กระบวนการแยกทอง การป้องกันผลกระทบและฝนฟ้าอากาศซึ่งธรรมชาติเป็นผู้กำหนด
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าทองคำมีค่าสูง แต่คนส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่าทองคำที่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตจริงๆ นั้นเป็นจำนวนน้อยนิด โดยเฉพาะในสิ่งของจำพวกเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นราว 9% ของทองคำที่ขุดขึ้นมาแล้วราว 183,600 ตันเท่านั้น ส่วนอีกกว่า 90% มิได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์มากนักหากมองให้ลึกลงไปจริงๆ ทั้งนี้เพราะราว 50% ใช้ในการทำเครื่องประดับ ราว 33% เป็นทองแท่งที่เก็บกันไว้สำหรับเก็งกำไรในหมู่ของผู้มีเงินเหลือใช้และราว 4% ธนาคารกลางต่างๆ เก็บไว้เป็นทุนสำรองในรูปของทองแท่งเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ค่าของทองคำส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องในจิตใจของมนุษย์เราที่ยึดติดและคิดว่ามันมีค่าจนพร้อมที่จะแยกมันออกมาจากธรรมชาติแม้จะต้องทำลายทั้งธรรมชาติและตนเองก็ตาม
การยึดติดและการคิดว่าทองคำมีค่าเกินกว่าประโยชน์ใช้สอยตามความจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิตอย่างแท้จริงนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ทองคำจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการรุกรานโดยกลุ่มชนที่มีพลังอำนาจสูงกว่าผู้อื่น ในปัจจุบัน การรุกรานมักไม่เป็นในรูปของการส่งกองทัพเข้าไปยึดครอง หากเป็นในรูปของการลงทุนโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งอาจทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้ารวมทั้งศีลธรรมจรรยาของตนและของผู้คนในท้องถิ่น ทองคำจึงไม่ต่างกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่มักมีคำสาปแฝงอยู่ ชนชาติที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และมีรัฐบาลฉ้อฉลมักจะโดนคำสาปร้ายแรงเสมอ