ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากงานวิจัยล่าสุดที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ในวารสารห้องสมุดวิทยาศาสตร์สาธารณะ PLoS One : Public Library of Science ในห้วข้อ Soybean Oil is More Obesogenic and Diabetogenic than Coconut Oil and Fructose in Mouse : Potential Role for the Liver. โดย Poonamjot Deol และคณะ ซึ่งถือเป็นงานวิจัยครั้งแรกที่นำอาหาร 3 ชนิดมาทดลองในหนู คือ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำตาลฟรุ๊คโตส และน้ำมันมะพร้าว โดยได้มีการตรวจสอบในหลายมิติอย่างละเอียด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันพอกตับ ภาวะลำไส้ตรงปลิ้น การทำงานของตับ ฯลฯ รวมไปถึงการตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรมด้วย จึงทำให้ได้ข้อสรุปสำคัญว่า น้ำมันถั่วเหลือง (ซึ่งเป็นตัวแทนกรดไขมันสายยาวและเป็นไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน) ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ได้มากกว่าทั้งน้ำตาลจากฟรุ๊คโตส และมากกว่าน้ำมันมะพร้าว และยังทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับและก้อนไขมันโป่งพองในตับด้วย
แม้จะมีข้อสังเกตจากบางคนว่ากรณีดังกล่าวนี้เป็นเพียงการทดลองในหนูทดลองไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วการทดลองในหนูทดลองนั้นสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมและอาหารได้ดีกว่าการทดลองในมนุษย์ เพราะเราไม่สามารถกักขังหน่วงเหนี่ยวมนุษย์เพื่อควบคุมตัวแปรสภาพแวดล้อมตลอดเวลา หรือควบคุมอาหารที่เราออกแบบการทดลองในระยะยาวๆได้ ในขณะเดียวกันหนูทดลองมีอายุขัยสั้นจึงทำให้เห็นผลทั้งกระบวนการจนถึงวันสิ้นอายุขัย และเหนือสิ่งอื่นใดการทดลองในหนูไม่มีความเสี่ยงในเรื่องอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตมนุษย์ซึ่งถือเป็นเรื่องศีลธรรมที่ยังต้องอยู่ควบคู่กับการทดลอง
เพราะการทดลองในมนุษย์มีตัวแปรและปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมได้ยากกว่าการทดลองในหนูทดลอง ในประการหนึ่งจึงทำให้มีข้อถกเถียงกันได้อยู่ตลอดเวลาถึงตัวแปรต่างๆที่เกิดขึ้น แต่ในอีกประการหนึ่งคือต้องระวังภาวะ"ยาหลอก" (Placebo Effects)หรืออาการอุปทานของมนุษย์ร่วมด้วย เพราะมนุษย์มีอารมณ์และความรู้สึก และความคิดมากกว่าสัตว์ทดลอง
ดังนั้นการทดลองในหนูจึงมีประโยชน์ทำให้มนุษยชาติได้ "เบาะแส" ในเชิง "การเปรียบเทียบ" ก่อนที่จะมีการทดลองและตรวจติดตามผลในมนุษย์ต่อไป
และถ้าผลการทดลองในมนุษย์สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับสัตว์ทดลอง ก็จะทำให้เรามีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นได้มากขึ้น และข้อมูลจากการศึกษาและงานวิจัยที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จะเป็นส่วนเฉพาะในการทดลองในมนุษย์
งานวิจัยที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ได้เผยแพร่งานวิจัยจากวารสาร Lipids เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในหัวข้อ Effect of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity. ได้ทำการทดลองทางคลินิกในกลุ่มผู้หญิง 40 คน ระหว่างอายุ 20-40 ปี โดยให้กินน้ำมันถั่วเหลือง 20 คนวันละ 30 มิลลิลิตร และให้กินน้ำมันมะพร้าว 20 คน วันละ 30 มิลลิลิตร เป็นเวลา 12 สัปดาห์
ผลปรากฏว่าหลังผ่านไป 1 สัปดาห์ กลุ่มผู้ที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวมีไขมันตัวดี หรือ HDL สูงขึ้น และสัดส่วนของไขมัน LDL ต่อ HDL ลดต่ำลง (แปลว่าไขมันตัวไม่ดีลดลง และไขมันตัวดีสูงขึ้น) อย่างไรก็ตามแม้ว่าในกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มน้ำมันทั้ง 2 ชนิด มีดัชนีมวลกายลดลง แต่สำหรับกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวกลับมีขนาดรอบเอวลดลง ในขณะที่กลุ่มที่กินน้ำมันถั่วเหลืองกลับมีคอเลสเตอรอลสูงขึ้น LDL (ไขมันตัวไม่ดี)สูงขึ้น รวมถึงสัดส่วนของไขมัน LDL ต่อ HDL สูงขึ้น (หมายถึงว่าไขมันตัวไม่ดีสูงขึ้นและไขมันตัวดีกลับลดลง) จึงสรุปผลว่าอาหารเสริมในรูปของน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น และดูเหมือนว่าจะช่วยลดความอ้วนและไขมันหน้าท้องด้วย
ย้อนกลับไปในงานวิจัยที่เผยแพร่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 ในรายงานโภชนาการนานาชาติ (Nutrition Reports International) โดย Mendis และคณะ ในหัวข้อ The effect of replacing coconut oil on human serum lipid profiles and platelets derived factors active atherogenesis. ซึ่งทดลองกับผู้ชายหนุ่มชาวศรีลังกาจำนวน 16 คน ซึ่งเฟสแรกใช้เวลา 6 สัปดาห์ ในการกินน้ำมันมะพร้าว หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนให้มากินแป้งนมวัวและน้ำมันข้าวโพดอีก 6 สัปดาห์
ปรากฏว่าเมื่อเปลี่ยนจากการที่กินน้ำมันมะพร้าว 6 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนหันมากินน้ำมันข้าวโพด สัดส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL (ไขมันตัวดี) กลับลดลง ซึ่งโดยปกติแล้ว สัดส่วนดังกล่าว คอเลสเตอรอลไม่ควรมีเกิน 5.0 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ HDL โดยผลการทดลองได้ชี้ชัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวเปลี่ยนจาก 4.15 เท่าตัว ในช่วงการกินน้ำมันมะพร้าว มาเป็น 5.75 เท่าตัวเมื่อมากินน้ำมันถั่วเหลือง
และสัดส่วนระหว่างไขมันตัวไม่ดี (LDL) ต่อไขมันตัวดี (HDL) ซึ่งไม่ควรเกิน 3.0 ปรากฏว่าช่วงการกินน้ำมันมะพร้าวอยู่ที่ 3.0 พอดี แต่ช่วงเปลี่ยนมากินน้ำมันข้าวโพดสัดส่วนดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นเป็น 3.9
แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงด้วยโรคหลอดเลือดสูงขึ้นเมื่อเปลี่ยนจากการกินน้ำมันมะพร้าวมาเป็นน้ำมันข้าวโพด
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ในมีการสัมมนาเชิงวิชาการในมุมมองทางการแพทย์และโภชนาการเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้น Florentino RF และ AF Aguinaldo ได้นำเสนอรายงานเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและโรคหัวใจที่ฟิลลิปินส์ในพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ กรุงมินิลา โนคอส ลูซอนตอนกลาง ตากาล็อคตอนใต้ และไบโคล ปรากฏว่า กลุ่มประชากร ไบโคลซึ่งดื่มน้ำมันมะพร้าวและกะทิมากที่สุดอย่างชัดเจนคิดเป็นร้อยละ 62.4 ของไขมันที่บริโภค กลับมีสถิติอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่ำที่สุดอย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นที่ประจักษ์
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร Asia Pacific of Clinical Nutrition ในหัวข้อ Dietary intake and the risk of coronary heart disease among the coconut-consuming Minnagkabau in West Sumatra, Indonesia. โดย Lipoeto และคณะ ได้สำรวจกลุ่มประชากรในสุมาตราฝั่งตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มประชากร Minnagkabau บริโภคมะพร้าวสูงมากเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น และผลการวิจัยในครั้งนั้นได้สรุปว่า การบริโภคไขมันอิ่มตัวและน้ำมันมะพร้าวไม่สามารถใช้การคาดการณ์ได้ว่าจะทำให้เกิดโรคหัวใจแต่ประการใด
เช่นเดียวกับงานวิจัยในกลุ่มชาวจีน ที่เผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร Metabolism ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ในหัวข้อ Effects of dietary medium-chain triglyceride on weight loss and insulin sensitivity in a group of moderately overweight free-living type 2 diabetic Chinese subjects. ผลการสำรวจและวิจัยดังกล่าวให้แบ่งกลุ่มคนตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วกินน้ำมันวันละ 18 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 90 วัน กลุ่มแรกให้กินกรดไขมันสายปานกลาง (ซึ่งพบมากที่สุดตามธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าว) กลุ่มที่สองให้กินกลุ่มกรดไขมันสายยาว ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินกรดไขมันสายปานกลางกลาง (ซึ่งพบมากที่สุดตามธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าว) กลับมีน้ำหนักลดลง ขนาดรอบเอวลดลง ลดภาวะเบาหวาน และลดคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลง ซึ่งไม่พบปรากฏการณ์นี้เด่นชัดในกลุ่มกินกรดไขมันสายยาว จึงสรุปจากงานวิจัยชินนี้ว่าการกินกรดไขมันสายปานกลางกลาง (ซึ่งพบมากที่สุดตามธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าว) ช่วยลดความเสี่ยงในกลุ่มที่น้ำน้ำหนักมากด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง
เช่นเดียวกับงานวิจัยที่เผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร ISRN Pharmacology เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในหัวข้อ An Open-Label Pilot Study to Assess the Efficacy and Safety of Virgin Coconut Oil in Reducing Visceral Adiposity. โดย Kai Ming Liau โดยมีการศึกษาอาสาสมัครชาวมาเลเซียจำนวน 20 คน ที่อยู่ในภาวะอ้วน และให้กินน้ำมันมะรพ้าว วันละ 30 มิลลิลิตร พบว่าหลังผ่านไป 6 สัปดาห์ รอบเอวของกลุ่มตัวอย่างลดลง ไขมันในกระแสเลือดโดยรวมลดลง ทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ LDL(ไขมันตัวไม่ดี)ลดลง และ HDL (ไขมันตัวดี) เพิ่มสูงขึ้น แม้น้ำหนักโดยรวมและดัชนีมวลกาย และไขมันในร่างกายลดลง แต่ที่ชัดเจนก็คือขนาดรอบเอวก็ลดลงด้วยเช่นกัน
เช่นเดียวกับงานวิจัยที่เผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร Asia Pacific Journal of Clinical Nutrion เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในหัวข้อ Coconut oil is associated with beneficial lipid profile in pre-menopausal women in the Philippines. โดย Feranil และคณะ ได้ทำการสำรวจกลุ่มประชากรผู้หญิงจำนวน 1,839 คน อายุระหว่าง 35-69 ปี ซึ่งมีการใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นประจำวันประมาณ ผลการศึกษาพบว่าน้ำมันมะพร้าวจะช่วยเพิ่มไขมันตัวดี HDL ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผลต่อไขมันโดยรวมในร่างกาย และการบริโภคน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีความสัมพันธ์ในการเพิ่มกับไขมันตัวไม่ดีทั้ง LDL และ ไตรกลีเซอไรด์
ผลการศึกษาในมนุษย์ดังที่กล่าวมาข้างต้นเกิดขึ้นคล้ายคลึงกันในหลายประเทศโดยไม่ได้นัดหมาย และที่สำคัญก็สอดคล้องกับงานวิจัยในการทดลองในหนูทดลองด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงน่าจะพอเห็นทิศทางอย่างชัดเจนแล้วว่าน้ำมันมะพร้าวน่าจะช่วยเพิ่มไขมันตัวดีในกระแสเลือด ช่วยลดความอ้วน ช่วยลดไขมันหน้าท้อง และช่วยลดความเสี่ยงในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้จากงานวิจัยเหล่านี้
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากงานวิจัยล่าสุดที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ในวารสารห้องสมุดวิทยาศาสตร์สาธารณะ PLoS One : Public Library of Science ในห้วข้อ Soybean Oil is More Obesogenic and Diabetogenic than Coconut Oil and Fructose in Mouse : Potential Role for the Liver. โดย Poonamjot Deol และคณะ ซึ่งถือเป็นงานวิจัยครั้งแรกที่นำอาหาร 3 ชนิดมาทดลองในหนู คือ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำตาลฟรุ๊คโตส และน้ำมันมะพร้าว โดยได้มีการตรวจสอบในหลายมิติอย่างละเอียด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันพอกตับ ภาวะลำไส้ตรงปลิ้น การทำงานของตับ ฯลฯ รวมไปถึงการตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรมด้วย จึงทำให้ได้ข้อสรุปสำคัญว่า น้ำมันถั่วเหลือง (ซึ่งเป็นตัวแทนกรดไขมันสายยาวและเป็นไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน) ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ได้มากกว่าทั้งน้ำตาลจากฟรุ๊คโตส และมากกว่าน้ำมันมะพร้าว และยังทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับและก้อนไขมันโป่งพองในตับด้วย
แม้จะมีข้อสังเกตจากบางคนว่ากรณีดังกล่าวนี้เป็นเพียงการทดลองในหนูทดลองไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วการทดลองในหนูทดลองนั้นสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมและอาหารได้ดีกว่าการทดลองในมนุษย์ เพราะเราไม่สามารถกักขังหน่วงเหนี่ยวมนุษย์เพื่อควบคุมตัวแปรสภาพแวดล้อมตลอดเวลา หรือควบคุมอาหารที่เราออกแบบการทดลองในระยะยาวๆได้ ในขณะเดียวกันหนูทดลองมีอายุขัยสั้นจึงทำให้เห็นผลทั้งกระบวนการจนถึงวันสิ้นอายุขัย และเหนือสิ่งอื่นใดการทดลองในหนูไม่มีความเสี่ยงในเรื่องอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตมนุษย์ซึ่งถือเป็นเรื่องศีลธรรมที่ยังต้องอยู่ควบคู่กับการทดลอง
เพราะการทดลองในมนุษย์มีตัวแปรและปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมได้ยากกว่าการทดลองในหนูทดลอง ในประการหนึ่งจึงทำให้มีข้อถกเถียงกันได้อยู่ตลอดเวลาถึงตัวแปรต่างๆที่เกิดขึ้น แต่ในอีกประการหนึ่งคือต้องระวังภาวะ"ยาหลอก" (Placebo Effects)หรืออาการอุปทานของมนุษย์ร่วมด้วย เพราะมนุษย์มีอารมณ์และความรู้สึก และความคิดมากกว่าสัตว์ทดลอง
ดังนั้นการทดลองในหนูจึงมีประโยชน์ทำให้มนุษยชาติได้ "เบาะแส" ในเชิง "การเปรียบเทียบ" ก่อนที่จะมีการทดลองและตรวจติดตามผลในมนุษย์ต่อไป
และถ้าผลการทดลองในมนุษย์สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับสัตว์ทดลอง ก็จะทำให้เรามีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นได้มากขึ้น และข้อมูลจากการศึกษาและงานวิจัยที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จะเป็นส่วนเฉพาะในการทดลองในมนุษย์
งานวิจัยที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ได้เผยแพร่งานวิจัยจากวารสาร Lipids เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในหัวข้อ Effect of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity. ได้ทำการทดลองทางคลินิกในกลุ่มผู้หญิง 40 คน ระหว่างอายุ 20-40 ปี โดยให้กินน้ำมันถั่วเหลือง 20 คนวันละ 30 มิลลิลิตร และให้กินน้ำมันมะพร้าว 20 คน วันละ 30 มิลลิลิตร เป็นเวลา 12 สัปดาห์
ผลปรากฏว่าหลังผ่านไป 1 สัปดาห์ กลุ่มผู้ที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวมีไขมันตัวดี หรือ HDL สูงขึ้น และสัดส่วนของไขมัน LDL ต่อ HDL ลดต่ำลง (แปลว่าไขมันตัวไม่ดีลดลง และไขมันตัวดีสูงขึ้น) อย่างไรก็ตามแม้ว่าในกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มน้ำมันทั้ง 2 ชนิด มีดัชนีมวลกายลดลง แต่สำหรับกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวกลับมีขนาดรอบเอวลดลง ในขณะที่กลุ่มที่กินน้ำมันถั่วเหลืองกลับมีคอเลสเตอรอลสูงขึ้น LDL (ไขมันตัวไม่ดี)สูงขึ้น รวมถึงสัดส่วนของไขมัน LDL ต่อ HDL สูงขึ้น (หมายถึงว่าไขมันตัวไม่ดีสูงขึ้นและไขมันตัวดีกลับลดลง) จึงสรุปผลว่าอาหารเสริมในรูปของน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น และดูเหมือนว่าจะช่วยลดความอ้วนและไขมันหน้าท้องด้วย
ย้อนกลับไปในงานวิจัยที่เผยแพร่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 ในรายงานโภชนาการนานาชาติ (Nutrition Reports International) โดย Mendis และคณะ ในหัวข้อ The effect of replacing coconut oil on human serum lipid profiles and platelets derived factors active atherogenesis. ซึ่งทดลองกับผู้ชายหนุ่มชาวศรีลังกาจำนวน 16 คน ซึ่งเฟสแรกใช้เวลา 6 สัปดาห์ ในการกินน้ำมันมะพร้าว หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนให้มากินแป้งนมวัวและน้ำมันข้าวโพดอีก 6 สัปดาห์
ปรากฏว่าเมื่อเปลี่ยนจากการที่กินน้ำมันมะพร้าว 6 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนหันมากินน้ำมันข้าวโพด สัดส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL (ไขมันตัวดี) กลับลดลง ซึ่งโดยปกติแล้ว สัดส่วนดังกล่าว คอเลสเตอรอลไม่ควรมีเกิน 5.0 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ HDL โดยผลการทดลองได้ชี้ชัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวเปลี่ยนจาก 4.15 เท่าตัว ในช่วงการกินน้ำมันมะพร้าว มาเป็น 5.75 เท่าตัวเมื่อมากินน้ำมันถั่วเหลือง
และสัดส่วนระหว่างไขมันตัวไม่ดี (LDL) ต่อไขมันตัวดี (HDL) ซึ่งไม่ควรเกิน 3.0 ปรากฏว่าช่วงการกินน้ำมันมะพร้าวอยู่ที่ 3.0 พอดี แต่ช่วงเปลี่ยนมากินน้ำมันข้าวโพดสัดส่วนดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นเป็น 3.9
แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงด้วยโรคหลอดเลือดสูงขึ้นเมื่อเปลี่ยนจากการกินน้ำมันมะพร้าวมาเป็นน้ำมันข้าวโพด
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ในมีการสัมมนาเชิงวิชาการในมุมมองทางการแพทย์และโภชนาการเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้น Florentino RF และ AF Aguinaldo ได้นำเสนอรายงานเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและโรคหัวใจที่ฟิลลิปินส์ในพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ กรุงมินิลา โนคอส ลูซอนตอนกลาง ตากาล็อคตอนใต้ และไบโคล ปรากฏว่า กลุ่มประชากร ไบโคลซึ่งดื่มน้ำมันมะพร้าวและกะทิมากที่สุดอย่างชัดเจนคิดเป็นร้อยละ 62.4 ของไขมันที่บริโภค กลับมีสถิติอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่ำที่สุดอย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นที่ประจักษ์
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร Asia Pacific of Clinical Nutrition ในหัวข้อ Dietary intake and the risk of coronary heart disease among the coconut-consuming Minnagkabau in West Sumatra, Indonesia. โดย Lipoeto และคณะ ได้สำรวจกลุ่มประชากรในสุมาตราฝั่งตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มประชากร Minnagkabau บริโภคมะพร้าวสูงมากเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น และผลการวิจัยในครั้งนั้นได้สรุปว่า การบริโภคไขมันอิ่มตัวและน้ำมันมะพร้าวไม่สามารถใช้การคาดการณ์ได้ว่าจะทำให้เกิดโรคหัวใจแต่ประการใด
เช่นเดียวกับงานวิจัยในกลุ่มชาวจีน ที่เผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร Metabolism ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ในหัวข้อ Effects of dietary medium-chain triglyceride on weight loss and insulin sensitivity in a group of moderately overweight free-living type 2 diabetic Chinese subjects. ผลการสำรวจและวิจัยดังกล่าวให้แบ่งกลุ่มคนตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วกินน้ำมันวันละ 18 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 90 วัน กลุ่มแรกให้กินกรดไขมันสายปานกลาง (ซึ่งพบมากที่สุดตามธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าว) กลุ่มที่สองให้กินกลุ่มกรดไขมันสายยาว ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินกรดไขมันสายปานกลางกลาง (ซึ่งพบมากที่สุดตามธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าว) กลับมีน้ำหนักลดลง ขนาดรอบเอวลดลง ลดภาวะเบาหวาน และลดคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลง ซึ่งไม่พบปรากฏการณ์นี้เด่นชัดในกลุ่มกินกรดไขมันสายยาว จึงสรุปจากงานวิจัยชินนี้ว่าการกินกรดไขมันสายปานกลางกลาง (ซึ่งพบมากที่สุดตามธรรมชาติในน้ำมันมะพร้าว) ช่วยลดความเสี่ยงในกลุ่มที่น้ำน้ำหนักมากด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง
เช่นเดียวกับงานวิจัยที่เผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร ISRN Pharmacology เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในหัวข้อ An Open-Label Pilot Study to Assess the Efficacy and Safety of Virgin Coconut Oil in Reducing Visceral Adiposity. โดย Kai Ming Liau โดยมีการศึกษาอาสาสมัครชาวมาเลเซียจำนวน 20 คน ที่อยู่ในภาวะอ้วน และให้กินน้ำมันมะรพ้าว วันละ 30 มิลลิลิตร พบว่าหลังผ่านไป 6 สัปดาห์ รอบเอวของกลุ่มตัวอย่างลดลง ไขมันในกระแสเลือดโดยรวมลดลง ทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ LDL(ไขมันตัวไม่ดี)ลดลง และ HDL (ไขมันตัวดี) เพิ่มสูงขึ้น แม้น้ำหนักโดยรวมและดัชนีมวลกาย และไขมันในร่างกายลดลง แต่ที่ชัดเจนก็คือขนาดรอบเอวก็ลดลงด้วยเช่นกัน
เช่นเดียวกับงานวิจัยที่เผยแพร่ในห้องสมุดทางการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (PubMed) ในวารสาร Asia Pacific Journal of Clinical Nutrion เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในหัวข้อ Coconut oil is associated with beneficial lipid profile in pre-menopausal women in the Philippines. โดย Feranil และคณะ ได้ทำการสำรวจกลุ่มประชากรผู้หญิงจำนวน 1,839 คน อายุระหว่าง 35-69 ปี ซึ่งมีการใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นประจำวันประมาณ ผลการศึกษาพบว่าน้ำมันมะพร้าวจะช่วยเพิ่มไขมันตัวดี HDL ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผลต่อไขมันโดยรวมในร่างกาย และการบริโภคน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีความสัมพันธ์ในการเพิ่มกับไขมันตัวไม่ดีทั้ง LDL และ ไตรกลีเซอไรด์
ผลการศึกษาในมนุษย์ดังที่กล่าวมาข้างต้นเกิดขึ้นคล้ายคลึงกันในหลายประเทศโดยไม่ได้นัดหมาย และที่สำคัญก็สอดคล้องกับงานวิจัยในการทดลองในหนูทดลองด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงน่าจะพอเห็นทิศทางอย่างชัดเจนแล้วว่าน้ำมันมะพร้าวน่าจะช่วยเพิ่มไขมันตัวดีในกระแสเลือด ช่วยลดความอ้วน ช่วยลดไขมันหน้าท้อง และช่วยลดความเสี่ยงในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้จากงานวิจัยเหล่านี้