ASTV ผู้จัดการรายวัน - “วิษณุ” ชี้คำสั่งทางปกครองให้ “ยิ่งลักษณ์” ชดใช้ค่าเสียหายจำนำข้าวบังคับได้ เปรียบเหมือนศาลตัดสิน ส่วนเรื่องดอกเบี้ยให้ดูตามคำสั่ง รับต้องสอยหัวขบวนก่อนเพราะมีอายุความสั้นกว่า
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณีหากมีคำสั่งทางปกครอง ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องชดใช้ค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว แล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่จ่ายเงิน และไม่ฟ้องคัดค้านคำสั่งต่อศาลปกครอง รัฐบาลจะสามารถบังคับคดีได้หรือไม่ว่า สามารถทำได้โดยจะมีผลเหมือนกับที่ศาลตัดสิน ส่วนระยะเวลาก็เป็นตามปกติทั่วไปเหมือนการยึดทรัพย์บังคับคดี ซึ่งอาจ เป็นกระบวนการทางศาล จะจัดการจนได้
** อุบวิธีบังคับให้จ่ายหนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า คำสั่งทางปกครอง มีศักดิ์และศรีเท่ากับคำพิพากษาของศาลใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่มีวิธีบังคับได้ และยังไม่บอกว่าจะบังคับอย่างไร เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาเยอะแล้ว ประมาณ 300 กว่าราย บางคดีฟ้องศาลปกครองใช้เวลาเป็น 10ปี ศาลก็ตัดสินให้บางคนผิด ให้บางคนเพิกถอนคำสั่ง
เมื่อถามอีกว่า หากคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง จำเป็นต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามจำนวนวงเงินหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ต้องเสียดอกเบี้ย แต่เริ่มต้นต้องดูที่คำสั่งทางปกครองว่าให้ชดใช้เท่าใด และเมื่อมีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่ง หากศาลเพิกถอนก็เพิกถอนทั้งหมด แต่ถ้าศาลไม่เพิกถอนก็ต้องจ่ายตามที่คำสั่งเขียนไว้ จะไม่เหมือนคดีแพ่งธรรมดา แต่เรื่องยังไปอีกยาว ยังไม่ต้องเตรียมตัว
** อายุความบีบต้องสอยหัวขบวนก่อน
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้ถูกมองว่า ยังไม่มีการฟ้องร้องฝ่ายปฏิบัติ แต่มีการดำเนินการกับหัวขบวนก่อน นายวิษณุ กล่าวว่า การดำเนินคดีมี 2 อย่าง 1.เอาหัวขบวนก่อน และ 2 .เอาหางขบวนก่อน แล้วแต่จะเรียงลำดับ แต่เรื่องนี้ต้องเอาหัวขบวนก่อน เพราะอายุความจะครบกำหนดเร็วกว่า และเป็นเรื่องที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจส่งเรื่องมา ส่วนหางขบวน ป.ป.ช.ไม่ได้ส่งมา และกำหนดเวลาเป็นอีกแบบหนึ่ง การจะฟ้องศาลก็เป็นคนละคดี คนละข้อหา และคนละศาล หากเปรียบเทียบแบบไม่ตรงนัก หัวขบวนคือตัวการ หางขบวนเป็นผู้สนับสนุน ถ้าไม่ฟ้องตัวการก่อนจะบอกได้อย่างไรว่า ผู้สนับสนุนมีความผิด ส่วนที่ดำเนินคดีกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น เพราะป.ป.ช.ส่งเรื่องมาว่ามีผู้กระทำผิด มีการถอดถอน และรัฐบาลต้องดำเนินการต่อ ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งทางอาญาก็มีการฟ้องร้องไปแล้ว ทางแพ่งก็ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณีหากมีคำสั่งทางปกครอง ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องชดใช้ค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว แล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่จ่ายเงิน และไม่ฟ้องคัดค้านคำสั่งต่อศาลปกครอง รัฐบาลจะสามารถบังคับคดีได้หรือไม่ว่า สามารถทำได้โดยจะมีผลเหมือนกับที่ศาลตัดสิน ส่วนระยะเวลาก็เป็นตามปกติทั่วไปเหมือนการยึดทรัพย์บังคับคดี ซึ่งอาจ เป็นกระบวนการทางศาล จะจัดการจนได้
** อุบวิธีบังคับให้จ่ายหนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า คำสั่งทางปกครอง มีศักดิ์และศรีเท่ากับคำพิพากษาของศาลใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่มีวิธีบังคับได้ และยังไม่บอกว่าจะบังคับอย่างไร เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาเยอะแล้ว ประมาณ 300 กว่าราย บางคดีฟ้องศาลปกครองใช้เวลาเป็น 10ปี ศาลก็ตัดสินให้บางคนผิด ให้บางคนเพิกถอนคำสั่ง
เมื่อถามอีกว่า หากคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง จำเป็นต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามจำนวนวงเงินหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ต้องเสียดอกเบี้ย แต่เริ่มต้นต้องดูที่คำสั่งทางปกครองว่าให้ชดใช้เท่าใด และเมื่อมีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่ง หากศาลเพิกถอนก็เพิกถอนทั้งหมด แต่ถ้าศาลไม่เพิกถอนก็ต้องจ่ายตามที่คำสั่งเขียนไว้ จะไม่เหมือนคดีแพ่งธรรมดา แต่เรื่องยังไปอีกยาว ยังไม่ต้องเตรียมตัว
** อายุความบีบต้องสอยหัวขบวนก่อน
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนี้ถูกมองว่า ยังไม่มีการฟ้องร้องฝ่ายปฏิบัติ แต่มีการดำเนินการกับหัวขบวนก่อน นายวิษณุ กล่าวว่า การดำเนินคดีมี 2 อย่าง 1.เอาหัวขบวนก่อน และ 2 .เอาหางขบวนก่อน แล้วแต่จะเรียงลำดับ แต่เรื่องนี้ต้องเอาหัวขบวนก่อน เพราะอายุความจะครบกำหนดเร็วกว่า และเป็นเรื่องที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจส่งเรื่องมา ส่วนหางขบวน ป.ป.ช.ไม่ได้ส่งมา และกำหนดเวลาเป็นอีกแบบหนึ่ง การจะฟ้องศาลก็เป็นคนละคดี คนละข้อหา และคนละศาล หากเปรียบเทียบแบบไม่ตรงนัก หัวขบวนคือตัวการ หางขบวนเป็นผู้สนับสนุน ถ้าไม่ฟ้องตัวการก่อนจะบอกได้อย่างไรว่า ผู้สนับสนุนมีความผิด ส่วนที่ดำเนินคดีกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น เพราะป.ป.ช.ส่งเรื่องมาว่ามีผู้กระทำผิด มีการถอดถอน และรัฐบาลต้องดำเนินการต่อ ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งทางอาญาก็มีการฟ้องร้องไปแล้ว ทางแพ่งก็ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ