ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์ข้อมูลฯ เผยดัชนีความคาดหวัง 6 เดือนข้างหน้า ธุรกิจอสังหาฯยังคาดหวังมาตรการกระตุ้นอสังหาฯของกระทรวงการคลัง ขณะผลสำรวจไตรมาส 3 ปี 58 พบผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ค่าเท่ากับ 52.2 โดยบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันเท่ากับ 59.6 เหตุทีมศก.ใหม่มาตรการกระตุ้นศก.ที่ชัดเจน ขณะที่ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในเขตกทม.-ปริมณฑลครึ่งปีแรก ยอดรวม 83,800 หน่วย เพิ่มขึ้เน 2% คอนโดฯครองแชมป์ 36% ตามติดด้วยทาวน์เฮาส์ 34% มูลค่าโอนกว่า 2 แสนล. คอนโดฯและบ้านเดี่ยวห่างไม่มาก อยู่ที่ 33% และ31% เผยขนาดพื้นที่โอนห้องชุดในกทม. 27.3%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ประจำไตรมาส 3 ปี 2558 พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ 52.2 สูงกว่าค่ากลาง และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่2/58 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 50.4 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเมื่อแยกประเภทผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Listed) มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นสูงกว่าผู้ประกอบการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน (Non-Listed)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโดยภาพรวมมีค่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียน มีความเชื่อมั่นที่ดีมากกว่าผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันโดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจและรายละเอียดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นทั้งในด้านยอดขาย การลงทุนต้นทุนประกอบการที่ลดลงสอดคล้องกับราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลง และการเปิดโครงการใหม่หรือเฟสใหม่เพิ่มขึ้น
สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้าประจำไตรมาส 3/58 มีค่าเท่ากับ 66.3 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้ว (ไตรมาส 2/58) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 67.8 สะท้อนความคาดหวังในอนาคตโดยภาพรวมยังดีอยู่ โดยผู้ประกอบการมีความคาดหวังมาตรการกระตุ้นภาคที่อยู่อาศัยที่กระทรวงการคลังกำลังพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม
นายสัมมา กล่าวว่า สำหรับข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) พบว่าในครึ่งแรกของปี58 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยรวม 83,800 หน่วย เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 57 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 82,400 หน่วย โดยยอดโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แบ่งเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมมากที่สุด จำนวน 29,900 หน่วย (สัดส่วน 36% ของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมกัน) รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ 28,500 หน่วย (สัดส่วน 34%) บ้านเดี่ยว 14,900 หน่วย (สัดส่วน18%) อาคารพาณิชย์ 7,200 หน่วย (สัดส่วน 9%) ที่เหลือเป็นบ้านแฝดประมาณ 3,300 หน่วย
มูลค่าโอนครึ่งปีกว่า2แสนล้านบาท
เมื่อพิจารณาในแง่ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ในครึ่งแรกของปี58 มีมูลค่ารวม 201,100 ล้านบาท แบ่งเป็น ห้องชุด 66,500 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 33 บ้านเดี่ยวมีมูลค่าการโอน 61,800 ล้านบาท คิดเป็น31% ทาวน์เฮ้าส์มีมูลค่าการโอน 42,300 ล้านบาท คิดเป็น21% อาคารพาณิชย์มีมูลค่าการโอน 23,000 ล้านบาทหรือ 11% และบ้านแฝดมีมูลค่าการโอน 7,500 ล้านบาท คิดเป็น4% จากจำนวนหน่วยห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด พบว่าเป็นหน่วยห้องชุดใหม่ประมาณ 80% และเป็นหน่วยห้องชุดมือสอง 20%
การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุด มีมากที่สุดในกรุงเทพฯ ประมาณ 22,800 หน่วย ในจังหวัดนนทบุรีประมาณ 3,800 หน่วย จังหวัดสมุทรปราการประมาณ 1,800 หน่วย จังหวัดปทุมธานีประมาณ 940 หน่วย จังหวัดนครปฐมประมาณ 340 หน่วย และจังหวัดสมุทรสาครประมาณ 210 หน่วย พื้นที่เฉลี่ยต่อหน่วยของห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯอยู่ที่ประมาณ 27.3 ตารางเมตร ส่วนในจังหวัดปริมณฑลอยู่ที่ประมาณ 28.2 ตารางเมตร
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ประจำไตรมาส 3 ปี 2558 พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ 52.2 สูงกว่าค่ากลาง และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่2/58 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 50.4 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเมื่อแยกประเภทผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Listed) มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นสูงกว่าผู้ประกอบการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน (Non-Listed)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโดยภาพรวมมีค่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียน มีความเชื่อมั่นที่ดีมากกว่าผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันโดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจและรายละเอียดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นทั้งในด้านยอดขาย การลงทุนต้นทุนประกอบการที่ลดลงสอดคล้องกับราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลง และการเปิดโครงการใหม่หรือเฟสใหม่เพิ่มขึ้น
สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้าประจำไตรมาส 3/58 มีค่าเท่ากับ 66.3 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้ว (ไตรมาส 2/58) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 67.8 สะท้อนความคาดหวังในอนาคตโดยภาพรวมยังดีอยู่ โดยผู้ประกอบการมีความคาดหวังมาตรการกระตุ้นภาคที่อยู่อาศัยที่กระทรวงการคลังกำลังพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม
นายสัมมา กล่าวว่า สำหรับข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) พบว่าในครึ่งแรกของปี58 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยรวม 83,800 หน่วย เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 57 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 82,400 หน่วย โดยยอดโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แบ่งเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมมากที่สุด จำนวน 29,900 หน่วย (สัดส่วน 36% ของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทุกประเภทรวมกัน) รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ 28,500 หน่วย (สัดส่วน 34%) บ้านเดี่ยว 14,900 หน่วย (สัดส่วน18%) อาคารพาณิชย์ 7,200 หน่วย (สัดส่วน 9%) ที่เหลือเป็นบ้านแฝดประมาณ 3,300 หน่วย
มูลค่าโอนครึ่งปีกว่า2แสนล้านบาท
เมื่อพิจารณาในแง่ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ในครึ่งแรกของปี58 มีมูลค่ารวม 201,100 ล้านบาท แบ่งเป็น ห้องชุด 66,500 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 33 บ้านเดี่ยวมีมูลค่าการโอน 61,800 ล้านบาท คิดเป็น31% ทาวน์เฮ้าส์มีมูลค่าการโอน 42,300 ล้านบาท คิดเป็น21% อาคารพาณิชย์มีมูลค่าการโอน 23,000 ล้านบาทหรือ 11% และบ้านแฝดมีมูลค่าการโอน 7,500 ล้านบาท คิดเป็น4% จากจำนวนหน่วยห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด พบว่าเป็นหน่วยห้องชุดใหม่ประมาณ 80% และเป็นหน่วยห้องชุดมือสอง 20%
การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุด มีมากที่สุดในกรุงเทพฯ ประมาณ 22,800 หน่วย ในจังหวัดนนทบุรีประมาณ 3,800 หน่วย จังหวัดสมุทรปราการประมาณ 1,800 หน่วย จังหวัดปทุมธานีประมาณ 940 หน่วย จังหวัดนครปฐมประมาณ 340 หน่วย และจังหวัดสมุทรสาครประมาณ 210 หน่วย พื้นที่เฉลี่ยต่อหน่วยของห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯอยู่ที่ประมาณ 27.3 ตารางเมตร ส่วนในจังหวัดปริมณฑลอยู่ที่ประมาณ 28.2 ตารางเมตร